การเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บด้วยพลังใจ


การเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บด้วยพลังใจ มีคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า “เสียอะไร ก็เสียไปเถอะ แต่อย่าเสียกำลังใจ เพราะเสียกำลังใจ เหมือน สูญเสียทุกอย่างในชีวิต” ดังนั้น เราต้อง 1. พิจารณาตามสติปัฏฐานทั้ง 4 นั้นคือ พิจารณากาย เวทนา จิต และธรรมให้เข้าใจว่า มันคือ สามัญลักษณะ คืออนัจจัง ทุกขัง และอนัตตา 2. ฝึกกายให้แข็งแกร่ง แข็งแรง คือทำร่างกายให้เคลื่อนไหว ไม่นิ่งอยู่กับที่ ต้องเปลี่ยนอิริยาบทเสมอ เช่น เดิน วิ่ง อ่อนตัว กระโดด 3. ฝึกใจให้เข้มแข็ง ใจต้องเข้มแข็ง อย่าท้อแท้ อ่อนแอ เมื่อไร ใจเรารู้สึกท้อแท้ อ่อนแอ เมื่อนั้น ความพ่ายแพ้ก็จะมาหาเรา 4. ออกกำลังกาย และกำลังใจควบคู่กันเสมอ นั้น คือต้องฝึกกาย ฝึกใจอยู่เสมอ เหมือนเราฝึกกำลังภายนอก และกำลังภายใน เมื่อเราฝึกทั้งกำลังภายนอก และกำลังภายในเป็นอย่างดี เราก็จะได้รับภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานที่ดีให้กับตัวเรา ทำให้ห่างไกลจากโรคร้าย โรคภัย ไข้เจ็บนั้นเอง

การเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บด้วยพลังใจ

 การเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บด้วยพลังใจ

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

       เมื่อพูดถึง พลัง เราจะดูที่ความแข็งแกร่ง อำนาจ ประสิทธิภาพศักยภาพ สมรรถนะ  

       กำลัง พละกำลัง ศักยภาพ ความแข็งแกร่ง แข็งแรง เข้มแข็ง

ตัวอย่างประโยค

       รัฐบาลต้องสร้างพลังชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อให้เขาได้สร้างการศึกษาของเขาเอง

 

พลังงาน

        พลังงาน (Energy) คือ ความสามารถของวัตถุที่ทำงานได้ แสดงว่าวัตถุนั้นมีพลังงาน พลังงาน (Energy) คือ ความสามารถในการทำงาน เมื่อเราเห็นคนคนหนึ่งสามารถทำงานได้จำนวนมาก เราจะกล่าวว่าคนนั้นมีพลังงานมาก หรือน้ำมันแก๊สโซลีนเป็นเชื้อเพลิงซึ่งให้พลังงานออกมาเมื่อเผาไหม้ พลังงานสามารถทำงานได้ จึงทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่

       วัตถุใดๆ ก็ตามมีพลังงานอยู่ในตัว 2 รูปด้วยกันคือ

พลังงานอันเกิดจากการเคลื่อนที่ เรียกว่า พลังงานจลน์ (kinetic energy) และ พลังงานที่มีสะสมอยู่ในตัว เนื่องมาจากภาวะของวัตถุ เรียกว่า พลังงานศักย์ (potenxtial energy)

       ตัวอย่างของพลังงานจลน์และพลังงานศักย์นั้นเราพอจะเห็นได้ง่ายๆ จากสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเราอยู่ทุกวัน เช่น

       รถยนต์กำลังวิ่งด้วยความเร็วปกติบนถนนในที่ราบ ถ้าต้องการให้หยุดเราต้องใชัห้ามล้อ ซึ่งหมายถึงออกแรงต้านการเคลื่อนที่ รถยนต์ยังไม่สามารถหยุดได้ทันทีแต่จะเลื่อนต่อไปเป็นระยะทางหนึ่ง เราต้องทำงานด้วยแรงต้านทานเพื่อให้รถหยุด เพราะรถมีพลังงานเนื่องจากกำลังเคลื่อนที่อยู่ นั่นคือรถมีพลังงานจลน์

          สำหรับตัวอย่างของพลังงานศักย์แบบหนึ่งที่น่าจะเห็นได้ ก็คือก้อนหินผูกห้อยที่ปลายเชือก ในภาวะที่ 1 ก้อนหินแขวนห้อยอยู่นิ่งๆ แต่ในภาวะที่ 2 ก้อนหินถูกยกขึ้นไปสูงกว่าระดับเดิม ทำให้ตัวของมันเองมีพลังงานพร้อมที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ได้ทันที และถ้ายกให้ก้อนหินสูงขึ้นอีก มันจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขึ้นอีกด้วย เพราะมีพลังงานศักย์มากขึ้นเนื่องจาก  ตำแหน่งของวัตถุสูงขึ้น

         พลังงานมีหลายรูปแบบเช่น พลังงานเคมี พลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้า พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ พลังงานแสง พลังงานเสียง ฯลฯ

พลังงานรูปแบบหนึ่งที่สำคัญในวิชาฟิสิกส์คือ

 

เกิด แก่ เจ็บ ตาย

        เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องของสัจธรรมชีวิต คนเราเมื่อเกิดมาแล้ว จะต้องพบเห็นทุกคน

        ชีวิตคนเรา ตกอยู่ในลักษณะ 3 ประการ คืออนิจจัง ไม่เที่งแท้แน่นอน

ทุกขัง เป็นสภาพที่จำต้องอดทนต่อความทุกข์ยากลำบากนานัปการ และอนัตตา

ไม่ใช่ของเรา ไม่สามารถบังคับใหเป็นไปตามปรารถนาได้

 

การรักษาโรค

        เวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วย มันไม่เจ็บป่วยเฉพาะร่างกายเท่านั้น แต่จะส่งผล ต่อจิตใจด้วย กล่าวคือ จิตใจมันจะเป็นทุกข์ ทรมาน หงุดหงิดไปด้วย หรือจิตใจมันจะมีโทสะ อย่างพอได้ยินทีแรกว่าเป็นมะเร็ง โทสะอันแรกเลย ตกใจ บางคนกลัว ตกใจ กังวล นี่กิเลสตระกูลโทสะทั้งหมดเลย

       ถามว่าตกใจแล้วจะหายจากการเป็นมะเร็งไหม

       คำตอบ คือ ไม่หาย เห็นไหม กลัว แล้วหายไหม ไม่หาย กังวลใจแล้วมันจะหายไหม มันก็ไม่หาย

 

ผู้รักษาโรค

       คนที่มีหน้าที่รักษาโรค คือหมด พยาบาล ส่วนตัวเรามีหน้าที่ดูแลใจของเรา

หมอ พยาบาล จะมาดูแลใจของเราไม่ได้

       เพราะฉะนั้นความรู้สึกตระกูลโทสะที่มันเกิดขึ้น มันเป็นส่วนเกิน ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย มันมาบั่นทอนจิตใจของพวกเราโดยไม่มีความจำเป็น ไม่มีประโยชน์ แต่อยู่ ๆ จะไปบอกว่า ทำใจให้สบาย ส่วนมากชอบปลอบกัน บอกทำใจสบาย ๆ สบายอย่างโน้น สบายอย่างนี้ ถ้าเป็นคนไข้ก็อยากจะย้อนไปว่า แกลองมาป่วยดูบ้างสิ แกมาพูดอยู่ได้ ทำใจให้สบาย ลองแกป่วยนะ แกคงชักดิ้น

ชักงอ ยิ่งกว่าฉันอีก

         ถ้าเราสังเกตตัวเราให้ดี จะเห็นได้ว่า เวลาร่างกายเจ็บป่วยหรือร่างกายไม่สบาย จิตใจมันพลอยไม่สบายไปด้วย พระพุทธเจ้าท่านถึงสอนว่า “เวลาร่างกายมันเจ็บป่วย เหมือนถูกยิงด้วยธนูดอกที่หนึ่ง ยิงเข้ามาที่ร่างกาย แล้วมันจะซ้ำดอกที่สองเข้ามาที่ใจ” คือจะทุกข์ใจขึ้นมาด้วย ถ้าเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าจริง ความทุกข์มันจะอยู่ที่กายเท่านั้น มันจะเข้ามาไม่ถึงใจ

        เพราะผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น เห็นตถาคต หรือพระพุทธเจ้า

        บางคนมันก็เพี้ยนหนัก บอกว่า ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วร่างกายไม่เจ็บป่วย มะเหงกแหนะ พระพุทธเจ้ายังอาพาธเลย พระพุทธเจ้ายังลำบากเลย คิดเอาเอง พระอรหันต์ไม่ใช่หุ่นยนต์นี่ ท่านก็เจ็บเป็น

        แต่ว่าสิ่งที่ท่านต่างจากพวกเราก็คือ ร่างกายเราเจ็บ ใจเราเจ็บไปด้วย ใจเราเดือดร้อน แล้วใจที่เดือดร้อนก็ไปขยายความทุกข์ทางร่างกายให้มากขึ้นได้ด้วย มันไปกระทบถึงร่างกายได้ด้วย ตรงนี้ หลวงพ่อสังเกตมาได้ตั้งนานแล้ว ตั้งแต่หลวงพ่อยังเป็นฆราวาส ยังไม่ได้บวช หลวงพ่อสอนกรรมฐานกับเพื่อนๆ เพื่อนผู้หญิงหลายคน พอมีรอบเดือนปวดมากเลย ต้องกินยา ปวดทนไม่ไหว หลวงพ่อบอกให้ดูที่ใจ ลองสังเกตที่ใจสิ ใจไปขยายความเจ็บปวดขึ้นมา ให้รู้ทันใจที่ไม่ชอบ ใจที่หงุดหงิด ใจที่กังวล รู้ทันเข้าไป อย่างพอมีรอบเดือนขึ้นมามีส่วนหนึ่งมันเจ็บปวดจริง แต่ว่า ใจที่ไม่สบายใจ ใจที่หงุดหงิด มันไปขยายความรู้สึกเจ็บปวดให้รุนแรงมากขึ้น บอกลองสังเกตดูเลย ใจมันมีโทสะ มันมีความไม่ชอบเกิดขึ้น เขาไปหัดสังเกต ปรากฏว่าตั้งแต่นั้น ไม่ต้องกินยา

        ถ้าเราภาวนาไม่เป็น เราหงุดหงิดตายเลย เวลาใจมันกังวล เขาจะผ่า มันกลุ้มใจ สมมติจะผ่าใส่พอร์ต กลุ้มใจตั้งแต่ยังไม่ผ่าแล้ว ได้ยินว่าจะผ่าก็กลุ้มใจ ผ่าเสร็จแล้วย่ำแย่ เพราะฉะนั้น สำหรับคนไข้ ร่างกายเรานี่เป็นหน้าที่ของหมอที่จะดูแล อย่าไปเชื่อเพื่อนมาก คำแนะนำสารพัด หมอจีน หมอไทย หมอแขก หมอฝรั่ง หมอผี หมออะไรต่ออะไรสารพัดเลย เอายามาเสนอให้พวกเราเยอะแยะไปหมดเลย มันกดดันมากเลย ต้องกินนะ อันนี้ดีที่สุดเลย อีกเจ้าหนึ่งก็ดีที่สุด นี่ก็ดีที่สุด กินทุกอย่างเข้าไปนี่ถ้าตายแล้วไม่ต้องฉีดฟอร์มาลีนเลย เชื้อโรคมันไม่อยู่แล้ว เข้ามาไม่ไหวแล้ว ไม่เน่า

         สำหรับคนที่เจ็บป่วย ทำใจไว้อย่างหนึ่งว่าความเจ็บป่วยก็เป็นของชั่วคราว มันไม่มีใครหรอกเจ็บตลอดชาติ เจ็บตลอดเวลา ความเจ็บปวดมันก็อยู่ชั่วคราว มันมาแล้ว เดี๋ยวมันก็ไป เพียงแต่บางคน ถ้าร่างกายอ่อนแอมาก ความทุกข์ โรคภัยไข้เจ็บ มันไปพร้อมกับชีวิตเรา ยังไงเราก็ไม่แพ้มัน อย่างมากก็เสมอกัน

          ไม่มีที่มันชนะเราหรอก อย่างมากก็เสมอกัน ถ้าอย่างเราเป็นมะเร็ง เราตาย เซลล์มะเร็งตายด้วย มันอยู่ไม่ได้หรอก เพราะฉะนั้นบอกกับมันดี ๆ ว่า “เอ็งน่ะ อย่าอาละวาดมากนัก” แผ่เมตตาให้มันบ้าง พอเราแผ่เมตตา ใจไม่เกลียดมัน ใจจะสบาย พอใจสบาย สมาธิเกิดขึ้นมา ใจมันร่มเย็นเป็นสุข มีความสุข มีกำลัง มีกำลังใจ เราไม่ต้องคิดอะไรมาก เวลาเราผ่านการรักษาที่ยาวนาน บางคนบอก

           “โอ้โห อาจารย์จะต้องให้คีโม ๖ ครั้ง ๘ ครั้ง อะไรเนี่ย

ฟังแล้วท้อแท้ใจ”

           อยู่เป็นวัน ๆ ไป มีชีวิตเป็นขณะ ๆ เป็นวัน ๆ ไป วันนี้ให้ทำอะไรก็ทำไป อย่าไปคิดว่าเหลืออีกกี่วัน เหลือต้องให้ยาอีกกี่รอบ คิดมากก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไร มีชีวิตอยู่กับปัจจุบันไปทีละวัน ๆ แป๊บเดียวเอง เหมือนบางคนแต่งงานนาน ๆ ใครแต่งงานนาน ๆ บ้างมีไหมในนี้ อยู่ไปวัน ๆ ไม่มีอะไรเลย อุเบกขาอย่างเดียวเลย เดี๋ยวก็ผ่านไปปีหนึ่งแล้ว แล้วเสร็จแล้วไปเล่าให้คนฟัง

         “เนี่ย แต่งงานมา 30 ปีแล้ว ความรู้สึกนะเหมือนอยู่กับโต๊ะ เหมือนอยู่กับเก้าอี้ มันเฉย ๆ น่ะ ใจมันเฉย ๆ ซะอย่าง ใจไม่ดิ้นรน ใจไม่ทุกข์ร้อนอะไร”

        ถ้าใจเรายอมรับความจริง เราจะไม่ทุกข์มาก ความทุกข์ทางใจ เกิดจากความอยาก ความอยากเกิดจากความยึดถือ ความสำคัญผิด ไม่รู้ความจริงของกายของใจ

         เพราะฉะนั้น เราต้องยอมรับความจริง เมื่อกายมันป่วยแล้ว ถ้ามันป่วยแล้วเราอยากให้มันไม่ป่วย ก็ไม่ได้ เราจะกลุ้มใจไปทำไม

        คนเราจะมีสารพัดโรค ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด ไข้โควิด ปวดหัว ตัวร้อน ไขมันในเลือดสูง มะเร็ง เบาหวาน ความดัน ไตวาย เป็นต้น

 

การเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บด้วยพลังใจ

       มีคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

       “เสียอะไร ก็เสียไปเถอะ แต่อย่าเสียกำลังใจ เพราะเสียกำลังใจ เหมือน

สูญเสียทุกอย่างในชีวิต”

        ดังนั้น เราต้อง

1.   พิจารณาตามสติปัฏฐานทั้ง 4

นั้นคือ พิจารณากาย เวทนา จิต และธรรมให้เข้าใจว่า มันคือ

สามัญลักษณะ คืออนัจจัง ทุกขัง และอนัตตา

2.   ฝึกกายให้แข็งแกร่ง แข็งแรง

คือทำร่างกายให้เคลื่อนไหว ไม่นิ่งอยู่กับที่ ต้องเปลี่ยนอิริยาบทเสมอ เช่น

เดิน วิ่ง อ่อนตัว กระโดด

3.   ฝึกใจให้เข้มแข็ง

      ใจต้องเข้มแข็ง อย่าท้อแท้ อ่อนแอ เมื่อไร ใจเรารู้สึกท้อแท้ อ่อนแอ

เมื่อนั้น ความพ่ายแพ้ก็จะมาหาเรา

4.   ออกกำลังกาย และกำลังใจควบคู่กันเสมอ

        นั้น คือต้องฝึกกาย ฝึกใจอยู่เสมอ เหมือนเราฝึกกำลังภายนอก และกำลังภายใน

        เมื่อเราฝึกทั้งกำลังภายนอก และกำลังภายในเป็นอย่างดี เราก็จะได้รับภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานที่ดีให้กับตัวเรา ทำให้ห่างไกลจากโรคร้าย โรคภัย

ไข้เจ็บนั้นเอง

 

 

 

 

แหล่งข้อมูล

https://www.dhamma.com/illness/


 

หมายเลขบันทึก: 713769เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2023 01:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2023 01:58 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท