การทบทวนวรรณกรรมปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้า


จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน, เกษราภรณ์ เคนบุปผา , ธรณินทร์ กองสุข
โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

วัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้า
วิธี การศึกษา เป็นการทบทวนวรรณกรรม ผลงานวิจัยที่มีการศึกษาหาปัจจัยเสี่ยงที่มีค่าความสัมพันธ์กับการเกิดโรค ซึมเศร้า (OR หรือ PR ) มากกว่าหรือเท่ากับ 2.5 และมีค่านัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05

สรุป
- ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต ประสบการณ์ในวัยเด็ก ปัญหา/พฤติกรรมของพ่อแม่ และครอบครัว การติดแอลกอฮอล์และยาเสพติด และปัจจัยทางสภาพจิตสังคม เป็นปัจจัยที่มีความเป็นไปได้สูงในการเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคซึมเศร้า และเสี่ยงที่มีค่าความชุกสูงในประชาชนไทย ซึ่งเป็นปัญหาของประเทศ มีนโยบายของประเทศเกี่ยวข้อง และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถให้การส่งเสริม ป้องกันได้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรพิจารณานำมาเป็นข้อมูลในการวิจัยหาปัจจัยเสี่ยง และหาแนวทางป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าในคนไทยต่อไป


จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 72806เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2007 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท