บทวิเคราะห์ผลการโหวตนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 30 เมื่อ 13 ก.ค.2566


การเสนอโหวต นายกฯ รอบสอง 19 ก.ค.2566 มาด้วยช่องทางใดบ้าง การโหวตครั้งแรกเ้มื่อ 13 ก.ค.2566 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวรายงานผลการนับคะแนนว่า นายพิธา  ได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เพียง 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง และงดออกเสียง 199 คน     จึงเป็นอันว่า “นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้คะแนนเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีในสองสภา คือ ส.ส.500 ส.ว. 250 ดังนั้นนายพิธาจึงไม่ได้รับการเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี” นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา กล่าวก่อน ปิดการประชุม การโหวตในรอบสองในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 พรรคก้าวไกล และพพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคใหญ่ ควรวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา คือ ส.ส.500 คน ส.ว.250 คน (ลาออกไปแล้ว 1 คน คงเหลือ 249) เพราะจะต้องได้รับความเห็นชอบ จาก ส.ส. และ ส.ว. มากกว่ากึ่งหนึ่ง (376 เสียง (อาจจะเป็น 375 เพราะ ส.ว.ลาออก 1 คน) ว่า ใครมีความเป็นไปได้สูงสุด กล่าวคือจะ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ส.ว. อีก 64  คน แล้วลงมติเสนอรายชื่อดังกล่าวตือนายพิธา  ลิ้มเจริญรัตน์ หรือนายเศรษฐา ทวีสิน หรือ น.ส.แพทองธาร  ชินวัตร แคนดิเดตนายกฯ หรือพรรคก้าวไกล จะให้เกียรติพรรคเพื่อไทย เสนอชื่อ นายเศรษฐา ทวีสิน หรือ น.ส.แพทองธารชินวัตร โดยยังร่วมกันจัดตั้งรัฐาล เหมือนเดิม

บทวิเคราะห์ผลการโหวตนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 30 เมื่อ 13 ก.ค.2566

 

บทวิเคราะห์ผลการโหวตนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 30 เมื่อ 13 ก.ค.2566

ดร. ถวิล  อรัญเวศ

        เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 มีการประชุมรัฐสภา (ส.ส.และ ส.ว.) เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 30  โดย นายแพทย์  ชลน่าน  ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เสยอ ชื่อ "นายพิธา  ลิ้มเจริญรัตน์" หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคการเมือง ซึ่งเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล  เข้าชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรี  คนที่ 30 

 
https://youtu.be/Ifk7ZfyMGwc


https://youtu.be/kEeKYDRbBp0


https://youtu.be/xtmv7uTgWfU

 

   ข้อมูลเสียงพรรคร่วมรัฐบาล 8 พรรค รวม 312 เสียง

1. พรรคก้าวไกล              151 ที่นั่ง

2. พรรคเพื่อไทย              141 ที่นั่ง

3. พรรคประชาชาติ              9 ที่นั่ง

4. พรรคไทยสร้างไทย            6 ที่นั่ง

5. พรรคเพื่อไทรวมพลัง         2 ที่นั่ง

6. พรรคเสรีรวมไทย              1 ที่นั่ง

7. พรรคเป็นธรรม                 1 ที่นั่งและ

8. พรรคพลังสังคมใหม่           1 ที่นั่ง

         โดยเสียงของพรรคร่วมมีเสียงอยู่ 312 เสียง ซึ่งจะเหลือ 311 เสียง ลบ 1 เสียง เนื่องจาก นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ต้องทำหน้าที่เป็นกลาง ในฐานะประธานรัฐสภาด้วย จึงไม่สามารถลงคะแนนได้

 พิธาพ่ายโหวตนายกฯ รอบแรก

           นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวรายงานผลการนับคะแนนว่า นายพิธาได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เพียง 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง และงดออกเสียง 199 คน

         จึงเป็นอันว่า “นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้คะแนนเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีในสองสภา คือ ส.ส.500 ส.ว. 250 ดังนั้นนายพิธาจึงไม่ได้รับการเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี” นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา กล่าวก่อน

ปิดการประชุม

         นายพิธาต้องการเสียงสนับสนุน 376 เสียง (หรืออย่างน้อย 375 เสียง จาก 749 เสียงของจำนวนสมาชิกในปัจุบัน ซึ่งเมื่อวานนี้มี ส.ว. ลาออกหนึ่งคน

         อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าการประชุม นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวในก่อนหน้านี้ว่าพรรคร่วมรัฐบาลสามารถเสนอชื่อนายพิธารอบสองได้อีกในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 นี้  แต่ก็มีสมาชิกวุฒิสภาบางท่านบอกว่า ไม่ได้เพราะเป็นการเสนอญัตติซ้ำ ต้องเสนอชื่อคนใหม่

        อย่างไรก็ตาม ก็คงเป็นเรื่องของพรรคก้าวไกลซึ่งมี ส.ส.151 คน และพรรคเพื่อไทย ซึ่งมี ส.ส.141 คน จะต้องไปเจรจาภายในกันก่อนว่าจมีมติออกมาอย่างไร (ไม่เช่นนั้น อาจจะเป็นเหมือนการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งก่อนหน้านี้บอกว่า จะเป็นของพรรคก้าวไกล หรือไม่ก็พรรคเพื่อไทย แต่ในที่สุดก็ไม่ได้ทั้งคู่)

        “เรายอมรับ แต่เรายังไม่ยอมแพ้ ยอมรับว่ายังไม่ถึง 376 ได้ออกมา 324 ก็ต้องยอมรับว่ามีการกดดันวุฒิสภาเยอะ ที่ไม่มาประชุมก็เกือบ 40 กว่าคน ก็อาจไม่ตรงกับที่เราคาดการณ์ไว้ เราจะใช้เวลาในการหายุทธศาสตร์ในการรวบรวมเสียงครั้งต่อไป เราได้สัญญากับประชาชนไว้อย่างไร เราก็ทำอย่างนั้น ตอนนี้ก็มุ่งหน้าสู่การลงมติครั้งที่ 2” นายพิธา กล่าวกับผู้สื่อข่าวที่รัฐสภา

  
https://youtu.be/-aGJ_onjnFs

      ปัจจุบัน พรรคก้าวไกล และเพื่อไทยจับมือกับพันธมิตรทั้งหมด 8 พรรค ได้มือ ส.ส. 312 คน จาก ส.ส. ทั้งหมด 500 คน ยืนยันว่าจะเสนอชื่อ นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ตามกติกาของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 บทเฉพาะกาล

มาตรา 272 ให้อำนาจ ส.ว. 250 คน ที่ถูกแต่งตั้งโดย คสช. เองซึ่งส่วนใหญ่เป็นอดีตข้าราชการทหาร และฝ่ายอนุรักษ์นิยม ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย

       แต่ในวันนี้ สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการคัดเลือกตามกระบวนการของรัฐธรรมนูญ 2560 มาประชุมเพียง 216 คน โดย ส.ว. ที่มาจากตำแหน่งประจำ เช่น พลเอก ณรงพันธุ์ จิตแก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการกองทัพไทย และผู้บัญชาการเหล่าทัพอื่น ๆ ต่างไม่เข้าร่วมประชุม เพราะไปราชการ ซึ่งก็ได้แจ้งลวงหน้าก่อนวันโหวตเลือกนายกฯ แล้ว ขณะที่นายทหารเก่าส่วนใหญ่งดออกเสียง หรือไม่เห็นชอบ

 อภิปราย โจมตีพิธาดุเดือด

        การประชุมร่วมรัฐสภา เริ่มขึ้นในเวลา 09.30 น. โดย นพ. ชลน่าน

ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นผู้เสนอชื่อ นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่มีการเสนอผู้อื่นแข่ง

       หลังจากนั้น ส.ส. และ ส.ว. ได้ผลัดกันอภิปรายเกี่ยวกับคุณสมบัติของนายพิธา โดย ส.ว. และ ส.ส. จากพรรคซึ่งเคยร่วมรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา พยายามโจมตีนายพิธา และพรรคก้าวไกล อย่างเผ็ดร้อนในประเด็นการแก้ไข ม.112 เป็นเหตุให้ไม่ไว้วางใจที่จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี

       “ถ้าท่านปล่อยให้คนด่าแล้วไม่มีกฎหมายคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ประเทศไทยจะยิงกันหมด ผมอาจจะขอเขาว่า ขอออกกฎหมายใหม่ยิงคนที่หมิ่นสถาบันแล้วไม่ติดคุก” นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส. อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย อภิปรายตอนหนึ่ง

        “ถ้าพรรคการเมืองที่มีพรรคก้าวไกล เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ พรรคภูมิใจไทยพร้อมที่จะเป็นฝ่ายค้านทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างมีคุณภาพ และจะคัดค้านการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างเต็มที่ ท่านอ้างว่าท่านต้องทำเพื่อรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยเจตนาดี ขอเรียนตรง ๆ ว่า ผมและพรรคภูมิใจไทย ไม่เชื่อ เพราะพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมาทำให้เราเห็นชัดเจน”

 

https://youtu.be/zdCci3edUq4


https://youtu.be/nf1Dt8Px1pg

 

        “ศาสตรา ศรีปาน”ส.ส.สงขลา อภิปรายย้ำจุดยืน“รวมไทยสร้างชาติ”ไม่เลือกนายกฯชื่อ“พิธา” เหตุต้องปกป้องสถาบันหลักของชาติตามอุดมการณ์ของพรรคที่ไม่หนุนคนมีแนวคิดแก้ม.112 ลั่นมีคนจำนวนมากพร้อมยอมตายเพื่อสถาบันจึงอย่ามาขู่กันว่าจะลงถนน ถามกลับชอบหรือชัยชนะบนซากปรักหักพัง

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ที่รัฐสภา นายศาสตรา ศรีปาน ส.ส.สงขลา พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)ได้เป็นตัวแทนพรรคอภิปรายระหว่างการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ว่า วันนี้ตนเป็นตัวแทนของพรรครวมไทยสร้างชาติ ขอแสดงจุดยืนของพรรคในการเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย เสียงที่ตนส่งไปให้สมาชิกในสภาฯ และประชาชนนอกสภา ขอเรียนให้ทราบว่าไม่ได้มีอคติหรือมีเรื่องใด ๆส่วนตัว แต่เป็นเรื่องของคนไทยที่รักชาติรักแผ่นดิน ที่จะมาบอกว่าวันนี้อุดมการณ์ ของพรรครวมไทยสร้างชาติคือความชัดเจนมาตั้งแต่เริ่มต้นว่า เราจะปกป้องและ ดำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ ดังนั้นเราจึงไม่สนับสนุน พรรคการเมืองใด หรือนักการเมืองคนใด ที่มีนโยบาย ในการแก้ไขมาตรา 112 เพราะเราเห็นว่าบ้านเมืองวันนี้ ก็สามารถเดินไปข้างหน้าได้สามารถพัฒนาไปข้างหน้าได้โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขมาตรา นี้เลย และไม่จำเป็นต้องมาทำลายขนบธรรมเนียมไทยหรือต้นทุนทางวัฒนธรรมไทยที่มีมานาน ตั้งแต่ในอดีต

       นายศาตรา อภิปรายว่า  ตนได้เห็นการขับเคลื่อนการเดินสายพูดถึงประวัติศาสตร์ที่สร้างบาดแผลให้กับชาติไทย ทำให้เกิดความสงสัย เช่น การแบ่งแยกดินแดน การแบ่งแยกแผ่นดิน สิ่งเหล่านี้ทำให้คนไทยและสังคมไทยดีขึ้นหรือไม่ ไม่มีเลย มีแต่สร้างความแตกแยกแบ่งแยกคน ออกเป็นฝักเป็นฝ่าย ไม่ได้มีประโยชน์ใด ๆเลย รูปที่มีอยู่ทุกบ้าน ตนเชื่อว่ามีอยู่ในบ้านของใครหลายๆ คนข้างนอก โครงการพระราชดำริ เช่นที่อำเภอหาดใหญ่  มีโครงการพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำให้เราไม่ต้องสูญเสียชีวิต และทรัพย์สิน วันนี้มีนักเรียนทุนจากคนยากจน พวกเขายังซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้นอย่าเหยียบย่ำหัวใจ คนไทยไปมากกว่านี้เลย

     “ผมขอได้ไหมไม่แก้มาตรา 112 ไปแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนยังมีอีกจำนวนมากที่จะเสนอการแก้ไขกฎหมายเพื่อช่วยพี่น้องประชาชนได้ การแก้มาตรา 112 มีแต่สร้างความแตกแยก คุณบอกว่า 14 ล้านเสียงพร้อมจะลงถนน อีกกว่า 20 ล้านเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็พร้อมยอม ตายถวายชีวิตเพื่อสถาบัน ฉะนั้นการแก้ไขมาตรา 112 จะสร้างแต่รอยร้าวรอยแตกแยกให้กับประเทศไทย คนลงถนนบ้านเมืองจะอยู่อย่างไร มีแต่พังพินาศ ชัยชนะบนซากปรักหักพังชอบกันหรือ ผมว่ามันไม่มีประโยชน์อันใด ถึงคุณจะบอกว่า 151 เสียงที่ได้มาหรือแม้แต่ทั้งรัฐสภา 750 เสียง คุณก็ไม่มีสิทธิ์ในการทำลายสิ่งที่บรรพบุรุษเขาสร้างกันมาตั้งแต่ต้น นี่คือประเด็นที่ประชาชน ที่อยู่ด้านนอกเขาคิด ฉะนั้นต้องฟังด้วย ไม่ว่าจะเป็นเสียงส่วนน้อยเสียงส่วนใหญ่ก็ต้องฟัง” นายศาสตรากล่าว

         นายศาสตรา อภิปรายต่อว่า การที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ อย่ามาโทษใครทั้งสิ้น อย่ามาโทษส.ส. อย่ามาโทษกกต. หรือศาลรัฐธรรมนูญ อยู่ที่ตัวของนายพิธาเองที่ต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ เพราะวันนี้กฎหมายเขียนชัดเจนว่า การจะเป็นนายกรัฐมนตรีจะเป็นส.ส.ห้ามถือหุ้นสื่อเขียนไว้ชัดเจนตั้งแต่ก่อนพรรคอนาคตใหม่จะตั้งขึ้นมาพอเขาบอกว่าให้ถอนร่างแก้ไข ก็ถอนได้แต่ทำไมไม่ถอนออกตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องมีการอภิปราย จะได้เลือกนายกคนที่ 30 กันเลย ดังนั้นไม่ต้องโทษใครทั้งสิ้น และวันนี้นายพิธาก็ต้องตอบสังคมให้ได้ เพราะวันหนึ่ง บอกว่ามาตรา 112 จะแก้ไข อีกวันหนึ่ง บอกว่าจะยกเลิก บางวันขึ้นเวทีติดสติ๊กเกอร์บอกว่าแก้ไขแล้วค่อยไปยกเลิก แล้วจะให้พวกตนคิดอย่างไร

 “นักการเมืองที่ปากอย่างใจอย่างถามว่าประชาชนจะเชื่อได้หรือไม่ นี่คือสิ่งที่คุณต้องตอบ และผมเชื่อว่า ประชาชนก็ติดตามอยู่ โดยเฉพาะร่าง แก้ไขมาตรา 112 ร่างมาจนไม่เหลือความคุ้มครองอะไรเลย และไม่สอดคล้อง กับรัฐธรรมนูญมาตรา 6 ที่บัญญัติว่า องค์พระมหากษัตริย์ให้ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่สักการะผู้ใดจะละเมิดไม่ได้” ส.ส.สงขลา พรรครวมไทยสร้างชาติกล่าว

       นายศาสตรา อภิปรายย้ำว่า ตนเกิดมารุ่นราวคราวเดียวกับนายพี่พิธา 40 ปี ไม่เคยโดนฟ้องมาตรา 112 เลย กฎหมายก็อยู่ในส่วนของกฎหมายไม่มีนิติสงครามมีแต่นิติรัฐทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น ฉะนั้น วันนี้พรรคก้าวไกล มีการยื่นเสนอ มีนโยบายที่จะแก้ไขมาตรา 112 ซึ่งขัดกับอุดมการณ์ของพรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งเราเห็นว่า การแก้มาตรา 112 มีแต่สร้างความเกลียดชังและแตกแยกของคนในสังคมไทย และกระทบต่อความรู้สึกของคนไทยในช่วงที่ประเทศชาติต้องการความรักความสามัคคี ดังนั้นพรรครวมไทยสร้างชาติตัวแทนของประชาชนคนไทย ผู้ที่รักและเทิดทูนสถาบัน จึงไม่ขอโหวตสนับสนุน นายกคนที่ 30 ของประเทศไทยชื่อ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์”

       “การแก้ไขมาตรา 112 จะสร้างแต่รอยร้าว รอยแตกแยกให้กับประเทศไทย คนลงถนนบ้านเมืองจะอยู่ยังไง มีแต่พังพินาศ ชัยชนะบนซากปรักหักพังชอบกันหรือครับ ผมว่ามันไม่มีประโยชน์อันใด” นายศาสตรากล่าว

          ด้าน นายพิธา ชี้แจงว่า ม.112 เป็นประเด็นที่พรรคก้าวไกลใช้หาเสียงกับประชาชน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำมาอภิปรายในรัฐสภา

         “ผมพยายามที่จะรักษาคำพูด สัญญาที่เคยให้ไว้กับประชาชนยังไง ท่านชาดามีประสบการณ์แบบนึง ความคิดแบบนึง ผมก็มีชุดความคิดแบบนึง นี่เป็นสาเหตุที่เราต้องใช้รัฐสภา ในการแก้ไขกฎหมายนิติบัญญัติ” นายพิธา กล่าว

        “น่าตั้งข้อสังเกตตั้งแต่ก่อนการอภิปรายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปล่อยเอกสารลับ หรือการที่ ส.ว. พูดในลักษณะของการโน้มน้าวให้คนที่จะออกคะแนนเสียงเกิดการไขว้เขว จากคนที่อาจจะเห็นชอบก็กลายเป็นกลับลำ ไม่ว่าจะเพราะกังกลว่าจะส่งผลกับตัวเอง หรืออะไรก็แล้วแต่ มันแสดงให้เห็นว่าเรากำลังสร้างสภาของความกลัวขึ้นมา สภาของความกลัวดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจนอกระบบ”

 ประวัตินายพิธา

         นายพิธา เป็นชาวกรุงเทพฯ อายุ 42 ปี เป็นบุตรชายของนายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ  ระดับปริญญาโท สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)

        เคยบริหารงานใน บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัว และเคยร่วมงานกับ บริษัท แกร็บ ประเทศไทย ก่อนลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ลำดับที่ 4 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัยแรกในปี 2562

        ต่อมาในปี 2563 ศาลรัฐธรรมนูญยังวินิจฉัยให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ จากกรณีที่ พรรคถูกร้องว่า รับเงินบริจาคอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากที่ทำสัญญากู้ยืมเงินจากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ 191 ล้านบาท เพื่อใช้ในการหาเสียง คำวินิจฉัยดังกล่าว ทำให้กรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี

        หลังจากนั้นสมาชิกพรรคอนาคตใหม่บางส่วนย้ายมาตั้งพรรคก้าวไกล และเลือกนายพิธา เป็นหัวหน้าพรรค ในการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 นายพิธา เป็น ผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ของพรรคก้าวไกล และเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนเดียวของพรรค ซึ่งพรรคก้าวไกล กลายเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลหลังจากสามารถคว้า ส.ส. มากที่สุด 151 ที่นั่ง

        พลันที่ชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถูกโหวตคว่ำกลางรัฐสภา ได้เกิดความเคลื่อนไหวของคนการเมืองในการ “ฝัง” แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ไม่ให้กลับมาเสนอชื่อซ้ำได้ในการลงมติครั้งต่อไป โดยตีความว่าเป็น “ญัตติ” ขณะที่คนก้าวไกลได้เตรียมข้อโต้แย้งอย่างน้อย 4 ข้อเพื่อต่อสู้ในยกถัดไป

        “ผลที่ออกมา เรายอมรับ แต่ไม่ยอมแพ้” พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค เปิดใจภายหลังแพ้โหวตกลางรัฐสภาในยกแรก 13 ก.ค.2566

         เขาได้รับคะแนนเห็นชอบให้เป็นนายกรัฐมนตรี 324 ไม่เห็นชอบ 182 เสียง และ งดออกเสียง 199 คน ยังขาดไปถึง 51 เสียง จึงจะผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำตามรัฐธรรมนูญ 2560

         เมื่อคะแนนเห็นชอบของแคนดิเดตนายกฯ ผู้ถูกเสนอชื่อเพียงคนเดียว ไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ 376 จากสมาชิกทั้งหมด 749 คน เป็นผลให้ชื่อพิธาถูกตีตกในยกแรก

         สิ่งที่พิธาบอกว่าจะทำหลังจากนี้คือ “เตรียมใจ เตรียมแผน เตรียมสมอง เพื่อโหวตนายกฯ ในครั้งที่ 2” ใช้เวลาคิดยุทธศาสตร์เพื่อรวบรวมเสียงในการโหวตครั้งต่อไป หลังได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. เพียง 13 เสียง

 บทวิเคราะห์ผลการโหวตนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 30

        1. ความกังลเรื่องคุณสมบัติของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

            ส.ส. ฝ่ายค้าน และส.ว. 250 คน ส่วนใหญ่ก็มีความกังวล เพราะเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติ 4 ต่อ 1 ให้ส่งคำร้องถึงศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ถือหุ้นสื่อไอทีวี ซึ่งขาดคุณสมบัติ  ส.ส.ด้วย และก็ยังไม่ทราบผลตัดสินจึงทำให้ส่งผลกระทบต่อการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เพราะมีการเสนอให้หยุดปฏิบัติ ส.ส. ด้วย เพราะคุณสมบัติผู้จะเป็นนายกรัฐมนตรีก็มีลักษณะเหมือนกันกับคุณสมบัติผ้จะสมัคร ส.ส. ด้วย สมมุติว่า ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ก็จะไปต่อไม่ได้ และ ถ้า กกต.ไม่ส่งเรื่องไป ก็อาจจะเข้าข่ายฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 157 อาจถูกฟ้องร้องได้

         อนึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 มาตรา ๑๑๔ บัญญัติไว้ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกัน แห่งผลประโยชน์

         ประชาชน เลือก ส.ส. เข้าสภา และ ส.ส. เลือกนายกรัฐมนตรี การเลือก

นายกรัฐมนตรี จึงไม่ใช่หน้าที่ของประชาชน

  
https://youtu.be/2W_1MX9Doig


https://youtu.be/8lAg83J34D0

 

        2. ข้อกังวลนโยบายการแก้ไข มาตรา 112 ของพรรคก้าวไกล

          โดย นายพิธา ชี้แจงว่า ม.112 เป็นประเด็นที่พรรคก้าวไกลใช้หาเสียงกับประชาชน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำมาอภิปรายในรัฐสภาและเดินต่อ แม้จะไม่มีใน MOU ใน 23 ข้อ แต่พรรคก้าวไกลก็จะนำเสนอสภาเอง

         “ผมพยายามที่จะรักษาคำพูด สัญญาที่เคยให้ไว้กับประชาชนยังไง ท่านชาดามีประสบการณ์แบบนึง ความคิดแบบนึง ผมก็มีชุดความคิดแบบนึง นี่เป็นสาเหตุที่เราต้องใช้รัฐสภา ในการแก้ไขกฎหมายนิติบัญญัติ” นายพิธา กล่าว

 
https://youtu.be/nf1Dt8Px1pg

 

          แต่ สมาชิกวุฒิสภาก็ยังมีความกังวลอยู่ดี เพราะร่าง พรบ. การแก้ไข มาตรา 112 ที่พรรคก้าวไกลเคยเสนอมาแล้วเมื่อสมัยสภาฯ คราวที่แล้ว สมาชิกวุฒิสภา ไม่ผ่านให้ เพราะสาระการแก้ไขแล้ว เหมือนจะแย่กว่าเดิม เป็นการลดโทษผู้กระทำความผิดลง ทั้งโทษปรับ และโทษจำคุก และบางข้อ ก็ไม่เป็นความผิดเลย ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ มาตรา ๖ ก็บัญญัติไว้วา  องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ  ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นกฎมายสูงสุดตามที่ มาตรา ๕ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้

       อนึ่ง.. ด้วยกติกาการโหวตนายกฯ ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ว่า

        มาตรา ๒๗๒ ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ (ปี 2562-2567 : 11 พ.ค.2567)  การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๕๙ เว้นแต่ การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๕๙ วรรคหนึ่ง ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และ มติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๕๙ วรรคสาม ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (376)

  
https://youtu.be/nf1Dt8Px1pg


https://youtu.be/nf1Dt8Px1pg

 

การเสนอโหวต นายกฯ รอบสอง 19 ก.ค.2566 มาด้วยช่องทางใดบ้าง

        ซึ่งตามกรอบกฎหมายระบุว่า ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแจ้งรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่า จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่เกิน 3 รายชื่อ ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวให้ประชาชนทราบ

 

1. นายกฯ จากบัญชีพรรค

    โดยช่วงเปิดสมัคร ส.ส. กฎหมายกำหนดให้พรรคการเมืองส่งบัญชีรายชื่อผู้ชิงตำแหน่งนายกฯ มาด้วยไม่เกิน 3 รายชื่อ หรือบางพรรคจะไม่ส่งบัญชีนายกฯ เลย ก็ทำได้

    เบื้องต้นในการโหวต...ต้องเป็นชื่อนายกฯ จากบัญชีพรรค ที่ได้รับเลือกตั้ง ส.ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละห้า หรือจากพรรคที่ได้ ส.ส. ไม่น้อยกว่า 25 คน และการเสนอชื่อ แคนดิเดตนายกฯ จากบัญชีพรรค ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร (หรือมี ส.ส. 50 คน รับรอง)

      การลงมติโหวตนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ ต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา กำหนด+ให้ ขานชื่อ แบบเปิดเผยเรียงลำดับตามตัวอักษร ตามที่ประธานกำหนด และกระบวนการโหวตนายกฯ ตามกฎหมาย ใช้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งจาก 2 สภารวมกัน ส.ส. + ส.ว. กึ่งหนึ่งคือ 750 เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งก็คือ 376 เสียงขึ้นไป ใครได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง ก็จะได้เป็นนายกฯ  เพราะได้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง

      ตอนนี้ พรรคก้าวไกล มี ส.ส.มากที่สุด คือ 151 คน ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคการเมืองอีก 7 พรรค โดยมีพรรคเพื่อไทย ซึ่งมี ส.ส. 141 คนเป็นอันดับ 2 นอกนี้ก็มีพรรคเล็กพรรคน้อยอีก 6  พรรค รวมมี ส.ส. ทั้งหมด 312 คน
    การโหวตครั้งแรกเ้มื่อ 13 ก.ค.2566 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวรายงานผลการนับคะแนนว่า นายพิธา  ได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เพียง 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง และงดออกเสียง 199 คน

     จึงเป็นอันว่า “นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้คะแนนเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มีในสองสภา คือ ส.ส.500 ส.ว. 250 ดังนั้นนายพิธาจึงไม่ได้รับการเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี” นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา กล่าวก่อน ปิดการประชุม

         การโหวตในรอบสองในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 พรรคก้าวไกล และพพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคใหญ่ ควรวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา คือ ส.ส.500 คน ส.ว.250 คน (ลาออกไปแล้ว 1 คน คงเหลือ 249) เพราะจะต้องได้รับความเห็นชอบ จาก ส.ส. และ ส.ว. มากกว่ากึ่งหนึ่ง (376 เสียง (อาจจะเป็น 375 เพราะ ส.ว.ลาออก 1 คน) ว่า ใครมีความเป็นไปได้สูงสุด กล่าวคือจะ ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ส.ว. อีก 64  คน แล้วลงมติเสนอรายชื่อดังกล่าวตือนายพิธา  ลิ้มเจริญรัตน์ หรือนายเศรษฐา ทวีสิน หรือ น.ส.แพทองธาร  ชินวัตร 
แคนดิเดตนายกฯ หรือพรรคก้าวไกล จะให้เกียรติพรรคเพื่อไทย เสนอชื่อ นายเศรษฐา ทวีสิน หรือ 
น.ส.แพทองธารชินวัตร โดยยังร่วมกันจัดตั้งรัฐาล เหมือนเดิม

2. นายกฯ นอกบัญชีพรรค

    คือไม่อยู่ในบัญชีที่พรรคได้แจ้งไว้ กรณีนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อ..

การเลือกนายกฯ จากบัญชีพรรคไม่สามารถเลือกได้.. ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ

    ซึ่งรัฐธรรมนูญเขียนเปิดช่องให้ สมาชิก 2 สภา รวมกันไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 375 คน สามารถเข้าชื่อเสนอให้มีการประชุมรัฐสภาเพื่อยกเว้นเงื่อนไขเลือกนายกฯ จากบัญชีพรรค และหาก 2 สภามีมติด้วยเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 หรือ 500 คน รัฐสภาก็สามารถเลือก นายกฯ จากบุคคลนอกบัญชีพรรคได้

      ซึ่งกระบวนการโหวต นายกฯ นอกบัญชีพรรค... ก็ใช้เสียง มากกว่ากึ่งหนึ่งจาก 2 สภารวมกัน นั่นคือ 376 คนขึ้นไป ก็ได้เป็นนายกฯ

       มาตรา ๒๗๒ ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ (ปี 2562-2567 : 11 พ.ค.2567)  การให้ ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๕๙ เว้นแต่ การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๕๙ วรรคหนึ่ง ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และ มติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๕๙ วรรคสาม ต้องมีคะแนนเสียง มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (376)

 
https://youtu.be/5K3KU0zYbtM

         ในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่ง หากมีกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมือง แจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อท่ีพรรคการเมือง แจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ หรือไม่ก็ได้

 
https://youtu.be/QTY_fD5HZHM

 

 คำกล่าวที่ว่า
“การเมือง ไม่มีมิตรแท้ และศัตรูที่ถาวร”

ยังใช้ได้อยู่ ควรมองให้ขาด อย่าประมาทในระหว่างนี้

 

 

 

 

แหล่งข้อมูล

https://www.banmuang.co.th/news/politic/336617

https://www.bbc.com/thai/articles/cgedwq74dn9o

https://www.benarnews.org/thai/news/th-politics-prime-minister-election-pita-07132023073929.html

https://youtu.be/5K3KU0zYbtM

https://youtu.be/Gf9VO-SwdSE

https://youtu.be/_TUjBtWzNrA

https://youtu.be/YHPQMYCrnV8

https://youtu.be/QTY_fD5HZHM

https://youtu.be/JWYMPQ5fZ_k

https://youtu.be/xtmv7uTgWfU

https://youtu.be/c00bgzibSYE

https://youtu.be/c00bgzibSYE

https://youtu.be/00YGTSQUguE

https://youtu.be/hwz5zHjxKms

https://youtu.be/-aGJ_onjnFs

https://youtu.be/mU5rP2K0_3Q

https://youtu.be/gYbJYaBCuaQ

https://www.youtube.com/live/9hazdplxiy4?feature=share

https://www.youtube.com/live/EHj0VeGp3u4?feature=share

https://youtu.be/44frncRR-HE

https://youtu.be/xeF968RFEzw

https://www.youtube.com/live/EHj0VeGp3u4?feature=share


หมายเลขบันทึก: 713598เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2023 02:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2023 02:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท