คุณธรรมกับคนดีของสังคม (Morality and good men of society)


หลายเดือนก่อนผมเขียนเกี่ยวกับคุณธรรมและกรณีศึกษาคุณธรรมไว้หลายเรื่องเพื่อเป็นเอกสารประกอบการศึกษาของนักศึกษาที่ผมสอนและผู้สนใจทั่วไป 

วันนี้ต้องเขียนเรื่องนี้อีกครั้งแต่ในมิติของตัวชี้วัดคนดีของสังคมครับ 

บ่อยครั้งที่มีการกล่าวถึงคนดี มักจะมีการอ้างคุณธรรมเป็นเครื่องหมายรับรองว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นคนดีของสังคม แต่บ่อยครั้งจะใช้เกณฑ์คุณธรรมตามใจ มากกว่าตามเกณฑ์ ซึ่งถ้าใช้เกณฑ์เป็นตัวชี้วัดระดับคุณธรรมก็ยังดีกว่าเกณฑ์ตามใจ แม้ว่าจะยังไม่ดีเท่าเกณฑ์คุณธรรมสากลครับ 

คุณธรรมตามใจ หมายถึงการพฤติกรรมหรือการกระทำที่ตนเองชอบ หรือเห็นว่าดีเป็นตัวชี้วัดระดับคุณธรรมของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่ตนเรียก หรือยกย่องว่าเป็นคนมีคุณธรรม และเป็นคนดี 

คุณธรรมตามเกณฑ์ หมายถึงพฤติกรรมหรือการกระทำที่เป็นไปตามกติกา จรรยาบรรณ (ประมวลจริยธรรม) กฎหมาย หรือแนวปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งใครก็ตามทำได้ตามนั้นเราก็จะบอกว่าเขาเป็นคนมีคุณธรรม และเป็นคนดี

คุณธรรมสากล หมายถึงพฤติกรรมหรือการกระทำที่ดีงามของบุคคลหรือกล่ัุ่มบุคคลที่สะท้อนหรือแสดงให้เห็นว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเหล่านั้นสามารถแยกแยะถูก-ผิด ดี-ชั่ว  หรือควร-ไม่ควร ได้อย่างสมเหตุสมผล และคนส่วนใหญ่ในสังคมยอรับได้ ก็จะเป็นผู้คุณธรรมสากล 

Kolberg (อ้างในสมาน อัศวภูมิ, 2553 :ศาสตร์การศึกษาและความเป็นครู) เสนอการให้เหตุผลทางคุณธรรมไว้  6 ระดับดังนี้ 

              (1) การใช้กติกาและการลงโทษเป็นฐาน (2) การใช้เหตุผลและความจำเป็นเป็นฐาน (3) การใช้ความคาดหวังของผู้เกี่ยวข้องเป็นฐาน (4) การใช้ความถูกต้องของสังคมเป็นฐาน (5) การใช้อุดมการณ์ของสังคมเป็นฐาน   และ      (6) การใช้หลักสากลเป็นฐาน 

ถ้าเราใช้หลักทั้งหกที่กล่าวมานี้เป็นฐานในการแยกระดับคุณธรรมแล้ว คุณธรรมตามใจนั้นไม่เข้าเกณฑ์ระดับใดระดับหนึ่งเลย จึงน่าจะเป็นคุณธรรมที่ต่ำกว่าระดับที่ 1 เสียด้วยซ้ำ แต่คนบางคนหรือบางกลุ่มในบางประเทศ ซึ่งน่าจะรวมถึงประเทศไทยของเราด้วยที่ใช้เกณฑ์คุณธรรมตามใจเป็นเกณฑ์ในการตัดสินคนดีของสังคม และด้อยค่าคุณที่ใช้เกณฑ์ระดับที่ 4 หรือ 5 หรือ 6 ในการตัดสินว่าใครเป็นคนมีคุณธรรมและเป็นคนดีของสังคม ที่แย่กว่านี้คือการที่คนส่วนน้อยเหล่านั้นมีอำนาจในบริหาร หรือสนับสนุนการบริหารประเทศด้วยแล้วก็เป็นกรรมของประเทศและคนในชาติ

ดังนั้นการบอนไซและขจัดความไม่ถูกต้องเหล่านี้น่าจะทำได้โดยการเลิกให้ความสำคัญ เลิกให้ยอรับนับถือ และโดดเดียวทางสังคมเสีย  แล้วปล่อยให้กาลเวลาเป็นกลไกแก้ไขปัญหาด้วยตัวมันเองต่อไปครับ นี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการแก้ปัญหาของคนส่วนใหญ่ที่อยากแก้ปัญหา แต่ไม่มีอำนาจและกลไกอื่นในการแก้ปัญหา 

ส่วนปัจจัยของการใช้กาลเวลาในการแก้ปัญหาคือ   ‘ความอึด’ ทั้งความมั่นคงในเป้าหมาย และความสามัคคีในการร่วมกันแก้ปัญหาครับ

แล้วหนทางจะพิสูจน์ม้า และกาลเวลาจะพิสูจน์ความาจริงกันต่อไป ว่าอะไรคือของจริงและของเก้ครับ 

โชคดีครับ ประเทศไทย

สมาน อัศวภูมิ

30 กรกฎาคม 2566

 

     

หมายเลขบันทึก: 713786เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2023 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2023 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบครับ “ความสามัคคีในการร่วมกันแก้ปัญหา”

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท