R & D (5) : กับความคิดสร้างสรรค์


ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity / Creative thinking) บางทีก็เรียก "ความคิดริเริ่ม" (Originality)  บางทีก็เรียก "ความคิดหลายทิศทาง" (Divergent Thinking)

ถ้าเราถามว่า "จงแสดงวิธีคิดเลขข้อนี้มาให้มากวิธีที่สุดเท่าที่จะมากได้"  หรือ  "ให้คิดวิธีทดลองมาให้มากวิธีที่สุดเท่าที่จะมากได้"  หรือ "ให้ใช้ชื่อที่กำหนดให้ เขียนเรียงความมาให้มากเรื่องที่สุดเท่าที่จะมากได้" ฯลฯ  ก็จะได้ "จำนวนคำตอบหลายคำตอบ"

"จำนวนคำตอบ" ยิ่งมากเท่าไร  ก็จะยิ่งได้คำตอบที่ "แปลก ใหม่" เสมอ  จำนวนคำตอบที่น้อยๆ จะมีโอกาสได้คำตอบแปลๆใหม่ น้อยมาก หรือไม่มีเลย

"จำนวนคำตอบ" กับ "คำตอบใหม่" จะมีสหสัมพันธ์กันสูงยิ่ง

แต่จำนวนคำตอบ จะเกิดจาก "ความคิดหลายทิศทาง" หรือ Divergent Thinking

นั่นคือ ความคิดหลายทิศทาง จะทำให้ได้ "คำตอบใหม่" หรือ "คำตอบริเริ่ม"  หรือ "คิดริเริ่ม"

ดังนั้น เราจะพูดว่า "คิดริเริ่ม"  หรือ "จำนวนคำตอบ" หรือ "คิดหลายทิศทาง"  ต่างก็หมายถึงความสามารถเดียวกันคือ "ความคิดสร้างสรรค์" ก็ได้ครับ

คนที่เก่งทางศิลปะ  ก็จะ "คิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ"  คนที่ถนัดทางคณิตศาสตร์ก็จะ "คิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์"  คนที่ถนัดทางวิทยาศาสตร์ก็จะ "คิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์"  ถ้าเขาเก่งทางแพทย์  เก่งทางเกษตร  เขาก็จะ "คิดสร้างสรรค์ทางแพทย์  ทางเกษตร"  ฯลฯ  ถนัดทางไหน  ก็คิดสร้างสรรค์ทางนั้น

เมื่อเขา "สร้างสิ่งใหม่" ขึ้นมาแล้ว  เขาก็จะ "วิจัย" (R) และ "พัฒนา" (D) ทำให้ได้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  เป็น "สินค้า" ใหม่ๆ มากมาย

R & D จึงต้องพึ่งพวกเขา

R & D ต้องพึ่ง CREATIVE THINKER !

หมายเลขบันทึก: 76491เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 02:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ชอบการคิดแบบคล่องแคล่ว
  • คิดเร็ว คิดแนวข้าง
  • งานวิจัยเรื่องความคิดสร้างสรรค์มีไม่มากเลยครับ
  • ขอบคุณมากครับ

อาจารย์ ดร.ไสว

อ่านบันทึกนี้แล้วก็รู้สึกหลงตัวเองเพิ่มขึ้นเล็กน้อยครับ อาจารย์

เคยมีคนบอกว่า อาตมามีความคิดครีเอทีพ... แต่ก็ไม่เข้าใจตัวเอง....

สงสัยขึ้นมาอีก เพราะ อาตมาก็ไม่เคยสร้างสรรค์อะไรที่เป็นกิจลักษณะ เพียงแต่คุยโอ้อวดไปเรื่อยๆ เท่านั้น...

ระดับชั้น ของความคิดทำนองนี้ มีบอกไว้บ้างหรือไม่ ครับ อาจารย์

เจริญพร

ขอบคุณ อาจารย์ขจิต ฝอยทอง ครับ  อาจารย์นอนดึกกว่าผม  อันแรกที่ว่า "คิดแบบคล่องแคล่ว" หมายถึง "คิดเร็ว" ไม่ตะกุกตะกัก  แต่ "ไม่แน่ว่าจะได้จำนวนคำตอบมากมายหรือไม่"  ครับ  อันถัดมา "คิดเร็ว" เข้าใจ แต่คิดแนวข้าง ผมไม่เข้าใจ  คิดเร็วไม่ได้หมายความว่าจะได้จำนวนคำตอบมากด้วยครับ  "จำนวนคำตอบกับคิดริเริ่ม คิดเอกลักษณ์ คิดแปลกใหม่ มีสหสัมพันธ์กันสูงยิ่ง" ครับ

งานวิจัยเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์มีมากมายครับ ดูได้จาก Journal ต่างๆ,  จากวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตของผมจากห้องสมุด มศว.เรื่องความคิดสร้างสรรค์กับความถนัดทางการเรียน, จากวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต เรื่องความคิดสร้างสรรค์กับการเรียนรู้มโนทัศน์ ที่ห้องสมุดจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ครับ และที่ท้ายวิทยานิพนธ์ดังกล่าวจะมีเอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์มากมายครับ

J.P.Guilford และคณะศิษย์ของท่าน ถือว่าเป็นกลุ่มบุกเบิกเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ครับ จึงให้หาดูจากหนังสือทุกเล่มที่กิลฟอร์ดเขียนครับ

นมัสการพระคุณเจ้า

"ความคิดสร้างสรรค์" เป็น "ความสามารถ" หรือ Ability ของสมองมนุษย์ ครับ  ความสามารถนี้มีระดับครับ  คือ จากคิดสร้างสรรค์ระดับต่ำไปจนถึงระดับสูงมากๆครับ  มัน "อยู่ภายในสมอง" ครับ  มันแสดงตัวเผยตัวออกมาได้ก็โดย "ผ่านความรู้สึกหรือ Conscious" ให้ "เจ้าของความคิดนั้นรู้สึก"  แต่ยังไม่ได้แสดงออกไปภายนอกสมองผ่านทาง"การกระทำ" ครับ  การกระทำดังกล่าว "ไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุ"ครับ  เป็น "คำพูด" ดังเช่นคุณหมอนักพูดที่เรารู้จักกัน ก็ได้  หรือเป็น "ตัวหนังสือ" ก็ได้  เป็นรูปภาพ หรือเป็นพิมพ์เขียว  เป็นอาคาร  เป็นเครื่องปรับอากาศ ไปจนกระทั่งยานอวกาศ  ซึ่งเป็นวัตถุ ก็ได้ครับ

ข้อเขียนของพระคุณเจ้า  ถ้าเป็นความคิดของตนเอง และคนอื่นคิดว่าแปลก ใหม่ เขาไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน  เขาก็คิดว่า พระคุณเจ้าคิดสร้างสรรค์ ครับ  แม้คำพูดบางคำที่ "แปลก ใหม่ ไมเหมือนใคร ฟังดูแล้วทึ่ง" ก็เป็นผลของความคิดสร้างสรรค์ ครับ  ผมเองก็คิดว่า พระคุณเจ้าคิดสร้างสรรค์ครับ  อย่าได้แปลกใจไปเลยครับ

ผลของความคิดสร้างสรรค์ "ไม่จำเป็นต้องใช้ความเป็นวัตถุ" มาเป็นเกณฑ์ประเมินครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท