การอภิปรายที่มีคุณภาพสูงยิ่งเรื่องการศึกษา


การอภิปรายที่มีคุณภาพสูงยิ่งเรื่องการศึกษา

เป็นคำอภิปรายในสภาผู้แทนฯ เรื่องงบประมาณแผ่นดินปี ๒๕๖๗  โดยคุณพริษฐ์ วัชรสินธุ์   ฟังได้ที่ (๑)

หรืออ่านข้อความข้างล่าง

เรียนประธานสภาที่เคารพ กระผม พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อจากพรรคก้าวไกล ท่านประธานครับ วันนี้ผมขออนุญาตมีส่วนร่วมในการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. สองพันห้าร้อยหกสิบเจ็ด. ท่านประธานครับ. สิ่งที่ผมและพรรคก้าวไกลเรา. พยายามจะฉายภาพ. ให้เพื่อนสมาชิกและพี่น้องประชาชนเห็นตลอดสองถึงสามวันที่ผ่านมานั้น. คือการตั้งคําถามครับ ว่าท่ามกลางวิกฤตต่างต่างที่รัฐบาลบอกว่าเรากําลังเผชิญอยู่นั้น. แล้วเหตุใด. รัฐบาลจึงจัดสรรงบประมาณ. เสมือนกับว่าวิกฤติเหล่านั้น. ไม่ได้มีอยู่จริง. แม้เราอาจจะมีมุมมองที่ต่างกันครับ. ว่าบางวิกฤตินั้นหนักหนาสาหัสแค่ไหน แต่หากจะมีสักวิกฤติหนึ่งครับ. ที่ผมเชื่อว่าพวกเราทั้งห้าร้อยคนในที่นี้. และประชาชนทุกเฉดสีทางการเมืองนอกสภาแห่งนี้. เห็นตรงกันว่าเป็นวิกฤตจริง. และเป็นวิกฤตอันดับต้นต้นของประเทศ. นั่นก็คือวิกฤตเรื่องของการศึกษา

ท่านประธานครับ. ผลการประเมินปีซ่าครับ. ซึ่งเป็นการวัดเรื่องของคุณภาพของระบบการศึกษาแต่ละแห่ง. ทั่วประเทศ. ที่ถูกเผยแพร่ล่าสุดเมื่อไม่กี่เดือนที่แล้ว. ก็ได้ตอกย้ำครับ. และยืนยัน ถึงสามวิกฤติของการศึกษาไทยที่เรื้อรังมายาวนาน. วิกฤตที่หนึ่งของท่านประธานคือวิกฤตเรื่องของสมรรถนะ. หรือการที่เด็กไทยนั้น. มีทักษะสู้เด็กต่างชาติไม่ได้. รายงานฉบับล่าสุดของปีซ่าครับ. ก็สะท้อนให้เห็นชัด ว่าทักษะของเด็กไทยเรานั้น ในทุกทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์นั้น ก็มีความถดถอยลงมาอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดครับ อันดับของประเทศไทย ก็ไถลลงมา อยู่ที่ลําดับที่หกสิบ จากเจ็ดสิบกว่าประเทศ โดยเฉลี่ย จะอ้างว่าทั้งหมดนี้เป็นเพราะโควิด. ก็ฟังไม่ขึ้นครับท่านประธาน. เพราะคะแนนทักษะปีซ่าของประเทศไทยนั้นตกลงมามากกว่าประเทศอื่นอื่น. ทั้งทั้งที่โรงเรียนในประเทศเรานั้นปิดตัวลงเพราะโควิดน้อยกว่าประเทศอื่นด้วยซ้ำ

วิกฤตที่สองครับ. ท่านประธาน. คือวิกฤตเรื่องของความเหลื่อมล้ำ. หรือการที่เด็กไทยนั้น. มีโอกาสทางการศึกษาไม่เท่ากัน. รายงานปีซ่าฉบับล่าสุดก็สะท้อนให้เห็นเช่นกันครับ. ว่าช่องว่างเรื่องทักษะของเด็กไทย กว้างขึ้นเรื่อยเรื่อยตามสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว. ใครก็ตามครับที่ผู้ปกครองนั้นสามารถส่งไปเรียนที่โรงเรียนชั้นนําได้. ก็จะมีทักษะที่สู้กับเด็กต่างชาติได้อย่างสบาย. แต่เด็กส่วนใหญ่ในประเทศนี้ครับ ยังถูกประเมินโดยปีซ่า ว่าขาดทักษะ ในการนําความรู้มาใช้งานได้จริง. ส่วนวิกฤตที่สามของท่านประธานคือวิกฤติเรื่องของความเป็นอยู่. หรือการที่นักเรียนนั้นไม่มีความสุขในโรงเรียน มันเป็นเรื่องน่าเศร้านะครับท่านประธาน. ว่าในรายงานปีซ่าฉบับล่าสุด ประเทศไทยนั้นเข้ามาเป็นอันดับต้นต้นของโลก. ในเรื่องความทุกข์ของนักเรียน. หากเราไปดูเรื่องของสุขภาพกายครับ. เราจะเห็นว่าเด็กไทยนั้นต้องอดอาหารเยอะเป็นอันดับสี่. ของโลก

ถ้าท่านประธานไปเจอเด็กกลุ่มหนึ่งเล่นกันอยู่สิบคน. รายงานนี้กําลังบอกกับเราครับ. ว่ามีสามคนที่ต้องอดอาหารอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์. หรือหากเราไปดูในด้านของสุขภาพจิตหรือสุขภาพใจครับ เราก็จะเห็นว่านักเรียนไทยนั้นมีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในโรงเรียน สูงเป็นอันดับที่สี่ของโลกเช่นกัน ถ้านักเรียนเรา ยังต้องเรียนท่ามกลางความหวาดกลัว ท่ามกลางความหิวโหย แล้วพวกเขาจะเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร ท่านประธานครับ. ทั้งหมดที่ผมพูดมานี้นั้น. มันไม่ใช่เรื่องใหม่เลยครับ. แต่คําถามที่ผมอยากจะชวนทุกท่านคิดกันในวันนี้. คือเราจะทําอย่างไร? ให้สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้จริง หรือทําไมปัญหานี้ ยังไม่ถูกแก้ไขได้สักทีหนึ่ง. ที่ผ่านมาครับ. นักเรียนเราก็ลงทุนเวลาเรียนไปเยอะมาก. จนเรียกได้ว่าเรียนหนัก. และมีจํานวนชั่วโมงเรียนเยอะเป็นอันดับต้นต้นของโลก

ครูเราครับ. ก็ลงทุนเวลาทํางานไปเยอะเช่นกัน. จนแทบจะเป็นทั้งครู. ทั้งภารโรง. ทั้งนักบัญชี. ทั้งพ่อครัวแม่ครัวในคนเดียวกัน. ประเทศเราครับ. ก็ลงทุนงบประมาณเรื่องการศึกษาไป. ไม่น้อยกว่าประเทศอื่น แต่ไม่ว่าจะลงทุนทรัพยากรเวลาไปเท่าไหร่. ลงทุนทรัพยากรเงินไปเท่าไหร่. ทั้งหมดก็ยังนําพาเรามาสู่จุดวิกฤต ณ วันนี้. ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นชัดครับ ว่าปัญหาหลักของระบบการศึกษาไทยนั้นไม่ใช่เรื่องของปริมาณของทรัพยากร. แต่ปัญหาหลักของระบบการศึกษาไทยนั้นอยู่ที่ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรต่างหาก. ที่ผมพูดมาแบบนี้ ก็ไม่ได้หมายความนะครับ. ว่าผมไม่เห็นด้วยกับการจะเพิ่มงบประมาณด้านการศึกษา. แต่ผมพยายามจะสื่อครับ. ว่าถ้าเราไม่เร่งจัดการ. วิธีการจัดสรรทรัพยากร. วิธีการใช้เงิน. เราจะเพิ่มงบประมาณไปอีกกี่ล้านบาท

เราจะทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษาไปอีกกี่ครั้ง. ก็แก้ปัญหาการศึกษาในประเทศนี้ไม่ได้. เหมือนกับคนไข้ครับท่านประธาน. จะมีปัญหาที่หัวใจ. จะเพิ่มเลือดให้เขาสักเท่าไร. ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตเขาได้ หากเราไม่ผ่าตัด เปลี่ยนหัวใจเขา. ดังนั้นก็วันนี้ท่านประธาน. ผมเลยอยากจะเชิญชวนท่านประธานและเพื่อนสมาชิกทุกคนนั้น. มาร่วมกันผ่าตัด. เปลี่ยนหัวใจที่มีชื่อว่างบประมาณด้านการศึกษา และเช่นเดียวกันครับ. กับหัวใจของพวกเราทุกคน. หัวใจที่มีชื่อว่า งบประมาณด้านการศึกษานั้น ก็สามารถแบ่งออกได้เป็นสี่ห้องตามประเภทการใช้จ่าย. ห้องที่หนึ่งคือท่านประธานเป็นห้องที่ใหญ่ที่สุดครับ. มีชื่อว่างบบุคลากร ครอบคลุม ค่าตอบแทนของครู และบุคลากรในโรงเรียนทั่วประเทศ รวมถึงคนทํางาน ที่หน่วยงานส่วนกลาง และในระดับจังหวัด และเขตพื้นที่ ห้องที่สอง คณะประธานเล็กลงมานิดหนึ่ง มีชื่อว่า เงินอุดหนุนนักเรียน

ครอบคลุมเงินอุดหนุนที่อุดหนุนไปที่โรงเรียน. ผ่านโครงการเรียนฟรีสิบห้าปี. รวมไปถึงเงินอุดหนุนที่อุดหนุนไปที่ผู้ปกครองนักเรียนโดยตรง. ผ่านกลไกของกองทุน. เพื่อความสุขภาพทางการศึกษา. หรือว่า กสส ห้องที่สามของท่านประธานมีชื่อว่างบลงทุนครับ. หมายถึงงบลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างต่าง. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์การศึกษา. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรถโรงเรียน. อาคารเรียน. หรือสนามกีฬาเป็นต้น ส่วนห้องสุดท้ายก็ต้องทานมีชื่อว่า งบนโยบาย ที่ใช้ไปกับค่าใช้จ่ายของโครงการต่างต่างที่รัฐบาล ณ เวลานั้น เห็นว่าสําคัญต่อการพัฒนาระบบการศึกษา. พอเราแบ่งออกเป็นสี่ห้องแบบนี้ครับ. เราจะเห็นชัดว่าแม้ในภาพรวม. งบประมาณการศึกษาในปีนี้นั้นค่อนข้างที่จะคงที่ เพิ่มขึ้นแค่ประมาณศูนย์จุดสามเปอร์เซ็นต์หรือประมาณหนึ่งพันล้านบาท. แต่เราจะเห็นถึงความพยายามของรัฐบาลครับ. ที่จะปรับลด ลดงบประมาณในส่วนของงบลงทุนลง. เพื่อไปเติมให้กับห้องอื่นอื่น. โดยเฉพาะห้องที่มีชื่อว่าเงินอุดหนุนนักเรียน

แต่ดูแค่พาดหัวแบบนี้ ก็คงไม่เพียงพอหรอกครับ. ที่จะฟันธงว่างบปีนี้ตอบโจทย์ในการแก้ไขวิกฤติการศึกษาแค่ไหน? หากเราไม่ผ่าตัดแต่ละห้องมาดูอย่างใกล้ชิด. เพราะว่าท่านประธานครับ. ปีศาจอยู่ในรายละเอียดเสมอ เราไปเริ่มกันที่ห้องที่มีชื่อว่างบนโยบายครับ. เหตุผลที่ผมตัดสินใจมาเริ่มที่ห้องนี้ครับท่านประธาน. เพราะว่าในบรรดาสี่ห้อง. ห้องนี้น่าจะเป็นห้องที่รัฐบาลนั้นมีอํานาจและมีพื้นที่ในการปรับเปลี่ยนการจัดสรร หรือออกแบบงบประมาณใหม่ได้ทันที. แต่ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะน่าเสียดายครับ. ที่รัฐบาลดูเหมือนจะว่าไม่ได้คว้าโอกาสนี้ไว้มากเท่าที่ควร. เพราะพอเราไปดูโครงสร้างภาพรวม. หรือรูปร่างหน้าตาของงบประมาณในก้อนนี้ เราจะเห็นว่ามีโครงสร้างและรูปร่างหน้าตาที่แทบจะไม่แตกต่างจากปีที่แล้ว ในส่วนของรูปร่างท่านประธาน เราจะเห็นว่างบนโยบายทั้งหมดนั้นก็ถูก กระจายหรือถูกจัดสรรไปให้กับโครงการต่างต่าง ในลักษณะเบี้ยหัวแตก

เกินครึ่งหนึ่งครับ เป็นโครงการที่ เป็นโครงการขนาดเล็ก มีการใช้งบนโยบาย ไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาทต่อโครงการ เสมือนกับว่า รัฐบาลกําลังจะเหวี่ยงแห ให้ดูเหมือนว่ากําลังทําหลายอย่างอยู่. แต่ทําไปแล้วจะแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่? ก็ต้องไปลุ้นกันอีกทีหนึ่ง. ส่วนในเชิงของหน้าตาครับ. หรือว่าเนื้อหาสาระของโครงการ. เราก็จะเห็นนะครับ. ว่าโครงการในงบปี หก เจ็ด นั้น. ก็แทบจะเป็นโครงการเดียว. กับในงบปี หกหก. เกือบทั้งหมด จะมีโครงการแค่กลุ่มก้อนเดียวครับ. ที่เป็นโครงการที่ใหม่จริงจริง. นั่นคือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ. หรือว่าแพลตฟอร์มการเรียนรู้แบบดิจิทัล. ที่มีการตั้งงบประมาณไว้หลายหน่วยงาน. รวมกันประมาณหกร้อยกว่าล้านบาทในปีนี้ ผมเห็นด้วยในภาพรวมนะครับ. ที่เราจะมีการนําประโยชน์จากเทคโนโลยีมาใช้ในการยกระดับการศึกษา. และผมเชื่อครับ. ว่าท่านรัฐมนตรีก็ทราบดี. ว่าการสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ดีนั้น

ก็จําเป็นที่ต้องมุ่งเป้าไปสู่การสร้างประสบการณ์เรียนรู้ที่ดีให้กับผู้เรียน. ทั้งในเชิงของระบบ. ในเชิงของเนื้อหาการเรียนการสอน. และก็ต้องทําควบคู่กับการยกระดับทักษะของครูทั่วประเทศ. ให้สามารถนําเทคโนโลยีมาผสมผสานกับการสอนในห้องเรียนได้ แต่ในวันนี้ครับ ที่ท่านกําลังจะมาขอให้สภาแห่งนี้ อนุมัติงบประมาณมหาศาลให้ท่านไปเริ่มลงทุนในการพัฒนาแพลตฟอร์มนี้ ผมจําเป็นต้องขอครับ ให้ท่านรับประกันสองอย่างด้วยกัน อย่างที่หนึ่งครับ. ท่านต้องรับประกันครับ. ว่าการพัฒนาแพลตฟอร์มนี้นั้น. จะไม่มีความซ้ำซ้อนกันเองระหว่างแต่ละหน่วยงานที่มีการตั้งโครงการลักษณะนี้ขึ้นมาใหม่. และไม่ซ้ำซ้อนกับทรัพยากรเดิมที่เรามีอยู่แล้ว ส่วนอย่างที่สองก็ท่านประธาน. คือรัฐบาลต้องรับประกันครับ. ว่ากระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดทําและพัฒนาแพลตฟอร์มนี้. จะต้องดําเนินการด้วยความโปร่งใส. บริษัทที่จะเข้ามาพัฒนาแพลตฟอร์มนี้. ต้องถูกคัดเลือก

จากผลงาน. จากความคุ้มค่าของสิ่งที่เขานําเสนอ. ไม่ใช่เอาบริษัทที่ลอยมาจากท้องฟ้า. เพียงเพราะว่าผู้บริหารนั้นมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับผู้ใหญ่ในกระทรวง แต่หากเราจะเจาะลึกลงไปครับ. ในส่วนของโครงการในงบก้อนนี้ที่ผมมองว่ามีปัญหาจริงจริง. ผมขออนุญาตแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันครับ. ประเภทที่หนึ่งครับ. คือโครงการที่ผมคิดว่าไม่ควรจะมี. แต่ยังคงมีต่อ. ส่วนประเภทที่สองครับ. คือโครงการที่ควรจะมี. ก็ยังไม่เริ่มมีสักทีหนึ่ง เราไปประเภทแรกก่อนครับ คือโครงการที่ไม่ควรมี แต่ยังคงมีต่อ โครงการที่เข้าข่ายปัญหานี้มากที่สุดครับ ท่านประธานคือโครงการที่ทําให้เรารู้สึกเสียดายทั้งเงินภาษีพี่น้องประชาชน และเสียดายเวลาคุณครู ไปในเวลาเดียวกัน ปัจจุบันครับ คุณครูเราทั่วประเทศต้องเสียเวลา กว่าสี่สิบเปอร์เซ็นต์ของเวลาทํางาน ไปกับภาระงานและกิจกรรมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน แบบสอบถามครับ ที่ถูกจัดทําโดย ทีดีอาร์ไอ ครั้งล่าสุด ก็ได้สะท้อนให้เห็นชัดครับ

ว่าภาระงานที่คุณครูทั่วประเทศเขามองว่าไปกระทบการสอนเขามากที่สุด. ก็คือการต้องมาเขียนรายงาน. ผลการดําเนินงานของโครงการต่างต่าง. ที่กระทรวงตั้งขึ้นมาในเอกสารงบประมาณฉบับเหล่านี้. ผมเชื่อครับ. ว่าเวลาท่านคิดโครงการต่างต่างขึ้นมานั้น. ท่านคงมีเจตนาที่ดี แต่ผมอยากให้ท่านตระหนักเพิ่มอีกสักนิดหนึ่งครับ. ว่าทุกครั้งที่ท่านปิ๊งโครงการใหม่ใหม่ขึ้นมานั้น. ภาระงานทั้งหมดมันจะไปถาโถมอยู่กับครูหน้างาน. และหากท่านตระหนักเรื่องนี้อีกสักนิดหนึ่ง. ผมก็หวังนะครับ ว่าท่านจะเห็นถึงความจําเป็นในการปรับลดโครงการต่างต่างเพื่อคืนภาษีให้กับพี่น้องประชาชน. และคืนเวลาให้กับคุณครู. แต่หากฟังมาถึงตรงนี้แล้ว. ถ้าไม่แน่ใจว่าโครงการที่ผมกําลังพูดถึงนั้น. หมายถึงโครงการประเภทไหนบ้าง? ตัวอย่างอะไรบ้าง ผมก็ขออนุญาตยกตัวอย่างขึ้นมาทั้งหมดสองตัวอย่างให้ท่านเห็นภาพชัดเจนขึ้นครับ. ตัวอย่างที่หนึ่งครับ. ของโครงการที่ผมคิดว่าไม่ควรมีหรือควรจะถูกปรับลดแต่ยังคงมีอยู่. คือโครงการที่ผมเรียกว่าโครงการรวมมิตรความดีท่านประธาน

ทุกปีครับเราจะเห็นว่างบประมาณการศึกษาบางส่วนนั้นจะถูกจัดสรรไปให้กับโครงการที่พยามทําให้นักเรียนของเรานั้นโตมาไม่เลวไม่โกงไม่เสพยา ปีนี้ก็ยิ่งกว่าเดิมครับท่านประธาน ถ้าเราไปดูงบประมาณของโครงการที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม คุณธรรมหรือการต่อต้านการทุจริตครับ. ปีนี้รวมกันอยู่ที่ประมาณหนึ่งร้อย หกสิบล้านบาท. เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วแปดเปอร์เซ็นต์. หรือในส่วนของงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้านยาเสพติดครับ. ก็รวมกันอยู่ที่หนึ่งร้อยสิบห้าล้านบาท. เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว. ประมาณสิบสี่เปอร์เซ็นต์ อันนี้ยังไม่นับนะครับ. รายการใหม่ที่โผล่ขึ้นมาครับ. มีชื่อว่าโครงการส่งเสริมการสร้างคนดีตามหลักการทางศาสนาที่ถูกต้อง. ที่ปีนี้มีการตั้งงบประมาณเข้ามาสองร้อยเจ็ดสิบสามล้านบาท ผมพูดแบบนี้ผมไม่ได้หมายความว่าเรื่องศีลธรรม. เรื่องคุณธรรม. เรื่องจริยธรรม. เรื่องการต่อต้านการทุจริต. ไม่ใช่เรื่องสําคัญนะครับ. แต่ผมไม่คิดครับ. ว่าการเอางบ. เอาเวลาครูไปลงกับโครงการเดิมเดิมแบบนี้

ก็พยายามจะปลูกฝังให้นักเรียนเราเป็นคนดีผ่านการทําโครงงานคุณธรรมนั้น จะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ความจริงแล้ววิธีที่น่าจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด มันอาจจะไม่ใช่การให้กระทรวงนั้นมาคิดค้นโครงการเพิ่มเติมเข้ามาด้วยซ้ำ แต่คือการพยายามจะให้ครูในห้องเรียนนั้นแทรกซึมสิ่งเหล่านี้เข้าไปในกระบวนการเรียนการสอนในห้องเรียนเอง แต่ยิ่งไปกว่านั้นครับท่านประธานผมต้องตั้งคําถามต่อ ว่าแทนที่เราจะมามัวแต่คิดกันว่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักเรียนอย่างไร มันอาจจะถึงเวลาแล้วครับ. ที่เราต้องหันมาทบทวน. พฤติกรรมของผู้ใหญ่อย่างพวกเรากันเอง. เราจะไม่คาดหวังให้นักเรียนนั้นเห็นถึงความสําคัญ. ในการต่อต้านการทุจริตได้ยังไง แต่เรายังมีโรงเรียน ที่เรียกเงินแป๊ะเจี๊ยะ หรือรับเงินใต้โต๊ะจากผู้รับเหมา. เราจะไปคาดหวังให้นักเรียนนั้นเขาหยุด bully กันและกัน. หยุดกลั่นแกล้งกันและกันได้ยังไง? หากเรายังไม่กล้าลงโทษครูที่ไปกลั่นแกล้งทําร้ายร่างกาย. และละเมิดสิทธินักเรียน

แล้วเราจะไปคาดหวังให้นักเรียนนั้นเขาไม่ลอกการบ้านเพื่อน. ลอกการบ้านกันและกันได้ยังไง? หากเรายังมีคนออกข้อสอบ การเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ไปลอกข้อสอบมาจากต่างประเทศ แต่นอกจากประเภทที่หนึ่งครับ คือโครงการที่ไม่ควรมี แต่ยังคงมีต่อ. ผมขอขยับมาที่ประเภทที่สองที่มีปัญหา. นั่นคือโครงการที่ควรจะมีครับ. แต่ว่ายังไม่มีสักทีหนึ่ง. ขออภัยครับ. ขออนุญาตกลับมาอีกทุกอย่างหนึ่ง. ใช้ภาพให้เห็นชัดขึ้น ในบรรดาโครงการที่ควรมีแต่กลับยังไม่ เอ่อ ในบรรดาโครงการที่ไม่ควรมี แต่ยังมีอยู่ครับ. นอกจาก ตัวอย่างที่หนึ่งเรื่องโครงการรวมมิตรความดีแล้วครับ. มีตัวอย่างที่สอง. ก็คือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการอบรมครูจากศูนย์กลาง. ไม่พูดไม่ได้ครับท่านประธาน ผมเชื่อครับ. ว่าในสูตรนี้รัฐบาลเองก็เห็น ถึงปัญหาครับ. ของการให้ส่วนกลางนั้นมาคิดแทนครูทั่วประเทศ. ว่าจะอบรมครูในหัวข้ออะไร? เพราะหากเราไปดูงบในปีนี้ครับ. เราก็จะเห็นว่า งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมครูโดยตรงนั้น. ก็ลดลงไปประมาณยี่สิบ ถึงสามสิบเปอร์เซ็นต์. แต่ท่านประธานครับ. ด้วยความเคารพ. ผมคิดว่าเราคิดใหญ่ทําใหญ่ได้มากกว่านี้ครับ. สิ่งที่ผมอยากเห็นครับท่านประธาน ไม่ใช่การที่ท่านรัฐมนตรีนั้นไปปรับลดงบประมาณแบบนี้. ขึ้นขึ้นกลางกลางเท่านั้นครับ. แต่สิ่งที่ผมอยากเห็นที่สุดครับ. คือการที่ท่านรัฐมนตรีนั้น. กล้าจะเปลี่ยนงบอบรมครูที่ปัจจุบันส่วนกลางเป็นคนคิด. เป็นคนตัดสินใจว่าจะใช้ไปกับอะไร. และกระจายไปให้. ครูแต่ละคน. โรงเรียนแต่ละแห่งโดยตรง ให้เขาไปคิดเองครับ. ว่าจะนําไปใช้ในการอบรมครู. ด้านไหนอย่างไรที่ตอบโจทย์พวกเขามากที่สุด? ขยับมาสู่โครงการประเภทที่สองครับ. คือโครงการที่ผมคิดว่าควรจะมี. แต่ในปีนี้ก็เห็นว่ายังไม่มีสักทีหนึ่งครับ สิ่งที่ผมอยากจะเห็นมากที่สุดก็ท่านประธาน ในงบนโยบายการศึกษาในปีนี้ จะพลิกในเอกสารงบประมาณเท่าไหร่ก็หาไม่เจอครับ. เป็นสิ่งที่ความจริงแล้วใช้งบประมาณไม่เยอะเลย. แต่หากไม่ทํา ผมเกรงว่าจะใช้งบประมาณด้านอื่นอีกกี่ล้านบาท. ก็จะ แก้ปัญหาการศึกษาไทยไม่ได้

สิ่งที่ผมพูดถึงท่านประธาน. คือหลักฐานยืนยันจากรัฐบาลชุดนี้. ว่ารัฐบาลจะเดินหน้าในการจัดทําหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่. ที่เน้นทักษะสมรรถนะให้สําเร็จ. ภายใต้รัฐบาลดี เมื่อก่อนปีใหม่แค่ไม่กี่วันครับท่านประธาน. ผมก็ได้ฟังที่ท่านนายกพูดในที่ประชุม. ว่าท่านเองก็ไม่ได้เห็นด้วยกับยุทธศาสตร์ชาติยี่สิบปี. เพราะว่าโลกใบนี้นั้นมันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขึ้น แต่ด้วยความเคารพพระประธาน. หากรัฐบาลชุดนี้ไม่เดินหน้าในการจัดทําหลักสูตรการศึกษาฉบับใหม่ให้สําเร็จ. ภายใต้วาระของท่าน. ผมเกรงครับ. ว่าสิ่งที่รัฐบาลกําลังจะทํานั้น. คือการล็อกระบบการศึกษา. ให้หยุดอยู่กับหลักสูตรการศึกษา. ฉบับเดิม ที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่มายาวนาน ยี่สิบปี. ยี่สิบปีเป็นเวลาที่ยาวนานมากครับ. เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น. ที่มีระบบการศึกษา. ที่มีคุณภาพดีเป็นระดับต้นต้นของโลก. ไม่ว่าจะเป็นฟินแลนด์สิงคโปร์. ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้. ที่มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรทั้งใหญ่

อย่างต่อเนื่องทุกทุกห้าถึงสิบปี. จะว่าไปแล้วการเดินหน้าในการจัดทําหลักสูตรฉับใหม่นั้น. ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนอะไรมากนักครับท่านประธาน. เพราะว่าเรามีสารตั้งต้นอยู่แล้ว ที่หลายฝ่าย. ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายวิชาการ. ฝ่ายภาคประชาสังคมก็ดี. ได้จัดทําไว้เบื้องต้น. เลยได้นําไปทดลองนําร่องในบางแห่ง. แต่ทั้งหมดครับท่านประธานมันก็หยุดชะงักไปภายใต้รัฐบาลชุดที่แล้ว. ท่ามกลางข้อครหาครับ ที่ถูกพูดถึงในรายงานของภาคีเครือข่ายเพื่อการศึกษาไทย. หรือว่า TEPP. ที่บอกเอาไว้ครับ. ว่าเหตุผลส่วนหนึ่ง ที่อาจจะทําให้รัฐบาลชุดที่แล้วไม่เดินหน้าในการจัดทําหลักสูตรการศึกษาฉบับใหม่. ก็เพราะกังวลถึงผลกระทบ ที่จะไปเกิดต่อสํานักพิมพ์บางแห่ง. จากนั้นครับวันนี้. ในวันที่เรามีนายกคนใหม่. ในวันที่เรามีรัฐบาลชุดใหม่. ท่านช่วยยืนยันกับผมได้ไหมครับ? ว่าท่านจะจัดทําหลักสูตรการศึกษาฉัตรใหม่ให้สําเร็จภายใต้การบริหารของท่าน

ท่านช่วยยืนยันกับผมได้ไหมครับ? ว่าท่านเห็นอนาคตลูกหลานเราทุกคน. สําคัญกว่ากําไรของสํานักพิมพ์บางแห่ง ไปต่อกันที่ห้องถัดไปครับ. ไปที่ห้อง ห้องที่มีชื่อว่า งบลงทุนครับ. ท่านประธานครับ. ในภาพรวมผมไม่ติดใจนะครับ. ที่รัฐบาลนั้น. มีความพยายามจะประหยัดงบ. ลงทุนในส่วนนี้ลงมาประมาณยี่สิบสามเปอร์เซ็นต์. เพื่อไปเพิ่มเงินอุดหนุนให้กับนักเรียนไปอีกห้องหนึ่ง แต่พอ พอผมไปดูในรายละเอียดครับ. ว่าท่านตัดสินใจปรับลดงบลงทุนส่วนไหน? หรือท่านจัดงบลงทุนให้กับใคร? ผมมีข้อกังวลสองอย่างครับ. ที่ผมจําเป็นต้องถาม. จริงจริง. ข้อกังวลที่หนึ่งครับ คือท่านใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินใจ. ว่าจะปรับลดงบลงทุนส่วนไหน. เพราะพอเราไปดูรายละเอียดครับ. ในส่วนของงบที่ดินและสิ่งก่อสร้างของกระทรวงศึกษาธิการในปีนี้. ที่ถูกปรับลดลงไปยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์หรือประมาณสามพันสามร้อยเก้าสิบล้านบาท

เราจะค้นพบครับ. ว่าสองกลุ่มที่ถูกปรับลดงบลงทุนเยอะเป็นพิเศษครับ. ก็คืออาคารสําหรับเด็กด้อยโอกาสและเด็กพิการ. ที่ถูกปรับลดลงไปสี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์. และสามสิบเจ็ดเปอร์เซ็นต์. ตามลําดับ นี่เหรอครับ คือการจัดงบ การศึกษาแบบ จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน ที่ท่านรัฐมนตรีประกาศไว้ในนโยบายของกระทรวง. ถ้าเป็นแบบนี้ผมคิดว่านี่คือการจัดงบการศึกษาแบบ อ่อนแอ. ก็แพ้ไป ที่ไปซ้ำเติมปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศเราซะมากกว่า. ส่วนข้อมูลที่สองของท่านประธานที่จําเป็นต้องถามจริงจริง. ก็คือท่านใช้เกณฑ์อะไรครับในการตัดสินใจว่าจังหวัดไหน. จะได้งบลงทุนด้านการศึกษามากกว่าหรือน้อยกว่ากัน ที่ผมถามแบบนี้ก็ท่านประธาน. เพราะพอเราไปดู. โครงการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์. ที่เรียกได้ว่าเป็น โครงการลงทุนหลักเลยครับ. ของสํานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. หรือ สอส. รับผิดชอบ

แปดสิบสามเปอร์เซ็นต์ของงบลงทุนทั้งหมด ของหน่วยงานนี้ ในงบประมาณปีนี้. เราจะเห็นครับว่างบประมาณที่ถูกกระจายไปต่างจังหวัดทั่วประเทศรวมกันอยู่เกือบหนึ่งพันล้านบาทนั้น. มันถูกกระจายไปแบบ ค่อนข้างที่จะน่าสงสัยครับท่านประธาน ผมเข้าใจดีครับ. ว่าการกระจายงบประมาณอย่างเป็นธรรมนั้น. มันไม่ได้หมายความว่าทุกจังหวัดนั้น. จะต้องได้งบลงทุนด้านอาชีวศึกษาเท่ากันเป๊ะเป๊ะ. เนื่องจากแต่ละพื้นที่ก็อาจจะมีสภาพปัญหา. ความจําเป็นต้องการที่มันแตกต่างกันออกไปบ้าง. แต่มันน่าสงสัยจริงจริงครับท่านประธาน. ว่าทําไม จังหวัดที่มี สส เขต ที่มาจากพรรคเดียวกันกับท่านรัฐมนตรีนั้น. ถึงได้งบในส่วนนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึงยี่สิบสี่เปอร์เซ็นต์. ในขณะ ที่จังหวัด ที่มี สส เขต. หรือว่าที่จังหวัดที่ไม่มี สส เขต. ที่มาจากพรรคเดียวกันกับท่านรัฐมนตรีนั้น. กลับได้งบในส่วนนี้. ต่ํากว่าค่าเฉลี่ย เกือบยี่สิบเปอร์เซ็นต์ ผมก็ได้แต่เพียงหวังนะครับ. ว่าในวันที่นักเรียนทั่วประเทศทุกพื้นที่เผชิญกับวิกฤตการศึกษากันอย่างถ้วนหน้า. เกณฑ์ที่ท่าน ท่านใช้ในการตัดสินใจ. ว่าจังหวัดไหน. จะได้รับงบซ่อมแซมอาคารก่อนหลัง. สถานศึกษาไหน

จะได้รับอุปกรณ์เกาะหลัง จะอยู่บนพื้นฐานของความเดือดร้อนของนักเรียน พื้นฐานความเร่งด่วนของโครงการเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์หรือการตอบแทนการทางการเมือง ไปสู่ห้องถัดไปก็รับประทาน. ไปกันที่ห้องเงินอุดหนุนครับ. ท่านประธานครับ. ห้องนี้เป็นห้องที่มีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง. กับผู้ปกครองทุกคนทั่วประเทศครับ. เพราะเป็นห้องที่จะชี้ขาด. ว่าการศึกษาไทยนั้นฟรีจริง หรือไม่? ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีในเบื้องต้นนะครับ. ที่ในปีนี้รัฐบาลเองก็มีการจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้เพิ่มขึ้น. อยู่ที่ประมาณสี่พันสามร้อยกว่าล้านบาทหรือห้าจุดสองเปอร์เซ็นต์. แต่ถึงอย่างไรเราก็ต้องยอมรับกันอย่างตรงไปตรงมาครับ. ว่าทั้งหมดนี้ก็ยังห่างไกล การทําให้การศึกษาในประเทศนี้ฟรีจริง. เพราะหากเราไปดูข้อมูลครับ. จากบัญชีรายจ่ายและการศึกษาที่จัดทําโดย กสส. เราจะค้นพบครับ. ว่า ณ ปัจจุบัน. ทุกทุกหนึ่งร้อยบาทที่ถูกใช้ไป. ด้านการศึกษานั้น. รัฐเป็นคนจ่าย

ที่ประมาณเจ็ดสิบกว่าบาท. ในขณะที่ผู้ปกครองนั้น ต้องควักเองประมาณยี่สิบกว่าบาท. รวมกันเกือบสองแสนล้านบาท. แม้ผมไม่ได้คาดหวังครับ. ว่ารัฐบาลนั้นจะต้องเข้ามาเพิ่มงบประมาณหลักแสนล้านบาท. วันนี้ทันที แต่ในวันที่ผู้ปกครองทั่วประเทศ. รวมไปถึงผู้ปกครองที่ยากจนที่สุด. ยังต้องควักเงินตัวเองหลายพันบาทต่อปี. เพื่อให้ลูกได้เรียนที่โรงเรียน. ผมก็อยากเห็นรัฐบาลพยายามมากกว่านี้อีกนิดหนึ่งครับ. ในการช่วยเหลือนักเรียนและผู้ปกครองในประเทศนี้. ผมมีข้อเสนอสามอย่างด้วยกันครับ ข้อเสียที่หนึ่งครับ คือการขยายหรือการเพิ่มเงินอุดหนุนให้กับนักเรียนยากจน ที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา ผมเข้าใจครับว่าทางรัฐบาลเองก็เพิ่งมีมติ ที่จะเพิ่มเงินอุดหนุนต่อหัว สําหรับเด็กยากจนพิเศษ ผ่าน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. แต่ท่านประธานทราบไหมครับ? ว่าหากรัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นมา อีกสักห้าพันล้านบาท. ท่านจะสามารถช่วยเหลือนักเรียนและผู้ปกครองได้อีกสามเด้งด้วยกัน

เด้งที่หนึ่งครับ. คือท่านจะสามารถขยายทุนปัจจัยพื้นฐานสําหรับเด็กยากจน. ให้ครอบคลุม. เด็กยากจนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งล้านคน. ที่ กสส. นั้นมาช่วยคัดกรองและค้นพบว่าก่อนหน้านี้ตกสํารวจ เรื่องที่สองครับ. คือท่านจะสามารถขยายทุนปัจจัยพื้นฐานสําหรับเด็กยากจน. ให้ครอบคลุมจากเดิม. ที่ครอบคลุมเพียงแค่เด็กประถม. และนักเรียนมัธยมต้น. ให้มาครอบคลุมเด็กอนุบาล. และนักเรียนมัธยมตายด้วยเช่นกัน. และเด้งที่สามของท่านประธาน. คือท่านจะสามารถขยาย ในส่วนของการอุดหนุนค่าอาหารกลางวัน. จากเดิมครับ. ที่ให้ถึงแค่ระดับประถม. ขยายมาให้กับนักเรียนมัธยมต้น. ในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัด สพฐ. ทุกแห่ง. ทั่วประเทศ. ข้อเสนอที่สองครับ. ท่านประธานคือการตัด ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาที่ไม่จําเป็นออกไปเพื่อลดภาระให้กับผู้ปกครอง. ในเรื่องนี้ความจริงถ้าท่านไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหนครับ. ถ้าไม่ต้องคิดเองใหม่หมดก็ได้. เพราะว่าผลสํารวจ ความเห็นครับ. ที่กระทรวงของท่านก็ได้รวบรวมมา. แล้วก็เผยแพร่ในเพจ สท. สามร้อยหกสิบองศา

ท่านก็บอกเองครับ. ว่าในบรรดาประชาชนที่เข้ามาตอบแบบสอบถาม. มาแสดงความเห็นนั้น. แปดสิบห้าเปอร์เซ็นต์. พูดเป็นเสียงเดียวกันครับ. ว่าเขาอยากเห็นกระทรวงนั้น. หยุดบังคับเรื่องของชุดลูกเสือ. และให้หันมาใช้ชุดลําลองและชุดพระแทน. เพื่อลดภาระให้กับผู้ปกครอง ส่วนข้อเสนอที่สามของท่านประธาน. คือการบริหารจัดการเงินอุดหนุนที่มีอยู่แล้ว. ให้มันมีประสิทธิภาพ. ในการใช้จ่ายมากขึ้นกว่าเดิม. วิธีที่ท่านสามารถทําได้ครับ. โดยไม่ต้องเพิ่มงบสักบาท. คือการเปลี่ยนวิธีการอุดหนุนเงินไปที่โรงเรียนครับ จากปัจจุบันที่เป็นการอุดหนุน. แบ่งออกเป็นห้าก้อน. ซึ่งมีการล็อกไว้ว่าก้อนไหน? ใช้กับอะไรได้บ้าง? มันเป็นการอุดหนุนแบบก้อนใหญ่ก้อนเดียวที่ไม่กําหนดวัตถุประสงค์. หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Block prance. ที่จะทําให้โรงเรียนนั้นมีความยืดหยุ่นและมีอิสรภาพมากขึ้น ใช้งบประมาณอย่างไรที่มันตอบโจทย์ความต้องการของโรงเรียนในพื้นที่ของเขา. มาที่ห้องสุดท้ายครับท่านประธาน. ห้องที่มีชื่อว่างบบุคลากร. ท่านนายครับ. แม้ห้องนี้เป็นห้องที่ใช้งบ. เยอะที่สุดนะครับ

แต่ผมขออนุญาตใช้เวลาไม่มากนักในวันนี้. เพื่ออภิปรายรายละเอียดของห้องนี้. เพราะความจริงแล้วต้องยอมรับว่าเป็นห้องที่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนงบประมาณในระยะสั้น. ได้ยากที่สุด. แต่ถึงอย่างไรก็ตามครับ. หากเราต้องการจะมีงบประมาณเพียงพอสําหรับห้องอื่นอื่น เราก็จําเป็นครับ ที่ต้องบริหารจัดการงบบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการเผชิญหน้ากับสองโจทย์ที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง โจทย์ที่หนึ่งครับท่านประธานคือการแก้ปัญหาเรื่องของครูกระจุก แต่โรงเรียนกระจัดกระจาย โดยการหาทางออกที่ยั่งยืน เรื่องของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. ซึ่งในหัวข้อนี้. เดี๋ยวเพื่อนสมาชิกของผม. คุณวิโรจน์ ลักขณา ดิศร จะลุกขึ้นมาอภิปรายให้ท่านฟัง. โดยละเอียด. ส่วนโจทย์ที่สองท่านประธานคือการแก้ปัญหา อํานาจประจุ. แต่การทํางานกระจัดกระจาย. โดยการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงครับ. เพื่อให้มีการทํางานที่ซ้ำซ้อน. ลดน้อยลงมา. และมีการกระจายหน้าสู่สถานศึกษามากขึ้น. ซึ่งในหัวข้อนี้เราคงได้อภิปรายกันเต็มที่ครับ. ในวันที่พรรคก้าวไกลเสนอร่าง

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเข้าสู่สภาแห่งนี้. ท่านประธานครับผมขออนุญาตทิ้งท้ายว่า หากพรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาล. หรือหากรัฐบาลในวันนี้ยินดีที่จะรับฟังข้อเสือของเราในฐานะฝ่ายค้าน. ผมต้องยืนยันจริงจริงครับ ว่าวิกฤตการศึกษาไทยนั้นไม่สามารถแก้ไขได้. หากเราไม่ผ่าตัด. หัวใจทั้งสี่ห้องของงบประมาณด้านการศึกษา. ในส่วนของห้องงบนโยบายครับ ผมทบทวนอีกรอบว่าเราจําเป็นต้องทําอย่างน้อยสามอย่างด้วยกัน. อย่างที่หนึ่งครับ. คือการยกเลิกโครงการที่ไม่จําเป็นเพื่อคืนครูให้กับห้องเรียน. อย่างที่สองครับ. คือการกระจายงบอบรมครูจากส่วนกลางไปให้กับครูและโรงเรียนโดยตรง. และอย่างที่สามครับ. คือการเดินหน้าในการจัดทําหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ฉบับใหม่ที่เน้นทักษะสมรรถนะ ในส่วนของห้องงบลงทุนครับ เราก็จําเป็นต้องทําอย่างน้อยสองอย่าง. อย่างที่หนึ่งครับ. คือการประหยัดงบให้ถูกจุด. โดยที่ไม่ไปซ้ำเติมหรือไม่ไม่ไปกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง. หรือไปเพิ่มความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา

และอย่างที่สองครับ คือการกระจายงบประมาณลงทุนให้แต่ละจังหวัดอย่างเป็นธรรม ด้วยเกณฑ์ที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ ในส่วนของห้องที่มีชื่อว่าเงินอุดหนุนครับ เราก็จําเป็นต้องทําอย่างน้อยสามอย่าง อย่างที่หนึ่งครับ คือเพิ่มเงินอุดหนุนให้กับนักเรียน ที่ยากจนที่มีความเสี่ยงที่สุด ที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษาอย่างน้อยห้าพันล้านบาท. อย่างที่สองครับ. คือการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นเพื่อลดภาระให้กับผู้ปกครอง. และอย่างที่สามคือการเปลี่ยนวิธีการอุดหนุน. ให้เป็นการอุดหนุนแบบไม่กําหนดวัตถุประสงค์. หรือว่าบล็อกกราน และในห้องสุดท้ายครับ. ในส่วนของงบบุคลากร. เราก็จําเป็นต้องทําอย่างน้อยสองอย่างครับ. อย่างที่หนึ่งคือการเร่งหาทางออก. เรื่องการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. และอย่างที่สองครับ. คือการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวง. เพื่อลดความซ้ำซ้อนกระจายอํานาจ. และก็เพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งหลายข้อเสนอนี้ครับ. ก็เป็นข้อเสนอที่พวกเรานั้นสามารถร่วมกันดําเนินการได้เลย. ในชั้นกรรมาธิการ. หรือในการพิจารณาวาระที่สองและสาม. ของงบประมาณหกเจ็ดในปีนี้. ท่านประธานครับ. การผ่าตัดหัวใจทั้งสี่ห้องแบบนี้นั้น. จะไม่เพียงแต่ทําให้แต่ละห้องนั้นมันมีความแข็งแรงมากขึ้น

แต่มันยังจะทําให้หัวใจโดยรวมของงบประมาณการศึกษาไทยนั้น. ตอบโจทย์เรามากขึ้นในอีกสองมิติด้วยกันครับ. มิติที่หนึ่งครับ. คือมันจะทําให้หัวใจเรานั้นมีความสมดุลมากขึ้นระหว่างแต่ละห้อง เพราะงบประมาณทุกบาทที่เราสามารถประหยัดได้. จนในห้องงบนโยบายก็ดี. หรือจะในห้องงบลงทุนหรืองบบุคลากรในอนาคตก็ดี. จะเป็นงบประมาณที่เราสามารถมาเติมให้. เป็นเงินอุดหนุนนักเรียนได้มากขึ้น. และอีกมิติที่สองครับ การผ่าตัดทั้งสี่ห้องแบบนี้ครับ. ก็จะทําให้หัวใจของเรานั้นเต้นตามจังหวะของโรงเรียนและนักเรียนมากขึ้น. เพราะแทนที่จะปล่อยให้กระทรวงคิดเองทั้งหมดครับ. ข้อเสียนี้จะเป็นการกระจายอํานาจให้นักเรียนและโรงเรียนนั้นมีส่วนร่วมมากขึ้นในการตัดสินใจ. ว่าจะใช้งบไปกับอะไร. จะนํางบลงทุนไปลงทุนด้านไหน บุคลากรไปจ้างบุคลากรแบบไหน? จะนํางบนโยบายไปทําโครงการอะไร? ท่านประธานครับ. มีคนเคยกล่าวไว้นะครับ. ว่าสิ่งที่เราควรจะหลีกเลี่ยงมากที่สุด. คือการทําอะไรเดิมเดิมซ้ำซ้ำ. และคาดหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง

เช่นเดียวกันครับ. วิกฤตการศึกษาที่เราเผชิญอยู่ในวันนี้. มันหนักหนาสาหัส. เกินกว่าที่ถูกแก้ไขได้. ด้วยการจัดงบประมาณแบบเดิมหรือหัวใจดวงเดิม. ผมหวังเป็นอย่างยิ่งครับ ว่าข้อส่วนที่ผมและพรรคก้าวไกลได้อภิปรายในวันนี้นั้น. จะเป็นข้อเสนอที่ไม่จําเป็นต้องรอก้าวไกลมาเป็นรัฐบาลถึงจะ เริ่มทําได้. แต่เป็นข้อเสนอที่รัฐบาลนี้จะเห็นชอบและรับไว้พิจารณาดําเนินการครับ เพื่อมาร่วมกันผ่าตัด หัวใจที่มีชื่อว่างบประมาณด้านการศึกษา และสร้างอนาคตที่ดีขึ้นให้กับลูกหลานเราทุกคนครับ ขอบคุณท่านประธาน 

ขอบคุณ ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่กรุณาส่งมาให้ 

 

หมายเลขบันทึก: 716958เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2024 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2024 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for sharing this excellent description of Thailand’s Education [Management]. It shows that some of our new politicians are developing well.

It would be better had the criticism come with some plans [alternatives, solutions, remedies] to arrest the sliding of our children into ‘zombies’ of the twenty-first century. Political opposition (especially in Thailand) must also contribute to the solution – for the sake of the children and the country. Point scoring is necessary to weaken inept government. But children must be held ransom or kept in ‘captivity’ (by non-performing education system/government ).

We need new strategies for opposition to create opportunities for children (the future members of the parties) and the families (so that the society aligns more to party’s ideology (more inclined to vote for the party).

“Leading from behind” is a well-known phrase, still useful?

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท