การส่งเสริมสุขภาพและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ7


การจัดกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จะทำให้เกิดบรรยาการและวัฒนธรรมของการสร้างองค์ความรู้ได้อย่างยั่งยืน

การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

           เพื่อให้การดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างยั่งยืน การจัดการด้านองค์ความรู้นับเป็นภาระกิจหลักหนึ่งในสี่ของผู้บริหารเพื่อสร้างและพัฒนาองค์กรในการมุ่งผลสัมฤทธิของภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  การจัดกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จะทำให้เกิดบรรยาการและวัฒนธรรมของการสร้างองค์ความรู้ได้อย่างยั่งยืน โดยผ่านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ       

        กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้แก่

         1.     ชุมชนแนวปฏิบัติ(CoP) ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ได้แลกเปลี่ยน ความรู้จากการทำงานจริง อาจจะผ่านการพูดคุยหรือบันทึกลงเทคโนโลยี่การสื่อสารก็ได้ เป็นการเชื่อมโยงสมาชิกที่แตกต่างเข้าด้วยกันด้วยกิจกรรมทางสังคม ผู้บริหารต้องสร้างแรงจูงใจให้เกิดกลุ่มกิจกรรมนี้ เพื่อให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นไปอย่างมีชีวิตชีวา

         2.     ลานแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Knowledge forum)  เฉพาะผู้สนใจในกิจกรรมเป็นเรื่องๆ เพื่อเป็นเวทีให้บุคลากรได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้เป็นการจัดสัมนาอย่างสม่ำเสมอ

         3.       การจัดทีมงานข้ามสาย(Cross functional team) เป็นการเสริมความรู้เฉพาะด้านแก่ผู้ปฏิบัติในทีมงานที่ต้องการความรู้พิเศษ

         4.     จัดระบบพี่เลี้ยง(Mentoring system) เป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้ที่เชี่ยวชาญมากสู่ผู้เชี่ยวชาญน้อยกว่าแบบตัวต่อตัว และพี่เลี้ยงมักเป็นแบบอย่างในหลายๆด้าน ทั้งความรู้ จริยธรรม เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่ดี

         5.     การหมุนเวียน(Job rotation) เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเชี่ยวชาญหลายด้าน ทำให้เกิดการพัฒนาทักษะของบุคลากรในหลายๆด้าน

         6.       การดูงานเครือข่าย เพื่อสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามองค์กร

         7.     ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน(Peer assist) การพัฒนาองค์กรนั้นมีเครื่องมือที่หลากหลายหนทาง แต่หนึ่งในหนทางร้อยพันเหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรแบบไทยก็คือ “Peer Assist” ซึ่งเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งใน การจัดการความรู้ก่อนลงมือทำกิจกรรม” (Learning Before Doing) เป็นการใช้ ทีมผู้ช่วยหรือ ทีมที่ปรึกษาจากภายนอกที่มาเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ในการทำงานนั่นเอง เป็นการเรียนรู้จากองค์กรที่ประสบผลสำเร็จเพื่อลดเวลาและลดพฤติกรรมทำผิดซ้ำซาก

                                                                   มีต่อ

หมายเลขบันทึก: 72195เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 22:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
กำลังรออ่านต่อคะ ดีมากๆเลย

สวัสดีครับอาจารย์

    เข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้จากอาจารย์อีกแล้วครับ

    การเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ(ที่แท้จริง)เป็นความฝันของผมมากครับ   เพราะถ้าเราไม่สามารถทำได้เราก็จะต้องแบกรับภาระและปัญหาโรคที่น่าจะสามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ เช่น  โรคทางด้านจิตเวช  โรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ  หรือที่พบทุกวันนี้คือพิษสุราและอุบัติเหตุครับ(ทุกวันนี้เหมือนกำลังถูกพับสนามบุกเลยครับ)

    ด้วยความนับถือครับ  น.พ.สุพัฒน์

อาจารย์นายแพทย์ ชัยวงศ์ ชวนะรักษ์ คะ ... รอฟังเรื่อง รพ.ส่งเสริมสุขภาพ ของศูนย์ฯ 11 ด้วยค่ะ 
ด้วยไม่ค่อยมีเวลานัก ผมจึงพยายามหาเวลาเขียน แต่มีเวลาแค่วันอังคารกับพฤหัส จึงขออภัยมา ณ. ที่นี้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท