เด็กปรับตัวเก่ง


 

ในการประชุมหารือเพื่อพัฒนาหลักประกันสิทธิโอกาสทางสังคม ที่ กสศ. เมื่อบ่ายวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๖   เสนอโดยทีมงานจากมูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ นำโดย ศ. นพ. ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย    นพ. ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ เสนอว่า ในท่ามกลางความด้อยและความเสี่ยง มีความสามารถในการปรับตัว (resilience) อยู่ภายใน    จะพบเด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนค่นแค้น แต่เรียนหนังสือได้ดีมาก   

ทีมงานจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยืนยันว่า ตนศึกษาครอบครัวที่มีปัญหาทางสังคมกว่าหนึ่งพันครอบครัว พบเด็กที่ปรับตัวได้ อย่างที่หมอยงยุทธกล่าวจริงๆ    

ผมจึงเสนอให้ กสศ./วสศ. หาคนไปรวบรวมเรื่องราวของเด็กเหล่านี้   เพื่อทำความเข้าใจว่ามีปัจจัยอะไรที่หนุนให้เขามีความสามารถในการปรับตัว    เอามาทำความเข้าใจให้แก่สังคม เพื่อช่วยกันสร้างปัจจัยบวกที่หนุนให้เกิดเด็กปรับตัวเก่งเหล่านี้   

ดร. ไกรยส ภัทราวาส ผู้จัดการ กสศ. บอกว่าจากการศึกษาของทีมมหาวิทยาลัยหอการค้า    ในนักเรียนยากจนพิเศษ ๒ พันคน  พบเด็กปรับตัวเก่งตามนิยามของ OECD ๒ ร้อยคน   เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น   ที่จะนำไปสู่การศึกษาบริบทที่เป็นปัจจัยหนุนให้เด็กรู้จักพึ่งตนเอง    รู้จักวิธีเอาชนะความยากลำบากในครอบครัวและชุมชน   

โยงสู่เรื่องหลักประกันโอกาสทางสังคม ที่ผมมีความเห็นว่า เราต้องไม่ทำให้เป็นเรื่องการเข้าไปช่วยเหลือแบบการกุศล    เราต้องเข้าไปหาทางหนุนให้เขาช่วยตัวเอง และช่วยเหลือกันเองในชุมชน เป็นแนวทางหลัก   เอาเรื่องเด็กปรับตัวเก่งเป็นตัวอย่าง   

วิจารณ์ พานิช

๔ ส.ค. ๖๖

   

หมายเลขบันทึก: 714471เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2023 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2023 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท