นักการเมือง คือ ?


นักการเมือง ค้ออะไรนั้น ในมุมมองผงเอง มีความเห็นว่า คือบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมือง หรือนโยบาย ทางการเมืองร่วมกันเพื่อที่จะนำเสนอให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของ ประเทศได้ทราบว่า จะนำเอาแนวคิดนั้นไปพัฒนาประเทศชาติอย่างไร ซึ่งถ้าประชาชนศรัทธา เชื่อมั่นในนโยบายนั้น ก็จะได้รับเลือกตั้งให้ เป็นผู้มีเสียงข้างมาก ได้อำนาจรัฐเพื่อเข้าไปทำหน้าที่บริหารจัดการ ประเทศ ตามที่ตนเองได้หาเสียงไว้กับประชาชน

นักการเมือง คืออะไร ?

 

นักการเมือง คืออะไร
ดร.ถวิล  อรัญเวศ

      นักการเมือง ค้ออะไรนั้น  ในมุมมองผงเอง มีความเห็นว่า

คือบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมือง หรือนโยบาย

ทางการเมืองร่วมกันเพื่อที่จะนำเสนอให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของ

ประเทศได้ทราบว่า จะนำเอาแนวคิดนั้นไปพัฒนาประเทศชาติอย่างไร

ซึ่งถ้าประชาชนศรัทธา เชื่อมั่นในนโยบายนั้น ก็จะได้รับเลือกตั้งให้

เป็นผู้มีเสียงข้างมาก ได้อำนาจรัฐเพื่อเข้าไปทำหน้าที่บริหารจัดการ

ประเทศ ตามที่ตนเองได้หาเสียงไว้กับประชาชน

        สรุป คือ นักการเมืองคือบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมือง
หรือนโยบายทางการเมืองร่วมกันเพื่อแสวงหาอำนาจรัฐ และ

ถ้าได้อำนาจรัฐจากผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ก็จะได้เข้าไปทำหน้าที่

บริหารประเทศหรือท้องถิ่นต่อไป

       นักการเมืองมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น คือ นายก อบต.

นายกเทศมนตรี นายก อบจ. นายกเมืองพัทธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพ

มหานคร ระดับชาติ เช่น ส.ส. ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนในการเลือกนายกรัฐมนตรี

        แม้ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ตามบทเฉพาะกาลจะกำหนดให้ ส.ว.สามารถโหวตเลือกนายกรัฐในตรีได้ใน 5 ปีแรกนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2560 บังคับคับใช้ คือ 6 เมษายน 2560 และ ส.ว.มีจำนวน 250 ก็จริง แต่หลังจากผ่านพ้น 5 ปีแรกดังกล่าวไป ส.ว.ก็จะไม่มีสิทธิ์โหวตผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกแล้ว คงโหวตได้เฉพาะ ส.ส. เท่านั้น และ จำนวน ส.ว.ก็จะเหลือเพียง 200 คนเท่านั้น

 

ความนิยมของโพลต่าง ๆ

เกี่ยวกับพรรคการเมืองที่จะได้

เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล

       มีการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับความนิยมชมชอบ
พรรคการเมือง และคิดว่าจะไปเลือกตั้งเมื่อมีพระรากฤษฎีกา

กำหนดวันเลือกตั้งหลายสำนัก  เช่น

 

1. 'นิด้าโพล' ชี้คนไม่เชื่อ 'เพื่อไทย-พปชร.' จับมือตั้งรัฐบาล

   'ซูเปอร์โพล' ยก 'อนุทิน' อันดับ 1 แคนดิเดตนายก

           11 ธ.ค. 2565 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “6 พรรคกับโอกาส ได้เป็นรัฐบาล” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับ 6 พรรคกับโอกาสได้เป็นรัฐบาล การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0จากการสำรวจเมื่อให้ประชาชนวิเคราะห์ถึงโอกาสที่พรรคการเมือง ทั้ง 6 พรรค ซึ่งกำลังมีกระแสข่าวการไหลเข้า-ออก ของนักการเมืองจะได้เป็นรัฐบาล ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า

 

1.พรรคเพื่อไทย (นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว/น.ส.แพทองธาร ชินวัตร) ตัวอย่าง ร้อยละ 40.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก รองลงมาร้อยละ 32.44 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 16.88 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 8.24 ระบุว่าไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 2.06 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

2.พรรคก้าวไกล (นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์) ตัวอย่าง ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 30.23 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 23.66 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 11.00 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.66 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

3.พรรคพลังประชารัฐ (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ตัวอย่าง ร้อยละ 33.51 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 32.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 20.38 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 10.76 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 2.75 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

4.พรรครวมไทยสร้างชาติ (นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค/พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ตัวอย่าง ร้อยละ 43.12 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 31.45 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย ร้อยละ 15.73 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 5.73 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.97 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

5.พรรคภูมิใจไทย (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) ตัวอย่าง ร้อยละ 39.16 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 30.84 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 21.60 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 4.96 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน และร้อยละ 3.44 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

6.พรรคประชาธิปัตย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ตัวอย่าง ร้อยละ 40.69 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างน้อย รองลงมา ร้อยละ 38.93 ระบุว่า ไม่ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน ร้อยละ 13.20 ระบุว่า โอกาสได้เป็นรัฐบาลค่อนข้างมาก ร้อยละ 4.58 ระบุว่า ได้เป็นรัฐบาลแน่นอนและร้อยละ 2.60 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

            ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อกระแสข่าวข้อตกลงการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย ภายหลังการเลือกตั้งสมัยหน้า พบว่า

           ตัวอย่าง ร้อยละ 45.65 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย เพราะ เป็นเพียงแค่กระแสข่าวลือ โอกาสเป็นไปได้ยากเนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน รองลงมา ร้อยละ 29.24 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ เพราะ ทั้งสองพรรคต่างต้องการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของตนเองจึงไม่น่าจะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลได้ ร้อยละ 16.64 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ เพราะ การเมืองเป็นเรื่องของการหาผลประโยชน์

            จึงมีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองพรรคจะตกลงจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน ร้อยละ 5.19 ระบุว่า เชื่อมาก เพราะ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยเคยมีความสัมพันธ์กันในอดีต จึงอาจมีการหารือเพื่อตกลงเรื่องผลประโยชน์หากได้เป็นรัฐบาลร่วมกัน และร้อยละ 3.28 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ

            เมื่อถามถึงความต้องการเร่งด่วนของประชาชนต่อรัฐบาลอนาคต หลังการเลือกตั้ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.4 ต้องการให้แก้ปัญหาปากท้อง เรื่อง รายได้ อาชีพ ร้อยละ 62.1 ต้องการให้แก้ปัญหาสุขภาพ ค่าใช้จ่ายน้อย เข้าถึงง่าย อยู่ใกล้ สะดวก ร้อยละ 61.8 ต้องการให้แก้ปัญหาหนี้สิน พักหนี้ ปลดหนี้ ร้อยละ 48.9 ต้องการให้แก้ปัญหาพลังงาน ราคาแพง เช่น ไฟฟ้า น้ำมัน และร้อยละ 43.1 ต้องการให้แก้ปัญหามลพิษ โลกร้อน ใช้พลังงานสะอาด ตามลำดับ

               ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนเชื่อมั่นช่วยแก้ปัญหาปากท้อง รายได้ และปัญหาหนี้สินของประชาชนได้ พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 50.7 เชื่อมั่นนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย รองลงมาคือร้อยละ 47.2 เชื่อมั่นนางสาวแพทองธาร  ชินวัตร พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 46.4 เชื่อมั่นนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 19.8 เชื่อมั่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และร้อยละ 17.6 เชื่อมั่น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกล ตามลำดับ

               ที่น่าพิจารณาคือ อะไรที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.8 ระบุปัญหาเดือดร้อนที่กำลังเจอเป็นอะไรที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง รองลงมาคือ ร้อยละ 56.9 ระบุ พรรคการเมืองเป็นอะไรที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง ร้อยละ 52.0 ระบุ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และแกนนำพรรคการเมือง ร้อยละ 51.8 ระบุ นโยบายพรรคการเมืองที่บอกประชาชน และร้อยละ 46.7 ระบุ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตามลำดับ

                 ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงผู้นำพรรคการเมืองที่มีโอกาสเป็นรัฐบาลและทำได้จริงตามที่พูด พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 47.8 ระบุ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เป็นผู้นำพรรคการเมืองที่มีโอกาสเป็นรัฐบาลและทำได้จริงตามที่พูด รองลงมาคือร้อยละ 44.9 ระบุนางสาวแพทองธาร ชินวัตร พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 44.4 ระบุนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ร้อยละ 17.2 ระบุ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และร้อยละ 14.5 ระบุเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ตามลำดับ

      จะเห็นได้ว่า ค่านิยมของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะลดลงมาก

            ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลเปิดใจคนไทย อนาคตการเมืองชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเดือดร้อนที่ประชาชนกำลังเจอจะเป็นอะไรที่ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ตัดสินใจเลือกตั้งโดยพบว่า ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง รายได้ ค่าครองชีพ อาชีพ การแก้ปัญหาสุขภาพ ค่าใช้จ่ายน้อย เข้าถึงบริการสุขภาพที่ดีได้ง่าย อยู่ใกล้และสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ ปัญหาหนี้สิน พักหนี้ ปลดหนี้ เป็นความต้องการสำคัญอันดับต้น ๆ ของประชาชนในโพล ที่น่าสนใจคือ ความเชื่อมั่นต่อ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย สูงขึ้นเป็นอันดับหนึ่งนำหน้าไล่เรียงรอง ๆ ลงไปคือ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร แกนนำพรรคเพื่อไทย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีสัดส่วนฐานสนับสนุนสูงทิ้งห่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่ถูกทิ้งห่างอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ เมื่อถามถึงผู้นำพรรคการเมืองที่มีโอกาสจะเป็นรัฐบาลและทำได้จริงตามที่พูด พบว่า อันดับแรกได้แก่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย รองลงไปคือ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร พรรคเพื่อไทย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีสัดส่วนฐานสนับสนุนทิ้งห่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่ถูกทิ้งห่างอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน

           ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคะแนนนิยมลดลง ตกไปอยู่อันดับท้าย ๆ ของตารางผลสำรวจครั้งนี้น่าจะมาจากปัจจัยสำคัญคือ ความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชนเรื่องปัญหาปากท้อง รายได้ ค่าครองชีพ อาชีพการงาน ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันนี้อาจจะมีจุดอ่อนด้านทีมเศรษฐกิจ และปัญหาขัดแย้งแยกทางกันเดินระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ทำให้แฟนคลับผิดหวังพลังสนับสนุนอ่อนลงบวกกับภาพลักษณ์ของแกนนำพรรคพลังประชารัฐและกระแสต่อต้านของคนไทยที่แรงต่อทุนจีนสีเทากับอดีตรัฐมนตรีที่ประชาชนเกิดความเคลือบแคลงสงสัยเพราะความไม่ชัดเจนและความไม่เข้มแข็งเพียงพอของ 3 ป. ปล่อยปละละเลยไม่สะสางปัญหาที่กระทบต่อความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนในห้วงเวลาที่ยาวนาน ผลที่ตามมาคือ ประชาชนส่วนใหญ่กำลังมองหาผู้นำประเทศคนใหม่ที่เป็นความหวังและเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาปากท้องและอื่น ๆ ที่สำคัญต่อชีวิตของประชาชนแทนคนเดิมที่อยู่มาช้านาน ก็เป็นไปได้

 



 

 

2. ไทยรัฐโพล

             ไทยรัฐโพลเผย คนเตรียมเลือกเพื่อไทยมากสุด แต่ยังไม่แลนด์สไลด์-รทสช.นำห่างพปชร.

 เลือกตั้ง 2566

           การสำรวจครั้งนี้เริ่มสำรวจตั้งแต่วันที่ 12-19 มกราคม 2565 ประชาสัมพันธ์ผ่านทุกช่องทางของไทยรัฐออนไลน์และไทยรัฐทีวี ซึ่ง ไทยรัฐโพล: เลือกตั้ง’66’ จะจัดทำขึ้นทั้งหมด 3 ครั้ง ก่อนถึงวันเลือกตั้ง โดยการสำรวจเดือนมกราคมนี้เป็นการสำรวจครั้งที่หนึ่ง และจะติดตามคะแนนความนิยมของคนไทยที่มีต่อพรรคการเมืองและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่อาจจะเปลี่ยนไปในช่วงเวลาต่างๆ เพื่อนำเสนอความเห็นของประชาชนคนไทย ผ่านทุกช่องทางของไทยรัฐออนไลน์และไทยรัฐทีวี.

            ผลสำรวจไทยรัฐโพลชี้ เลือกตั้งหน้า ประชาชน 48.02% จะไปลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทย ก้าวไกลตามมาที่ 2 ส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติได้ที่ 3 แต่คะแนนแค่ 6.58% ทิ้งห่างจากพรรคพลังประชารัฐที่ได้คะแนน 0.63%

          จากผลสำรวจที่ไทยรัฐโพลสอบถามประชาชนว่า “เลือกตั้งที่จะถึงนี้ คุณจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรคใด” มีผู้ตอบแบบสำรวจมาทั้งสิ้น 15,708 ราย ผลชี้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามอันดับแรกจะลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทย 48.02% รองลงมาพรรคก้าวไกล 32.77% ส่วนอันดับ 3 คือพรรครวมไทยสร้างชาติ 6.58%

                 ในบรรดาผู้ตอบแบบสำรวจ 15,708 รายนี้ ตอบว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างแน่นอน ถึง 94.45% ขณะที่คาดว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน 4.56% และตอบว่าไม่ไปใช้สิทธิ และ คาดว่าจะไม่ไปใช้สิทธิ เป็นจำนวน 0.52% และ 0.47% ตามลำดับ


 


 


 

พรรค คะแนนเสียง % ที่นั่ง              
แบ่งเขต บัญชีรายชื่อ รวม              
  เพื่อไทย 7,881,006

22.16

 

136 0

136 / 500

 

             
  พลังประชารัฐ 8,441,274

23.74

 

97 19

116 / 500

 

             
  อนาคตใหม่ 6,330,617

17.80

 

31 50

81 / 500

 

             
  ประชาธิปัตย์ 3,959,358

11.13

 

33 20

53 / 500

 

             
  ภูมิใจไทย 3,734,459

10.50

 

39 12

51 / 500

 

             
  เสรีรวมไทย 824,284

2.32

 

0 10

10 / 500

 

             
  ชาติไทยพัฒนา 783,689

2.20

 

6 4

10 / 500

 

             
  ประชาชาติ 481,490

1.35

 

6 1

7 / 500

 

             
  เศรษฐกิจใหม่ 486,273

1.37

 

0 6

6 / 500

 

             
  เพื่อชาติ 421,412

1.19

 

0 5

5 / 500

 

             
  รวมพลังประชาชาติไทย 415,585

1.17

 

1 4

5 / 500

 

             
  ชาติพัฒนา 244,770

0.69

 

1 2

3 / 500

 

             
  พลังท้องถิ่นไท 214,189

0.60

 

0 3

3 / 500

 

             
  รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 134,816

0.38

 

0 2

2 / 500

 

             
  พลังปวงชนไทย 80,186

0.23

 

0 1

1 / 500

 

             
  พลังชาติไทย 73,421

0.21

 

0 1

1 / 500

 

             
  ประชาภิวัฒน์ 69,431

0.20

 

0 1

1 / 500

 

             
  พลังไทยรักไทย 60,434

0.17

 

0 1

1 / 500

 

             
  ไทยศรีวิไลย์ 60,354

0.17

 

0 1

1 / 500

 

             
  ครูไทยเพื่อประชาชน 56,633

0.16

 

0 1

1 / 500

 

             
  ประชานิยม 56,264

0.16

 

0 1

1 / 500

 

             
  ประชาธรรมไทย 48,037

0.14

 

0 1

1 / 500

 

             
  ประชาชนปฏิรูป 45,420

0.13

 

0 1

1 / 500

 

             
  พลเมืองไทย 44,961

0.13

 

0 1

1 / 500

 

             
  ประชาธิปไตยใหม่ 39,260

0.11

 

0 1

1 / 500

 

             
  พลังธรรมใหม่ 35,099

0.10

 

0 1

1 / 500

 

             
อื่น ๆ 57,344

0.16

 

0 0

0 / 500

 

 
คะแนนสมบูรณ์ 35,561,556 100 350 150 500              
               
คะแนนเสีย 2,130,327 5.57                
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 605,392 1.58              
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 38,268,366 74.69              
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 51,239,638                
               
ที่มา: คณะกรรมการการเลือกตั้ง คะแนนเสียง ส.ส. แบบแบ่งเขตผล ส.ส. แบบแบ่งเขตส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ

 
             

 

เทียบสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบหาร 100 และ 500

      สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบหาร 100 และ 500 ต่างกันตรงไหน ใครได้ ใครเสียประโยชน์

            สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบหาร 100 และ 500 นั้น

นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่...) พ.ศ... รัฐสภา เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนโดยได้อธิบายเกี่ยวกับสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือ ปาร์ตี้ลิสต์ แบบหาร 100 เอาไว้ดังนี้

 สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบหาร 100

            คือ จำนวนส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ไปหารด้วยคะแนนรวมในบัตรเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองทั่วประเทศ จนได้ตัวเลขเป็นฐานคะแนนต่อ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 1 คน แล้วนำคะแนนของแต่ละพรรคการเมืองมาดูว่า ได้คะแนนเท่าใด แล้วจึงคิดออกมาเป็นสัดส่วนของ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ที่แต่ละพรรคจะคว้าได้ในสภาฯ จนครบ 150 คน


 

ตัวอย่างการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบหาร 100

        หากบัตรคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ทั่วประเทศ รวมกันแล้วมีทั้งสิ้น 37,000,000 คะแนน ก็นำ 37,000,000 ไปหารด้วย 100 ก็จะเท่ากับได้ 370,000 คะแนนต่อส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 1 คน

            หากย่อยลงมาให้เห็นชัด ๆ คือ พรรค ก. ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ 1,000,000 คะแนน เมื่อนำ 370,000 คะแนน ไปหาร พรรค ก. ก็จะได้ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 2.7 คน หรือ 2 คน

          หมายเหตุ ข้อดีทุกคะแนนเสียงนำมาหาคะแนนได้อีก แม้จะเป็น ส.ส.สอบตก เพียงแต่หารด้วย 100 สัดส่วน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คนจะมาก หารด้วย 500  สัดส่วน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คนจะน้อยลง

 

การเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2566

         ในการเลือกตั้ง ส.ส.ปี 2566 นั้น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ครั้งล่าสุด คือการเลือกตั้งเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 ก็จะครบ 4 ปี ในวันที่ 24 มีนาคม 2566 เพราะ ส.ส.นั้น

มีวาระ 4 ปี และมีผลตั้งแต่วันเลือกตั้ง

         การเลือกตั้งครั้งที่ 29 ทีจะมาถึงปี 2566 ประมาณเมษายน หรือ

ประมาณ พฤษภาคม (ยกเว้น มีการยุบสภาฯก่อน) ก็จะมีการเลือกตั้ง

ส.ส. เป็นการทั่วไป และในการเลือกตั้ง คราวนี้ ได้มีการเสนอแก้ไข

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบคือบัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบ

แบ่งเชตเลิอกตั้ง และบัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และใน

การคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายขื่อเดิมให้หารด้วย 500 คะแนนอาจจะไม่มากก็ได้เป็น ส.ส. ได้ การเลือกตั้งปี 2566 จะหารด้วย 100 พรรคต้องได้คะแนนมากพอ จึงจะได้รับการแบ่งสันปันส่วน ส.ส. ต้องรอให้

กกต.ประกาศกำหนดเขตเลิอกตั้ง และวันเลือกตั้งก่อน

        อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาชนต้องเตรียมไว้ คือ

1.    ให้ศึกษาพรรคการเมืองที่ผ่านมาว่า ผลงานเป็นอย่างไร สมกับ

ได้หาเสียงไว้ก่อนการเลือกตั้ง ปี 2562 ไหม นโยบายพรรค เป็นไปได้

มากน้อยเพียงใด นโยบายบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด

2.    ศึกษาผลงานของ ส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งไปแล้วเมื่อ ปี 2562 ว่า

ได้เข้าไปทำบทบาทหน้าที่ของ ส.ส.ได้มากน้อยเพียงใด มีการขาดประชุม

ส.ส. บ่อยครั้งเพียงใด โดยไม่มีสาเหตุหรือเหตุสุดวิสัย เช่น เจ็บป่วย

เป็นต้น

3.    ศึกษาว่า ส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งไปแล้วเมื่อปี 2562 มีพฤติกรรม

มัวหมอง หรือมลทินมัวหมองในตำแหน่งหน้าที่ ส.ส.ไหม เช่น การขายตัว

ในการลงคะแนนเสียงในการลงมติไม่ไว้ว่างใจ  การทำผิดจริยธรรม ของ ส.ส. หรือนักการเมือง เป็นต้น

 

คนดีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ควรเลือกเป็น ส.ส.

        ในการเลือกตั้ง ส.ส. นั้น ต้องยอมรับว่า พรรคเลือกคน ประชาชน อาจจะเลือกพรรค หรือคน หรือเลือกทั้งพรรคและคนก็ได้ ดังคำที่ว่า

“เลือกคนที่เรารัก เลือกพรรคที่เราชอบ แต่ถ้าจะให้รอบคอบ ควรชอบ

ทั้งพรรคและคน” เว้นแต่ไม่มีในใจจริง ๆ คอยกาในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน

         ในการเลือกพรรค หรือคน นั้น ถ้าคิดว่า นโยบายพรรค ไม่ดี หรือเฟ้อฝันจนเกินไป ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างแท้จริง หรือคนที่พรรคส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง มีประวัติด่างพร้อย หรือมีมลทินมัวหมองด้านการทุริตหรือประพฤติมอชอบตามกฎหมายบ้านเมืองมาก่อน ผลงานไม่มี ประชาชนไม่รู้จักชื่อเสียงเรียงนาม เป็นต้น ประชาชนอาจจะไม่เลือกก็ได้เพราะมีช่องที่ไม่ประสงค์ลงคะแนนให้กา ก็มีระบุไว้ในบัติเลือกตั้ง

        บุคคลที่ประชาชนควรเลือกตั้งเป็น ส.ส. เช่น

1.    เป็นผู้มีการศึกษาดีพอที่จะไปออกกฎหมาย หรือเสนอกฎหมาย

ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือต่อชาติบ้านเมืองได้

2.    เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่เคยมีประวัติคดโกงมาก่อน หรือไม่เคย

ถูกลงโทษจำคุกในข้อหาทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือถูกจำคุกหรือถูก

ไล่ออกจากงานไม่ว่างานเอกชน งานราชการในข้อหาผู้เสพ ผู้ค้ายาเสพติดให้โทษ เช่น ยาบ้า ยาอี เป็นต้น หรือถูก ป.ป.ช.ชี้มูลว่าเป็นบุคคที่ทุจริตต่อหน้าที่การงานอย่างชัดเจนเปีนรูปธรรม

3.    เป็นผู้ที่มีประวัติการทำงานหรือผลงานที่ผ่านมาดีพอและเป็นที่ยอมรับของประชาชนได้

4.    เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและรู้จักเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ

5.    เป็นผู้ที่เข้าถึงประชาชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ประชาชนเข้าหาได้ง่าย ติดดิน เข้าใจคน
รากหญ้า เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาแก้ไข โดยเสนอเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน

6.    เป็นแบบอย่างของการรู้จักรักษาประโยชน์ของส่วนรวมไม่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง เช่น แจกเงินหรือสิ่งของเพื่อให้ผู้ใดลงคะแนนให้ตนเอง หรือไม่ลงคะแนนให้กับผู้สมัครอื่น หรือพรรคอื่นๆ

7.    เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการประชุม และเลือกเข้าไปแล้วสามารถ

ทำหน้าที่ ส.ส. คือเข้าประชุมเพื่อพิจารณาข้อกฎหมายต่าง ๆ ได้เป็น

อย่างดี ไม่ขาดประชุมโดยไม่มีสาเหตุ หรือเหตุสุดวิสัย

8.    เป็นผู้ที่เชื่อได้ว่า ไม่ยอมให้ใครมาซื้อตัวหรือตำแหน่ง ส.ส.เพื่อ

ทำการที่ไม่ดี หรือไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง ส.ส.

9.    อื่น ๆ ที่คิดว่า เป็นสิ่งที่ดีต่อชาติบ้านเมือง

พรรคการเมืองที่ดี ควรมีลักษณะ เช่น

              1. มีนโยบายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และมีแนวทางปฏิบัติให้สามารถเป็นจริงได้

              2. ในการกำหนดนโยบายของพรรค ต้องมุ่งแก้ปัญหาความกินดีอยู่ดี หรือปากท้องของประชาชน นโยบายด้านการเกษตร พืชผลของชาวไร่ชาวนา การส่งเสริมการทำนา การจำหน่ายผลผลิตของชาวนา

3.    มีนโยบายด้านการศึกษาและด้านการสาธารณสุขที่ชัดเจนทำอย่างไรจึงจะลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประชาชนได้ทำอย่างไรจึงจะสามารถให้ประชาชนเข้าถึงการบริการด้านสาธารณาสุข ได้อย่างถ้วนหน้า เป็นต้น

4.    มีนโยบายด้านการทหารที่ชัดเชน เช่น ทำอย่างไรจึงจะทำให้ทหาร เป็นทหารมืออาชีพ ทำอย่างไรจึงจะส่งเสริมกำลังทัพเพื่อป้องกันอริราชศัตรู ทำอย่างไรจึงจะไม่ทำให้ทหารมีการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งที่ผ่านมายังเป็นวงจรยังไม่รู้จบ

5.    อื่น ๆ ที่เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อชาติบ้านเมือง

 

หมายเหตุ

        พรรคหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งให้เงิน หรือสิ่งของ แต่เราไม่เลือก เป็นบาปไหม ?
        คำตอบ คือ ไม่บาป เพราะเราไม่ได้ไปขโมยของเขามา เขาให้เราเอง

          ประชาธิปไตยแบบไทยไทยที่ผ่านมา หลายคนเชื่อว่า คือประชาธิปไตยยังไม่เต็มใบ เพราะความรู้สึกนึกคิดของคนไทยเราจะมองที่ตัวบุคคลมากกว่า นั้นคือเป็นคนที่เข้าหา พึ่งพาได้ในยามยาก เสมอต้นเสมอปลาย ไม่ใช่เลือกตั้งไปแล้ว หายต๋อม ไม่เคยมาเยี่ยมมาเยียนถามปัญหาความทุกข์ยากเลย เวลามีชาวบ้านไปเยี่ยมไปหาเพื่อขอความช่วยเหลือ หรือแก้ปัญหาชาวบ้าน แต่กลับบอกให้คนบอกว่า“ไม่อยู่” ไปธุระ แม้ไม่อยู่ก็สามารถฝากเรื่องราวไว้ และก็มาติดตามปัญหาที่ชาวบ้านมาเยี่ยมเยียน ไม่วางเฉย หรือทำไม่เป็นธุระ ดังตำว่า“ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์” เพราะจะทำให้ไม่ได้ใจชาวบ้านหรือประชาชนได้อย่างแท้จริง

         การที่จะทำให้ประชาธิปไตยแบบไทยไทยเป็นประชาธิปไตยเต็มใบก็อยู่ที่ประชาชาชนทุกคน มีพลังเข้มแข็งเหนียวแน่น เลือกคนดีเช้าไปทำหน้าที่ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร เช่น เป็นผู้มีการศึกษาดีพอที่จะไปออกกฎหมาย หรือเสนอกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือต่อชาติบ้านเมืองได้ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่เคยมีประวัติคดโกงมาก่อน หรือไม่เคยถูกลงโทษจำคุกในข้อหาทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือเคยถูกจำคุกหรือถูกไล่ออกจากงานไม่ว่างานเอกชน งานราชการในข้อหาผู้เสพ ผู้ค้ายาเสพติดให้โทษ เช่น ยาบ้า ยาอี เป็นต้น หรือถูก ป.ป.ช.ชี้มูลว่าเป็นบุคคที่ทุจริตต่อหน้าที่การงานอย่างชัดเจนเปีนรูปธรรม เป็นผู้ที่มีประวัติการทำงานหรือผลงานที่ผ่านมาดีพอและเป็นที่ยอมรับของประชาชนได้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและรู้จักเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ เป็นผู้ที่เข้าถึงประชาชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ประชาชนเข้าหาได้ง่าย ติดดิน เข้าใจคนรากหญ้า เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาแก้ไข โดยเสนอเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เป็นแบบอย่างของการรู้จักรักษาประโยชน์ของส่วนรวมไม่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง เช่น แจกเงินหรือสิ่งของเพื่อให้ผู้ใดลงคะแนนให้ตนเอง หรือไม่ลงคะแนนให้กับผู้สมัครอื่น หรือพรรคอื่นๆ เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการประชุม และเลือกเข้าไปแล้วสามารถทำหน้าที่ ส.ส. คือเข้าประชุมเพื่อพิจารณาข้อกฎหมายต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ขาดประชุมโดยไม่มีสาเหตุ หรือเหตุสุดวิสัย เป็นผู้ที่เชื่อได้ว่า ไม่ยอมให้ใครมาซื้อตัวหรือตำแหน่ง ส.ส.เพื่อทำการที่ไม่ดี หรือไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง ส.ส. เป็นต้น  
            ส่วนพรรคการเมืองที่ดี ควรมีลักษณะ เช่น  

            1. เป็นพรรคที่มีนโยบายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และมีแนวทางปฏิบัติให้สามารถเป็นจริงได้

             2. นโยบายของพรรค ต้องมุ่งแก้ปัญหาความกินดีอยู่ดี หรือปากท้องของประชาชนเป็นสำคัญ เช่น นโยบายด้านการเกษตร พืชผลของชาวไร่ชาวนา การส่งเสริมการทำนา การจำหน่ายผลผลิตของชาวนา

การจำนำสินค้าด้านการเกษตร เป็นต้น

3. มีนโยบายด้านการศึกษาและด้านการสาธารณสุขที่ชัดเจนทำอย่างไรจึงจะลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประชาชนได้ทำอย่างไรจึงจะสามารถให้ประชาชนเข้าถึงการบริการด้านสาธารณาสุข ได้อย่างถ้วนหน้า เป็นต้น

              4. มีนโยบายด้านการทหารที่ชัดเชน เช่น ทำอย่างไรจึงจะทำให้ทหาร เป็นทหารมืออาชีพ ทำอย่างไรจึงจะส่งเสริมกำลังทัพเพื่อป้องกันอริราชศัตรู ทำอย่างไรจึงจะไม่ทำให้ทหารมีการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งที่ผ่านมายังเป็นวงจรยังไม่รู้จบ  เป็นต้น

        พรรคหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งให้เงิน หรือสิ่งของ แต่เราไม่เลือก เป็นบาปไหม ?
คำตอบ คือ ไม่บาป เพราะเราไม่ได้ไปขโมยของเขามา เขาให้เราเอง

                จึงเห็นได้ว่า   นักการเมืองคือบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมือง หรือนโยบายทางการเมืองร่วมกันเพื่อแสวงหาอำนาจรัฐ และถ้าได้อำนาจรัฐจากผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ก็จะได้เข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศหรือท้องถิ่นต่อไป  นักการเมืองมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น คือ นายก อบต.นายกเทศมนตรี นายก อบจ. นายกเมืองพัทธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับชาติ เช่น ส.ส. ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนในการเลือกนายกรัฐมนตรี 

              แม้ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ตามบทเฉพาะกาลจะกำหนดให้ ส.ว.สามารถโหวตเลือกนายกรัฐในตรีได้ใน 5 ปีแรกนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 บังคับคับใช้ คือ 6 เมษายน 2560 และ ส.ว.มีจำนวน 250 ก็จริง แต่หลังจากผ่านพ้น 5 ปีแรกดังกล่าวไป ส.ว.ก็จะไม่มีสิทธิ์โหวตผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีกแล้ว คงโหวตได้เฉพาะ ส.ส. เท่านั้น และ จำนวน ส.ว. ก็จะเหลือเพียง 200 คนเท่านั้น
                 แต่ถ้าสมมุติว่า การเลือกตั้งที่จะถึง ปี 2566 ประชาชนเลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ให้ได้ที่ีนั่ง 300 อีกพรรคถัดมา ให้ได้ที่นั่ง 100 ที่นั่ง สองพรรคนี้อาจะได้เป็นรัฐบาล ได้อำนาจรัฐไปปกครอง และนำ
นโบายที่หาเสียงไปบริหารจัดการพัฒนาประเทศทันที เพราะได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา (ส.ส.500 และ ส.ว. 250 คน เสียง ส.ส. ก็จะลดความสำคัญลงทันที)

         อย่างไรก็ตาม การเมือง ไม่มีมิตรแท้ และศัตรูที่ถาวร เราเห็นเขาอภิปรายด่ากันในสภาฯ ก็จริง แต่พอลงจากสภาฯ เขาอาจจะเป็นมิตรกัน กินข้าวด้วยกันแบบเพือนสนิทมิตรสหายก็ได้ เราประชาชนจึงควรพิจารณากลั่นกรอง และไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนเลือกผู้แทนเข้าสภา เลื่อกพรรคดี เลือกคนดี มีผลงาน ไม่มีมลทินมัวหมอง รับผิดชอบในการประชุม ฯลฯ เลือกพรรคที่มีนโยบายเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง สามารถแก้ปัญหาด่านเศรษฐกิจ หรือปากท้องของประชาชนได้อย่างแท้จริง ไม่ทุจริตคอร์รับชั่น มีนโยบายแก้ปัญหาด้านการศึกษา การป้องกันยาเสพติด ยาบ้า การบริการสาธารณสุข ด้านความมั่นคง ฯลฯ แล้วประเทศชาติก็จะเจริญก้าวหน้าได้อย่างแท้จริง มีความมั่นคง มั่งคั่งยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรมตลอดไป.....


 


 


 

ที่มา

https://prachatai.com/journal/2022/12/101829

https://www.thairath.co.th/news/politic/2608586

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 711375เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2023 00:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2023 01:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท