วาทกรรม กับนิติศาสตร์


      มีหลายคนไม่อยากอ่านข่าวการเมือง ดูข่าวการเมืองและเม้น(Comment)เกี่ยวกับการเมือง เพราะการเมืองอยู่ไกลตัว หรืออยู่ใกล้ตัวจนไม่อยากวิจารณ์ ซึ่งมีทั้งผลดีและผลเสีย หรือเป็นเหรียญที่มี 2 ด้าน  เสมอ

      มีผู้ที่โพสประชดประชัน รุนแรงและแขวะการเมืองจนเป็นนิสัย เพื่อให้ใครที่ได้อ่านจะได้มีอารมณ์ร่วมไปด้วย วิจารณ์ไปในทิศทางเดียวกันหรือขัดแย้งกัน(conflict)  ก็แล้วแต่เรื่องแล้วแต่สาระ ซึ่งบางเรื่องก็เป็นที่สนใจและบางเรื่องก็ไม่เป็นที่สนใจของผู้อ่าน

      มีคำกล่าวว่า “บุคคลที่ศีลเสมอกัน”มักคุยกันเข้าใจในเรื่องนั้นๆและ เออ ออ ห่อหมก หรือพยักหน้าเกี่ยวกับเรื่องนั้นไปด้วยกัน มีความคล้อยตาม (conform)พักหนึ่งเรื่องนั้นก็ลดความร้อนแรงลงก็หยิบประเด็นเรื่องใหม่ขึ้นมาอีก ก็ใช้พฤติกรรมเช่นนั้นต่อไป

      อีกสองกลุ่มคือกลุ่มเป็นกลาง เฉยๆ ไม่วิจารณ์ก็คิดเสียว่า วิจารณ์ไป ดูไป ก็เท่านั้น เราก็ยังอยู่เหมือนเดิม กินข้าวจานเดิม นอนเตียงเดิมไม่เห็นอะไรจะต้องไปเกี่ยว  มันไกลตัว  ปวดหัวเปล่าๆ กับอีกกลุ่มหนึ่งมองการเมืองเป็นเรื่องสร้างสรรค์(creative)และศึกษาอดีต ปัจจุบันและคาดคะเนอนาคต  กลุ่มนี้อาจจะเป็นนักการเมืองในท้องถิ่น ในหมู่บ้าน หรือมีความคาดหวังจะเป็นสมาชิกพรรค  โดดลงไปเล่นการเมืองในอนาคต

      วิชา วาทกรรม (discourse)  เราอาจไม่ได้เรียนกันมาก แต่ใครได้เรียนก็จะเข้าใจถึง วาทกรรมของคนที่ต้องสร้างเรื่องราว ร้อยเรียงเรื่องเล็กๆให้เป็นเรื่องใหญ่หรือเรื่องใหญ่ๆทำให้เป็นเรื่องเล็กๆได้เพียงอาศัย การพูด การเขียน การนำเสนอผ่านสื่อ ก็จะสร้างมูลค่าให้กับตัวเอง และองค์กรได้เห็นทันตา

      เมืองไทย วิชาวาทกรรม(discourse) กับวิชานิติศาสตร์ (law) อาจจะขัดแย้งกัน  และสุดท้ายเมืองไทยใช้กฎหมายเป็นหลัก  ในวาทกรรมแต่ละวัน ในวาทกรรมแต่ละเหตุการณ์ แต่ละยุคสมัย  กฎหมายจะตัดสินผล(decide)ของการกระทำนั้นๆ  วาทกรรมใช้ได้เพียงแป๊ปแป๊บ แต่กฎหมาย ศาล และเรือนจำ คือสัจธรรมของคนที่ทำความผิด ต่อให้มีวาทกรรมดีแค่ไหน ก็หนีกฎหมายไปไม่ได้ เช่นเดียวกัน กฎหมายก็คุ้มครองคนดี  คนไม่มีวาทกรรม ก็สามารถยืนในสังคมได้ เพราะเมืองไทยคือ ประเทศที่ใช้กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรบริหารสังคมและบริหารประเทศ

หมายเลขบันทึก: 717384เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2024 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2024 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท