ปัสสาวะบ่อยส่ออาการอะไรของร่างกาย


โดยปกติคนทั่วไปจะปัสสาวะกลางวันไม่เกิน 8 ครั้ง ปัสสาวะกลางคืนไม่เกิน 2 ครั้ง หากบ่อยกว่านี้อาจมีสาเหตุหรือความผิดปกติบางอย่างที่ควรระวังเอาไว้ เช่น โรคเบาหวาน โรคเบาจืด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน กระเพาะปัสสาวะถูกกดเบียดจากอวัยวะข้างเคียง เช่น เนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ การตั้งครรภ์ โรคไตเสื่อมเรื้อรัง ทำให้ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะช่วงกลางคืน ต่อมลูกหมากโต ในผู้ชาย การรับประทานยาหรืออาหารบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การดื่มน้ำมากเกินไป ถ้ามีอาการปัสสาวะบ่อยเกินไป เบื้องต้นอาจลองลดปริมาณน้ำที่ดื่มร่วมกับหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลให้ปัสสาวะบ่อย จากนั้นสังเกตุว่ายังมีปัญหาปัสสาวะบ่อยอยู่หรือไม่ หากอาการดีขึ้นแสดงว่าสาเหตุเกิดจากอาหารและปริมาณน้ำที่รับประทาน แต่ถ้ายังคงปัสสาวะบ่อยผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้อง ในภาวะปกติ กระเพาะปัสสาวะคนเราสามารถจุน้ำปัสสาวะได้ 300-400 ซีซี เมื่อมีน้ำปัสสาวะที่กรองผ่านไตออกมาเก็บที่กระเพาะปัสสาวะเกินครึ่งของความจุที่กระเพาะปัสสาวะรับได้ มันจะส่งสัญญาณไปที่สมองว่ามองหาห้องน้ำได้แล้ว

ปัสสาวะบ่อยส่ออาการอะไรของร่างกาย

 

ปัสสาวะบ่อยส่ออาการอะไรของร่างกาย

ดร. ถวิล  อรัญเวศ

         โดยปกติคนทั่วไปจะปัสสาวะกลางวันไม่เกิน 8 ครั้ง ปัสสาวะกลางคืนไม่เกิน 2 ครั้ง หากบ่อยกว่านี้อาจมีสาเหตุหรือความผิดปกติบางอย่างที่ควรระวังเอาไว้ เช่น โรคเบาหวานโรคเบาจืด กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินกระเพาะปัสสาวะถูกกดเบียดจากอวัยวะข้างเคียง เช่น เนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ การตั้งครรภ์ โรคไตเสื่อมเรื้อรัง ทำให้ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะช่วงกลางคืน ต่อมลูกหมากโต ในผู้ชาย การรับประทานยาหรืออาหารบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การดื่มน้ำมากเกินไป

          ถ้ามีอาการปัสสาวะบ่อยเกินไป เบื้องต้นอาจลองลดปริมาณน้ำที่ดื่มร่วมกับหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลให้ปัสสาวะบ่อย จากนั้นสังเกตุว่ายังมีปัญหาปัสสาวะบ่อยอยู่หรือไม่ หากอาการดีขึ้นแสดงว่าสาเหตุเกิดจากอาหารและปริมาณน้ำที่รับประทาน แต่ถ้ายังคงปัสสาวะบ่อยผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้อง

 ปัสสาวะบ่อยแค่ไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ ?

       เราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ โดยปกติภายใน 24 ชั่วโมง คนเราจะปัสสาวะอย่างน้อย 6-8 ครั้ง กลางคืนเราจะปัสสาวะเพียง 1-2 ครั้ง แต่ถ้าหากมากกว่านี้ โดยเฉพาะถ้าช่วงกลางคืนปัสสาวะมากมักบ่งชี้ถึงโรคบางอย่างมากกว่า

       ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางวัน เพราะปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางวัน มักเกิดจากการดื่มน้ำมาก  ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีนมากเกินไป ซึ่งถ้าไม่มีสาเหตุที่กล่าวมาควรมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

       ในภาวะปกติ กระเพาะปัสสาวะคนเราสามารถจุน้ำปัสสาวะได้ 300-400 ซีซี เมื่อมีน้ำปัสสาวะที่กรองผ่านไตออกมาเก็บที่กระเพาะปัสสาวะเกินครึ่งของความจุที่กระเพาะปัสสาวะรับได้ มันจะส่งสัญญาณไปที่สมองว่ามองหาห้องน้ำได้แล้ว

 โรคที่เป็นสาเหตุของปัสสาวะบ่อย

        มีผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินปสสาสะ กล่าวถึงสาเหตุของปัสสาวะบ่อย ไว้ ดังนี้

1. โรคเบาหวาน

การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด โรคต่อมไร้ท่อผิดปกติ เช่น โรคเบาจืด โรคคุชชิง (Cushing syndromes)

          การที่คนเราเป็นเบาหวานนั้น เกิดได้ทั้งจากพันธุกรรมและพฤติกรรมการกิน

           การเป็นเบาหวาน สาเหตุคืออินซุลินทำหน้าที่บกพร่อง โดยปกติอินซุลิน มีหน้าที่นำน้ำตาลไปยังกระแสเลือดเพื่อเลี้ยงร่างกาย แต่เมื่อมันไม่สามารถนำไปได้ ก็จะขับออกมาทางปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะมีรสหวาน มดไปตอม เบาหวานที่ว่านี้ คือ

         1.1 เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 (Type1) คือ ภาวะพร่องอินซูลินเกิดจากอินซูลินในร่างกายมีจำนวนไม่มากพอ เนื่องจากเซลล์ที่ทำหน้าที่สำคัญในการช่วยสร้างอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินใหม่ๆ ขึ้นมาได้ โดยมากมักเกิดกับผู้ที่มีอายุน้อย (อายุ 7 ปีขึ้นไป) จนถึงวัยรุ่น ซึ่งการรักษาจะใช้วิธีฉีดอินซูลิน

         1.2 ตับอ่อนขาดภูมิคุ้มกันหรือไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ เนื่องจากเบตาเซลล์ (Beta cells) ของตับอ่อนถูกทำลายด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย กระบวนการสร้างอินซูลินในธรรมชาติจึงถูกทำลายไปด้วย ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

        1.3 สามารถพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี พบได้ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วย

         1.4 ลักษณะอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1

      - อยากอาหาร กระหายน้ำบ่อย

      - เกิดภาวะคั่งสารคีโตน

      - เกิดโรคแบบเฉียบพลันได้

      - เหนื่อยง่าย รูปร่างผอม น้ำหนักลดลง

      - บางรายอาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น ภาวะเลือดเป็นกรด

      วิธีป้องกันและรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 คือฉีดอินซูลิน หรือใช้เครื่องปั๊มอินซูลินเพื่อไปควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว

         2.  โรคระบบทางเดินปัสสาวะ
               ทั้งกระเพาะปัสสาวะอักเสบและกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (overactive bladder)

         3. ภาวะตั้งครรภ์
             มดลูกที่ใหญ่ขึ้นจะกดกระเพาะปัสสาวะทำให้ความจุน้อยลงทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น

         4. โรคทางระบบสืบพันธุ์

            เช่น เนื้องอกมดลูกหรือรังไข่ ที่โตเบียดกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโตในผู้ชายทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อยได้อาจมีอาการร่วมคือปัสสาวะลำบากต้องเบ่งและคอยนานกว่าปัสสาวะจะออกมา

         5.ภาวะทางจิตใจ (psychogenic polydipsia) ทำให้ดื่มน้ำมากกว่าปกติจึงทำให้ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

         6. ยาหรือสารบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ คาเฟอีนแอลกอฮอล์ มีผลทำให้ปัสสาวะบ่อยได้

         7. โรคไตเรื้อรัง การทำงานของไตที่เสื่อมลงอาจจะทำให้มีปัสสาวะตอนกลางคืนได้บ่อย

 

เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์

         เมื่อมีอาการปัสสาวะบ่อยจนรู้สึกว่าผิดปกติหรือรบกวนชีวิตประจำวัน หรือมีอาการร่วมต่างๆ ดังนี้

1.  ปัสสาวะมีเลือดปนหรือปัสสาวะขุ่น

2.  ปัสสาวะมีสีแดง หรือสีน้ำตาลเข้ม

3.  มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ

4.  มีอาการเจ็บปวดที่บริเวณท้องน้อย หรือมีก้อนที่ท้องน้อย

ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะไม่ออกต้องเบ่ง

5.  มีปัญหาเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

6.  มีไข้ร่วมด้วย

เมื่อมีอาการปัสสาวะบ่อย ดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อเรา อาทิเช่น

1. ขณะเข้าประชุมอบรมสัมมนา

ถ้าเรามีอาการปัสสาวะบ่อย ก็จะทำให้ไปเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ

ก่อให้เกิดความรำคาญ อับอายต่อที่ประชุมได้ หรือถ้าคนที่ไม่เข้าใจ

ในชีวิตเรา ก็จะมองว่าเราเสียมรรยาทที่ต้องเดิน ๆ  เข้า ๆ ออก ๆ

ห้องน้ำบ่อย ๆ ในขณะกำลังประชุม สัมมนา คิดว่าเราไปทำอะไรทำนองนี้

2. การปัสสาวะบ่อย มักจะปวดปัสสาวะแรงกว่าปกติ

กล่าวคือ คนที่มีอาการปัสสาวะบ่อย บางคนมักจะมีอาการ

ปวดปัสสาวะแรงจนกลั้นไม่อยู่ บางครั้งกำลังขับรถอยู่ปวดปัสสาวะ

แรง ถึงกีบฉี่ราดรดกางเกงในกางเกงนอกก็มี

3. การเข้าร่วมกิจกรรมกับสังคม

ถ้าเรามีอาการปัสสาวะบ่อย แน่นอนเราก็จะพะวงแต่

การไปเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ก่อให้เกิดความรำคาญ เวลาไปเข้าห้องน้ำ

ไม่ทันปวดปัสสาวะแรง กลั้นไม่อยู่ก็จะทำให้ฉี่รดผ้ากางเกงในกางเกงนอกก่อให้เกิดความอับอาย

    

การป้องกันรักษาอาการปัสสาวะบ่อย

1. การรักษาโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์ จะรักษายากกว่า

โรคเบาหวานที่เกิดจากพฤติกรรมการกิน

            อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องดูแลสุขภาพร่างกายของเราให้ดี

อยู่เสมอ ไม่กินตามอยาก ดูว่าอาหารชนิดใดมีความหวานมาก ก็

ให้งดรับประทาน หรือรับประทานให้น้อยลง  หมั่นสังเกต

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับการปัสสาวะ บันทึกความถี่และปริมาณคร่าวๆ ของปัสสาวะเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคและติดตามผลการรักษา รักษาสุขอนามัยที่ถูกต้องเกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะ

            การรักษา ขึ้นกับสาเหตุ วิธีการแก้ไขเบื้องต้น ส่วนใหญ่จะพบจากพฤติกรรมรอบ ๆ ตัวเราที่เปลี่ยนไปนั่นเอง ดังนั้นเริ่มแรกจึงแก้ไขไปตามสาเหตุเช่นที่เคยเริ่มปวดก็ไปห้องน้ำทันที ลองอดทนรอดูก่อน จนปวดมากหน่อยค่อยไป ค่อยใช้เวลานานขึ้นแล้วค่อยชินไปเอง ก่อนนอน ก่อนเดินทาง ไม่ควรดื่มน้ำมาก น้ำชา กาแฟ แอลกอฮอล์ ดื่มมากก็ถ่ายบ่อย การทานผลไม้ก่อนนอน แคนตาลูป สับปะรด องุ่น จะทำให้ปัสสาวะบ่อย

           ยาบางชนิดที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะก็ควรกินแต่วันหน่อย ฤทธิ์ขับปัสสาวะจะได้ห่างไป อากาศที่หนาวเย็น น้ำเย็น เป็นตัวกระตุ้นอย่างดี ด้านจิตใจก็มีความสำคัญเช่นกัน เช่น ตอนออกเดินทาง หากจิตใจมัวกังวลเรื่องห้องน้ำอยู่เสมอ คิดแต่เรื่องจะปวดปัสสาวะ ปวดแล้วจะไปพบห้องน้ำที่ไหน รอดูตลอดเวลาว่าจะปวดหรือยัง มีส่วนทำให้ปัสสาวะได้บ่อยเช่นกัน หากอาการแย่ลง ปัสสาวะบ่อยมากๆ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการหาตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพมาช่วย อย่างเช่น ยาน้ำสมุนไพร”ธนทร” มาดื่มร่วมกับยาแผนปัจจุบันและการไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้อาการปัสสาวะบ่อย ค่อยๆ บรรเทาลงได้

 

2. พืชสมุนไพรที่อาจจะช่วยได้       

1.  สารสกัดจากเมล็ดฟักทอง : อุดมด้วยน้ำมัน ที่ชื่อไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) ป้องกันต่อมลูกหมากโต ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้จากลูกอัณฑะให้อยู่ในระดับปกติลดความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยจะช่วยยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายไปเป็น DHT ที่เป็นสาเหตุของผมร่วงในเพศชาย และต่อมลูกหมากโต

           2. สารสกัดจากเมล็ดแฟลกซ์ : มีคุณสมบัติพิเศษ ที่จะช่วยป้องกันการเกิดของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และลำไส้ เพราะประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 อย่างคือ กรดไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3) ซึ่งจะช่วยยับยั้งการเติบโตของเนื้องอก และสารลิกแนนส์ (Lignans) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยป้องกันการเกิดของโรคมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก

           3. เปลือกกล้วย หรือ ผงกล้วยดิบ : ผงกล้วย หรือเปลือกกล้วยดิบ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง สามารถยับยั้งขบวนการอักเสบของเซลล์ หรือ ต่อมลูกหมากได้ดีมาก

          4. ไลโคปีน (Lycopene) จากมะเขือเทศ : ลดการเจริญเกินของต่อมลูกหมาก ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก ช่วยการทำงานของระบบประสาท และสังเคราะห์ฮอร์โมน ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ดีขึ้น ทำหน้าที่ป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์

          5. แร่ธาตุสังกะสี หรือ ซิงค์ : ช่วยให้ต่อมลูกหมากทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยในการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ให้ทำงานอย่างเต็มที่

          6. ยาสมุนไพรสูตรคนไทยชาวสยาม ยาแผนโบราณบำรุงร่างกาย ชนิดแคปซูล สกัดจากมหัศจรรย์สมุนไพรไทยสู่สากล คัดเกรดสมุนไพรระดับส่งออก ยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยให้เป็นที่รู้จักแก่ชาวโลก ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณ ทะเบียนยาเลขที่ G 356/62 สรรพคุณ : สำหรับผู้มีปัญหา ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกลางคืน ตื่นกลางดึก ปัสสาวะขัด ปัสสาวะกระปริบกระปรอย หรือ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อระบบกระเพาะปัสสาวะสมุนไพรจะช่วยดูแลระบบปัสสาวะทั้งหมดภายในร่างอย่างครบถ้วน บำรุงไต และฟื้นฟูขับของเสีย รวมถึงปรับสมดุลในร่างกาย พร้อมกับช่วยดูแลระบบขับถ่ายได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยสำหรับผู้ป่วยโรคไต ป้องกันโรคเบาหวาน ความดัน ไขมัน ไทรอยด์ นอนไม่หลับ ขับนิ่ว บำรุงร่างกายกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงตับ ไต ปอด สมอง และหัวใจ เสริมสร้างระบบไหลเวียนเลือดให้ทำงานได้ดีขึ้น

           3. ปรับพฤติกรรมการกิน การดื่ม การนอน

               ไม่กินอาหารหวานจัดจนเกินไป ไม่ดื่มน้ำที่มีสารคาเฟอิน ไม่นอนดึกจนเกินไป เช่น เกินเที่ยงคืน

-----------------

แหล่งข้อมูล

https://play.google.com/books/reader?id=Z6N-MAAAAEAJ&pg=GBS.PA7


 

หมายเลขบันทึก: 711155เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2023 02:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2023 02:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท