สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.เลย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ KM


"การจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศของผู้เรียนและชุมชน" KM

โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ
การจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศของผู้เรียนและชุมชน

   หลักการและเหตุผล
            ด้วยรัฐบาลมีนโยบายที่จะให้ความสำคัญของการกระจายอำนาจ ทั้งด้านการปกครอง
การบริหารจัดการ และการกระจายงบประมาณสู่ท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคลากรจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถทางด้านการบริหารจัดการ เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมาย และนโยบายของรัฐบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏได้ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาผู้นำ นักบริหารและสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการปกครองและบริหารจัดการท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการดำเนินภารกิจที่จะต้องสนองต่อการแก้ปัญหา และความต้องการของประชาชนภายใต้พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ.2546
            ในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศของผู้เรียนและชุมชน จำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ ที่เป็นการเรียนรู้ในชีวิตจริงหรือการเรียนรู้จากปฏิบัติจริงเป็นฐาน และเสริมด้วยการเรียนรู้ทฤษฎี ผู้เรียนนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บทบาทอาจารย์เปลี่ยนจากการถ่ายทอดความรู้สู่การหนุนเสริมเพื่อการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ในการพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏจึงได้ทำความร่วมมือทางวิชาการ กับ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ในการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาอาจารย์ ด้วยกระบวนการจัดความรู้ โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศของผู้เรียนและชุมชนเพื่อให้อาจารย์มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติ ในการจัดการเรียนการสอน ด้วยกระบวนการ
การจัดการความรู้

      วัตถุประสงค์
1. เพื่อประชุมเชิงปฏิบัติการ การนำการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน
ในคณะเพื่อความเป็นเลิศของผู้เรียนและชุมชน
2. เพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

      

ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ

                ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  ตัวแทนคณะทั้ง  5 คณะ  จำนวน  68  คน  เพื่อทำหน้าที่เป็นทีมวิทยากรขั้นขยายผลในระดับคณะ

วิทยากรที่ให้ความรู้
                1. รศ.นพ.ประจักษ์  พัวเพิ่มพูนศิริ      คณบดีคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                2. ผศ.ชัชจริยา  ใบลี                      รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
                3. ดร.ประกอบ  ผลงาม                   รองอธิการบดีฝ่ายมาตรฐานการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
                4. ผศ.ดร.มัณฑนา  อินทุสมิต          ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
                5. ผศ.ดร.โยธิน  สุริยพงศ์               ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

                6. นางสมยงค์  สีขาว                    รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

รูปแบบของการประชุมเชิงปฏิบัติการ
                รูปแบบของการประชุมเชิงปฏิบัติการ จะเป็นการบรรยาย การอภิปราย การแบ่งกลุ่มปฏิบัติการ โดยให้ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การประเมินตนเอง โดยการแบ่งกลุ่มย่อยตามคณะวิชา เพื่อการประเมินตนเองของคณะวิชาในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  สื่อการสอน  คุณธรรมจริยธรรม หลักการสอน วิจัย  พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันในระดับคณะและทีมวิทยากร  และขั้นตอนสุดท้ายมีการระดมความคิดในเรื่องการจัดการการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศของผู้เรียนและแนวทางการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาร่วมกันในระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
“การจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศของผู้เรียนและชุมชน”
วันที่ 23 – 24 พฤศจิกายน 2548
ณ ห้องประชุมอาทิตย์ กำลังเอก อาคารวิชญาการ ชั้น 5

 

 วันพุธ
23 พฤศจิกายน 2548
 
08.00-09.00
ลงทะเบียน
09.00-09.20
พิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
        โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
09.20-09.45
ชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ
        โดย ทีมวิทยากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
09.45-10.00
พักรับประทานอาหารว่าง
10.00-12.00
บรรยายการพัฒนาขีดความสามารถของคนและองค์กรโดยการจัดการความรู้
        โดย รศ.นส.พ.ประจักษ์ พัวเพิ่มพูลศิริ
12.00-13.00
------พักรับประทานอาหารกลางวัน-----
13.00-13.30
ประชุมบทบาท “ คุณอำนวย” “ คุณลิขิต” และ “ คุณกิจ”
13.30-15.30
กิจกรรมการเล่าเรื่อง “ความสำเร็จและสร้างขุมความรู้ (Knowledge Assets)
(แบ่งกลุ่มย่อยจำนวน 7 กลุ่ม ๆ ละ 8-10 คน) และส่งตัวแทนนำเสนอ เรื่องเล่าความสำเร็จและขุมความรู้ (เลือกตัวแทนกลุ่มให้เวลากลุ่มละ 5 นาที)
15.30-16.30
แนะนำการใช้ Blog “GotoKnow.org –ระบบบล็อกแบบชุมชนเพื่อการจัดการความรู้ของไทย”
วันพฤหัสบดี
24 พฤศจิกายน 2548
 
08.30-11.00
สังเคราะห์ “ขุมความรู้” เป็น “แก่นความรู้ (Core Competence)” และ “การสร้างตารางแห่งอิสรภาพ”
11.00-11.30
นำเสนอ “แก่นความรู้” และ “ตารางแห่งอิสรภาพ”(เลือกตัวแทนกลุ่ม ให้เวลากลุ่มละ 5 นาที)
11.30-12.00
การประเมินตนเองจาก “ตารางแห่งอิสรภาพ” (แบ่งกลุ่มย่อยประเมินตนเอง แยกตามคณะวิชา)
12.00-13.00
------พักรับประทานอาหารกลางวัน------
13.00-14.30
“ธารปัญญา (River Diagram) และบันไดแห่งการแลกเปลี่ยนความรู้ (Stair diagram)”
14.30-15.30
ระดมความคิด “การจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศของผู้เรียนและแนวทางการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาร่วมกัน”
15.30-16.30
การทำ AAR (After Action Review)
16.30-17.00
สรุปและปิดประชุม
หมายเหตุ :
รับประทานอาหารว่างเวลา 10.00-10.15 และ 14.30-14.45


ผลสรุปการ
AAR (After Action Review) ของผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ
                โดยผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์เปิดใจหลังจากการดำเนินการตามขั้นตอนของการจัดการความรู้ ตลอดทั้ง 2 วัน หลังจากประชุมเชิงปฏิบัติการเสร็จแล้ว    มีดังนี้
                1. สิ่งที่คาดหวังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ
                                - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของผู้เข้าร่วมประชุมโดยการพูดเปิดใจ

                                - เทคนิคกระบวนการ วิธีการ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนการวิจัย       

                2. สิ่งที่บรรลุเป้าหมายในการประชุมเชิงปฏิบัติการ
                                - การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
                                - การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
                                - การยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
                                - การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางด้าน การจัดการเรียนการสอน สื่อการสอน วิจัย
                                - การจัดการความรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ ได้               
              3. สิ่งที่สามารถนำไปใช้/ไปปรับปรุง

                                - ทำยังไงจะให้ชุมชนสามารถนำการจัดการความรู้ไปต่อยอดโดยชุมชน
                                  เอง
                                - ทบทวนบทเรียนที่ใช้สอนในปัจจุบันอีกครั้ง
                                - จะทำยังไงให้การจัดการความรู้จะยั่งยืน
                                - ฝึกฝนให้ตนเองพูดคล่องขึ้น
                                - นำเทคนิคการจัดการความรู้ ไปพัฒนา ทางด้านการจัดการเรียนการสอน สื่อการสอนหลักการสอน และวิจัย

ผลสรุปที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ
                จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง  จัดการความรู้ความเป็นเลิศของผู้เรียนและชุมชน   ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติได้ให้คำจำกัดความ ของการจัดการเรียนรู้  ไว้ดังนี้
                1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
                2. เทคนิคกระบวนการจัดการเรียนรู้สามารถไปพัฒนา ปรับปรุง ในด้านการเรียนการสอน หลักการสอน 
                   สื่อการสอน  จริยธรรมคุณธรรม และ พัฒนาทางด้านการวิจัย
                3. กระบวนการของการจัดการเรียนรู้มาจากการดึงความคิด การเล่าเรื่องประสบการณ์ และการแลกเปลี่ยน
                    ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

                4. การยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

 
     
     
     

   

 

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 0-4283-5223-8 ต่อ 1141-1143
Copyright© 2000-2005, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. All rights reserved.
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 8280เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2005 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
ขอชื่นชมในความสำเร็จของการจัดกิจกรรม KMซึ่งสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศได้เป็นอย่างดี  ขอเป็นกำลังใจให้ มรภ.เลย เป็นแกนนำและขยายเครือข่ายการจัดการความรู้ไปสู่วงการศึกษาของไทยต่อไปครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท