การศึกษาชั่วโมงการพยาบาลของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลอุดรธานี


กิตติยา เตชะไพโรจน์, นารี แซ่อิ้ง, วีนา ปิตตะภาศ
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลอุดรธานี

วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาชั่วโมงการพยาบาลจำแนกตามระดับความรุนแรงของการเจ็บป่วยของผู้ ป่วยใน ซึ่งผลที่ได้จะนำไปสู่การบริหารจัดการอัตรากำลังของบุคลากรทางการพยาบาลใน ภาวะที่มีการขาดแคลนบุคลากร ให้มีความเหมาะสมและมีความปลอดภัยต่อผู้รับบริการ

ผลการศึกษา
- ชั่วโมงการพยาบาลที่รวบรวมจากผู้ป่วยในทั้งหมด 174 ราย แยกเป็นผู้ป่วยประเภทที่ 1 จำนวน 14 ราย เฉลี่ย 2 ชั่วโมง 2 นาที ผู้ป่วยประเภทที่ 2 จำนวน 81 ราย เฉลี่ย 3 ชั่วโมง 25 นาที ผู้ป่วยประเภทที่ 3 จำนวน 67 ราย เฉลี่ย 4 ชั่วโมง 54 นาที ในหอผู้ป่วยสามัญ ส่วนผู้ป่วยที่อยู่ในหอผู้ป่วยหนัก เฉลี่ย 9 ชั่วโมง 57 นาที และผู้ป่วยประเภทที่ 4 จำนวน 12 ราย เฉลี่ย 7 ชั่วโมง 20 นาที และ 15 ชั่วโมง 41 นาที ในผู้ป่วยที่อยู่ในหอผู้ป่วยสามัญ และหอผู้ป่วยหนัก ตามลำดับ

สรุป
- ผลการศึกษาพบว่า ยังมีความแตกต่างของชั่วโมงการพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักและหอผู้ป่วยสามัญ ในผู้ป่วยประเภทที่ 3 และ 4 เนื่องจากหอผู้ป่วยสามัญมีจำนวนผู้ป่วยมากและมีการหมุนเวียนเตียงเร็ว ไม่สามารถจำกัดการรับผู้ป่วยได้ อัตราการครองเตียงมากกว่าร้อยละ 100 ส่งผลให้ผู้ป่วยประเภทที่ 3 และ 4 ได้รับการพยาบาลไม่เพียงพอกับความต้องการ และบุคลากรค่อนข้างจำกัดแม้ว่าจะได้รับการจัดอัตรากำลังสำรองตามภาระงาน (ผลผลิตของงาน) การศึกษาครั้งต่อไปควรประเมินชั่วโมงการพยาบาล จำแนกตามกิจกรรมการพยาบาล เพื่อใช้ในการประเมินภาระงานที่เหมาะสมของพยาบาลต่อไป

จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 76439เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท