ความรุนแรงที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเผชิญในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง


เฉลิมรัฐ ค้ำชูชาติ – โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ – คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุภาณี อ่อนชื่นจิตร – คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วัตถุประสงค์
- เพื่อหาความถี่ ลักษณะความรุนแรงประเภทต่างๆ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นแก่บุคลากรทางการพยาบาล

วิธีการศึกษา
- เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรคือ กลุ่มบุคลากรทางการพยาบาลในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งจำนวน 594 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม พัฒนามาจากแบบสอบถามของ ILO/ ICN/ WHO 2003 และสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการศึกษา
-พบ ว่า กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์เผชิญความรุนแรงในรอบปี ทางวาจามากที่สุดร้อยละ 38.9 รองลงมาเป็นความรุนแรงทางร่างกายร้อยละ 3.1 และการคุกคามทางเพศร้อยละ 0.7 ค้นเหตุความรุนแรงทางวาจาและทางร่างกายมาจากผู้ป่วย/ ผู้มารับบริการร้อยละ 52.4 และ 88.2 ตามลำดับ ส่วนการคุกคามทางเพศมาจากพยาบาล เพื่อนร่วมงาน มากที่สุดร้อยละ 75 สาเหตุของความรุนแรงทางวาจามาจากความบกพร่องในการติดต่อสื่อสาร ความรุนแรงทางร่างกายมีสาเหตุมาจากอาการแสดงความเจ็บป่วยมากที่สุด ร้อยละ 64.7 และการคุกคามทางเพศ มีสาเหตุมาจากการโดนกลั่นแกล้ง และการตั้งใจกระทำการคุกคาม ความรุนแรงเหล่านี้มีผลทำให้สัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงานเลวลง เนื่องจากถูกมองว่าเป็นการปฏิบัติงานผิดพลาด กลุ่มเสี่ยงต่อการเผชิญความรุนแรงทางวาจา คือ กลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมเรื่องการป้องกันและการจัดการกับความรุนแรง (odd ratio 1.581 95% CI 1.10-2.27)

จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 76440เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท