เตรียมตัวอย่างไร ในการไปนำเสนอผลงานวิชาการต่างประเทศ ICN Congress 2023


                  กลับมาจากนำเสนอผลงานวิชาการที่ประเทศแคนาดาได้ 2 สัปดาห์แล้ว แต่พลังยังมาเต็มเลยค่ะ วันนี้จึงอยากแบ่งปันผ่านเรื่องเล่าเร้าพลัง  นะคะ  เป็นเรื่องเล่าการเตรียมตัวก่อน ไปนำเสนอผลงานวิชาการต่างประเทศ หลังทำวิจัยเสร็จได้มีโอกาสนำเสนอในระดับฝ่ายการพยาบาล ในงาน show and share ได้รับรางวัลชนะเลิศ  กุ้งได้รับคำชวนจากพี่แจ๋ว ผช.หัวหน้าฝ่ายการฯ ด้านวิจัยและนวัตกรรม พี่แจ๋ว ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการวิจัยและเดินสายไปร่วมงาน ICN Congress หลายครั้งแล้ว ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก ICN กันก่อนนะคะ ICN  คือ  สภาการพยาบาลสากล (International Council of Nurses: ICN) ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1899 เป็น สมาพันธ์พยาบาลที่มีประเทศสมาชิก ทั้งหมด 133 ประเทศทั่วโลก และมีสมาชิก 28 ล้านคน  ประเทศไทยเข้า เป็นสมาชิกโดยสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรม ราชชนนี ICN มีการจัดประชุมเพื่อให้สมาชิกได้มีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบปะ และสร้างเครือข่าย ความร่วมมือ โดยมีการประชุม ICN Quadrennial Congress สลับกับ ICN Conference and CNR เป็นการจัดประชุมทุก 4 ปี ซึ่งมีวงรอบในการจัด ประชุมเหลื่อมกัน ทุก 2 ปี  เห็นภาพจากสไลค์พี่แก้ว พี่แขก ตอนไปนำเสนอ  ICN Quadrennial Congress ที่สเปน ออสเตรเลีย เราก็แอบฝันว่าวันหนึ่งจะได้ไปบ้าง แต่ก็ไม่คิดว่าวันนี้จะมาถึงดีใจสุดๆ  รอบนี้เริ่มติดตามประกาศประชาสัมพันธ์ 

                  การประชุมวิชาการ ICN Congress 2023 ช่วง สิงหาคม ปีที่แล้ว 2565  และทราบว่าจะจัดขึ้นวันที่ 1-5 กรกฎาคม 2566 งานนี้จัดที่ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา เป็นการประชุมวิชาการของพยาบาลทั่วโลกคาดว่าจะมีพยาบาลลงทะเบียนประมาณ 6,000 กว่าคน  นับว่าเป็นการประชุมระดับ world congress เลยทีเดียว เป็นการรวมตัวขององค์กรพยาบาลชั้นนำในประเทศสมาชิก ทั่วโลก  133 ประเทศ  ว้าว !  มั๊ยคะ โรงพยาบาลศรีนครินทร์เรามีผู้ที่เดินทางไปด้วยกันทั้งหมด 5 คน 

ขั้นตอนที่ 1 พอทราบประกาศ  ตุลาคม 2565 เริ่ม submit   เพื่อขอเข้านำเสนอผลงาน แนะนำว่าควรจะเป็นงานวิจัยนะคะ 

ขั้นตอนที่ 2  ประกาศผลช่วงเดือนมกราคม 2566 ว่าได้รับ accepted เตรียมผลการแจ้งไว้ให้ดีเพราะจะได้ใช้แนบทุกขั้นตอนของการดำเนินการ

ขั้นตอนที่ 3  เป็นขั้นตอนการลงทะเบียน ต้องรีบลง เพราะจะมีช่วงเวลาที่เรียกว่า EARLY BIRD rate จะ ปกติแต่ถ้างลงทะเบียนช้า ราคาจะปรับเพิ่ม  พร้อมจ่ายค่าลงทะเบียนสำรองไปก่อน ราคาค่าลงทะเบียน อยู่ที่ 19000- 20,000 บาทขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนดอลล่าแคนาดา จ่ายโดยใช้บัตรเครดิต

ขั้นตอนที่ 4  เตรียมยื่นทำเรื่องผ่านหน่วยงานของเราก็จะผ่านฝ่ายการฯ คณะแพทย์ฯ ถึง อธิการบดี เพื่อขออนมัติเดินทางไปนำเสนอผลงานที่ต่างประเทศ 

ขั้นตอนที่  5   เมื่อยื่นผ่านแล้วออกไปทำ พาสปอร์ต   ค่ะ

ขั้นตอนที่ 6  ยื่นขอทุน สมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทุนคณะแพทย์ ซึ่งทั้งสองทุนรวมกันแล้ว พอทำให้มีกำลังใจ แม้จะต้องควักกระเป๋า จ่ายเพิ่ม อีกส่วนกราบขอบพระคุณอย่างสูงนะคะ การเดินทางได้รับคำแนะนำจากพี่แก้ว  ที่มีประสบการณ์คร่ำหวอดเช่นกันคือ สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ จะมีบริษัททัวร์เข้ามารับดำเนินการซึ่งดีมากๆ คือ สะดวก แต่อาจมีจ่ายเพิ่มนิดหน่อย ซึ่งคิดว่า ดีกว่า ไปกันเอง สำหรับเรานะ ซึ่งสิ่งที่บริษัท ดำเนินการให้คือ การดำเนินการยื่นขอวีซ่า การจองตั๋วเครื่องบิน การจองที่พักและดูแลตลอด trip นำทัศนศึกษา ซึ่งทราบเมื่อตอนเข้ากรุงเทพไป  scan นิ้ว และสัมภาษณ์ วีซ่า ว่าบริษัทไทแทนทัวร์ จัดให้สมาคมพยาบาลมานับ 10 ปีแล้ว ซึ่งก็จริง เมื่อการยื่นวีซ่า เรียบร้อย เรามีหน้าที่ รอ  และ ไปสัมภาษณ์ทีเดียวซึ่งก็ดำเนินการแล้วเสร็จแล้วเมื่อ 11 พ.ค. และวีซ่า ได้รับแจ้งว่าผ่าน หลังไปสัมภาษณ์ 13 วัน ซึ่งเร็วมาก  สิ่งที่จะต้องทำคือ เตรียมจัดกระเป๋า และ ศึกษาว่าจะเตรียมอะไรสำหรับการเดินทางใน อเมริกาเหนือครั้งนี้  อ่อ เส้นทางการบิน  จะเดินทาง ออกจากสนามบินสุวรรณภูมิ ในวันที่ 27 มิถุนายน 2566 มุ่งหน้าไปลงสนามบินไทเป ต่อไปแวนคูเวอร์ และต่อไปที่เมืองมอนทรีออล  ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด   20กว่า  ชั่วโมง การเดินทางเริ่มขึ้นแล้ว   

 

               

    

 

หมายเลขบันทึก: 713717เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2023 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2023 06:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เขียนไว้คราวหน้าจะได้จำได้ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท