รูปแบบ และกลยุทธ์: หัวใจการบริหารยุคใหม่ (model & strategies: Heart of administration in new era)


ด้วยผมได้รับเกียรคิ์เป็นประธานสอบนักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง และนักศึกษาที่จะสอบวันนี้ คนหนึ่งทำเรื่องรูปแบบ และอีกคนหนึ่งทำเรื่องกลยุทธ์ งานวิจัยทั้งสองเรื่องเป็นหัวใจการบริหาร และงานวิจัยก็ทำได้ดีพอสมควร แต่มีประเด็นความคมชัดของการรายงานงานวิจัยที่ควรทำความเข้าใจและปรับปรุงเล็กน้อย เพื่อให้การแนะนำการปรับปรุงงานครั้งนี้ผมขอนำบทเขียนที่ผมเขียนขึ้นสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอกจากประเทศจึนมานำเสนอไว้ในบทเขียนนี้บางส่วนดังนี้

            This short piece of this note aims to help my doctoral candidate students from China on the concept and understanding of models. Based on my research on the topic, I classify models into 4 categories, namely Physical Model, Sample Model, Theoretical Model, and Work-designed Model. 

            Physical Model is an imitated and rescaled model of objects such as a model plane or a model building. 

Sample Model is represented by a good sample of a kind such as a model administrator or a model person who exhibits something. 

Theoretical Model is a presentation of ideas or concepts proposed to describe, explain, or predict phenomena. 

Work-designed Model is a presentation of a set of guidelines created and recommended a more effective, or efficient, or effective and efficient method to achieve a goal or goals. 

For better understanding of model concept, one should have concepts on paradigm approach and guidelines because, a work-design model must be designed on a certain paradigm approach and a set of guidelines according to the paradigm approach. 

ส่วนเรื่องกลยุทธ์ผมมีประเด็นแนะนำดังนี้

  1. ผู้ที่ทำวิจัย หี่พูดถึง กลยุทธ์ ในความหมาย  strategy นั้นต้องบอกก่อนว่า strategy หรือกลยุทธ์ที่เรากำลังพูดถึงนั้นคือ ‘แผน (plan)’ และกำหนดไว้ก่อนว่าองค์ประกอบของแผนที่จะพัฒนาและนำเสนอนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบด้วย (1) วิสัยทัศน์  (2) พันธกิจ (3) เป้าประสงค์ แล (4) ประเด็นกลยุทธ์และกลยุทธ์ย่อย  ส่วนจะมีรายละเอียดอื่นเพิ่มเติมเช่น (5) มีตัวชีวัดความสำเร็จ และ (6) กิจกรรมเสนอแนะ ไว้ด้วย ก็ได้ แต่ต้องระบุไว้เป็นองค์ประกอบของแผนที่จะรายงาน อย่างไรก็ตาม คำว่ากลยุทธ์ที่นำมาใช้ในยุคต้นๆ ในการบริหารองค์การธุรกิจในประเทศสหรัฐเมริกานั้น มีการนำใช้ในรูปแบบของ ‘นโยบายเชิงกลยุทธ์ (strategic policy)’ โดยระบุ หรือเขียนเป็นข้อความที่กล่าวถึงสิ่งที่องค์การจะทำ ซึ่งอาจจะมีสิ่งจะทำในหลายด้าน เรียกว่า ‘ประเด็นกลยุทธ์’  และในแต่ละประเด็นกลยุทธ์อาจะมีกลยุทธ์หลักข้อเดียว หรือหลายข้อก็ได้ และในแต่ละกลยุทธ์หลัก ก็อาจจะมีกลยุทธ์รองหลายกลยุทธ์รองก็ได้ และในแต่ละกลยุทธ์รองเหล่านั้นก็จะระบุวิธีดำเนินการไว้จำนวนหนึ่ง  ดังนั้น  ถ้ากล่าวถึง ‘กลยุทธ์’ ในมิติของนโยบายนั้นองค์ประกอบของกลยุทธ์ก็จะประกอบด้วย (1) ประเด็นกลยุทธ์ (2) กลยุทธ์หลัก (3) กลยุทธ์รอง และ  (4) วิธีดำเนินการ  ครับ นอกจากนี้คำว่ากลยุทธ์ก็ยังมีการนำใช้ในคำว่า 'การบริหารเชิงกลยุทธ์ (strategic management) ซึ่งจะมีองค์ประกอบเป็นกระบวนการบริหารประกอบด้วย การระบุเป้าประสงค์ การวิเคราะห์สภาพองค์การ การสร้างกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ และการประเมินผลการใช้กลยุทธ์ เป็นต้น 
  2. ประเด็นที่สองที่สำคัญคือ ในเมื่อกลยุทธ์คือแผน ดังนั้นการพัฒนาแผนก็ต้องยึดหลักเดียวกันในการทำแผนอื่นๆ  คือ ต้องมีการศึกษาความต้องการรจำเป็น และมีข้อมูลประกอบในการจัดทำแผน ถ้านำใช้กลยุทธ์ในมิติอื่นก็ต้องใช้วิธีการอื่นในการพัฒนากลยุทธ์นั้นๆ
  3. ประเด็นที่เข้าใจคลาดเคลื่อนบ่อยคือ เวลาจัดทำกลยุทธ์ต้องมีการ SWOT  และทำ TOWS Matrix ซึ่งเป็นเทคนิคที่ดีในการจะทำกลยุทธ์ แต่ต้องทำให้ถูกวิธี และมีข้อมูลในเพียงพอใจการทำ ครับ

หวังว่าความเห็นนี้นอกจากจะเป็นประโยขน์ต่อผู้สอบ ก็คงเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเช่่นกันครับ

ขอบคุณครับ

สมาน อัศวภูมิ

19/12/2023 

หมายเลขบันทึก: 716843เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2023 07:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2023 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you. This article reminds me of a ‘reflection technique’ (i learned at work yonky years ago). In simple terms, reflection is making a list in some [chosen] ‘headings’ using minimal of words (to make sure, the ‘objects’ are well understood and clear. Then explore the possibilities by considering items from each of the several headings in combinations.

It is was easy for me to think of this process in ‘Set Theory’ (Set language): let S, W, O, and T be sets (lists in reflection), items in each set (eg. [s1,s2,s3,..], [w1,w2,..], and so on ), are then considered in combinations (ie. s1-w1, s1-w2,…) for possibilities (or meanings or innovations,…). This is ‘exhaustive’ search and is very time-consuming as each combination can lead to ‘more searches’ beyond the ‘basic’ (first order). For examples, space (context), time (probable future), technology (available tools) and culture (values in society).

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท