๑๐๐ ปีของ Pareto’s Law: ทฤษฎีเพื่อ “คุณภาพ”


“ที่สำคัญมีน้อย ที่ไม่สำคัญมีมาก”
 

วันนี้ขอทำตัวเลียนแบบนักวิชาการปากคาบคัมภีร์สักวันนะครับ ที่ผมจะขอนำเรื่องที่ผมประทับใจ และนำมาใช้ในชีวิตของผมนานมาแล้วครับ

โดย จะขอนำขี้ปากฝรั่งที่ "เป็นสิ่งดี" มาเล่าให้ฟัง เพราะ เป็นสิ่งที่ผมค่อนข้างทึ่งในกฎและหลักการข้อนี้ อย่างไม่ทราบว่ามันเกิดมาได้อย่างไร 

เมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว (๒๕๔๙) มีนักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ Vilfredo Pareto ได้คิดค้นหลักการนี้ ตั้งชื่อว่า

"Pareto's Law"

และนำเสนอในรูปแบบของกฎ ๘๐/๒๐ ที่สำคัญมีน้อย ที่ไม่สำคัญมีมาก 

และก็มีคนนับถือ จนได้พัฒนา และ พยายามพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนจากคู่เดียวกลายเป็น ๒ คู่ คือ ๓/๕๐, ๑๒/๓๕ แต่ทั้ง ๒ คู่ก็ยังรวมกันได้ ๑๐๐ เช่นเดิม 

ท่านคงงงว่าผมกำลังจะเล่าเรื่องอะไรกันแน่ สาระสำคัญก็คือ ที่สำคัญมีน้อย ที่ไม่สำคัญมีมาก นั่นแหละครับ

คือ เขาเริ่มต้นจากระบบเศรษฐกิจ เข้ามาหาระบบการทำงาน ระบบการดำรงชีวิต จนแทบจะเรียกว่า ระบบจักรวาล ก็ว่าได้ 

เช่น เขาได้ข้อสรุปว่าระบบธนาคารนั้น จะมี

  • ๓% ของบัญชีเงินฝากที่สำคัญจะมีเงินรวมกัน ถึง ๕๐% ของเงินฝากทั้งหมด
  • ๑๒% ของบัญชีสำคัญถัดลงมา จะมีเงินฝาก อีก ๓๕% ของเงินฝากทั้งหมด
  • ๓๕% ของบัญชีสำคัญถัดลงมา จะมีเงินฝาก อีก ๑๒% ของเงินฝากทั้งหมด
  • และ ๕๐% ของบัญชีที่เหลือ จะมีเงินฝาก อีกเพียง ๓% ของเงินฝากทั้งหมด 

ประเด็นการทำงานในองค์กร

เมื่อมองมุมใดมุมหนึ่งของการทำงาน ก็เช่นเดียวกัน

  • ๓% ของบุคคลที่สำคัญที่สุดจะมีผลงานรวมกัน ถึง ๕๐% ของผลงานขององค์กรทั้งหมด 
  • ๑๒% ของบุคลากรที่สำคัญรองลงมา จะมีผลงานรวมกัน ถึง ๓๕% ของผลงานขององค์กรทั้งหมด 
  • ๓๕% ของบุคลากรที่สำคัญรองลงมา จะมีผลงานรวมกัน เพียง ๑๒% ของผลงานขององค์กรทั้งหมด 
  • และ ๕๐% ของบุคลากรที่เหลือ จะมีผลงานรวมกัน เพียง ๓% ของผลงานขององค์กรทั้งหมด 

นั่นเป็นการมองเพียงชิ้นงานเดียวเท่านั้นนะครับ 

และการใช้เวลาของเราก็มีการจับคู่แบบนั้นเช่นเดียวกัน ระหว่าง

เวลาที่ใช้ กับ ผลงานที่ได้

ในแต่ละเรื่อง เรียกว่าถ้าเราทำอย่างนี้ เราจะใช้เวลาไม่ค่อยเป็นประโยชน์ซะมาก ได้ประโยชน์น้อยนั่นเอง  

แต่ต้องขยายความเพื่อกันการสับสนนะครับ การมองเช่นนั้น เป็นการมองเพียงมุมเดียว 

ฉะนั้น การเน้นทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จึงควรจริงจังกับสิ่งที่เป็นสาระประโยชน์ (vital) ในประมาณ ๘๐% (ตามต้นคิด) หรือ ๕๐% + ๓๕% (ตามการดัดแปลงเพิ่มเติม) ที่จะใช้เวลาไม่มากจนเกินไป ประมาณ ๒๐% ของเวลา แต่ไม่ควรลงรายละเอียดมากจนเกินไป จนถึง สิ่งที่มีสาระน้อย (trivial)” จะทำให้เราต้องมาเสียเวลามากอีกถึง ๘๐% ในการทำงาน 

และเสียโอกาสที่จะทำงานด้านอื่น ให้เกิดประโยชน์ได้ดีกว่า 

ลองพิจารณานำไปปรับใช้ในชีวิตมุมต่างๆของท่าน ดูนะครับ 

ได้ผลอย่างไร ค่อยนำมาแลกเปลี่ยนกันครับ

หมายเลขบันทึก: 72690เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2007 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
บางทีมันก็แปลกนะครับอาจารย์ บางครั้งเราทุ่มเต็มร้อยกับสิ่งที่คาดว่าจะมีสาระประโยชน์ แต่พอทำไปแล้วผลที่เกิดขึ้นมันงี่เง่าชะมัด ไม่น่าทำเลย เสียดายเวลา  แต่พอสิ่งที่เราทำโดยไม่ได้คาดหวังหรือให้เวลากับมันมากนักกลับได้สาระประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อ ผมคิดว่าเกิดจากใจที่สบายทำด้วยความสุข ผลที่ออกมามักมหัศจรรย์เสมอ ตรงนี้คงเหมาะกับงานศิลปะหรือใช้จินตนาการมากๆ โดยไม่คาดคิดว่าจะทำให้ใครพอใจหรือไม่อย่างไร? แต่ทำเพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี พอใจ มีความสุขมากกว่า ก็พอใจแล้ว
อาจารย์พูดวันนี้ค่ะเรื่องนี้ หนูอ่านไม่เข้าใจ              ฟังอาจารย์พูดอยู่ในห้องเรียนคิดว่าเข้าใจกว่าอยู่นิดหนึ่ง

นี่แหล่ะครับ เราจึงต้องมาจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่งั้น เราก็จะใช้เวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ไปสนใจรายละเอียดจนลืมดูสาระสำคัญและเสียเวลากับเรื่องไม่สำคัญซะมาก เรียกว่าไปตามลมว่าอย่างงั้นเถอะ สิ่งนี้ต้องลดลงครับ ชีวิตเราจึงจะมีคุณภาพ

ขอบคุณมากครับอาจารย์ ที่ได้กรุณานำสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์มาบอกกล่าวเล่าแจ้ง และเป็นประโยชน์กับผมมากทีเดียว

  • การมองในแต่ละเรื่องอาจจะต้องมองหลายมุม และมองทุกมิติอย่างรอบด้าน แต่หากการมองที่ขาดมิติก็อาจจะมีคำถามที่ตามมาอย่างมากมาย
  • แต่ในขณะเดียวกันในมุมที่เรามองก็อาจจะมืดมิดมองไม่ได้ครบทุกมิติ หากมีคนมาช่วยมอง หรือเปล่งแสงสว่างนำทาง มุมนั้นจะชัดเจน และได้เร็วขึ้น
  • เช่นเดียวกับในเรื่องของเวลาที่มีอยู่อย่างเท่ากันแต่การบริหารเวลาที่ต่างกันย่อมนำมาซึ่งผลที่ต่างกัน
  • ฉันใด ก็ฉันนั้น การทำงานอย่างเคร่งเครียยด ขาดสติ ขาดคู่คิด จึงเสมือนพายเรืออยู่ในอ่างไม่ไปไม่มา สุดท้ายก็หมดแรง หมดเวลาไปโดยเปล่า

ด้วยความเคารพ

อุทัย   อันพิมพ์

ตอนแรกก็ฟังอาจารย์พูดไม่ค่อยเข้าใจ แต่พอมาอ่านและในความคิดของหนูมันก็จริงคะ
ก็ดีค่ะ เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิต และทำให้เกิดความคิดในการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น

พรหมลิขิตพุดถูกเลยค่ะ อะไรที่เราทำมันด้วยใจทำโดยที่เราไม่ได้เจตนา  มันมักจะส่งผลให้งานของเราออกมาตามดีเกินคาดเกินกว่างานที่เราถูกบังคับ หรือจิตใจบังคับให้ทำ  เหมือนอย่างเขาว่าใจรักงานใดงานนั้นที่ทำมักรุ่ง

     อยากบอกเลยว่าอย่บังคับใจตัวเองแล้วงานที่ออกมาจะทำให้คุณผิดหวังและโทดตัวเองมากขึ้น มันไม่ดีกับตัวคุณเลย 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท