วันที่ ๙ ตุลาคม ผมเข้าร่วมประชุม คณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ หรือ TSQM มีวาระ กิจกรรมบทเรียนงานฝ่ายต่างประเทศและกรณีศึกษาจากสากล ในการยกระดับคุณภาพครูและสถานศึกษา เป็นวาระเพื่อทราบ โดยที่เป็นประเพณีว่า ในการประชุมนี้ คณะอนุกรรมการช่วยทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะด้วย
จากการนำเสนอนี้ และจากความรู้ทั่วไปของผม ผมคิดว่า กสศ. ประสบความสำเร็จสูงมากในการทำงานร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อหาวิธียกระดับคุณภาพการศึกษาในประเทศที่ลงทุนสูงแต่คุณภาพการศึกษาต่ำ องค์การระหว่างประเทศที่ต้องการทำงานพัฒนาในประเทศไทยมักจะแสวงความร่วมมือจาก กสศ. จนผู้จัดการ กสศ. คือ ดร. ไกรยส ภัทราวาท บอกว่ารับไม่ไหว
ความสำเร็จที่น่าชื่นชมอย่างหนึ่งคือการร่วมริเริ่มก่อตั้ง EEA – Equitable Education Alliance ที่มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกรณีความสำเร็จที่หลากหลาย อย่างต่อเนื่อง แต่ที่น่าเสียดายแทนประเทศไทยก็คือ ผู้รับผิดชอบการศึกษาไทยไม่ได้เรียนรู้ ผมคิดเช่นนี้เพราะไม่เห็นการริเริ่มนำมาประยุกต์ใช้ในระบบการศึกษาไทย
อีกหน่วยงานที่น่าสนใจมากคือ เอ็นจีโอ Prathamของอินเดีย ที่ ทีมงานสรุปดังนี้
ผมชอบที่เขาลงทุนน้อย ได้ผลมาก ใช้พลังของส่วนที่เป็นปัญหานั้นเอง ให้กลายเป็นส่วนของการแก้ปัญหา ผ่านการให้ข้อมูลชี้ให้เขาเห็นปัญหาชัด และเห็นแนวทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง หรือร่วมกันแก้ในชุมชน โดย Pratham จัดกลไกภายนอกเข้าไปหนุน ไม่เน้นใช้เงินอย่างที่ กสศ. ทำ
อีกกิจกรรมหนึ่งคือ TaRL – Teaching at the Right Level ที่ทีมงานสรุปดังนี้
วิจารณ์ พานิช
๒๗ ต.ค. ๖๖
ไม่มีความเห็น