กระเทาะแก่นแท้.. R2R


แก่นแท้ R2R How to shape Research Question?

ช่วงปี 2566 เราเดินสายแลกเปลี่ยน เรื่อง R2R มาแทบทุกเวที จนเวทีสุดท้ายของปี ไปพูดที่ รพ เลย 24.11.2566

 ดร.จงกลณี เรืองอัมพร ขอให้พูดกระเทาะแก่นแท้ R2R ให้เข้าใจว่า R2R เป็นวิจัยชั้น 1 ไม่ใช่วิจัยชั้นสอง ต้องผ่านการขอจริยรรม

ข้อตกลงในการกระเทาะแก่นแท้ R2R

  • เราเลยต้องผูกเรื่องใหม่ ทำอย่างไรให้คนอ่านเข้าใจได้ง่าย 
  • น้องลองค่อยๆอ่านตามและลองทำตามขั้นตอนที่พี่แก้วกลั่นออกมาให้น้องๆพยาบาลเรียนรู้ทีละขั้นตอนนะคะ
  • เริมตันเราอย่าเพิ่งบอกว่าเราจะทำเรื่องนั้น เรื่องนี้ เราจะเวียนศีรษะก่อนได้งานวิจัยที่มีคุณภาพ
  • 5555

…..

เริ่มต้นต้องมาทำความเข้าใจคำว่า R2R

  • R2R เป็นการพัฒนางานประจำให้เป็นวิจัย ที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระเบียบ เพื่อแสวงหาคำตอบจากคำถามวิจัยที่กำหนดไว้ 
  • R2R มีเงื่อนไขอยู่ 4 ประการ คือ 1) โจทย์วิจัยมาจากงานประจำที่ทำอยู่ 2) ผลลัพธ์หรือกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยที่เรารับผิดชอบดูแลมาระยะเวลาพอสมควร 3) ดำเนินการวิจัย โดยผู้ปฏิบัติในหน่วยงานนั้น และ 4) ผลวิจัยนำกลับไปใช้ประโยชน์ในกลุ่มเป้าหมายของเราทั้งในหน่วยงานและสามารถขยายผลในวงกว้าง
  • การทำ R2R ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องได้มาจากคำถามวิจัยที่ดี และระเบียบวิจัยที่ดีและเหมาะสม

ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องค้นหา คือ คำถามวิจัยที่ดี

  • เราต้องเข้าใจเป้าหมายในการพัฒนางานประจำให้เป็นวิจัยก่อนว่า เราจะนำไปใช้ประโยชน์อะไร หากเราจะนำกลับไปใช้ที่หน่วยงานตนเอง กลุ่มผู้ป่วยของเรา 
  • คำถามที่จะต้องหาคำตอบ ก็ต้องสัมพันธ์กับหน้าที่หลักของพยาบาล 7 aspects ได้แก่ 1)การประเมิน 2)การจัดการอาการ 3)การดูแลด้านความปลอดภัย 4)การดูแลเพื่อป้องกันอาการข้างเคียง  5)การดูแลต่อเนื่อง 6)การดูแลตนเอง และ7)บริการให้พึงพอใจ
  • คำถามที่ดี เราจะค้นหาได้จาก 1) ผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการของเรา 2) จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงานหรือการ pre post conference 3) Research agenda ระดับชาติหรือนานาชาติ
  • คำถามที่จะทำควรเริ่มมาจาก คำถามในคลินิก อาจจะพัฒนาองค์ความรู้ใหม่หรือนำผลวิจัยมาพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อนำไปใช้กับผู้ป่วยในคลินิกได้เลย

คำถามวิจัยที่ดี มาจากคนที่ช่างสงสัยก่อน

   เริ่มเหลาคำถามจาก PICOT จาก 5 เอ๊ะ

  • เอ๊ะแรก คือ P=Patient/Problem เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายแล้ว 
  • เอ๊ะที่สอง เราต้องหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องว่า สถิติผู้ป่วยที่มีระดับชาติ ระดับภาค ระดับ รพ และในหอผู้ป่วยที่เราอยู่มีจำนวนเท่าไหร่ แผนการรักษาคืออะไร การพยาบาลในปัจจุบันทำอะไรบ้าง  เก็บผลลัพธ์ผลการดูแล หรือ Nursing outcome, clinical outcome หรือตัวชี้วัด มีอะไรบ้าง หากเราจะพัฒนางาน เราจะใช้กรอบแนวคิดหรือทฤษฎีทางการพยาบาลอะไรที่เหมาะสม
  • เอ๊ะที่สาม เรากลับมาทบทวนสถานการณ์ในคลินิกหรือสถานการณ์การดูแลกลุ่มผู้ป่วยของเราว่า มาตรฐานการดูแลในปัจจุบันทำอย่างไร ทั้งเชิงโครงสร้าง กระบวนการและผลลัพธ์ 
  • เอ๊ะที่สี่ ทบทวนงานอีกครั้งว่า หน่วยงานแก้ปัญหาที่พบอย่างไร หน่วยงานอื่นที่ดูแลผู้ป่วยแบบเราทำอย่างไร แล้วไปหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่า มีวิธีแก้ปัญหาที่เราพบกี่วิธี ผลลัพธ์ดีไหม หากเทียบกับสิ่งที่เราทำอยู่แต่ผลลัพธ์ยังไม่ได้ตามเป้าหมาย เรียกว่า ช่องว่างที่เราจะนำมาศึกษา หรือ gap research เราต้องกลับมาเลือกวิธีแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับบริบทของเรา 
  • เอ๊ะที่ 5 ตั้งคำถามอีกครั้ง เพื่อเหลาคำถาม ผ่าน PICOT

How to shape Research Question? ขั้นตอนนี้สำคัญ

   เมื่อเอ๊ะครบ 5 ประเด็นแล้ว มาเหลาคำถามอีกรอบโดย

  • เลือกปัญหาสำคัญ จากปัญหาที่มีทั้งหมดที่พบกับกลุ่มผู้ป่วยที่รับผิดชอบ P=problem and Patient
  • เลือกวิธีการแก้ปัญหาที่น่าสนใจ ใหม่ และสร้างสรรค์ I=intervention
  • เทียบกับวิธีการเดิมที่เคยทำ C= comparision
  • เลือกวิธีประเมินหรือผลลัพธ์ที่สำคัญ วัดได้ชัดเจน O=outcome(process, nursing outcome)
  • ช่วงเวลาที่ประเมินต้องระบุชัดเจน T=time

จากคำถามสู่โครงร่างการวิจัย

    เมื่อแน่ใจว่าจะทำวิจัยประเด็นใด แล้วเราต้องเริ่มจาก

  • ขนาดปัญหา และผลลัพธ์ที่ประเมินได้
  • หาสาเหตุของปัญหา กลับไปค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินดูว่า สิ่งที่ทำอยู่เดิมทำอย่างไร ผลลัพธ์ถึงยังไม่ได้ตามเป้าหมาย หากทำแบบใหม่ ผลลัพธ์จะดีขึ้นหรือไม่ เป็นการหา research gap
  • สรุปปัญหาอีกครั้ง เพื่อตั้งคำถามตาม PICOT
  • ตั้งวัตถุประสงค์
  • ออกแบบการวิจัย
  • วัดผลลัพธ์ กระบวนการดีขึ้นไหมและยกระดับผลลัพธ์ได้หรือไม่

ออกแบบการวิจัยที่มีคุณภาพ 

   งานวิจัยที่ดีมาจากคำถามที่ดีและระเบียบวิจัยที่ดี ดำเนินการดี รายงานดีและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

  •  งานวิจัยที่ดี กลุ่มวิจัยทดลอง เก็บข้อมูลไปข้างหน้า มีกลุ่มควบคุม 
  • หากมีงานวิจัยจำนวนมากเราสามารถนำผลวิจัยมาพัฒนาแนวทางปฏิบัติและติดตามผลลัพธ์ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง

………………….

แก้ว บันทึก

28.11.2566

หมายเลขบันทึก: 716471เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2023 05:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2023 06:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท