ชีวิตที่พอเพียง  4535. ตั้งคำถามต่อความเข้าใจของตนเอง


 

วันนี้ขอพาไปทำความเข้าใจหนังสือที่ตีพิมพ์เมื่อ เกือบสามร้อยปีก่อน   ตั้งคำถามเรื่องความเข้าใจของมนุษย์ คือ An Enquiry Concerning Human Understanding (1748)  เขียนโดย David Hume   

เมื่อเกือบสามร้อยปีก่อน มนุษย์ในโลกตะวันตกก็ยังเชื่อในโชคลาง (เหมือนในบ้านเราสมัยนี้)    ตกอยู่ใต้ผลประโยชน์ของวงการศาสนา   เดวิด ฮูม นักปรัชญา เขียนหนังสือเล่มนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า   คนเราต้องกล้าตั้งคำถามต่อความเข้าใจและความเชื่อของตนเอง     โดยผมขอเสริมว่า ต้องรู้เท่าทันมายาคติที่ซ่อนอยู่ในสังคม   ที่ซุ่มแสวงประโยชน์จากเราโดยเราไม่รู้ตัว    ในเรื่องนี้ เวลาสามศตวรรษ สังคมโลกเปลี่ยนไปน้อยมาก  เพียงแต่เปลี่ยนกลุ่มตัวละคร   กลุ่มผลประโยชน์   

นิสัยช่างสงสัย (skeptical) มีประโยชน์   ช่วยให้สงสัยว่า ทำไมหลักการหรือทฤษฎีที่ยึดถือต่อๆ กันมา จึงไม่ตรงกับประสบการณ์ของตน    ผมชอบใจที่ ท่านบอกว่าความรู้ทั้งหมดมาจากประสบการณ์   ตรงกับความเชื่อในขณะนี้ของผมว่าคนเราสร้างความรู้ผ่านประสบการณ์    ด้วยการสังเกตแล้วสะท้อนคิด    โดยคิดสู่การตกผลึกหลักการหรือทฤษฎี   แล้วก็ยังสงสัยต่อว่าที่หลักการที่ตนตกผลึกนั้น จริงหรือไม่    จึงต้องเอาไปลองต่อ    เวียนเป็นวงจรเช่นนี้ ในที่สุดเราก็จะค้นพบความรู้หรือทฤษฎีที่มาจากประสบการณ์    วงจรนี้เรียกว่า Kolb’s Experiential Learning Cycle    เป็นวงจรที่นำสู่การคิดเหตุผลแบบอุปนัย   

คำแนะนำสำคัญคือ   จงกล้าคิดหลักการจากประสบการณ์    แต่จงถ่อมตนกับหลักการนั้น    ด้วยการตั้งคำถามต่อความเข้าใจของตนเอง   

วิจารณ์ พานิช 

๒๒ ก.ค. ๖๖    

    

หมายเลขบันทึก: 714090เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2023 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2023 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท