การฉีดอินซูลินเพื่อรักษาโรคเบาหวานมีผลดีและผลข้างเคียงต่อร่างกายอย่างไร


ผู้ที่ได้รับปริมาณอินซูลินหรือฉีดอินซูลินมากเกินไปนั้นจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น 1. หัวใจเต้นเร็ว หากฉีดอินซูลินมากจนเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วได้ ซึ่งภาวะหัวใจเต้นเร็วทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เนื้อเยื่อหรืออวัยวะในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ 2. วิงเวียนศีรษะ อาการวิงเวียนศีรษะก็เป็นอีกหนึ่งผลข้างเคียงจากการฉีดอินซูลินมากเกินไปซึ่งมาจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้สมองตื้อไม่แจ่มใส มีอาการมึนงง และการทรงตัวไม่ดี บางรายมีอาการบ้านหมุน รู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่มีการเคลื่อนไหวนั้นเกิดขึ้นจริงๆ 3. อาการสับสน มึนงง อาการสับสนมึนงง อาจเกิดขึ้นได้จากการได้รับอินซูลินมากจนเกินไปหรือการฉีดอินซูลินมากเกินไป ทำให้มีอาการสับสนกระวนกระวาย รู้สึกมึนงงทางความคิด ความจำสั้น สมาธิสั้นแล้วอาจทำให้เกิดพฤติกรรมอื่นๆ ตามมาได้ เช่น นอนไม่หลับ เฉื่อยชา เป็นต้น 4. เหงื่อออก แม้จะไม่ได้ออกกำลังกาย อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนหรือทำงานหนัก แต่เมื่อฉีดอินซูลินมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดภาวะเหงื่อออกมากกว่าปกติได้ ซึ่งเหงื่อที่ออกมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคผิวหนังติดเชื้อ ผิวหนังมีกลิ่นอับ เป็นต้น 5. เกิดภาวะซึมเศร้า ถ้าเกิดภาวะซึมเศร้า หลายคนจะรู้สึกหดหู่หรือมีพลังงานเชิงลบ ดังนั้น ต้องหาวิธีต่อสู้กับภาวะซึมเศร้าทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากความคิดในแง่ลบ เพื่อให้มีความสุขมากขึ้น

การฉีดอินซูลินเพื่อรักษาโรคเบาหวานมีผลดีและผลข้างเคียงต่อร่างกายอย่างไร

 

การฉีดอินซูลินเพื่อรักษาโรคเบาหวานมีผลดีและผลข้างเคียงต่อร่างกายอย่างไร

ดร. ถวิล  อรัญเวศ

        ชีวิตคนเราเมื่อเกิดมาแล้ว ทุกคนจะประสบพบเห็น

เหมือนกัน คือ “แก่ เจ็บ และตาย” เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้

เป็น อนิจจัง  ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกขัง ย่อมจะประสบพบ

ความทุกข์ยากลำบากต่าง ๆ ทั้งร่างกายและจิตใจ และเป็นอนัตตา  ไม่สามารถบังคับหรือสั่งให้ร่างกายเป็นไปตามที่เราต่องการได้ เช่น สั่งไม่ให้แก่สั่งไม่ให้เจ็บป่วย สั่งให้มีอายุยืนนาน เป็นต้น เราไม่สามารถสั่งการได้

        โรคเบาหวาน เป็นโรคอีกโรคหนึ่งที่คนเราป่วยกันมาก

หรือเป็นกันมาก

       ระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าอยู่ระหว่าง 70-100 คุณอยู่ในภาวะปกติ

       ระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับ 100 – 125 คุณมีภาวะความเสี่ยง หรือเรียกว่า เบาหวานแฝง

       ระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่า 126 คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

        การรักษาโรคเบาหวาน มีทั้งใช้ยากิน ยาฉีด รวมทั้ง

การปรับพฤติกรรมการกินอาหาร โดยเฉพาะกินหวานให้

ถูกส่วน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น

 

อินซูลิน” (Insulin) คืออะไร

     “อินซูลิน” (Insulin) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน ออกฤทธิ์โดยการนำน้ำตาลจากเลือดเข้าไปในเซลล์ของร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงาน ในผู้ป่วยที่ขาดอินซูลินหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจนเกิดเป็นเบาหวาน การรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกจากการใช้ยารับประทานแล้ว อีกหนึ่งวิธีที่แพทย์มักใช้ในการรักษาผู้ป่วย คือ การใช้ยาฉีดอินซูลิน ซึ่งเป็นอินซูลินที่ใช้ทดแทนในกรณีที่มีน้ำตาลในเลือดสูงมากหรือใช้ยาแบบรับประทานแล้วไม่ได้ผล

  

เมื่อไรจึงใช้วิธีฉีดอินซูลินเพื่อรักษาเบาหวาน

       ด้วยความอยากรู้ว่า คนเป็นเบาหวานนั้น นอกจาก

จะกินยารักษา จำต้องใช้วิธีฉีดอินซูลินรักษาด้วย จึงไปศึกษา

ค้นคว้าจากท่านผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ แล้วนำมาบอกต่อ

       การฉีดอินซูลินเพื่อรักษาเบาหวาน แน่นอน ย่อมส่งผลดีต่อร่างกาย กล่าวกันว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนทางตับ ไต และรักษาโดยยาชนิดรับประทานไม่ได้ผล จำต้องใช้การฉีดอินซูลินในการรักษา

      นอกจากนี้ หมอแนะนำว่า คนที่ร่างกายไม่มีอินซูลิน

หรือมีแต่ไม่เพียงพอ ก็ต้องฉีด โดยเฉพาะผู้มีระดับน้ำตาล

ในเลือดสูงเกิน 300

 

เมื่อไรถึงต้องใช้อินซูลิน

            • ผู้ป่วยเบาหวานที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

            • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนทางตับ ไต และรักษาโดยยาชนิดรับประทานไม่ได้ผล

 ชนิดของอินซูลิน

            1. อินซูลินวัว มาจากตับอ่อนของวัว

            2. อินซูลินหมู มาจากตับอ่อนของหมู

            3. อินซูลินหมูและวัว เป็นอินซูลินที่ได้จากส่วนผสมของตับอ่อนหมูและวัว

            4. อินซูลินคน ได้จากกระบวนการชีวเคมีสังเคราะห์ หรือวิธีพันธุวิศวกรรมทางชีวสังเคราะห์ จึงสามารถทำให้เหมือนอินซูลินในร่างกายคนได้ (อินซูลินคน มีความบริสุทธิ์มากที่สุด และเกิดอาการแพ้เนื่องจากภูมิต้านทานทางฤทธิ์ของยาน้อยกว่าอินซูลินชนิดอื่น

       นอกจากนี้แล้ว ยาฉีดอินซูลิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

1. ยาฉีดอินซูลินชนิดน้ำใส

      ได้แก่ ยาฉีดที่ออกฤทธิ์เร็วและสั้น ออกฤทธิ์ภายใน

15-30 นาที มีฤทธิ์นาน 5-7 ชั่วโมง ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำใส ใช้สำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นหลังรับประทานอาหาร โดยก่อนใช้ไม่ต้องคลึงขวดยา

2. ยาฉีดอินซูลินชนิดน้ำขุ่น

    ได้แก่ ยาฉีดชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง ซึ่งเป็นชนิดที่ผสมระหว่างออกฤทธิ์สั้นและปานกลาง  และชนิดออกฤทธิ์นาน โดยออกฤทธิ์ภายใน 2-4 ชั่วโมง มีฤทธิ์นาน 20-36 ชั่วโมง มีลักษณะเป็นน้ำขาวขุ่น อินซูลินชนิดนี้จะออกฤทธิ์เป็นอินซูลินพื้นฐาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลระหว่างมื้ออาหาร ซึ่งก่อนจะใช้ต้องคลึงขวดยาเพื่อให้น้ำยาผสมกันดีก่อนฉีดยา โดยนำขวดอินซูลินวางบนฝ่ามือแล้วคลึงไปมาเบาๆ ห้ามเขย่าขวด เพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศ

 

การเลือกตำแหน่งฉีดอินซูลิน

       

  การฉีดอินซูลินสามารถฉีดเข้าใต้ผิวหนังตามบริเวณตำแหน่งต่าง ๆ คือ  หน้าท้อง ต้นแขน หน้าขา และสะโพก โดยตำแหน่งที่ดีที่สุด คือ หน้าท้อง เนื่องจากการดูดซึมของยาคงที่ แต่ควรฉีดห่างจากรอบสะดือ 1-2 นิ้ว และควรหมุนเวียนเปลี่ยนจุดที่ฉีด ไม่ควรฉีดซ้ำตำแหน่งเดิมทุกวัน และตำแหน่งที่ฉีดใหม่ควรมีระยะห่างจากครั้งหลังสุดประมาณ 1 นิ้ว รวมทั้งไม่ควรนวดหรือประคบน้ำร้อนบริเวณที่ฉีดยา เพราะทำให้ยาถูกดูดซึมเร็วขึ้น ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ง่าย และที่สำคัญ ไม่ควรใช้เข็มฉีดยาร่วมกันเพราะอาจทำให้ติดเชื้อโรคจากผู้อื่นได้

 

เก็บรักษาอย่างไร

 1.    อินซูลินที่เก็บไว้ใช้นานๆ ควรเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ

4-8 องศาเซลเซียส โดยวางในตู้เย็น ยกเว้นช่องแข็ง

    2.  อินซูลินที่เป็นปากกาฉีด เมื่อเปิดใช้แล้ว หากเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (ไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส) จะอยู่ได้นาน 1 เดือน

    3. เมื่อเดินทางไกล อาจไม่ต้องแช่ขวดอินซูลินในกระติกน้ำแข็ง แต่ต้องระวังไม่ให้ถูกแสงแดด หรือความร้อนอบอ้าว หรือทิ้งไว้ในรถที่มีอุณหภูมิสูง

  

การฉีดอินซูลินควรฉีดเวลาไหน

        การฉีดยาอินซูลินมีความสัมพันธ์กับมื้ออาหารและชนิดของยา โดยควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 15 นาที (ถ้าฉีดอินซูลินออกฤทธิ์สั้นมาก) และฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 30 นาที (ถ้าฉีดอินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้น) ส่วนอินซูลินชนิดออกฤทธิ์ปานกลางหรือออกฤทธิ์ยาว อาจฉีดก่อนอาหารหรือก่อนนอน รวมทั้งการฉีดยาควรฉีดเวลาใกล้เคียงกันในแต่ละวันเพื่อให้ระดับน้ำตาลมีความสม่ำเสมอ

 

การฉีดอินซูลินมีผลข้างเคียงอย่างไร

        ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการแพ้และมีผดผื่นคัน และผิวหนังบริเวณที่ฉีดอินซูลินอาจเกิดรอยบุ๋มหรือรอยนูนขึ้นได้ รวมทั้งอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ซึ่งอาจมีอาการใจสั่น มือสั่น เหงื่อออก หน้าซีด และหมดสติ ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมีอาการน้ำตาลต่ำ แต่ยังรู้สึกตัวดี ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหวาน อมลูกอม รับประทานผลไม้ เช่น ส้มหรือกล้วยน้ำว้า แล้วตามด้วยการรับประทานขนมปังหรือข้าวในมื้อถัดไปเลย แต่หากมีอาการมาก ไม่รู้สึกตัว ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

       อินซูลิน คือ : ฮอร์โมนชนิดหนึ่ง หากฉีดอินซูลินมากจนเกินไปจะมีผลข้างเคียง การฉีดอินซูลินอย่างไร ฉีดอินซูลินเกินขนาดอันตรายหรือไม่ โดยหลักๆ แล้วพบว่าผู้ที่ได้รับปริมาณอินซูลินหรือฉีดอินซูลินมากเกินไปนั้นจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น

 

1. หัวใจเต้นเร็ว

      หากฉีดอินซูลินมากจนเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นเร็วได้ ซึ่งภาวะหัวใจเต้นเร็วทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เนื้อเยื่อหรืออวัยวะในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้

2. วิงเวียนศีรษะ

      อาการวิงเวียนศีรษะก็เป็นอีกหนึ่งผลข้างเคียงจากการฉีดอินซูลินมากเกินไปซึ่งมาจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้สมองตื้อไม่แจ่มใส มีอาการมึนงง และการทรงตัวไม่ดี บางรายมีอาการบ้านหมุน รู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่มีการเคลื่อนไหวนั้นเกิดขึ้นจริงๆ

3. อาการสับสน มึนงง

      อาการสับสนมึนงง อาจเกิดขึ้นได้จากการได้รับอินซูลินมากจนเกินไปหรือการฉีดอินซูลินมากเกินไป ทำให้มีอาการสับสนกระวนกระวาย รู้สึกมึนงงทางความคิด ความจำสั้น สมาธิสั้นแล้วอาจทำให้เกิดพฤติกรรมอื่นๆ ตามมาได้ เช่น นอนไม่หลับ เฉื่อยชา เป็นต้น

4. เหงื่อออก

        แม้จะไม่ได้ออกกำลังกาย อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนหรือทำงานหนัก แต่เมื่อฉีดอินซูลินมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดภาวะเหงื่อออกมากกว่าปกติได้ ซึ่งเหงื่อที่ออกมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคผิวหนังติดเชื้อ ผิวหนังมีกลิ่นอับ เป็นต้น

5. เกิดภาวะซึมเศร้า

        ถ้าเกิดภาวะซึมเศร้า หลายคนจะรู้สึกหดหู่หรือมีพลังงานเชิงลบ ดังนั้น ต้องหาวิธีต่อสู้กับภาวะซึมเศร้าทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากความคิดในแง่ลบ เพื่อให้มีความสุขมากขึ้น

 

ข้อควรระวังของการใช้อินซูลิน

      ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจเป็นผลมาจากการให้อินซูลินมากเกินไป ออกกำลังกายหรือทำงานมากกว่าปกติ รับประทานอาหารน้อยเกินไป ผิดเวลา หรือช่วงระหว่างมื้อนานเกินไป ดังนั้นก่อนที่จะฉีดอินซูลินควรเตรียมอาหารไว้ให้พร้อมก่อน ควรรับประทานอาหารหลังจากฉีดยาไปแล้วไม่เกิน 30 นาทีอาการที่เกิดมีได้หลายอย่าง เช่น ปวดหัว เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น กระสับกระส่าย หงุดหงิด หากมีอาการเหล่านี้ให้อมลูกอม ดื่มน้ำผลไม้ หรือทานของที่มีน้ำตาลผสม (ห้ามใช้น้ำตาลเทียม)

ควรฉีดอินซูลินบริเวณเดิมทุกวัน เพียงแต่ย้ายจุดฉีด โดยฉีดห่างจากจุดเดิมประมาณ 1 นิ้ว เพื่อป้องกันการเกิดก้อนเนื้อแข็งใต้ผิวหนัง บริเวณที่สามารถฉีดอินซูลินได้คือ บริเวณหน้าท้อง ต้นแขน หน้าขา และสะโพก ซึ่งตำแหน่งที่อินซูลินดูดซึมได้ดีที่สุดคือ บริเวณหน้าท้อง รองลงมาคือหน้าขา และต้นแขน ตามลำดับ

        หากมีเลือดออกบริเวณที่ฉีดไม่ควรถูหรือคลึง ให้ใช้นิ้วหรือสำลีชุบแอลกอฮอล์กดลงบนจุดที่ฉีดก็พอ เพราะจะทำให้การดูดซึมของยาเร็วขึ้น

 

สารพัดความเชื่อที่เกี่ยวกับโรคเบาหวาน

      สารพัดความเชื่อที่เราเคยได้ยินเกี่ยวกับโรคเบาหวานกันอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะการกินอาหารรสหวานมากๆ ทำให้เป็นเบาหวาน หรือถ้าเป็นเบาหวานต้องงดของหวานโดยเด็ดขาด    

     ความเชื่อเหล่านี้จะใช่ความจริงหรือไม่ หรือเราแค่เข้าใจผิดกันไปเอง นี่คือคำอธิบายจากคุณหมอด้านโรคเบาหวานที่เรานำมาฝากกัน

 ความเชื่อที่ 1 รับประทานอาหารที่มีรสหวานมากจะทำให้เป็นเบาหวาน จริงหรือไม่?

      ด้วยชื่อของโรคเบาหวาน ทำให้หลายคนมีความเข้าใจผิดว่าโรคเบาหวาน ก็คือโรคของคนที่กินอาหารหวานมาก ดังนั้นคนที่ไม่กินหวานก็จะไม่เป็นโรคเบาหวาน!

      ซึ่งความจริงแล้วสาเหตุหลัก ๆ ของโรคเบาหวาน ก็คือการที่ร่างกายสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ อินซูลินมีหน้าที่สำคัญในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าร่างกายของเราผลิตฮอร์โมนตัวนี้ได้เป็นปกติ ไม่ว่าจะรับประทานอาหารหวานสักแค่ไหน ก็ไม่ได้ทำให้เกิดโรคเบาหวาน  เพียงแต่จะส่งผลต่อน้ำหนักตัว เพราะน้ำหนักที่มาก ปริมาณไขมันจะเป็นตัวทำให้เซลล์ต่างๆ เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน และเกิดโรคเบาหวานในที่สุด

      สรุปก็คือการรับประทานอาหารรสหวานจัดหรือมีน้ำตาลมากไม่ได้แปลว่าจะเป็นโรคเบาหวานเสมอไป หากมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม

โรคเบาหวานอาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือการทำงานที่ผิดปกติของตับอ่อนทำให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

        การรับประทานอาหารที่มีไขมันมากก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ เพราะไขมันอิ่มตัวมีผลต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลิน ทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ความเชื่อที่ 2 เป็นเบาหวาน ห้ามอาหารที่มีรสหวานเด็ดขาด จริงหรือไม่?

       เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง   ซึ่งเรื่องนี้ทำให้หลายคนเข้าใจว่าการงดอาหารทุกประเภทที่มีรสหวาน หรือน้ำตาลเป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยเฉพาะขนมหวาน น้ำหวานทั้งหลาย จะทำให้ปลอดภัยจากโรคเบาหวานได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความเข้าใจดังกล่าวไม่ถูกต้องทั้งหมด เนื่องจากนอกจากแป้งและน้ำตาลจะเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวานแล้ว เนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดงที่มีไขมันมาก และอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ เนื่องจากไขมันอิ่มตัวจะไปยับยั้งอินซูลินให้ออกฤทธิ์ได้น้อยลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่ลด ตับอ่อนจึงต้องผลิตอินซูลินออกมาเพิ่มมากกว่าปกติ ส่งผลให้ตับอ่อนทำงานหนักเกินไปและเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ดีเท่าตอนที่ยังทำงานปกติ จึงทำให้เกิดโรคเบาหวาน

 

ความเชื่อที่ 3 เบาหวาน เป็นโรคพันธุกรรม ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานได้

       บางคนเข้าใจว่าถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคเบาหวาน ลูกก็ต้องป่วยด้วยโรคนี้เช่นกัน แม้ว่าโรคเบาหวานจะสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่ลูกไม่ได้มีโอกาสเป็นเบาหวาน 100% เสมอไป พันธุกรรมไม่ได้มีส่วนก่อโรคเบาหวานมากเท่าไร เพราะคนเป็นเบาหวานส่วนใหญ่มักเกิดจากปัจจัยอื่นๆ มากกว่า เบาหวานสามารถป้องกันได้หากดูแลสุขภาพให้ดี ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ มีการตรวจเลือด ตรวจสุขภาพประจำปี เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้

ความเชื่อที่ 4 หากคนในครอบครัวไม่เป็นโรคเบาหวาน เราก็จะไม่เป็นเบาหวาน

           พันธุกรรมเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานประเภทที่ 2 แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดโรคเบาหวาน หากเรามีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูงเป็นประจำ ปล่อยให้น้ำหนักตัวมาก พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย มีความเครียดสะสมมากนานเข้าก็ก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้เช่นกัน

ความเชื่อที่ 5 ผู้สูงอายุเท่านั้นที่จะเป็นเบาหวาน

        แม้พบว่าเมื่อเราอายุมากขึ้น  อวัยวะต่างๆ เริ่มเสื่อมการทำงานลง พบภาวะเบาหวานมากขึ้น  อย่างไรก็ตาม

        โรคเบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ ไม่ได้เป็นเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น

เบาหวานประเภทที่ 1 ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กหรือคนอายุน้อย

เบาหวานประเภทที่ 2 ส่วนใหญ่มักเกิดในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบว่าคนอายุน้อยก็เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ด้วย

  ความเชื่อที่ 6 คนที่เป็นเบาหวานต้องอ้วน

        เบาหวานเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง การไม่ออกกำลังกาย มีภาวะเครียดบ่อยๆ นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น  เพราะฉะนั้นไม่ว่าคนจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอมก็มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานได้ทั้งนั้น  ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก จะมีการเสียน้ำตาลไปทางปัสสาวะมาก จะมีปัญหาน้ำหนักลดและผอมแบบทรุดโทรม

 

ความเชื่อที่ 7 น้ำตาลจากผลไม้คือน้ำตาลที่ปลอดภัย

        ผู้ป่วยเบาหวานหลายคนต้องงดขนมหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้เพิ่มขึ้นด้วยเหตุนี้ ผลไม้จึงกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะใครๆ ต่างก็คิดว่าผลไม้นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นสิ่งที่มาจากธรรมชาติ

        แต่ในความเป็นจริงพฤติกรรมการกินผลไม้ของผู้ป่วยเบาหวานกลับกลายเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งขึ้นสูงกว่าเดิม เนื่องจากในผลไม้มีน้ำตาลฟรุกโทส (Fructose) ซึ่งเมื่อกินเข้าไปจะแปรเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถกินผลไม้ได้  เพียงแค่เรารู้จักปรับวิธีกินให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมเท่านั้น

ความเชื่อที่ 8 เป็นเบาหวานห้ามบริจาคเลือด

          ผู้เป็นโรคเบาหวานสามารถบริจาคเลือดได้ หากมีการควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญ

ความเชื่อที่ 9 ถ้าเป็นเบาหวานต้องฉีดอินซูลิน แสดงว่าเข้าขั้นสุดท้ายแล้ว

          การรักษาเบาหวานประเภทที่ 2 การรักษาโรคเบาหวาน มีเป้าหมายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน กรณีที่ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ใช้ยารับประทานแล้วยังไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ จึงจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลินร่วมด้วย ส่วนเบาหวานประเภทที่ 1 เนื่องจากสาเหตุของพันธุกรรม ระบบภูมิคุ้มกัน มีผลให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ จึงต้องรักษาโดยการให้อินซูลินเป็นหลัก

ความเชื่อที่ 10 แป้งและน้ำตาลเท่านั้นที่ทำให้เป็นเบาหวาน

      เนื่องจากโรคนี้มีชื่อว่า “เบาหวาน” ทำให้หลายคนเข้าใจว่า ปัจจัยก่อโรคเกิดจากการกินแป้งหรือน้ำตาลเป็นหลัก แต่จากการศึกษาพบว่านอกจากแป้งและน้ำตาลแล้ว ไขมันอิ่มตัวก็เป็นอีกตัวการหนึ่งที่ก่อโรคเบาหวาน เพราะไขมันอิ่มตัวจะไปยับยั้งให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ช้า และเมื่อน้ำตาลไม่ลด ตับอ่อนจึงต้องผลิตอินซูลินออกมาเพิ่มเกินกว่าปกติ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเป็นสาเหตุที่ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักเกินไปและเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เหมือนปกติ ซึ่งจะนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด

         ดังนั้น การเชื่อต่อสิ่งใดต้องยึดหลักธรรม“กาลามสูตร” คือ

 

อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตาม ๆ กันมา

อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา

อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ

อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์

อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพราะตรรก

อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน

อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล

อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว

อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้

อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

          ผู้ป่วยเบาหวานและคนดูแลควรมีการศึกษาข้อมูลให้ดีพอก่อน เช่น สืบค้นข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ พร้อมทั้งเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาสุขภาพ

  

 

 

แหล่งข้อมูล

http://bitly.ws/KPka

http://bitly.ws/KPkG

https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-802

https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=331

http://bitly.ws/KPmD

http://bitly.ws/KPmW

http://bitly.ws/KPnD

https://oncemedicaldevice.com/diabetic-need-choose-different/

https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-802

https://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/insulin_inj.html

https://www.lib.ru.ac.th/miscell2/?p=1170

 

หมายเลขบันทึก: 713490เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2023 02:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2023 02:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท