แต่งงานกันไม่ได้แปลว่ามีสิทธิ 'ครอบครอง' (marry does not mean 'possess'


ผมไม่เข้าใจข้ออ้างที่ว่า ‘นี่มันเรื่องของครอบครัว คนอื่นอย่ายุ่ง’ มันมีกฎหมายบัญญัติไหว้ หรือมีข้อห้ามไว้ที่ไหนไหมครับ 

ผมไม่ใช่นักกฎหมายแต่พยายามศึกษากฎหมายครอบครัวก็ไม่เห็นมีบัญญัติไว้ตรงไหนว่า ‘แต่งงานแปลว่าครอบครอง หรือมีสิทธิเป็นเจ้าของ ห้ามคนอื่นยุ่ง’ นะครับ 

ผมพอเข้าใจนะว่าหลังจากคู่สมรสได้แต่งงาน หรืออยู่กินด้วยกันแลัวก็ไม่ควรมีคนอื่นมาจีบ หรือเป็นกิ๊ก หรือเป็นคู่ควง แต่การที่ที่สามี หรือภรรยาทำร้ายฝ่ายตรงกันข้าม แล้วผมจะเข้าไปช่วยเหลือนะ มันผิดตรงไหนครับ นักกฎหมายแนะนำด้วยครับ

ประเด็นคือประเทศเรามักจะมีข่าวการหึงหวง ทำร้ายกัน หรือฆ่ากันเอง หรือฆ่ายกครัวที่มีมูลเหตุการเรื่องสามีภรรยากันนี้บ่อย และถ้ามีใครบางคน หรือแม้แต่ญาติ รวมทั้งพ่อตาแม่ยายจะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาก็มักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘เรื่องภายในครอบครัว คนอื่นอย่ายุ่ง’ เสมือนหนึ่งว่าการแต่งงานคือการครองครอง โดยเฉพาะโดยผู้มีอิทธิพล หรือกำลังมากกว่า ซึ่งผมว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะการที่บุคคลสองคนแต่งงานกัน น่าจะมีความหมายว่าทั้งคู่ตัดสินใจจะใช้ชีวิต คู่ ช่วยกันทำมาหากิน สร้างครอบครัว ดูแลกันและกัน และซื่อสัตย์ต่อกัน อะไรประมาณนี้ แต่ไม่น่าจะมีสิทธิครอบครองกันแบบซื้อของ หรือซื้อรถยนต์นะครับ เพราะคู่แต่งงานเป็นคน แม้จะแต่งงานแล้วก็น่าจะยังคงสิทธิ์นิติบุคคลครบสมบูรณ์ และความสัมพันธ์เครือญาติเหมือนเดิม เช่น พ่อตาก็ยังคงมีสถานะเป็นพ่อของลูก มีสิทธิเต็มร้อยในการที่จะยื่นมือเข้าแก้ปัญหา หรือปกป้องลูกในกรณีที่ถูกสามีทำร้าย นะครับ 

ข้ออ้างหลักก็คือ ‘เรื่องของครอบครัว’ ซึ่งเกิดจากการสมรสตามกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องดี เพื่อให้การอยู่ร่วมกันของคู่แต่งงานมีแนวปฏิบัติทางกฎหมายในเรื่องต่างๆ แต่มักจะไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องสิทธิของคู่แต่งงานในฐานะนิติบุคคลไว้ และกระบวนการหย่าร้างก็เขียนไว้ผูกมัดคู่แต่งงาน เช่น ถ้าจะหย่าทั้งคู่ต้องเห็นพ้องกัน หรือไม่ก็ต้องฟ้องศาลให้ตัดสิน ซึ่งในหลายกรณี โดยเฉพาะฝ่ายชาย ไม่ยอมหย่า แต่ไม่ทำหน้าที่สามีเท่าที่ควร แถมยังทำร้ายภรรยาโดยมีเกราะคุ้มครอง ‘เรื่องภายในครองครัว อย่ายุ่ง’ ถ้าฟ้องต้องมีเหตุอันควร และมีกระบวนการค่อนข้างยาว หลายกรณีจบลงด้วยการฆ่ากันก่อนตัดสินคดี ถ้ามีการแก้กฎหมายการสมรส หรือกฎหมายครอบครัว โปรดพิจารณาประเด็นต่อไปนี้

  1. ควรมีข้อกำหนดว่า ‘การแต่งงานไม่ได้หมายความว่าการสิทธิครองครองกันเหมือนทรัพย์ฺสิน แม้จะแต่งงานกันแล้ว แต่ละฝ่ายยังคงมีสิทธิ์ความเป็นคนของตนอยู่ครบทุกประการ’
  2. เรื่องภายในครอบครัวย่อมได้รับการคุ้มครองจากการแต่งงาน แต่การกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาต้องเป็นไปตามคดีอาญาทั่วไป ความเป็นครอบครัวไม่เป็นข้ออ้าง 
  3. ควรเพิ่มแนวปฏิบัติที่มีผลให้การหย่าร้างสิ้นสุดลง (นอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว) คือ (1) เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ีงไปแจ้งความดำเนินคดีกับอีกฝ่าย ซึ่งแสดงว่าจะไม่ประสงค์อยู่ร่วมกันต่อไป การหย่าร้างก็ควรเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ส่วนคดีความก็ว่ากันไปตามกระบวนการยุติธรรม หรือ (2) ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกอย่างเป็นทางการ เช่น แถงข่าว หรือให้ข่าวกับสื่อมวลชน โดยมีหลักฐานในการให้ข่าว ก็ให้ถือว่าการหย่าร้างเสร็จสิ้นสมบูรณ์เช่่นกัน 

ด้วยหลักคิดและแนวทางที่เสนอไปข้างต้นน่าจะลดความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวได้ไม่มากก็น้อย และจะทำให้หญืงหรือชายที่ถูกคู่สมรสรังแก หรือทำร้ายอยู่ได้รับการคุ้มครองได้ทันท่วงทีครับ 

ฝากไว้พิจารณาครับ 

สมาน อัศวภูมิ

26 กรกฎาคม 2566

 

หมายเลขบันทึก: 713732เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2023 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กรกฎาคม 2023 08:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท