สอนเสวนา สู่การเปลี่ยนวัฒนธรรมการศึกษาไทย  ๕. กิจกรรมในวันที่ ๔ (วันสุดท้าย)


 

๒๑ เมษายน ๒๕๖๗ 

กำหนดการมีดังนี้ (ปรับได้) 

08.30 – 09.00 ลงทะเบียน 

09.00 – 09.15 Warm Up: ข้ามบ่อโคลน 

09.15 – 09.45 Reflection: เมื่อวานเป็นอย่างไรบ้าง  - ไม่ได้ทำ

09.45 – 10.45 Prototyping: เรียนรู้การสนทนา 

10.45 – 11.00 BREAK 

11.00 – 12.00 Prototyping: เรียนรู้การสนทนา 

12.00 – 13.00 Final Reflection: กฎของการสนทนาที่ดีในชั้นเรียน/ สรุปองค์ความรู้และการ นำไปใช้ร่วมกัน 

13.00 – 13.30 Lunch

วัตถุประสงค์ของวันนี้คือ ออกแบบและสร้างความเป็นหนึ่งเดียว

วันนี้เราย้ายห้องประชุมมาที่ชั้น ๑   ที่ห้องประชุมแคบลงและเพดานเตี้ย    กิจกรรมส่วนใหญ่ต้องอยู่ที่โถงนอกห้อง    แต่คุณภาพของกิจกรรมไม่ด้อยลงเลย    โดยเฉพาะกิจกรรมปลุกความตื่นตัว ที่เป็นช่วงแรก 

09.00 – 09.15 Warm Up: ข้ามบ่อโคลน 

เป็นกิจกรรมที่เล่นง่ายๆ แต่มีพลังเรียนรู้เรื่องความร่วมมือ การสื่อสาร การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง   

จุดประสงค์ของกิจกรรม : การสร้างทีมและเรียนรู้การวางแผนร่วมกัน   อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม จานกระดาษ 36 แผ่น และเทปกาว    การจัดพื้นที่ของกิจกรรม : พื้นที่โล่ง ติดเทปกาวแสดงถึงบริเวณของหลุมโคลน    ขั้นตอนของกิจกรรม : • วิทยากรแบ่งผู้เข้าอบรมออกเป็นสอมทีม ๆ ละ 10 คน   แต่ละทีมจะได้รับจานกระดาษ 12 แผ่นที่แต่ละกลุ่มสามารถใช้เหยียบได้   ต้องเหยียบจานเท่านั้น หากเหยียบโคลนถือว่าจมน้ำและต้องออกจากทีม  • แต่ละทีมต้องหาวิธีข้ามบ่อโคลนโดยใช้จาน 12 แผ่นเท่านั้น  โดยต้องเหยียบหรือถือไว้หากจานถูกทิ้งไว้โดยไม่มีใครยืนอยู่บนจาน ให้ถือว่าจานจมอยู่ในโคลนและวิทยากรจะนำออก  สามารถยืนบนจานได้มากกว่าหนึ่งเท่าหรือมากกว่าหนึ่งคน   กิจกรรมนี้ใช้เวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น    ทีมที่มีสมาชิกสามารถข้ามบ่อโคลนได้มากที่สุดใน 10 นาทีจะเป็นผู้ชนะ   การสะท้อนคิด: เราใช้เทคนิคอะไรให้ประสบความสำเร็จ?  เราทำงานร่วมกันได้อย่างไร? เราใช้ทักษะอะไรบ้าง?

09.25 – 11.45  ซ้อมสอนต่อจากเมื่อวาน อีก ๔ เรื่อง 

 โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม มีสมาชิกในกลุ่มผลัดกันเป็นครู   กลุ่มที่ผมไปสังเกตมี ศน. ทำหน้าที่ครูถึง ๓ คน    มี นศ. ครูรัก(ษ์) ถิ่น มรภ. พิบูลสงคราม ทำหน้าที่ครูเพียงคนเดียวและทำได้ดี   มีการวางแผนกิจกรรมเรียกความสนใจ   กิจกรรมเพื่อเรียนรู้  และกิจกรรมประเมิน    ตามด้วยการสะท้อนคิดของครู   และการสะท้อนคิดของนักเรียน    เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน 

11.45 – 12.15 Final Reflection: กฎของการสนทนาที่ดีในชั้นเรียน/ สรุปองค์ความรู้และการ นำไปใช้ร่วมกัน    จบการประชุมปฏิบัติการ

คุณพอลนำอธิบายเอกสาร VASK displayed by facilitators during workshop delivery  ที่แบ่งเป็น 4 quadrants : Socialization, Facilitating, Discipline, Performance   ประกอบด้วย ๑๔ ประเด็นคือ  depth of thought, connect, collaborate, follow community rules, high functioning classroom, equity, individual observation, emotion (energy and atmosphere) acknowledge, self-regulation, time management, persistent, curious learner, effective interaction, critical thinker   ตามรูป

 

แล้วให้แต่ละคนใช้เวลา ๑๕ นาที ประเมินตนเอง ในระดับ ๑ - ๕  ตามด้วยจับคู่ระหว่าง นศ. กับ ศน./อจ. เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน    

เที่ยงเศษ รับประทานอาหารเที่ยง   แล้วเดินทางกลับบ้าน   ผมถึงบ้านตอนบ่ายสามโมง 

วิจารณ์ พานิช

๒๑ เม.ย. ๖๗

               

 

หมายเลขบันทึก: 718337เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2024 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2024 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท