การโหวตนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 30


13 กรกฎาคม 2566 จะมีการประชุมรัฐสภา (ส.ส.และ ส.ว.)เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 30 โดย นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยจะเสยอ ชื่อ "นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์" หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคการเมือง ซึ่งเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล เข้าชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรี คนที่ 30 จับตา ด่านแรก 13 ก.ค. 2566 นี้ ชื่อ "พิธา" จะฝ่าด่านตัวเลข 376 เสียง ในรัฐสภาได้หรือไม่? เสียงข้างมากใน ส.ส.จำนวน 313 เสียง ถ้าไม่มีปมกติกาการโหวตนายกฯ ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ว่า มาตรา ๒๗๒ ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ (ปี 2562-2567 : 11 พ.ค.2567) การให้ ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๕๙ เว้นแต่ การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๕๙ วรรคหนึ่ง ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และ มติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๕๙ วรรคสาม ต้องมีคะแนนเสียง มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (376) ในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่ง หากมีกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมือง แจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อท่ีพรรคการเมือง แจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ หรือไม่ก็ได้ นั้นคือ ถ้าไม่มีข้อความที่ว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ คือ นับจากปี 2562-2567 (11 พ.ค.2567) ให้ ส.ว. เข้ามาร่วมโหวตนายกฯ ด้วย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ คงได้เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 แน่นอนแล้ว แต่ด้วยเงื่อนไขจากบทเฉพาะกาลดังกล่าวการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งนายกฯจึงยาก อย่างไรก็ตาม ถ้านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ขาดคุณสมบัติ ของผู้จะสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. และไม่ขาดคุณสมบัติการเป็น รัฐมนตรี/นายกรัฐมนตรี เพราะเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ (ไม่ระบุว่าถือหุ้นกี่หุ้น) และ สามารถแสดงวิสัยทัศน์ หรือไขปมแก้มาตรา 112 (ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี"..) จน ส.ว. ได้รับฟังกระจ่างแจ้ง หายสงสัย ส.ว.อาจจะเปลี่ยนใจโหวตให้ก็ได้ เพราะตอนนี้ ต้องการเสียงจาก ส.ว. เพียง 63 เสียงก็จะเพียงพอ (เผื่อไว้ 70 เสียงก็จะดี กันความผิดพลาด) ขอให้ผ่านฉลุยรอบเดียว นะครับ...

การโหวตนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 30

ดร. ถวิล  อรัญเวศ

       13 กรกฎาคม 2566 จะมีการประชุมรัฐสภา (ส.ส.และ ส.ว.)เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของไทยคนที่ 30  โดย นายแพทย์  ชลน่าน  ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยจะเสยอ ชื่อ "นายพิธา  ลิ้มเจริญรัตน์" หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรคการเมือง ซึ่งเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล  เข้าชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรี  คนที่ 30  

  

เสียงพรรคร่วมรัฐบาล 8 พรรค รวม 313 ที่นั่ง

1. พรรคก้าวไกล              151 ที่นั่ง

2. พรรคเพื่อไทย              141 ที่นั่ง

3. พรรคประชาชาติ              9 ที่นั่ง

4. พรรคไทยสร้างไทย            6 ที่นั่ง

5. พรรคเพื่อไทรวมพลัง          2 ที่นั่ง

6. พรรคเสรีรวมไทย              1 ที่นั่ง

7. พรรคเป็นธรรม                 1 ที่นั่งและ

8. พรรคพลังสังคมใหม่           1 ที่นั่ง

    โดยพรรคครูไทยเพื่อประชาชน 1 ที่นั่งจะโหวตสนับสนุนให้ด้วยแม้จะไม่ได้ถูกทาบทาม  จึงรวม 313 เสียง

    สำหรับ 8 พรรครวมจัดตั้งรัฐบาล ได้แก่ พรรคก้าวไกล, พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาชาติ, พรรคไทยสร้างไทย, พรรคเพื่อไทรวมพลัง, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคเป็นธรรม, พรรคพลังสังคมใหม่ มีมติเสนอชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเสียงของพรรคร่วมมีเสียงอยู่ 312 เสียง ซึ่งจะเหลือ 311 เสียง ลบ 1 เสียง เนื่องจาก วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ต้องทำหน้าที่เป็นกลาง จึงไม่สามารถลงคะแนนได้

    376 เสียง  ยังขาดอยู่ 63 เสียง น่าจะเป็นเสียงที่มาจาก ส.ว. เพราะพรรคการเมืองฝ่ายค้าน มีข่าวว่าจะงดออกเสียง และ มีข่าวสะพัดว่า สภาสูง90% จะงดออกเสียง

      สำหรับเสียงของพรรคที่เหลือ 188 เสียง ตอนนี้ทยอยเปิดเผยมติของพรรคกันแล้ว ได้แก่ พรรคภูมิใจไทย, พรรคพลังประชารัฐ, พรรครวมไทยสร้างชาติ, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคเล็กอื่น ๆ มีแนวโน้มจะงดออกเสียง

    

“8 พรรคร่วมรัฐบาล” หารือเตรียมโหวตนายกฯ-คุณสมบัติ “พิธา” ก่อนนำเข้าที่ประชุม “วิป 3 ฝ่าย” ด้าน “ภูมิธรรม” ไม่ก้าวล่วง “กกต.-ศาลรธน.”

        11 กรกฎาคม 2566 10:39 น.  สยามรัฐออนไลน์  การเมือง รายงานข่าวว่า

        เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 11 ก.ค. 66 ที่รัฐสภา แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล 8 พรรค ร่วมประชุมความคืบหน้าจัดตั้งรัฐบาลนำโดย นายชัยธวัช ตุลาธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคก้าวไกล (ก.ก.), นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รองหัวหน้าพรรค ก.ก., นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.), นายประเสริฐ จันทรรวงทองส.ส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคพท., นายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรค พท., น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรักษาการโฆษกพรรคพท., พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคประชาชาติ(ปช.) น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย (ทสท.), นายวสวรรธน์ พวงพรศรี หัวหน้าพรรคเพื่อไทรวมพลัง, นายวิรัตน์ วรศสิริน ตัวแทนพรรคเสรีรวมไทย (สร.), นายกัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรคเป็นธรรม (ปธ.) และตัวแทนจากพรรคพลังสังคมใหม่ โดยทั้ง 8 พรรคได้ถ่ายรูปร่วมกันก่อนจะมี

การประชุมเพื่อหารือถึงการเตรียมความพร้อมในการโหวตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 ก.ค.ที่จะถึงนี้ ซึ่งเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะนำไปแจ้งต่อที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ ในฐานะประธานสภาฯ เป็นประธาน, วิปวุฒิ และตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆ ซึ่งจะมีการประชุมในเวลา 11.00 น.

       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุม 8 พรรคร่วมรัฐบาลวันนี้ ก่อนการประชุมเกิดปัญหาติดขัดเกี่ยวกับห้องที่ใช้ในการประชุม ซึ่งได้เปลี่ยนห้องที่ใช้ในการประชุมถึง 3 ครั้ง โดยกำหนดการเดิมนัดประชุมที่ห้อง CB 403 ก่อนจะย้ายมาห้องวิปรัฐบาลที่บริเวณชั้น 2 ซึ่ง ปรากฏว่า ห้องยังไม่พร้อมเนื่องจากมีการซ่อมแซม ทางคณะประชุมจึงได้ย้ายห้องอีกครั้งโดยย้ายมาประชุมที่ห้องงบประมาณ CB 406  ทำให้กำหนดการเริ่มประชุม ที่เดิมเริ่มในเวลา 09.30 น. ล่าช้าออกไปจนกระทั่งเวลา 09.50 น. ถึงได้เริ่มการประชุม

 โดยนายภูมิธรรม ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมถึงกรณีจะมีการพูดคุยถึงคุณสมบัติของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์  หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล ว่า วันนี้เป็นการประชุม 8 พรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งพรรคแกนนำหลักคงจะเอาเรื่องเข้ามาหารือว่าจะเป็นอย่างไรต่อ เพราะจากวันนี้ไป วันที่ 13 ก.ค. จะเข้าหารือเพื่อโหวตนายกฯแล้ว และตนคิดว่าวันนี้จะมาหารือถึงสถานการณ์ว่าจะเป็นอย่างไร ว่านายพิธาสามารถเตรียมความพร้อมได้แค่ไหน และพรรคร่วม จะทำอะไรได้บ้าง เพราะที่ผ่านมานายพิธาบอกว่ามั่นใจ ฉะนั้นเราจึงอยากจะหารือกันว่า ที่มั่นใจนั้นเราจะช่วยอะไรได้บ้าง และเราจะช่วยเท่าที่สุดความสามารถของเรา

      เมื่อถามว่า มีรายงานข่าวระบุว่าทางพรรค พท. สามารถขอเสียงสนับสนุนจากสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ถึง 40 เสียง ในขณะที่พรรคก้าวไกล มีเพียงแค่ 20 เสียง นายภูมิธรรม กล่าวว่า เดี๋ยวต้องหารือกันว่าแต่ละคนทำได้แค่ไหน เมื่อถามย้ำว่า พรรคก้าวไกล มีการเปิดรายชื่อให้พรรคร่วมได้เห็นหรือไม่ ว่า จริงๆ แล้วตัวเลขที่สนับสนุนจากทาง ส.ว. ได้มากน้อยแค่ไหน นายภูมิธรรมกล่าวว่า วันนี้จะหารือกัน ตอนนี้เรายังไม่ทราบอะไร

        เมื่อถามว่า จะมีแผนสำรองหรือไม่ เพราะกรณีที่เกิดขึ้นมีความไม่แน่นอน นายภูมิธรรม กล่าวว่า แผนเดียว อย่างไรก็ต้องให้นายพิธาเข้ามามีการพิจารณากัน และอย่างไรก็ตามเราก็จะผลักดันนายพิธาอย่างสุดความสามารถ

       เมื่อถามย้ำว่า ต้องเลือกถึงกี่ครั้ง นายภูมิธรรมกล่าวว่า สุดความสามารถ หมายถึงว่าเราจะทำเต็มที่เท่าที่ความสามารถของเราจะมี ซึ่งเรื่องนี้คือการประกาศเจตนารมณ์ ให้เห็นว่าเราตั้งใจ และพยายามจะทำหน้าที่นี้อย่างเต็มที่ที่สุด ส่วนจะกี่รอบนั้นคงเป็นอำนาจที่สภาจะพิจารณา และอยู่ที่ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น

       เมื่อถามว่า แต่ทาง ส.ว.ระบุว่า ถ้าเป็นทางพรรคก้าวไกลจะไม่โหวต แต่หากเป็นพรรค พท. โดยไม่มีพรรค ก้าวไกล ส.ว.จะยอมโหวต นายภูมิธรรม กล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ที่ความเป็นจริง เดี๋ยวรอดูว่าผลโหวตจะเป็นอย่างไรก่อน ฉะนั้นวันนี้เราไม่ควรคิดอะไรที่เกินเลยเกินไป เพราะนั่นคือการคาดเดา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดบรรยากาศ หรือความรู้สึกต่างๆ ไปมากเกิน ตนว่าวันนี้อยู่ที่ความเป็นจริง เราก็มาคุยกันว่ามีความมั่นใจมากแค่ไหน แต่ละพรรคช่วยกันทำอย่างไรให้บรรลุผลที่ได้ตั้งเป้าไว้ และหากเกิดอะไรขึ้นมาชัดเจนก็มาดูกันอีกทีว่า อะไรเป็นอะไร

     เมื่อถามถึงกรณีวันที่ 10 ก.ค.66 ที่ผ่านมา นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. ออกมาเตือนพรรคร่วม ว่า ถ้าเลือกคนที่ขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ก็เสี่ยงที่จะถูกยุบพรรคเอง นายภูมิธรรม กล่าวว่า ขอดูรายละเอียดก่อน ตอนนี้มีแต่ “ถ้า” ทั้งนั้นและถ้าก็เป็นความนึกเห็นของแต่ละท่าน เราก็จะรับฟังเอามาพิจารณา ทุกสิ่งมีความหมายหมด ทุกท่าทีที่แสดงออกมาเราก็ควรพิจารณาอย่างรอบคอบที่สุด เพราะเรากำลังทำหน้าที่เลือกนายกฯ ของประเทศไทย จะช่วยกันดูและคิดกันทั้ง8 พรรค

       เมื่อถามว่า ตามกฎหมายจะเป็นประเด็นดังกล่าวได้หรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวย้ำว่า ขอดูรายละเอียดก่อน เมื่อถามต่อว่า ประเด็นนี้จะต้องนำมาคุยในวงประชุม 8 พรรคร่วม ด้วยหรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า อยู่ที่พรรคแกนนำ ทางพรรคแกนนำคงจะบอกว่ามีสภาพเป็นอย่างไร ทำอะไรแล้ว และมีข้อห่วงใยอะไรที่ต้องหารือกัน ทั้ง 8 พรรค ก็ต้องช่วยกันคิด

       เมื่อถามว่า หากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญ มองว่าควรจะรีบวินิจฉัยเพื่อให้เรื่องกระจ่างหรือไม่ นายภูมิธรรม กล่าวว่า ขอไม่ก้าวล่วง ให้ว่าไปตามกระบวนการทางกฎหมาย และความเป็นจริงเป็นอย่างไร ค่อยพิจารณากันอีกที

 

เปิดขั้นตอน โหวตนายกรัฐมนตรี 13 ก.ค.66 นี้

         ลุ้นชื่อ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

หัวหน้าพรรคก้าวไกล ขึ้นแท่น "นายกฯ คนที่ 30"

         กูรูหลายสำนัก วิเคราะห์ตรงกัน ขวากหนามสำคัญที่จะไปถึง 376 เสียง ของพรรคก้าวไกลและพิธา คือ 250 ส.ว. (สมาชิกวุฒิสภา) จากปมแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112

โหวตนายกฯ รธน.กำหนด ลงคะแนนโดยเปิดเผย ให้ขานชื่อ เรียงลำดับตามตัวอักษร ต้องได้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งจาก 2 สภา ส.ส. + ส.ว. 750 เสียง มากกว่ากึ่งหนึ่ง 376 เสียงขึ้นไป

 

ส.ว.สมชาย ให้รอ ศาลรธน. ตัดสิน ปม "พิธา" ชี้ เรื่องปกติ ควรทำนานแล้ว

         ส.ว.สมชาย ให้รอ ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสิน ปม "พิธา" ถือหุ้นสื่อ ชี้เรื่องปกติ กกต.ควรทำตั้งนานแล้ว ยัน "เจ้าตัว" ยังชี้แจง-แสดงวิสัยทัศน์ได้ ลั่น ตรรกะแปลก แจกกล้วยไม่โหวต "พิธา" นั่งนายกฯ

        วันที่ 12 ก.ค. นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวภายหลัง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ส่งคำร้องถึงศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ถือหุ้นสื่อไอทีวี ว่า จะส่งผลกระทบต่อ

การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 13 ก.ค.2566 หรือไม่ โดยนายสมชาย กล่าวว่า ที่ประชุมได้พูดคุยเพียงกรอบเวลาที่ได้รับการจัดสรรมา 2 ชั่วโมงเพื่อให้อภิปราย ให้สมาชิกสื่อสารกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย รวมถึงประชาชน ว่า การตัดสินใจของ ส.ว. แต่ละท่านใช้วุฒิภาวะและข้อพิจารณาอย่างไร

         ส่วนกรณีคดีของนายพิธา มองว่า ให้รอคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากนำกรณีของนายพิธา มาเทียบกับกรณีของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ก็สามารถที่จะอภิปรายได้ ความเห็นส่วนตัวมองว่า นายพิธา สามารถที่จะเข้าชี้แจงในที่ประชุมและแสดงวิสัยทัศน์ได้ คิดว่าไม่น่าเกิน 6 ชั่วโมงก่อนที่จะถึงเวลา 17.00 น. จากนั้น ก็ลงมติซึ่งก็เป็นกระบวนการที่ตรงไปตรงมา ไม่มีอะไรเป็นข้อกังวล

          เมื่อถามย้ำว่า การที่ กกต.ได้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ (12 ก.ค. 66) มีผลต่อการตัดสินใจในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีของ ส.ว. หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติและมองว่า ควรทำตั้งนานแล้วไม่ใช่เพิ่งมาทำวันนี้ เพราะมีผู้ร้องตั้งแต่นายพิธา เป็นผู้สมัคร ส.ส. ที่ขาดคุณสมบัติแล้ว ยืนยันว่า เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เกมการเมืองแต่อย่างใด เพราะนายพิธาเป็นผู้ถือหุ้นเอง ไม่ได้มีใครนำไปให้ถือ

        ส่วนกรณีที่นายสมชาย ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีการพยายามแจกกล้วย จากรัฐมนตรี นายสมชาย บอกว่า ได้รับข้อความนี้มา 2 วันแล้ว จากผู้ใหญ่ท่านหนึ่งในสภาว่า ให้ระมัดระวังเรื่องนี้ ซึ่งตนก็ได้ทำการตรวจสอบ และหากจะหาว่าตน "ตีปลาหน้าไซ" ก็ยอมรับว่า ใช่  ตนมีหลักฐานการแคปหน้าจอ ข้อความที่มีขบวนการพยายามทำสิงนี้  ยืนยันว่า ไม่ได้กล่าวหาพรรคก้าวไกล มองว่า ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่อาจจะไม่ชอบอีกฝ่ายหนึ่ง และอยากจะให้เกิดเรื่องราวขึ้น

 

การเสนอโหวต นายกฯ มาด้วยช่องทางใด

         ซึ่งตามกรอบกฎหมายระบุว่า ในการเลือกตั้งทั่วไป ให้พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแจ้งรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่า จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่เกิน 3 รายชื่อ ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวให้ประชาชนทราบ

 1. นายกฯ จากบัญชีพรรค

    โดยช่วงเปิดสมัคร ส.ส. กฎหมายกำหนดให้พรรคการเมืองส่งบัญชีรายชื่อผู้ชิงตำแหน่งนายกฯ มาด้วยไม่เกิน 3 รายชื่อ หรือบางพรรคจะไม่ส่งบัญชีนายกฯ เลย ก็ทำได้

    เบื้องต้นในการโหวต...ต้องเป็นชื่อนายกฯ จากบัญชีพรรค ที่ได้รับเลือกตั้ง ส.ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละห้า หรือจากพรรคที่ได้ ส.ส. ไม่น้อยกว่า 25 คน และการเสนอชื่อ แคนดิเดตนายกฯ จากบัญชีพรรค ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร (หรือมี ส.ส. 50 คน รับรอง)

         การลงมติโหวตนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ ต้องกระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา กำหนด+ให้ ขานชื่อ แบบเปิดเผยเรียงลำดับตามตัวอักษร ตามที่ประธานกำหนด และกระบวนการโหวตนายกฯ ตามกฎหมาย ใช้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งจาก 2 สภารวมกัน ส.ส. + ส.ว. กึ่งหนึ่งคือ 750 เสียง มากกว่ากึ่งหนึ่งก็คือ 376 เสียงขึ้นไป ใครได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง ก็จะได้เป็นนายกฯ  เพราะได้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง

 

2. นายกฯ นอกบัญชีพรรค

    คือไม่อยู่ในบัญชีที่พรรคได้แจ้งไว้ กรณีนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อ..

การเลือกนายกฯ จากบัญชีพรรคไม่สามารถเลือกได้.. ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ

    ซึ่งรัฐธรรมนูญเขียนเปิดช่องให้ สมาชิก 2 สภา รวมกันไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 375 คน สามารถเข้าชื่อเสนอให้มีการประชุมรัฐสภาเพื่อยกเว้นเงื่อนไขเลือกนายกฯ จากบัญชีพรรค และหาก 2 สภามีมติด้วยเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 หรือ 500 คน รัฐสภาก็สามารถเลือก นายกฯ จากบุคคลนอกบัญชีพรรคได้

      ซึ่งกระบวนการโหวต นายกฯ นอกบัญชีพรรค... ก็ใช้เสียง มากกว่ากึ่งหนึ่งจาก 2 สภารวมกัน นั่นคือ 376 คนขึ้นไป ก็ได้เป็นนายกฯ

     อนึ่ง.. ด้วยกติกาการโหวตนายกฯ ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ คือ นับจากปี 2562-2567 (11 พ.ค.2567)  ให้ ส.ว. เข้ามาร่วมโหวตนายกฯ ไปด้วย ดังนั้น ใคร? จะมาเป็นนายกฯ ถ้าได้เสียงสนับสนุนจาก วุฒิสภา ที่มีจำนวน 250 เสียง ก็ถือว่ามีแต้มต่อ (ซึ่ง ส.ว. คัดเลือกโดย คสช. หรือ 3 ป. เป็นคนเลือกมากับมือ)

        ก็อย่างว่า ใครกุมเสียง ส.ว. 250 คนได้... จะหนุนใคร หรือ จะนิ่ง (งดออกเสียง) ให้ใคร ล้วน สั่นสะเทือน!!

  

จับตา ด่านแรก 13 ก.ค. 2566 นี้ 

ชื่อ "พิธา" จะฝ่าด่านตัวเลข 376 เสียง

ในรัฐสภาได้หรือไม่? 

         เสียงข้างมากใน ส.ส.จำนวน 313 เสียง ถ้าไม่มีปมกติกาการโหวตนายกฯ ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ว่า

        มาตรา ๒๗๒ ในระหว่างห้าปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ (ปี 2562-2567 : 11 พ.ค.2567)  การให้ ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๕๙ เว้นแต่ การพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๕๙ วรรคหนึ่ง ให้กระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา และ มติที่เห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๑๕๙ วรรคสาม ต้องมีคะแนนเสียง มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (376)

         ในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่ง หากมีกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมือง แจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ ในกรณีเช่นนั้น ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อท่ีพรรคการเมือง แจ้งไว้ตามมาตรา ๘๘ หรือไม่ก็ได้

      นั้นคือ ถ้าไม่มีข้อความที่ว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ คือ นับจากปี 2562-2567 (11 พ.ค.2567)  ให้ ส.ว. เข้ามาร่วมโหวตนายกฯ ด้วย  นายพิธา  ลิ้มเจริญรัตน์  คงได้เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 แน่นอนแล้ว แต่ด้วยเงื่อนไขจากบทเฉพาะกาลดังกล่าวการก้าวเข้าสู่ตำแหน่งนายกฯจึงยาก

        อย่างไรก็ตาม ถ้านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ขาดคุณสมบัติของผู้จะสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. และไม่ขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี/นายกรัฐมนตรี เพราะเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ (ไม่ระบุว่าถือหุ้นกี่หุ้น) และสามารถแสดงวิสัยทัศน์ หรือไขปมแก้มาตรา  112 (ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี"..) จน ส.ว. ได้รับฟังจนกระจ่างแจ้ง หายสงสัย ส.ว.อาจจะเปลี่ยนใจโหวตให้ก็ได้ เพราะตอนนี้ ต้องการเสียงจาก ส.ว. เพียง 63 เสียงก็จะเพียงพอ(เผื่อไว้ 70 เสียงก็จะดี กันความผิดพลาด)  ขอให้ผ่านฉลุยรอบเดียว นะครับ...


 

 



 

 

 

 

 


 


 


 

 



 

 

แหล่งข้อมูล

 

https://www.thairath.co.th/news/politic/2707533

https://www.thairath.co.th/news/politic/2708952

https://www.thaipbs.or.th/news/content/328072

https://www.thairath.co.th/news/politic/2694840

https://www.thaipost.net/articles-news/410946/

https://siamrath.co.th/n/461125

 

 

หมายเลขบันทึก: 713550เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2023 02:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2023 02:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอให้พระคุ้มครองคนดีและได้คนนั้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนต่อไป…ไม่กล้าออกความเห็นมากกว่านี้ เพราะไม่เห็นใครกล้าออกความเห็นก่อนหน้านี้สักคน….วิโรจน์ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท