อ่านหนังสือเพื่อตรวจสอบ ไม่ใช่เพื่อเชื่อ


 

ผมคิดชื่อบันทึกว่า “คิดและแก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องมีสมอง”  หลังจากอ่านบทความเรื่อง Brains Are Not Required When It Comes To Thinking and Solving Problems --- Simple Cells Can Do It  ใน Scientific American    เทวดาดลใจให้ผมลองถาม Generative AI 3 เจ้าที่ผมถามเป็นประจำว่า “Please explain how Michael Levin of Tufts University explain that thinking, memory and decision-making can be done without brain.”     ได้คำตอบที่ประเทืองปัญญามาก    

คำตอบคือ ไมค์ เลวิน ไม่เคยสรุปตามในคำถาม    สิ่งที่เขาค้นพบตามที่คุณ บิง ณ ไมโครซอฟท์ บอก คือ  He argues that bioelectricity is a form of computation that enables cells to perform tasks such as pattern recognition, memory, and decision-making, without relying on a centralized brain    โปรดสังเกตว่าเขาอ้างบทความใน Scientific American นั่นเอง    แสดงว่าผมอ่านเพียงบางส่วนของบทความ แล้วทึกทักเอาตามคำถาม   

คุณ บาร์ด ณ กูเกิ้ล บอกว่า  It's important to clarify that while Michael Levin does propose alternative frameworks for interpreting intelligence and behavior, he doesn't definitively claim that "thinking, memory, and decision-making can be done without brain." His work rather explores the possibility that they might exist beyond what we traditionally associate with the brain.   และระบุว่าข้อค้นพบสำคัญของ ไมค์ เลวิน คือ (1) Distributed Cognition (2) Cellular Intelligence  (3) Bioelectric Codes  (4) Bio-Inspired Artificial Intelligence  (5) Redefining Intelligence    เขาย้ำว่า แนวคิดของ ไมต์ เลวิน ไม่ได้ทำหน้าที่ให้ข้อสรุป   แต่ทำหน้าที่ท้าทายแนวคิดเดิมเรื่องความฉลาด ที่เชื่อว่ารวมศูนย์อยู่ที่สมอง    ข้อค้นพบของ ไมค์ เลวิน ชี้ให้เห็นว่า ความฉลาดมีอยู่ในระดับเซลล์ ในรูปแบบของรหัส “ไฟฟ้าชีวภาพ” (bioelectric)           

      เอาเข้าจริงกระบวนการที่เกิดขึ้นตอนเช้ามืดวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เป็นการตรวจสอบพฤติกรรมของตัวผมเอง    ที่เมื่ออ่านบทความใน Scientific American ดังกล่าวเพียงไม่กี่บรรทัด แล้วทึกทักข้อสรุปว่า “ความคิด ความจำ และการตัดสินใจ ทำได้โดยไม่ต้องใช้สมอง”    จึงลองถาม Generative AI 3 เจ้า   ทั้งสามเจ้าตอบตรงกันว่า คำถามของผมเป็นการด่วนสรุป   

สรุปข้อเรียนรู้ได้ว่า บทบาทของ ไมค์ เลวิน เน้นการท้าทายความเชื่อเดิม   ไม่ได้เน้นข้อสรุปใหม่   เป็นการทำหน้าที่ด้านความสร้างสรรค์ในช่วง “คิดฟุ้ง” (divergent thinking)   ไม่ใช่ช่วง “คิดสรุป” (convergent thinking) ผมเข้าใจผิดไปเอง   

 คุณค่าของผลงานของ ไมค์ เลวิน น่าจะอยู่ที่ ๕ ข้อที่ คุณ บาร์ด ณ กูเกิ้ล บอก

วิจารณ์ พานิช

๒ ก.พ. ๖๗

         

หมายเลขบันทึก: 717469เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2024 18:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2024 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

This reminds me of my own habits of ‘multitasking’ (doing several things within a same period of time). I am somehow ‘conditioned’ myself (according to Pavlovian principles - classical conditioning) to gloss over, picking only ‘high valued’ items (according to me) and making a (rushed) judgement. No formal statistics on ‘correctness’ have been kept, but I feel ‘relieved’ from pressure of contending issues and I can relax and spend more time with what I enjoy doing. Right or wrong will be my Kamma - that I will have to own up when the web of relations comes back to me.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท