การได้มาซึ่งประธานสภาผู้แทนราษฎรของไทย


ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 หมวด 1 กำหนดการเลือกประธานสภาและรองประธานสภา ไว้ว่า ขั้นที่ 1 การเลือกประธานและรองประธานสภาครั้งแรก ให้ ส.ส.ที่มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นประธานชั่วคราว เพื่อดำเนินการเลือกประธานและรองประสภา ขั้นที่ 2 ส.ส.แต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อ ส.ส.ได้หนึ่งชื่อ โดยการเสนอนั้นต้องมี ส.ส.รับรองไม่น้อยกว่า 20 คน ถ้ามี ส.ส.เสนอชื่อประธานสภาชั่วคราวเป็นชิงตำแหน่งประธานและรองประธานสภา ให้ ส.ส.ที่มีอายุสูงสุดในลำดับถัดไปเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม ขั้นที่ 3 ให้ ส.ส.ผู้ถูกเสนอชื่อ กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะดำรงตำแหน่งต่อที่ประชุม โดยไม่มีการเปิดให้ ส.ส.คนอื่นอภิปรายแต่อย่างใด ถ้ามีการเสนอชื่อเพียงคนเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั่นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อหลายชื่อ ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ เท่ากับว่าในทางสาธารณะ จะไม่สามารถทราบได้ว่า ส.ส. แต่ละคน โหวตใครเป็นประธานสภา เมื่อเลือกประธานสภา เสร็จ จากนั้นก็ให้การเลือกรองประธานสภาต่อโดยให้ใช้วิธีการเช่นเดียวกันตามลำดับ คือให้เลือกรองประธานคนที่หนึ่งก่อน แล้วจึงเลือกรองประธานสภาคนที่สองต่อ ขั้นที่ 4 ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงจาก ส.ส. มากที่สุดในแต่ละตำแหน่งจะได้รับ การแต่งตั้งเป็นประธานและรองประธานสภา และเมื่อเลือกเสร็จแล้วให้แจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้จัดเตรียมห้องประชุมไว้เรียบร้อยแล้ว โดยประเมินเวลาในการประชุมเพื่อเลือกทั้ง 3 ตำแหน่งจะใช้เวลา ประมาณ 6 ชั่วโมง ขั้นตอนมีดังนี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภาแล้ว ให้เลขาธิการ ส่งสำเนาประกาศพระบรมราชโองการไปยังวุฒิสภาเพื่อทราบด้วย

การได้มาซึ่งประธานสภาผู้แทนราษฎรของไทย

 

การได้มาซึ่งประธานสภาผู้แทนราษฎรของไทย

ดร. ถวิล  อรัญเวศ

  ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตำแหน่งหัวหน้าสภาผู้แทนราษฎร

ของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย    พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจ

นิติบัญญัติ ทางรัฐสภา อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการ ทางศาล โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 80 ได้กำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร  เป็น

ประธานรัฐสภาโดยตำแหน่งด้วย

         ดังนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นหัวหน้าฝ่ายนิติบัญญัติ

         ก่อนหน้านี้ พรรคก้าวไกลก็ดี พรรคเพื่อไทยก็ดี ได้เคยประกาศว่าจะ

ขอตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทยก็จะขอด้วยเหตุผลว่า

ในเมื่อพรรคก้าวไกล ซึ่งมีจำนวน ส.ส.มากเป็นอันดับ 1 จำนวน 151 เสียง

ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปแล้ว

พรรคเพื่อไทย มีจำนวน ส.ส.มากเป็นอันดับ 2 จำนวน 141 เสียง ต่างกัน

เพียง 10 เสียง ก็น่าจะได้ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร เพราะมี

ส.ส.ที่มีประสบการณ์มากพอจะดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร

ทางแกนนำจัดตั้งรัฐบาล จึงได้มอบให้ผู้แทนพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลทั้ง 8 พรรคไปเจรจากันเพื่อหาข้อยุติ มีการประชุมเจรจากันหลายรอบ เจรจาแล้วเจรจาเล่า ก็ไม่ได้ข้อยุติสักทีเพราะพรรคใหญ่สองพรรคยังไม่ยอมกัน (ภาษาอีสานกล่าวกันว่า ความเป็นพี่เป็นน้องยังไม่มีพอ) ท้ายที่สุดก็ต้องเสนอชื่อคนกลางคือ

นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ซึ่งท่านก็เคยดำรงตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 20 ปี 2539-2543 มาแล้ว ความคิดเห็นหลายคนก็อยากให้พรรคก้าวไกล หรือพรรคเพื่อไทย ได้รับเกียรติตำแหน่งนี้ เพราะเป็นพรรคที่มีจำนวน ส.ส. มาก โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยมี ส.ส.ที่มีประสบการณ์หลายคนโดยเฉพาะผู้ใหญ่ในพรรคบางคนได้เตรียมตัวและสั่งสมประสบการณ์เพื่อดำรงตำแหน่งนี้มาหลายปี เมื่อเจรจากันไม่ได้ข้อยุติ จำต้องหาคนกลางมาแทน(ขัดตาทัพ) โดยมีการสรุปข้อยุติเมื่อประมาณสองทุ่มของวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ก่อนวันเลือกตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร 1 วัน เพราะวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดแรก เพื่อเลือกตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร 2 คน (ทำให้นึกถึงนิทาน ตาอิน ตานา และตาอยู่)

        สำหรับหรับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดแรก กำหนดไว้ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ในการประชุมวันดังกล่าว ที่ประชุมจะให้ ส.ส. ที่มีอายุสูงสุด ทำหน้าที่ประธานชั่วคราวของที่ประชุมก่อน  จากนั้น เปิดให้ ส.ส.เสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสม (1 คน 1 ชื่อ)  โดยต้องมี ส.ส.ให้การรับรองไม่ต่ำกว่า 20 คน พร้อมเปิดให้ผู้ที่ถูกเสนอชื่อแสดงวิสัยทัศน์

       ทั้งนี้ กรณีเสนอชื่อเดียวไม่ต้องลงคะแนน (ถือว่าบุคคลนั้นได้รับเลือก)

แต่กรณีเสนอชื่อมากกว่า 1 รายชื่อ ให้ลงมติลับ

       สำหรับการเลือกประธานสภา ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 หมวด 1 กำหนดการเลือกประธานสภาและรองประธานสภา ไว้ว่า

ขั้นที่ 1 การเลือกประธานและรองประธานสภาครั้งแรก

         ให้ ส.ส.ที่มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นประธานชั่วคราว เพื่อดำเนินการเลือกประธานและรองประสภา

ขั้นที่ 2 ส.ส.แต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อ ส.ส.ได้หนึ่งชื่อ

        โดยการเสนอนั้นต้องมี ส.ส.รับรองไม่น้อยกว่า 20 คน ถ้ามี ส.ส.เสนอชื่อประธานสภาชั่วคราวเป็นชิงตำแหน่งประธานและรองประธานสภา ให้ ส.ส.ที่มีอายุสูงสุดในลำดับถัดไปเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม

ขั้นที่ 3 ให้ ส.ส.ผู้ถูกเสนอชื่อ กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะดำรงตำแหน่งต่อที่ประชุม

        โดยไม่มีการเปิดให้ ส.ส.คนอื่นอภิปรายแต่อย่างใด ถ้ามีการเสนอชื่อเพียงคนเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั่นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อหลายชื่อ ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ เท่ากับว่าในทางสาธารณะ จะไม่สามารถทราบได้ว่า ส.ส. แต่ละคน โหวตใครเป็นประธานสภา
        เมื่อเลือกประธานสภา เสร็จ จากนั้นก็ให้การเลือกรองประธานสภาต่อโดยให้ใช้วิธีการเช่นเดียวกันตามลำดับ คือให้เลือกรองประธานคนที่หนึ่งก่อน แล้วจึงเลือกรองประธานสภาคนที่สองต่อ

ขั้นที่ 4 ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงจาก ส.ส. มากที่สุดในแต่ละตำแหน่งจะได้รับ

การแต่งตั้งเป็นประธานและรองประธานสภา และเมื่อเลือกเสร็จแล้วให้แจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

          สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้จัดเตรียมห้องประชุมไว้เรียบร้อยแล้ว โดยประเมินเวลาในการประชุมเพื่อเลือกทั้ง 3 ตำแหน่งจะใช้เวลา ประมาณ 6 ชั่วโมง ขั้นตอนมีดังนี้

          เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภาแล้ว ให้เลขาธิการ ส่งสำเนาประกาศพระบรมราชโองการไปยังวุฒิสภาเพื่อทราบด้วย

 

ประธานสภาผู้แทนราษฎรในอดีตของประเทศไทย

         ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักใน

การปกครองประเทศมาแล้วถึง 18 ฉบับ แต่ละฉบับจะมีหลักการใหญ่ที่คล้ายคลึงกัน และมีความแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียด ในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับประธานสภาผู้แทนราษฎรก็เช่นกัน ในช่วงแรกรัฐสภามีเพียงสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาด้วย แต่ต่อมาเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 รัฐธรรมนูญกำหนดให้ รัฐสภาประกอบด้วย พฤฒสภาและสภาผู้แทน และให้ประธานพฤฒสภาเป็นประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนเป็นรองประธานรัฐสภา รัฐธรรมนูญหลายฉบับจากนั้นมา กำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยกำหนดให้ประธานวุฒิสภา เป็นประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงมีการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่น คือ กำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็น

รองประธานรัฐสภา ตราบจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ใช้ในปัจจุบัน ก็ยังกำหนดเช่นกัน จากวันที่ประเทศไทยมีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก เมื่อปีพุทธศักราช 2475 ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวรวม จำนวน 24 คน มีรายนามตามลำดับ ดังนี้

คนที่ ๒๖. นายชวน หลีกภัย

ประธานรัฐสภา และ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒ - ปัจจุบัน

 คนที่ ๒๕. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์

ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ - ๙ ธันวาคม ๒๕๕๖

 คนที่ ๒๔. นายชัย ชิดชอบ

ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑ - ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔

 คนที่ ๒๓.นายยงยุทธ ติยะไพรัช

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร

 คนที่ ๒๒.นายโภคิน พลกุล

ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฏร ๘ มีนาคม ๒๕๔๘ - ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙

 คนที่ ๒๑.นายพิชัย รัตตกุล

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ๓๐ มิถุนายน ๒๕๔๓ - ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓

 คนที่ ๒๐.นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ - ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๓

 คนที่ ๑๙.นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๘ - ๒๗ กันยายน ๒๕๓๘

 คนที่ ๑๘.ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๒๒ กันยายน ๒๕๓๕ - ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๘

 คนที่ ๑๗.นายอาทิตย์ อุไรรัตน์

ประธานสภาผู้แทนราษฎร ๓เมษายน ๒๕๓๕ - ๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๕

 คนที่ ๑๖.นายปัญจะ เกสรทอง

ประธานสภาผู้แทนราษฎร ๓ สิงหาคม ๒๕๓๑ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔

 คนที่ ๑๕.นายชวน หลีกภัย

ประธานสภาผู้แทนราษฏร ๔ สิงหาคม ๒๕๒๙ - ๒๙ เมษายน ๒๕๓๑

 คนที่ ๑๔.นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์

ประธานสภาผู้แทนราษฏร ๙ พฤษภาคม ๒๕๒๒ - ๑๙ มีนาคม ๒๕๒๖

 คนที่ ๑๓.นายอุทัย พิมพ์ใจชน

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ๑๙ เมษายน ๒๕๑๙ - ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ - ๕ มกราคม ๒๕๔๘ ประธานสภาผู้แทนราษฏร ๒๗ เมษายน ๒๕๒๖ - ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๙

 คนที่ ๑๒.นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ -๑๒ มกราคม ๒๕๑๙

 คนที่ ๑๑.พลตรีศิริ สิริโยธิน

ประธานสภาผู้แทนราษฎร ๗ มีนาคม ๒๕๑๒ - ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔

 

คนที่ ๑๐.พลเอก หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ์ สุทธิสารรณกร)

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ๒๐ กันยายน ๒๕๐๐ - ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๐

 คนที่ ๙.พลเอก พระประจนปัจนึก (พุก มหาดิลก)

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ๑ ธันวาคม ๒๔๙๔ - ๑๗ มีนาคม ๒๔๙๕, ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๕ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๕, ๒๘ มิถุนายน ๒๔๙๕ -๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๖, ๒ กรกฎาคม ๒๔๙๖ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๗, ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๗ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๘, ๒ กรกฎาคม ๒๔๙๘ - ๒๓ มิถุนายน ๒๔๙๙, ๓๐ มิถุนายน ๒๔๙๙ - ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐, ๑๖ มีนาคม ๒๕๐๐ - ๒๓ มิถุนายน ๒๕๐๐, ๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๐ - ๑๖ กันยายน ๒๕๐๐, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๐ - ๒๓ มิถุนายน ๒๕๐๑, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๐๑ - ๒๐ ตุลาคม ๒๕๐๑

  คนที่ ๘.พระราชธรรมนิเทศ (เพียร ราชธรรมนิเทศ)

ประธานสภาผู้แทนราษฎร ๑๕มิถุนายน ๒๔๙๒ -๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๙๔

 คนที่ ๗.นายพึ่ง ศรีจันทร์

ประธานสภาผู้แทนราษฎร ๑๓ พฤษภาคม ๒๔๙๐ - ๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐

 คนที่ ๖.นายเกษม บุญศรี

ประธานสภาผู้แทนราษฎร ๔ มิถุนายน ๒๔๘๙ - ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๐, ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ - ๑๔ มิถุนายน ๒๔๙๓

 คนที่ ๕.พระยามานวราชเสวี (วิเชียร ณ สงขลา)

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ๓ สิงหาคม ๒๔๗๙ - ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๐, ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๐ -๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๑, ๒๘ มิถุนายน ๒๔๘๑ - ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๑, ๑๒ ธันวาคม ๒๔๘๑ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๒, ๒๘ มิถุนายน ๒๔๘๒ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๓, ๑ กรกฎาคม ๒๔๘๓ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๔, ๑ กรกฎาคม ๒๔๘๔ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๕, ๓๐ มิถุนายน ๒๔๘๕ - ๒๔ มิถุนายน ๒๕๘๖, ๒ กรกฎาคม ๒๔๘๗ - ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๘, ๒๙ มิถุายน ๒๔๘๘ - ๑๕ ตุลาคม ๒๔๘๘

 คนที่ ๔.เจ้าพระยาศรีธรรมมาธิเบศ (จิต ณ สงขลา)

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗ - ๑๕ ธันวาคม ๒๔๗๗, ๑๗ ธันวาคม ๒๔๗๗ - ๓๑ กรกฏาคม ๒๔๗๘, ๒ สิงหาคม ๒๔๗๘ - ๓๑ กรกฏาคม ๒๔๗๙

 คนที่ ๓.พลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี (พลเรือตรี กระแส ประวาหะนาวิน)

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖ - ๒๒ กันยายน ๒๔๗๗, ๖ กรกฏาคม ๒๔๘๖ -๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๗

 คนที่ ๒.เจ้าพระยาพิชัยญาติ

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฏร ๒ กันยายน ๒๔๗๕ - ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๖

 คนที่ ๑.เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ๒๘ มิถุนายน - ๑ กันยายน ๒๔๗๕, ๑๕ ธันวาคม - ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖

 

 

แหล่งข้อมูล

https://www.ilaw.or.th/node/6541

http://bitly.ws/Kgvn

http://bitly.ws/KgwH

https://hris.parliament.go.th/ss_th.php

https://web.parliament.go.th/view/1/representatives/TH-TH

http://bitly.ws/KgLR

http://bitly.ws/KgMT

https://workpointtoday.com/vote-5/

https://thestandard.co/procedure-for-selecting-council-president/

http://bitly.ws/KgMT

http://bitly.ws/KgUc

 

 

 


 

 

หมายเลขบันทึก: 713395เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2023 03:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2023 03:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท