ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

ความเหมือนบนความแตกต่าง


การจัดนิทรรศการงานเกษตรแห่งชาติ ณ ม.อุบลฯ มีความสวยงาม แต่มีความแตกต่างด้านจิตวิญญาณ

เมื่อวาน (4 มีนาคม 2550) นับเป็นโอกาสที่ของผมที่ได้มีได้ไปศึกษาดูงานเกษตรแห่งชาติร่วมกับ ผศ.ดร.แสวง รวยสูงเนิน ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ (ทีมที่ปรึกษา) และอาจารย์สมทรง เพื่อนร่วมรุ่น เป็นวันที่มีความคึกคัก มากด้วยผู้คนที่หลากหลาย ท่ามกลางแสงแดดอันจาดจ้าและฝุ่นตลบ

ผมมีความประทับใจมาก กับบรรยากาศของนิทรรศการมีชีวิตและเข้ากับบริบทของชาวอีสาน ที่หาดูได้ค่อนข้างยาก และคิดว่าคงจะไม่ค่อยบ่อยนัก ทั้งที่ความเป็นธรรมชาติ แฝงด้วยจิตวิญญาณของคนทำที่หาดูไม่ได้แม้กระทั่งงานพืชสวนโลก

ครั้นเมื่อเข้าไปดูในงานจึงมีคำถามอยู่ในใจว่า ทำไมความแตกต่างระหว่างฝั่งซ้าย และฝั่งขวาที่มีถนนคอนกรีต 4 ช่องทางจราจรแบ่งอาณาเขตของการจัดนิทรรศการอย่างชัดเจนจึงมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ต่างอย่างไร? บางท่านอาจจะนึกสงสัย และอาจจะตอบผมอย่างรวดเร็วว่า ฉันจะไปรู้ด้วยรึ.....เพราะยังไม่ได้ไปดู แต๋ไม่เป็นไรครับ เพราะอาจจะมีภาพให้ดูบ้างแล้วในส่วนของท่านอาจารย์ ดร.แสวง และของครูบาสุทธินันท์ อย่างไรก็ตามผมจึงใคร่ขอขยายความเพิ่มเติมครับว่าต่างกันอย่างไร

ฝั่งซ้าย เป็นการจัดนิทรรศการมีชีวิตชีวา ซึ่งกลุ่มที่มาจัดนั้นมาจากกลุ่มันติอโศกที่มาจากเครือข่ายทั่วประเทศ เน้นการจัดนิทรรศการแบบธรรมชาติ คือผลิตในแปลงที่เป็นของจริงในพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ เน้นการผลิตที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้จริง อีกทั้งได้นำผลผลิตที่ได้จากนิทรรศการมีชีวิตมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ และอาหารที่ดี มีคุณภาพขายในราคาถูกสำหรับผู้มาร่วมงาน ตลอดทั้งการขายผลิตผลที่เก็บจากนิทรรศการมีชีวิต เช่น พืชผักชนิดต่างๆ ข้าวโพด แตงโม เป็นต้น และนอกจากนั้นยังได้มีการสาธิตการแปรรูปผลผลิต และเครื่องใช้ต่างๆ เช่น การทำสบู่จากสมุนไพร การแปรรูปน้ำผลไม้ การแปรรูปสมุนไพร เป็นต้น จึงนับว่าเป็นการจัดนิทรรศการที่เน้นความพอเพียงเป็นหลัก ซึ่งผมมองว่ามีความแตกต่างจากการจัดนิทรรศการในที่อื่นๆที่เคยเห็นมาครับ

ฝั่งขวา เป็นการจัดนิทรรศการที่เน้นเทคโนโลยี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจัดนิทรรศการที่ฉุดลาก และเชิญชวน หน่วยงานราชการ และเอกชนมาร่วมแสดงนิทรรศการและเน้นการประกวดตัดสินประเภทต่างๆ และที่ขาดไม่ได้คือการขายของที่มีเหมือนกันเกือบทุกงาน โดยรวมแล้วเหมือนกับการจัดที่ผมดูโดยรวมแล้วเป็นประเภทที่บอกให้คนอื่นเขาพอเพียงยังไงยังงั้น

แต่ที่มองแบบนี้ก็ไม่ใช่ว่าผมว่าไม่ดีนะครับ อาจจะเป็นปรัชญาที่คนความรู้น้อยอย่างผมวิเคราะห์ไม่ออกก็เป็นได้ ความเหมือนที่แตกต่างตรงนี้แหละครับที่ทำให้ผมต้องคิดอยู่หลายตลบครับว่า Model อย่างนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ช่างมีน่าศึกษาจริงๆ ใครตอบได้โปรดช่วยวิเคราะห์ด้วยครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย อันพิมพ์

5 มีนาคม 2550

หมายเลขบันทึก: 82121เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2007 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เราต้องมองทั้ง

  • ความเหมือนบนความแตกต่าง และ
  • ความแตกต่างบนความเหมือน ครับ
  • ทบทวนกลับไปมาเป็นวงกลม แล้วจะเข้าใจครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

นับเป็นสิ่งที่ดีเช่นกันนะครับว่า ในการที่เราได้เห็นความแตกต่างทั้ง 2 บริบท หากเมื่อเรานำไปใช้ในชีวิตการทำงานจริงน่าจะสามารถปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของงานที่ตนทำได้ดียิ่งขึ้น

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท