ชีวิตที่พอเพียง  4571. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๒๑๕) บูรณาการการเรียนรู้และวัดผล


 

กสศ. และ CCE ร่วมกันจัดเสวนานานาชาติ เรื่อง การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ (Seminar on Pupil Outcome Assessments)    ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๖ ที่โรงแรม The Quarter ลาดพร้าว และช่องทางออนไลน์    โดยผมได้รับเชิญให้เสนอความเห็นเรื่อง  The Value of Learning Outcome Assessment ที่ผมเล่าความคิดไว้ที่ (๑)    และฟังการบรรยายของผมได้ที่ (๒) นาทีที่ ๒๖ เป็นต้นไป เป็นเวลา ๓๕ นาที   

เข้าฟังการประชุมนี้ย้อนหลังได้ที่ 

เช้าวันที่ ๑๔ ภาษาอังกฤษ    เช้าวันที่ ๑๔ ภาษาไทย      บ่ายวันที่ ๑๔

เช้าวันที่ ๑๕ ภาษาไทย   บ่ายวันที่ ๑๕

เช้าวันที่ ๑๖    บ่ายวันที่ ๑๖ ภาษาอังกฤษ    

ผมไปร่วมได้เพียงวันแรก   ได้เห็นว่าคุณ Paul Collard สามารถระดมผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้จากทั่วโลกมาร่วมได้อย่างมหัศจรรย์   

วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ กสศ. และ CCE จัดประชุมสรุปว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ในเรื่องการพัฒนาการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนในประเทศไทย    โดยคุณพอลเสนอว่า การประเมินที่เสนอในการเสวนาวันที่ ๑๔ – ๑๖ มีนาคมนั้น เน้นกำกับหรือควบคุมครู  ไม่เน้นหนุนหรือเอื้ออำนาจครู อย่างที่เราต้องการ    คุณพอลจึงเสนอให้เราเข้าร่วมโครงการ PILA ของ OECD    ในการประชุมนี้ กสศ. เชิญผู้ทรงคุณวุฒิไทยหลายคนเข้าร่วม   และมีความเห็นสอดคล้องกับที่คุณพอลเสนอ  โดยจะต้องมี Thai Platform ให้ครูและโรงเรียนนำร่องใช้    จะต้องมีทีมจัดการและคณะกรรมการกำกับทิศ 

หลังจากการประชุมนั้น คุณพอลขอความเห็นผมว่าควรมีการจัดการของฝ่ายไทยอย่างไร    ผมจึงเสนอให้ กสศ. นัดประชุมหารือประเด็นนี้  นัดกันได้วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๖ ทางออนไลน์    โดยผมมองว่า นี่คือโครงการระดับชาติ ระยะยาว ๑๐ ปี    เป้าหมายหลักเพื่อ (๑) บูรณาการการเรียนรู้กับการประเมิน   (๒) เอื้ออำนาจให้ครูและโรงเรียนประเมินผลงานของตนเองเป็นและใช้ในการเรียนรู้และพัฒนางาน    รวมทั้ง (๓) นำสู่การ transform ระบบการศึกษา    จึงควรหารือกับ สพฐ., สสวท., สมศ., และ สทศ. เพื่อ engage หน่วยงานเหล่านี้    โดยควรวางแผนว่า จะมีการประชุมวิชาการประจำปีเรื่องนี้ ตั้งแต่ปี ๒๕๖๘ เป็นต้นไป        

ในการประชุมวันที่ ๑๕ สิงหาคม ดร. ไกรยส ผู้จัดการ กสศ. กับผม เห็นตรงกันว่าโครงการ PILA Thai Network เป็นโครงการระยะยาว ๑๐ ปี ทำงานร่วมมือกับ OECD    ที่ต้องเตรียม engage หน่วยงานที่ทำงานด้านการประเมินผลการศึกษาของไทยเข้ามาตั้งแต่แรก    ในลักษณะที่เป็น stakeholders   และต้องมีกลไกภายใน กสศ. ที่ร่วมกันรับผิดชอบ PILA Thai Network    มีหน่วยงานภายนอกรับบริหารโครงการ ทำงานร่วมกับคุณพอล คอลลาร์ด ที่เป็นที่ปรึกษาต่างประเทศ    มีกลไกสื่อสารภายในเครือข่าย และสื่อสารสาธารณะ  รวมทั้งเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ   โดยที่โรงเรียนเข้าร่วมแบบสมัครภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดโดย กสศ.    และ กสศ. รับสมัครโรงเรียนสมาชิกรุ่นแรกจำนวนจำกัด เช่น ๒๐ โรงเรียน   

ในเบื้องต้น การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ในโรงเรียนเครือข่ายจะทำด้วย IT Platform ที่มี AI บูรณาการอยู่   ให้นักเรียนเข้าประเมินตนเอง และได้รับ feedback แบบสมัครใจ    ช่วยให้นักเรียนปรับตัว และครูช่วยหนุน   ช่วยให้ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนดีขึ้น    ครูทำงานสบายขึ้น    นี่คือเป้าหมายที่คาดหวังภายใน ๑ ปีการศึกษา ที่น่าจะเริ่มปีการศึกษา ๒๕๖๘ 

โครงการ PILA Thai Network เป็นโครงการหนุนครูและโรงเรียนให้บูรณาการการจัดการเรียนรู้เข้ากับการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน    หนุนให้โรงเรียนดำเนินการได้เอง    ใช้ประโยชน์การประเมินเพื่อการพัฒนานักเรียน พัฒนาครู และพัฒนาโรงเรียนเป็น    นำสู่การเปลี่ยนขาดระบบการศึกษา   ที่หันมาเน้นหนุนให้โรงเรียนมีความเป็นอิสระคล่องตัว (autonomy) ในการดำเนินการพัฒนาภารกิจความรับผิดชอบของตนเอง    ที่มีกลไกเรียนรู้และปรับตัวได้ด้วยตนเอง     ภายใต้นโยบายภาพใหญ่ที่กำหนดโดยกลไกส่วนกลางของระบบ

และที่สำคัญ มีกลไกวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษา (National Education Systems Research and Development)  ในระดับชาติ   ที่ทำหน้าที่สร้างข้อมูลหลักฐานเชิงระบบ  เพื่อใช้เป็นข้อมูลขับเคลื่อนการเปลี่ยนขาด (transform) ระบบการศึกษาไทย   ตามที่ผมอธิบายไว้ที่ (๒

วิจารณ์ พานิช

๑๕ ส.ค. ๖๖

 

หมายเลขบันทึก: 714851เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2023 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2023 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท