ภูมิปัญญาไทยเรื่องพระแม่ธรณีกับการจัดการดินและทรัพยากรที่ดินในระบบเกษตรอินทรีย์


พระแม่ธรณีที่สมบูรณ์นั้น จะต้องมีเสื้อผ้าใส่ ในที่นี้ก็คือ สิ่งที่ปกคลุมดิน อาจจะเป็นพืชคลุมดิน หรือใบไม้คลุมดิน ที่เป็นระบบสำรองให้ธาตุอาหารหมุนเวียนลงสู่ดิน และเก็บมาไว้ในพืชพรรณ เพื่อป้องกันการสูญหายไปกับระบบของ “พระแม่คงคา

ผมได้อธิบายไปแล้วว่า ภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับการจัดการดินและที่ดินเพื่อความยั่งยืนนั้น เป็นภูมิปัญญาที่สุดยอดและละเอียดอ่อน ที่สร้างจินตนาการโดยให้มี พระแม่ธรณี เป็นสัญลักษณ์

  • แสดงความอุดมสมบูรณ์
  • แสดงความสวยงาม
  • ที่สามารถเป็นที่เพาะกล้า
  • เป็นที่พึ่งพา
  • เป็นทั้งแหล่งน้ำ และอาหารต่างๆ ให้กับมนุษย์

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="justify">ภูมิปัญญานี้ สะท้อนถึงความจำเป็นของการที่ พระแม่ธรณี จะต้อง</p><ul>

  • มีความอุดมสมบูรณ์ในตัวเอง
  • จะต้องมีเพื่อน
  • จะต้องมีเครือข่าย
  • </ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เพราะถ้า พระแม่ธรณี ไม่มีเพื่อน ไม่มีเครือข่าย </p><ul> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt">ก็จะไม่สามารถอยู่ได้ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt">ผลิตอาหารไม่ได้ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt">ผลิตน้ำไม่ได้ </li> </ul>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เครือข่ายของ พระแม่ธรณี คือใคร ?</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อันนี้ต้องพิจารณาจากรูปร่างของ พระแม่ธรณี ครับ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สัญลักษณ์ของ พระแม่ธรณี นั้น คือ </p><ul>

  • ผมยาว
  • และบีบมวยผมออกมาเป็นสายน้ำ
  • </ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จากสัญลักษณ์นี้ </p>  <ul>

  • มวยผมยาว นั้น น่าจะเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์  ที่ให้น้ำได้อย่างไม่ขาดสาย เพราะถ้า พระแม่ธรณี หัวโล้น ก็คงไม่มีน้ำที่จะบีบให้พวกเราได้ดื่มกิน และ
  • ถ้าพระแม่ธรณีไม่สมบูรณ์ ก็คงไม่สามารถผลิตอาหารให้พวกเราได้กิน
  • </ul>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ดังนั้น เครือข่าย พระแม่ธรณี จึงต้องมี</p><ul>

  • เทพาอารักษ์ ที่ดูแลต้นไม้หลายเผ่าพันธุ์ และ
  • ต่อเชื่อมกับการบีบมวยผมจนเป็นสายน้ำนั้น ก็คือ พระแม่คงคา ที่ก่อเกิดมาจากมวยผมของ พระแม่ธรณี อีกทีหนึ่ง
  • </ul>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ฉะนั้น โดยนัยของความหมายนี้ จึง</p><ul>

  • ต้องมีสภาพป่า
  • สายน้ำธรรมชาติ ใหญ่น้อย เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกัน
  • ทำให้ พระแม่ธรณี อุดมสมบูรณ์
  • ซึ่งสะท้อนกลับไปหาความสามารถของพระแม่ธรณีที่จะดูแลสายน้ำ และต้นไม้เหล่านี้ อีกทางหนึ่ง
  • </ul>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ดังนั้น ระบบดินและที่ดินในระบบเกษตรอินทรีย์ ตามภูมิปัญญาไทยก็คือ </p><ul>

  • การเลียนแบบพระแม่ธรณีที่มีความสมบูรณ์
  • ซึ่งจะต้องมีต้นไม้
  • ที่ไปหล่อเลี้ยงของสายน้ำ
  • แล้วกลับมาหล่อเลี้ยงดิน
  • ทำให้มีผลิตผลเกิดขึ้นกลับไปหล่อเลี้ยงต้นไม้และสายน้ำอีกรอบหนึ่ง
  • </ul>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">พระแม่ธรณีที่สมบูรณ์นั้น </p><ul>

  • จะต้องมีเสื้อผ้าใส่ ในที่นี้ก็คือ สิ่งที่ปกคลุมดิน
  • อาจจะเป็นพืชคลุมดิน หรือใบไม้คลุมดิน ทำให้ดินไม่ร้อน ไม่ตาย และมีชีวิตอยู่ได้
  • ที่เป็นระบบสำรองให้ธาตุอาหารหมุนเวียนลงสู่ดิน และ
  • เก็บอาหารมาไว้ในพืชพรรณ เพื่อป้องกันการสูญหายไปกับระบบของ พระแม่คงคา
  • </ul>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เพราะฉะนั้น โดยเครือข่ายของ พระแม่ธรณี </p><ul>

  • จึงต้องมีพืชพรรณที่ดูแลโดยเทพาอารักษ์ และ
  • มีสายน้ำซึ่งดูแลโดยพระแม่คงคา
  • แม้กระทั่งสายน้ำที่อยู่ในดิน ก็จะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดระบบภาพรวมของพระแม่ธรณีที่สมบูรณ์
  • </ul>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สาเหตุการทำลายเครือข่ายพระแม่ธรณี ก็เริ่มมาจาก </p><ul>

  • การทำลายเทพาอารักษ์
  • เผาเสื้อผ้าของพระแม่ธรณีให้เปลือยเปล่า
  • ทำให้พระแม่ธรณีต้องบาดเจ็บ ทนทุกข์ ทรมาน กับการเสียเลือดไปเเป็นผลผลิตแบบ "ขูดเลือดขูดเนื้อ" แทนที่จะขออยู่ขอกินแบบพึ่งพาอาศัยกัน
  • เจ็บป่วย ไม่สามารถให้ผลผลิตได้อย่างที่เกษตรกรต้องการ
  • แต่คนใช้งานพระแม่ธรณี ก็ไม่เข้าใจ  กลับยิ่งซ้ำเติม
  • โดยการใช้สารพิษไปบีบบังคับให้พระแม่ธรณีสร้างผลผลิตให้ได้
  • ซึ่งถ้าพระแม่ธรณียังพอมีแรงอยู่บ้าง ก็จะยังให้ผลผลิตอยู่ได้ระดับหนึ่ง
  • แต่เมื่อใช้สารพิษนาน ๆ เข้า แรงของพระแม่ธรณีก็จะอ่อนลงไปเรื่อย ๆ
  • ต้องใช้สารพิษมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดเวลา
  • ซึ่งเป็นต้นทุนที่เกษตรกรจะต้องจ่าย โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  • </ul>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในทางกลับกัน ถ้าเราสำนึกในบุญคุณของพระแม่ธรณี สำนึกในภูมิปัญญาไทย ที่สะท้อนภาพเป็นพระแม่ธรณีที่สมบูรณ์ </p><ul>

  • ใส่เสื้อผ้า
  • นั่งบีบมวยผม จนเป็นสายน้ำ
  • แล้วเราจะเปลี่ยนความคิดได้ทันทีว่า
  • เราจะต้องดูแลพื้นที่ตรงนั้นให้พระแม่ธรณีมีเสื้อผ้า
  • จึงจะหายป่วย
  • มื่อหายป่วยแล้วก็จะเริ่มพัฒนาความแข็งแรง
  • คือ มีระบบหมุนเวียนธาตุอาหารโดยธรรมชาติเกิดขึ้นในดิน
  • เพียงพอที่จะทำให้เกิดพืชพันธุ์เจริญเติบโต
  • เป็นมวยผม ที่สามารถผลิตน้ำให้กับพื้นที่ได้
  • </ul>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ความคิดนี้จะสวนทางกับความคิดในการใช้ความรู้ที่เป็นพิษ </p><ul>

  • ในการทรมานพระแม่ธรณี และ
  • ในการให้สารพิษกับพระแม่ธรณี
  • เพื่อให้ได้ผลผลิตมากๆเร็วๆแต่เพียงฝ่ายเดียว
  • โดยไม่สนใจว่า พระแม่ธรณีจะเดือดร้อน แสนเข็ญ แค่ไหน
  • </ul>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ฉะนั้น การจัดการดินในระบบอินทรีย์ ก็คือ </p><ul>

  • การพัฒนาความสมบูรณ์ของระบบดิน และที่ดิน
  • ให้ดินและที่ดินสามารถพึ่งพาตัวเองได้
  • จนสามารถผลิตสิ่งที่เราต้องการ
  • เพื่อการดำรงชีวิตได้แบบพึ่งตนเอง
  • </ul>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลักการที่สำคัญที่สุดก็คือ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">เมื่อพระแม่ธรณีพึ่งตนเองได้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"> ก็จะทำให้เราพึ่งตนเองได้</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ฟังดูง่ายไหมครับ… การปฏิบัติก็ไม่ยากอะไร ครับ ขอให้เราเข้าใจหลักการนิดเดียว </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">ภายใน ๓-๕ ปีท่านก็จะทำได้</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หลาย ๆ ท่านก็นึกว่า การปรับเปลี่ยนเช่นนี้ </p><ul>

  • ลงทุนสูง
  • เสียเวลา ต้องรอนาน
  • </ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แต่ไม่ใช่ครับ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เพราะเมื่อเราใช้ความรู้ที่ถูกต้อง โดยปรับเปลี่ยนมาใช้พืชเบิกนำ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เช่น </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ต้นกล้วย หรือพืชโตเร็วอื่นๆ ที่สามารถเก็บผลผลิตได้เร็ว และเป็นระบบสำรองธาตุอาหารไปในลักษณะเดียวกัน ซึ่งมีอยู่มากมาย </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">เพียงแต่เราต้องมาจัดการความรู้ว่า ระบบใดเหมาะกับพื้นที่ใด และเหมาะกับระบบครอบครัวแบบใด </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เท่านั้นแหล่ะครับ </p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การจัดการความรู้ของท่าน </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><ul>

  • ก็จะนำไปสู่ความสำเร็จในการดูแลรักษาพระแม่ธรณีให้อุดมสมบูรณ์
  • แล้วความสำเร็จเหล่านั้น ก็จะกลับมาสู่ความอุดมสมบูรณ์และ
  • เศรษฐกิจในครอบครัวของท่านอย่างแน่นอน
  • </ul>  ขอให้โชคดีครับ…



    ความเห็น (22)
    • ตามมาอ่านครับ ตามเกือบทุกบันทึกแต่บางครั้งไม่ได้ทิ้งร่องรอยไว้
    • ผมเชื่อในการเป็นลูกพระแม่ธรณี แต่บางทีการทำเกษตร เราต้องไปทำให้ชาวบ้านดูเกือบทุกครั้ง ชาวบ้านถึงเชื่อ ปัญหาคือ ผมจะไม่มีเวลาที่มหาวิทยาลัย
    • ชาวบ้านเก่งเรื่องดินมีมากเลยครับ แต่ยังไม่มีการรวมกลุ่ม ถ้ารวมกลุ่มได้ดีแล้วจะแจ้งให้ทราบครับ

    เมื่อเรารักผืนดิน ผืนดินแห่งนี้ก็จะรักเราเช่นเดียวกัน บทความนี้ช่วยให้เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการสะท้อนภาพของ พระแม่ธรณี .. คนสมัยนี้กินข้าว เจริญเติบโตเป็นผู้เป็นคนมาได้โดยไม่รู้จักต้นตอของสิ่งที่หล่อเลี้ยงตนเองมา มนุษย์ทุกคนเป็นผลผลิตของธรรมชาติ เนื่องจากข้าพเจ้าเองก็เรียนรู้วิชาต่างๆจากห้องเรียนซึ่งมันก็.ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้ามีความสามารถ ในการดำรงชีวิต แบบธรรมชาติ ได้อย่างแท้จริง..

    ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างนี้ค่ะ

    "ความสมถะ ไม่ได้หมายถึงว่าคุณไม่ได้ครอบครองสิ่งใด แต่ไม่มีสิ่งใดที่จะมาครอบครองคุณได้ต่างหาก" (*อาลี ตอลิบ)

    เรียนท่านอาจารย์แสวง

    ออตมองไปอีกมุมหนึ่งนะครับแต่ไม่ขัดแย้ง เพียงแต่ตีความไปอีกกิ่งของต้นไม้

    • มวยผมยาวของพระแม่ธรณีนั้น ออตแทนการสะสมองค์ความรู้จากการปฏิบัติจริงครับ เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอยู่ในรูปพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นตัวตนต่าง ๆ เมื่อพระองค์ทรงกระทำบุญด้วยพระองค์เองพระองค์จะหยาดน้ำ(ภาษาอีสาน)หมายว่าพระองค์ได้ปฏิบัติปฏิบัติชอบและพระองค์สั่งสมความดีเอาไว้ ผมยาวและน้ำที่ไหลออกจากมวยผมพระแม่ธรณีจึงเป็นความรู้ที่สั่งสมจากการปฏิบัติ
    • ซึ่งองค์ความรู้ที่สะสมจะทำลาย อวิชชาที่เกิดและได้รับการยอมรับจากภาคราชการหรือจากตำราแต่ไม่ได้ปฏิบัติจริง
    • ขออนุญาตอาจารย์แนบเรื่องแม่ธรณีจากสนาม สิมเมืองร้อยเอ็ดด้วยนะครับแต่เป็นมิติทางวัฒนธรรม
    • http://gotoknow.org/blog/thaiphon/70650
    • ขอบพระคุณอาจารย์ครับ
    ขอบคุณครับคุณขจิต คุณกลิ่นฟาง และคุณออด ที่เข้ามาแลกเปลี่ยน ทางสังคมอาจตีความมวยผมเป็นบุญทาน แต่ผมยังคิดว่าน่าจะมีนัยทางทรัพยากรอยู่มาก เพราะบุญทาน อาจไม่เกี่ยวกับทรัพยากรก็ได้ แต่จุดนี้แทรกอยู่ในทั้งฮินดู และชินโต ที่นับถือ "เจ้า" แห่งทรัพยากร บางทีผมสงสัยว่า "ฮินดู" กับ "ชินโต" น่าจะเป็นคำเดียวกัน โดยรากศัพท์ แต่เพียงเพี้ยนในการพูดเท่านั้น ไม่ทราบท่าน พระมหาชัยวุธ มีคำตอบหรือเปล่า ขอความกรุณาพระคุณเจ้าช่วยขยายความหน่อยเถอะครับ
    ผมติดตามอ่านความรู้ ฯลฯ หลากหลายที่ผู้รู้หลายท่านได้บอกกล่าวผ่านเว็บบล็อก ซึ่งทำให้เกิดความรู้หลากหลาย ชวนติดตาม ครับ แต่...ภูมิรู้ของแต่ละคนที่เข้ามาอ่านแตกต่างกันครับ บางครั้งอาจจะไม่เข้าใจเนื่องดูเหมือนกับผู้รู้คุยกับผู้รู้ด้วยกันเอง เข้าใจกันเอง ประมาณนั้น ผู้เขียนหลายท่านรวมถึงอาจารย์ อาจต้องปรับภาษาให้อยู่ในยระดับกลาง ๆ พอให้เสพได้หลายกลุ่มเป้าหมาย ผมหมายรวมถึงวิธีการด้วยครับ อย่างที่อาจารย์บอกเกี่ยวกับการทำนาไม่ไถพรวน ผมติดตาม แต่ยังไม่อาจทำตามได้ อาจเพราะอาจารย์ไม่ได้ตั้งใจจะให้ใครทำตาม หรืออาจจะเขียนปูไว้เพื่อแยกกลุ่มเรียนรู้ไว้ต่างหาก เป็นวิธีการแบบหนึ่ง สองสามสี่ ซึ่งบังเอิญผมดันอยากรู้วิธีการแบบ ๑-๒-๓-๔ ซะด้วย เลยผิดหวังไป ด้วยความเคารพ ผมเสนอความคิดเห็นด้วยความเคารพครับ... อีกอย่างหนึ่ง ถ้อยคำภาษาย่อบางคำเช่น KM อาจเขียนเป็นอย่างอื่นได้ไหมครับ ที่เป็นไทยและเข้าใจง่ายกว่า ขณะที่คนนอก KM เข้ามาอ่าน เสพ และฯลฯ ผมเข้าใจแต่ไม่แจ้งครับ สลัว ๆ ราง ๆ ผมตีความหมายว่า KM คือกระบวนการเรียนรู้ องค์ความรู้ หรืออะไร ๆ ที่คล้ายกับสิ่งที่น่ารู้ ใช่หรือไม่ ประมาณนี้ครับ...ทำความไม่แน่ใจให้ เพราะฐานของการศึกษาไม่เท่ากัน นะครับ...ด้วยความเคารพ http://blog.trekkingthai.com/sailomloy/tag/blog ว่าง ๆ อาจารย์ช่วยแวะไปเยี่ยมผมบ้างนะครับ ที่นี่ เผื่อว่าผมจะรบกวนสอบถามอาจารย์ในหลากหลายเรื่องเกี่ยวกับการทำนาครับ นับถือ น้องไข (ภาษาอิสานน่าจะเรียกน้องหำหรือบักหำ กระมัง?)

    ภูมิปัญญาเกิดจากการเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่รอด  เมื่ออยู่รอด อยู่ได้ ก็ถ่ายทอดสืบต่อ   ในแนวคิดผมรู้สึกเสียดายชุดความรู้เรื่องดินของชาวบ้านมาก

            ความรู้ใหม่ไปสร้างหมอดินใหม่ในชุมชน

            หมอดินใหม่จึงลืมรากแก้วของตัวเอง

       

    น้องไข่ครับ

    ผมก็ใช้ภาษาที่เขาใช้กันในสังคมนี้แหละครับ

    ส่วนรายละเอียดคงต้องรบกวนไปค้นคว้าเพิ่มเติม เพราะถ้าผมเขียนยาว คนมีแนวโน้มจะรำคาญ ไม่อ่าน และข้ามไปครับ

    เรื่องเก่าก็สืบค้นได้ครับ

     

    ท่านเม็กดำครับ ผมก็จะหนุนช่วยท่านอีกทางหนึ่ง ตอนนี้คนที่แก้ไขยากที่สุดคือนักวิชาการหอคอยงาช้าง ที่เขาคิดว่าเขาแน่ แต่ไม่เคยทำอะไรจริงจัง

    แบบที่ท่าน อรหันต์ KM เขียนเมื่องานนี่แหละครับ

    ลองไปตามอ่านดูนะครับ

    อาจารย์ครับ..น้องไข ครับ..ไม่ใช่น้องไข่(ฮา) สอบถามเรื่องการทำนาแบบไม่ไถพรวน ครับ ผมสามารถสืบค้นได้ที่ไหนบ้างครับ รบกวน ขอบคุณครับ
    ยาวจังคะ  อ่านไม่จบ เพราะรีบไปเรียน
    เป็นความเชืออย่างหนึ่งของคนไทย แต่ก็เป็นความเชื่อที่ดี ถ้าเรานำมาใช้
    อ่านแล้วค่ะ  อาจารย์เก่งมากเลยค่ะ
    อาจารย์ทำไมไม่ลงในหนังสือพิมพ์ด้วยคะ

    อ่านแล้วคะ  ก็ดีนะคะได้รู้ในสิ่งที่เรายังไม่รู้

    สวัสดีคะ

     

    ชอบเรื่องนี้คะเพราะว่ามีจินตนาการสูง

     

    อ่านแล้วรู้สึกดีมากเลยคะ บทความนี้น่าจะได้ตีพิมพ์ออกมาเป็นวารสาร เพื่อที่จะได้มีคนได้อ่านเยอะๆ อาจารย์โพสไว้ในเว็บก็ได้อ่านเฉพาะคนที่เข้าเว็บมาดู

    หนูคิดว่าน่าจะตีพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อให้เป็นข้อคิดแก่คนหลายๆคนดีกว่าคะ จะได้มาช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรดินและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆไว้ด้วย

    คำแต่ละคำมีความหมายในตัวของมันเองแต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจถึงแก่นแท้ที่แท้จริง  ของการเป็นนักทรัพยากร...นักที่ดิน...หมอดิน...อยากให้ทุกคนตระหนักในเรื่องนี่มากขึ้นจังค่ะ
    อาจารย์มีจินตนาการสูงมากคะ สามารถเปรียบเทียบแล้วทำให้เกิดแนวคิดหลากหลายน่าสนใจมากเลยคะ

    อ่านแล้วรู้สึกว่าคนไทยสมัยก่อนเก่งมากเลยค่ะที่มีความคิดล้ำลึกได้ขนาดนี้และก็ขอบคุณอาจารย์ค่ะที่นำความคิดเเบบใหม่มาให้ได้คิดกัน ถึงจะเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งว่ามีจริงรึเปล่าแต่ก็ได้เข้าใจค่ะว่าประเพณีที่สืบต่อกันมานั้นเป็นประโยชน์จริงๆ เพราะบางคนคิดว่าเป็นเรื่องโบราณที่จะเคารพพระเเม่ธรณี    น่าทึ่งค่ะ ว่าคิดได้ยังไง  ยอดเยี่ยมค่ะ

    จินตนาการดีเลิศค่ะจารย์

    ชอบค่ะมองเห็นภาพดดยรวมดีอ่ะค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท