ดร. ไสว เลี่ยมแก้วเขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2548 00:50 น. ()
แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2555 11:30 น. ()
ความรู้สึกเป็นลักษณะหนึ่งของจิต(mind)
ความรู้สึก หมายถึงภาวะการตื่น ถ้าเรานอนหลับเราจะไม่รู้สึก
ขณะนั้นจะไม่มีตัวเรา ไม่มีโลก ไม่มีอะไรทั้งสิ้น
แต่ทันใดที่เราตื่น เรารู้สึก รู้สึกว่ามีเรา
รู้สึกว่ามีเสียง รู้สึกว่ามีโลก
รู้สึกว่าเรากำลังอ่านข้อความนี้อยู่
แต่คอมพิวเตอร์นี้ไม่มีความรู้สึก โต๊ะเก้าอี้ก็ไม่มีความรู้สึก
ความรู้สึกเป็นมโนทัศน์(Concept) ความรู้สึกมีความหมายไปกันได้กับคำ
Consciousness ความรู้สึกเป็นลักษณะหนึ่งของจิต(Mind)
ความรู้สึกเป็นคุณสมบัติของนิวโรนในสมอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณ Cerebral Cortex
ความรู้สึกเป็นผลจากกิจกรรมของ Cortex ดังกล่าวเมื่อ Cortex
นั้นได้รับการกระตุ้นจาก Reticular Formation
สิ่งใดไม่มีเซลล์ที่มีลักษณะดังกล่าวหรือไม่มีสมองแล้วสิ่งนั้นหามีความรู้สึกไม่
ความรู้สึกนี้เป็นลักษณะหนึ่งของจิต
ดังนั้นสิ่งที่ไม่มีความรู้สึกจึงไม่มีจิต ก้อนหิน คอมพิวเตอร์ โต๊ะ
ฯลฯ จึงไม่มีจิต
ความเห็น
หนึ่งร้อยปีแห่งความเหงา
เขียนเมื่อ
ความรู้สึก หมายถึงภาวะการตื่น
ถ้าเรานอนหลับเราจะไม่รู้สึก...
ความรู้สึกเป็นคุณสมบัติของนิวโรนในสมอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณ Cerebral Cortex
ความรู้สึกเป็นผลจากกิจกรรมของ Cortex ดังกล่าวเมื่อ Cortex
นั้นได้รับการกระตุ้นจาก Reticular Formation ...
หากเป็นอย่างที่ท่าน อาจารย์กล่าวไว้ตามข้างต้น แสดงว่าตอนหลับนั้น
ระบบประสาทของเราไม่ถูกกระตุ้นหรือประกอบกิจกรรมใดๆอย่างนั้นหรือครับ
แล้วการที่เรารู้สึกหวาดกลัว ดีใจ โศกเศร้า
...ฯลฯ ภายในความฝัน จะเรียกว่าอะไร...
ในขณะที่เราหลับนั้น เซลประสาทสมองที่เรียกว่า นิวโรน นั้น
ยังคงมีกิจกรรมอยูครับ
(รายละเอียดของกิจกรรมจะเป็นงานของนักประสาทวิทยาเขาครับ)
ในที่นี้จะพูดสั้นๆว่า นิวโรนยังคงมีกิจกรรมอยู่
แต่ยังอยูในระดับที่ต่ำมาก ยังไม่ถึงระดับต่ำสุดที่จะทำให้เกิดความรูสึกตัว(Consious)ที่เรียกว่า
เทรชโฮลด์(Threshhold)
การรูสึกกลัวในฝันดังกล่าว
เกิดขึ้นในระดับที่ต่ำกว่าระดับเทรชโฮลด์
เราไม่รู้สึกตัว
เมื่อระดับกิจกรรมของกลุ่มนิวโรนดังกล่าวถึงระดับเทรชโฮลด์
เราก็รู้สึก และตื่น และเรา ระลึก(Recall)เหตุการณ์การฝันได้
นั่นแสดงว่าเหตุการณ์นั้นถูกเก็บไว้ในระบบความจำระยะยาว(LTM) และเราระลึกได้เมื่อเราตื่นขึ้นมา
ผมดีใจมากที่พบความคิดที่ลึกซึ้งเช่นนี้