ชีวิตที่พอเพียง  4566. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  (214) มุมมองใหม่เรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา


 

เป็นมุมมองที่เสนอโดย ดร. วงอร พัวพันสวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ที่ปรับมาจากงานวิจัยของท่านเองเรื่อง Tackling educational inequity in Thailand: Wealth effects on schooling choice, learning process and learning outcome. ASEAN and Global Connections. https://www.asean global.info/papers

ผมฟังท่านใน สัมมนาวิชาการ Education Journey Forum ครั้งที่ ๙  หัวข้อ “การจัดสรรทรัพยากรเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเชิงระบบ”  วันเสาร์ที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๕.๓๐ น.   ณ โรงแรมอัศวินแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ   โดยท่านนำเสนอในช่วงบ่าย เรียกเสียงเสวนาได้มากเกือบตลอดเวลา    เพราะที่ท่านเสนอเป็นมุมมองใหม่ที่มีข้อมูลหลักฐานสนับสนุน    เป็นมุมมองของนักรัฐศาสตร์  ที่ผมโหยหามานาน    จึงขอลิ้งค์มาฟังซ้ำที่บ้านด้วยความชื่นมื่น   เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้โอกาสทางปัญญาสูงมากจริงๆ      

ชมได้ที่ https://www.facebook.com/ThailandScienceResearchandInnovation/videos/819386809627182 

ที่ผมติดใจคือข้อความ “ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่ากับ ปัญหาความยากจน”    เป็นการวิพากษ์การทำงานของ กศส. ที่น่ารับฟัง    และผมเสนอตั้งแต่เริ่มตั้ง กสศ. ว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามันซ่อนอยู่ลึกมาก    บัดนี้ ดร. วงอร นำข้อมูลมาให้ดูว่าปัญหาหลักอยู่ที่ความเหลื่อมล้ำทางสังคม    ความเหลื่อมล้ำเชิงระบบ ที่สังคมยอมรับความเหลื่อมล้ำโดยไม่ดึงขึ้นเป็นประเด็นปัญหาที่ต้องแก้ไขจริงจัง    ซึ่งหมายความว่าต้องเป็นปัญหาทางการเมือง    ให้เห็นว่า ระบบปัจจุบันเป็นระบบที่เอื้อความได้เปรียบแก่คนฐานะดีจำนวนน้อย    ปล่อยให้คนฐานะปานกลางไปถึงต่ำต้องยอมรับการศึกษาคุณภาพต่ำ 

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ความเสมอภาคทางการศึกษาสองแนว   คือแนวเสรีนิยม กับแนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย      

เนื่องจาก ดร. อรอร ทำงานวิจัยนี้กับทีมอดีต advisor ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์   ทางอังกฤษจึงงงมากกับข้อมูลความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทย ที่เพศชายด้อยโอกาส   ในบันทึกวิดีทัศน์ที่ให้ไว้ มีนักจิตวิทยา และนักการศึกษาให้คำอธิบาย ทางจิตวิทยาสังคม น่าสนใจมาก  

ความเหลื่อมล้ำหลากมิติมีอยู่ในสไลด์และคำอธิบายของ ดร. วงอร    ผมชอบที่ท่านเอาข้อมูลมาตั้งคำถาม ให้ที่ประชุมร่วมกันตีความ    ดร. วงอร ตั้งข้อสังเกตว่าความเหลื่อมล้ำอยู่ที่ ๒๐% บน กับที่เหลือ    และเสนอให้สนใจ “เด็กกลางห้อง”   ตรงใจผมว่า ในภาพรวม เด็กไทยถูกกระทำโดยคุณภาพการศึกษา ให้ไม่บรรลุศักยภาพของตนได้ 

ดร. วงอร นำประเด็น inequality of choice มาให้ดู    เทียบระหว่างกรุงเทพกับชัยภูมิ    คุณณิชา พิทยาพงศกร (ทราย) ผู้ดำเนินรายการ บอกว่า ดร. วงอรยังมีผลงานวิจัยเรื่องการผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้วย    คงต้องเชิญมาเล่าในโอกาสหน้า    จะเห็นว่า การได้ฟังมุมมองเรื่องความเหลื่อมล้ำและความด้อยคุณภาพการศึกษา จากคนต่างศาสตร์ ได้มุมมองที่ประเทืองปัญญามาก       

โชคดีที่มี สส. จากพรรคการเมืองหนึ่ง ๔ ท่าน มาร่วมประชุมอยู่ด้วย    (ดร. อนุชาติผู้จัดการประชุมเล่าว่า ส่งจดหมายเชิญไปทุกพรรค มีเฉพาะพรรคนี้ที่มา)   นักการเมืองเหล่านี้จะได้หาทางใช้นโยบายการศึกษาสร้างคะแนนนิยม 

วิจารณ์ พานิช

๖ ส.ค. ๖๖    

 

 

หมายเลขบันทึก: 714734เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2023 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2023 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

”..มี สส. จากพรรคการเมืองหนึ่ง ๔ ท่าน มาร่วมประชุมอยู่ด้วย (ดร. อนุชาติผู้จัดการประชุมเล่าว่า ส่งจดหมายเชิญไปทุกพรรค มีเฉพาะพรรคนี้ที่มา) ..” I wonder which party?

I had no luck in finding “..hailand: Wealth effects on schooling choice, learning process and learning outcome. ASEAN and Global Connections. ..” on https://www.asean global.info/papers . The website design and search utility are cryptic to me. [ https://asean.org/papers/ returns page does not exist after some 10 minutes.]

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท