สัจจธรรมแห่งรัก


สภาพสังคมเราในขณะนี้ เรามักจะได้ยินได้ฟังข่าว ที่น่าเศร้าแทบทุกวัน โดยเฉพาะการฆาตกรรมเพราะเริ่องรัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความหึงหวง รักเพราะการปันใจ การเริ่มรักไม่ถูกทาง หรือเริ่มรักในความไม่สมดุล หรือการไม่นำหลักเตือนใจที่ว่า “ที่ใดมีรัก ที่นั้นมีทุกข์” มาพิจารณา (เพียงแต่เขาก็ไม่ต้องเตือนใจว่า “ที่ใดมีรัก ที่นั้นมีสุข” เพราะมันไม่ใช่ตัวปัญหาแต่อย่างใด) อนี่ง แม้ว่าเขาจะให้ข้อคิดไว้แล้ว่า “ศาลา นารี วิถี คงคา” เป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา และเป็นสำธารณะ อนัตตา ไม่ใช่ของใคร กล่าวคือ ใครมาก่อน ถึงก่อน คนนั้น ก็มีสิทธิ์ที่จะได้ประโยชน์ ได้ใช้สอย ได้พักพิง หรือได้ความเป็นเจ้าของ (นารี : สามี) ศาลา คนที่เดินทางมาไกล พอมาถึงศาลาที่เขาสร้างไว้ริมทาง ก็มีสิทธิ์จะได้พักนั่งหรือนอนพักผ่อน ดับทุกข์ คลายร้อน จากแดด ฝน หลังจากเดินทางไกล เหน็ดเหนื่อยมามากแล้ว นารี ใครจีบก่อน พูดได้เข้าอกเข้าใจกันก่อน ก็ย่อมมีโอกาสที่จะได้เป็นเจ้าของหรือสามี (สามี แปลว่า ผู้เป็นเจ้าของ) หรือได้แต่งงานกับเธอนั้นเอง วิถี ถนนหนทาง ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะใช้เสมอกัน ไม่ว่าจะเดินทางด้วยเท้า ใช้รถเล็ก รถใหญ่ รถจักรยาน หรือรถมอเตอร์ไซต์ เพราะถนนเป็นของสาธารณะ ทุกคนจึงมีสิทธิเสมอภาคกันในการที่จะได้ใช้สำหรับผู้มาถึงถนนนั้น คงคง หรือแม่น้ำ ถือว่าเป็นที่สาธารณะที่ทุกคนจะได้ใช้ประโยชน์เสมอภาคกัน คงไม่มีใครมาห้ามว่าอย่าอาบนะ อย่าลงเล่นนะ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าศักดิ์ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ฯลฯ ใครมาถึงแม่น้ำนั้นก็ย่อมมีสิทธิ์จะได้ใช้ประโยชน์ถ้วนหน้ากัน

สัจจธรรมแห่งรัก

 

 สัจจธรรมแห่งรัก

 

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

          ต้นปีใหม่ 2566 อยากจะพูดและเขียน เรื่อง

“สัจจแห่งรักรัก”

         ทำไม ?

          เพราะสภาพสังคมเราในขณะนี้ เรามักจะได้ยินได้ฟังข่าว

ที่น่าเศร้าแทบทุกวัน โดยเฉพาะการฆาตกรรมเพราะเริ่องรัก

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความหึงหวง รักเพราะการปันใจ การเริ่มรักไม่ถูกทาง หรือเริ่มรักในความไม่สมดุล หรือการไม่นำหลักเตือนใจที่ว่า

“ที่ใดมีรัก ที่นั้นมีทุกข์” มาพิจารณา (เพียงแต่เขาก็ไม่ต้องเตือนใจว่า

“ที่ใดมีรัก ที่นั้นมีสุข” เพราะมันไม่ใช่ตัวปัญหาแต่อย่างใด)

        อนี่ง แม้ว่าเขาจะให้ข้อคิดไว้แล้ว่า

        “ศาลา นารี วิถี คงคา” เป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา และเป็นสำธารณะ

        อนัตตา ไม่ใช่ของใคร กล่าวคือ ใครมาก่อน ถึงก่อน คนนั้น ก็มีสิทธิ์ที่จะได้ประโยชน์ ได้ใช้สอย ได้พักพิง หรือได้ความเป็นเจ้าของ (นารี : สามี)      

      ศาลา คนที่เดินทางมาไกล พอมาถึงศาลาที่เขาสร้างไว้ริมทาง ก็มีสิทธิ์จะได้พักนั่งหรือนอนพักผ่อน ดับทุกข์ คลายร้อน จากแดด ฝน หลังจากเดินทางไกล เหน็ดเหนื่อยมามากแล้ว

      นารี ใครจีบก่อน พูดได้เข้าอกเข้าใจกันก่อน ก็ย่อมมีโอกาสที่จะได้เป็นเจ้าของหรือสามี  (สามี แปลว่า ผู้เป็นเจ้าของ) หรือได้แต่งงานกับเธอนั้นเอง

       วิถี  ถนนหนทาง ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะใช้เสมอกัน ไม่ว่าจะเดินทางด้วยเท้า ใช้รถเล็ก รถใหญ่ รถจักรยาน หรือรถมอเตอร์ไซต์ เพราะถนนเป็นของสาธารณะ ทุกคนจึงมีสิทธิเสมอภาคกันในการที่จะได้ใช้สำหรับผู้มาถึงถนนนั้น

       คงคง   หรือแม่น้ำ ถือว่าเป็นที่สาธารณะที่ทุกคนจะได้ใช้ประโยชน์เสมอภาคกัน  คงไม่มีใครมาห้ามว่าอย่าอาบนะ อย่าลงเล่นนะ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าศักดิ์ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ฯลฯ  ใครมาถึงแม่น้ำนั้นก็ย่อมมีสิทธิ์จะได้ใช้ประโยชน์ถ้วนหน้ากัน

     นอกจากนี้ เขาให้ปริศนาเรื่อง “ทุกข์เพราะมีภรรยา 4 คน”

เพราะไม่เข้าใจในภรรยา และให้ความรักไม่เท่ากัน กล่าวคือ

        กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ชายคนหนึ่ง มีภรรยา 4 คน จะเป็น

ความโชคดีหรือโชคร้ายของเขาก็ไม่รู้ เพราะการที่เขามีภรรยา 4 คน เขาให้ “ความรักกับภรรยาไม่เท่ากัน”

        ภรรยาคนที่หนึ่ง รูปร่างสวยงามมาก เขารักที่สุด เขาจะไปไหน

ก็พาไปด้วยเสมอ ตามใจตลอด เธออยากได้อะไร เขาหาให้ทุกอย่าง เพราะเขารักมาก ถ้าเปรียบแล้วก็คงไม่ต่างจากกิ๊กสาวที่รูปร่างหน้าตายังสวยสดงดงาม เพราะหุ่นรูปร่างยังดูดี และเขายังพูดกับเธอเสมอว่า ถึงแม้จะเป็น

นางรอง แต่ก็เป็นนางเอกประจำใจเขาเสมอ

 

 

         ภรรยาคนที่ 2 สวยงามรองลงมา เขารักมากรองจากภรรยาคนที่ 1 เขาจะทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อภรรยาคนนี้เกือบจะเท่าภรรยาคนที่ 1 ก็ว่าได้ และจะไปหาภรรยาคนนี้เสมอ ถ้าเปรียบแล้วก็คงไม่ต่างจากภรรยาน้อยที่สวยงามเขาก็รักรองลงมา

 

        ภรรยาคนที่ 3 สวยงามรองลงมา

        เขารักดูแลเอาใจใส่พอสมควร แวะไปหาบางเป็นครั้งคราว ถ้าเปรียบแล้ว คงไม่ต่างจากภรรยารองลงมาจากภรรยาคนที่สอง

       ภรรยาคนที่ 4 หุ่นก็ไม่งาม เพราะเธออาจจะสูงวัย

       “ซึ่งความจริงทุกคนย่อมจะเป็นเหมือนตัวเธอ” เพราะอายุมากแล้ว เขาไม่เคยสนใจ ไม่เคยไปดูแลเอาใจใส่ ไม่เคยไปหา ไม่คิดถึงเลย

ด้วยซ้ำ ถ้าเปรียบแล้วก็คงเป็นดังเช่นภรรยาหลวง (เอาไว้บนหิ้ง)

      ต่อมาชายคนนี้ได้ไปทำความผิดอาญามีโทษร้ายแรงสถานหนักจนถึงต้องถูกลงโทษถูกประหารชีวิต

      ก่อนที่เขาจะถูกประหารชีวิต ผู้คุมก็ถามเขาว่า “มีใครจะสั่งเสีย

ไหม” เขาก็บอกกับผู้คุมว่า เขาอยากขอกลับบ้านเพื่อไปอำลาภรรยาสุดที่รักก่อน เพราะเป็นห่วงภรรยามาก

      ผู้คุมก็เห็นใจจึงอนุญาตให้เขาไปเยี่ยมภรรยา เมื่อเขากลับมาถึงบ้านเขาก็รีบตรงไปหาภรรยาคนที่ 1 และได้เล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้ภรรยาคนที่ 1 ฟังและถามภรรยาคนที่ 1 ว่า

     "ถ้าพี่ตาย น้องจะทำอย่างไร ? " 

     ภรรยาคนที่ ก็ตอบด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นว่า 

     "ถ้าพี่ตาย เราก็จบกัน”

     คำตอบที่เขาได้รับเหมือนสายฟ้าที่ผ่าเปรี้ยง !! ลงมาที่เขาอย่างจัง เขารู้สึกเจ็บปวดและเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เขานึกเสียดายว่า เขาได้ทุ่มเท

ความรักให้กับภรรยาคนนี้มาก แต่กลับได้รับคำตอบหรือผลที่ไม่คาดฝัน เขาคิดในใจว่า “เราไม่น่าทุ่มเทความรักให้กับภรรยาคนนี้เลย”

       จากนั้นเขาก็ไปหาภรรยาคนที่ 2 ด้วยอาการที่เศร้าโศก เล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ภรรยาคนที่สองฟังและถามคำถามเดิมกับภรรยาคนที่ 2 ว่า 

      "ถ้าพี่ตาย น้องจะทำอย่างไร? "

       ภรรยาคนที่ 2 ก็ตอบอย่างหน้าตาเฉย ว่า 

      "ถ้าพี่ตาย น้องจะมีใหม่ " 

       เหมือนกับสายฟ้า!! ผ่าลงมาซ้ำที่เขาอย่างจัง เขารู้สึกเสียใจมาก และนึกเสียดายว่า ที่ผ่านมาเขาไม่น่าทุ่มเทความรักให้กับภรรยาคนนี้เลย

เขาเดินคอตกมาหาภรรยาคนที่ 3 เล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ภรรยาคนที่ 3 ฟัง และก็ถามภรรยาคนที่ 3 ด้วยคำถามเดิมว่า 

      "ถ้าพี่ตาย น้องจะทำอย่างไร ?"

       ภรรยาคนที่ 3 ก็ตอบว่า "ถ้าพี่ตาย น้องจะไปส่ง" 

       พอได้ฟังภรรยาคนที่ 3 พูด เขารู้สึกคลายความเศร้าโศกลงได้บ้าง

เขาคิดว่าอย่างน้อยก็ยังมีภรรยาที่จริงใจกับเขา ก่อนกลับไปรับโทษเขานึกได้ว่ายังมีภรรยาอีกคน ซึ่งไม่เคยไปมาหาสู่เลย เขาจึงไปหาภรรยาคน

ที่ 4 และถามว่า "ถ้าพี่ตาย น้องจะทำอย่างไร ?" 

       ภรรยาคนที่ 4 ก็ตอบ ว่า "ถ้าพี่ตาย น้องจะตายตาม"

       พอเขาได้ฟังภรรยาคนที่ 4 พูด แทนที่เขาจะดีใจ เขากลับนึกเสียใจหนักขึ้นไปอีก เพราะ...มันสายเกินไปเสียแล้ว ช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ เขาไม่เคยเห็นคุณค่าของภรรยาคนนี้เลย ไม่ได้ทุ่มเทเอาใจใส่แม้แต่น้อย แต่

ภรรยาคนนี้ซื่อสัตย์ ภักดีไม่คิดที่จะทิ้งเขา จะติดตามเขาไปอยู่ด้วย หรื่อ

ตายตามเขา

 

      ต่อมาชายคนนี้ก็กลับไปรับโทษประหารและเมื่อเขาตาย ภรรยาคน

ที่ 4  ก็ตายตามไปด้วย

     การพิจารณาตามหลักธรรม

        ที่ใดมีรัก  ที่นั้นย่อมมีทุกข์ 

        คือทุกข์“เกิดจากการพลัดพรากจากคนอันเป็นที่รัก”

        ก็เป็นธรรมดาของโลก ทีนี้เรามานึกตรองตามหลักธรรมดูบ้าง
จะได้ไม่เป็นทุกข์ เพราะเราอยากมีรัก ก็พร้อมที่จะเผชิญกับความทุกข์นั้น

ภรรยาคน ที่ เปรียบเสมือนร่างกายของเรา 

        เพราะร่างกายของเรา เวลาเรามีชีวิตอยู่ เราจะบำรุงบำเรอด้วยสิ่งของทุกอย่าง
อยากได้อะไรก็หามาให้ แต่พอเราตายมันกลับไม่ไปกับเรา เมื่อเราตาย
ร่างกายมันก็มีค่าเท่ากับท่อนไม้ท่อนหนึ่งเท่านั้นเอง

 

ภรรยาคน ที่ 2 เปรียบเสมือนทรัพย์สมบัติ 

          เพราะทรัพย์สมบัติ เวลาเรามีชีวิตอยู่ เราจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มันมา
แต่พอเราตาย มันกลับไม่ไปกับเรา แต่กลับไปเป็นของคนอื่น

ภรรยาคนที่ เปรียบเสมือนพ่อแม่ ลูก เมีย ญาติ พี่ น้อง 

         เพราะพ่อแม่ ลูก เมีย ญาติ พี่ น้อง เวลาเราตาย เขาจะจัดการ

ปลงศพให้เรา ทำบุญกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้เรา แปลว่า เขาแค่ไปส่งเราเท่านั้น ส่วน

ภรรยา คนที่ เปรียบเสมือนบุญและบาป 

        เพราะบุญและบาป “จะตามเราไป เหมือนเงาตามตัว”

        เมื่อเราตายไป เราไม่สามารถนำอะไรไปได้ มีเพียงแค่บุญและบาปเท่านั้น
ที่จะติดตามดวงวิญญาณเราไป 

       ทำดี ไปสู่สุคติ (สวรรค์)

      ทำชั่ว ก็ไปสู่ทุคติ (นรก)

       หากคุณถูกพันธนาการด้วยรัก คุณจะเป็นนักโทษที่มีความสุขมากที่สุด
ถ้าคุณเข้าใจในความรักของภรรยาแต่ละคนเป็นอย่างดี ไม่ต้อง

น้อยใจ เพราะรัก ต้องเข้าใจในรัก เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องไปน้อยอก

น้อยใจ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่ใช่ของใคร และไม่มีใครสามารถ
ที่จะทำให้เป็นไปได้ดังปรารถนาทุกอย่าง ทุกอย่างย่อมเป็นไปตามดังวัฏจักร

สงสาร เท่านั้นเองครับ

สัจจธรรมแห่งรัก

      บ่อเกิดของความรัก  หลักธรรมในทางพุทธศาสนาได้มีการกล่าวถึง
บ่อเกิดของความรักไว้ ดังพุทธภาษิตว่า

 “ปุพฺเพว สนฺนิวาเสน ปจฺจุปนฺนหิเตน วา

เอวนฺตํ ชายเต เปมํ อุปฺปลํ ว ยโถทเก”

 แปลว่า ความรัก ย่อมเกิด เพราะอาศัยเหตุ ๒ ประการคือ

เพราะอยู่ร่วมกันในปางก่อน ๑ เพราะเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑

 

ความรักเกิดเพราะอยู่ร่วมกันในปางก่อน

       ความรักนี้เรียกว่า บุพเพสันนิวาส คือการได้เคยอยู่ร่วมกันในอดีตชาติ
หรือได้สร้างบุญสร้างกุศลร่วมกันมาก่อน ทำอะไรตรงตามกัน
มีความเห็นสอดคล้องเหมือนกัน เมื่ออยู่ด้วยกันแล้วมีความสุข
เป็นเหตุส่งผลให้ได้มาเป็นคู่ครองกันในปัจจุบัน บุพเพสันนิวาสบางครั้ง
อาจจะได้อยู่ร่วมกันในฐานะอื่นก็ได้

  ความรักเกิดเพราะเกื้อกูลกันในปัจจุบัน

          ความรักนี้ ในกรณีซึ่งไม่ใช่บุพเพสันนิวาส แต่อาศัยความใกล้ชิดสนิทสนมกัน
อาศัยความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในปัจจุบัน เห็นอกเห็นใจกันในปัจจุบัน
จะส่งผลให้เป็นเนื้อคู่กันในปัจจุบันและในอนาคตต่อไปได้

 

หลักธรรมะเกี่ยวกับความรัก

       แม้เป้าหมายหลักของพระพุทธศาสนาคือการเดินทางไปสู่ความหลุดพ้นจากกิเลสหรือกองทุกข์ทั้งปวง ก็จริง แต่ก็เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ระหว่างทางเดินนี้ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะยังมีอุปนินัย หรือบารมียังไม่แก่กล้าเหมือนกัน หรือเท่ากัน เพราะฉะนั้น บางคนยังคงต้องวนเวียนอยู่กับความรัก เพื่อไม่ให้หลงใหลไปในวังวนแห่งความรัก และต้องบาดเจ็บจากการรักอย่างไม่ถูกต้อง พระพุทธศาสนาจึงมีหลักธรรม

คำสอนเกี่ยวกับความรักในระดับต่าง ๆ เพื่อให้นำไปปรับใช้กันได้เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพบริบทของแต่ละคนดังนี้

1.  หลักธรรมสำหรับการรักตัวเอง

         คนเราทุกคนย่อมรักตัวเอง ไม่มีใครอยากให้ตัวเองต้องเจ็บป่วย ลำบาก หรือประสบพบเคราะห์ร้ายใดๆ มีคำกล่าวไว้ว่า หากเราไม่รู้จักรักตัวเองก่อนเราจะรักคนอื่นได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ความรักในขั้นแรกคือการรักตัวเองอย่างถูกต้อง

      พระพุทธศาสนามีหลักธรรมเบื้องต้นสำหรับทุกคนคือหลัก เบญจศีล เบญจธรรม แม้จะไม่สนใจการปฏิบัติภาวนาใดๆ แต่ก็ไม่ควรละทิ้งหลักเบญจศีล เบญจธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมง่ายๆ ในการดำรงชีวิต อันจะนำมาซึ่งชีวิตที่เป็นปกติสุข ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ ห่างไกลภัยอันตรายต่างๆดังที่ทุกคนปรารถนานั่นเอง

2.  หลักธรรมในการครองรักครองชีวิตคู่

2.1 สัจจะ  ซื่อสัตย์และจริงใจต่อกัน

      เมื่อเรามีเป้าหมายที่จะมามีหุ้นส่วนชีวิต หรือรวมกันเป็น

หนึ่งเดียวแล้ว เราต้องซื่อส้ตย์ และจริงใจต่อกันเสมอ

2.2    ทมะ  รู้จักข่มใจข่มใจเอาไว้ได้ในยามโกรธ หรือวิกฤติชีวิต

ให้ฉลาดทางอารมณ์และเฉียมคมทางปัญญา แก้ปัญหา หรือหาทางออก

ที่ดีเสมอ

2.3   ขันติ  มีความอดกลั้น อดทน

เพราะชีวิตครอบครัว ย่อมจะมีปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ

นานา ตอนแรกอาจจะมีเพียงสองคน แต่ต่อมาก็มีบุตรธิดา เราต้องดูแล

ทั้งคนรักและบุตรธิดา ซี่งต้องใช้ความอดทนเป็นพิเศษ เพราะมีห่วงเกิด

ขึ้นมาเมี่อเรามีบุตรธิดา เหมือนกับแก้วตา ดวงใจ

2.4       จาคะ เสียสละและให้อภัยกันได้

นั้น คือ เราอาจะพลั้งเผลอทำความผิดไปเพราะขาด

การยับยั้งชั่งใจ เกิดความเสียหายขึ้นมา เราต้องเข้าอกเข้าใจกัน

ประดุจคำที่ว่า  “ความผิดพลาด เป็นของมนุษย์ แต่การให้อภัยกัน

เป็นของเทวดา และพรหม” หรือ “คนที่ไม่ทำผิดพลาด คือคนที่ไม่ได้

ทำอะไรเลย”

3.  คิหิปฏิบัติ ข้อปฏิบัติสำหรับคนครองเรือน

           คิหิปฏิบัติ จตุกกะ คือหมวด ๔

ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง

            ๑. อุฏฐานสัมปทา    ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร

            ๒. อารักขสัมปทา    ถึงพร้อมด้วยการรักษา

            ๓. กัลยาณมิตตตา  ความมีเพื่อนเป็นคนดี

            ๔. สมชีวิตา          ความเลี้ยงชีวิตตามสมควร

 

๑.    อุฏฐานสัมปทา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยความ

ขยันหมั่นเพียร คือ มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษา ในการประกอบอาชีพการงาน ในการทำหน้าที่ต่างๆ เป็นต้น เพื่อเป็นการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในหน้าที่ของตน

            ๒. อารักขสัมปทา หมายถึง ความถึงพร้อมด้วยรักษา รู้คุณค่าของสิ่งต่างๆที่หามาได้ทั้งทรัพย์สินเงินทอง ความรู้ เป็นต้น รู้จักเก็บรักษาดูแลให้ดี ใช้อย่างมีประโยชน์ เกิดเป็นความสุข

            ๓. กัลยาณมิตตตา หมายถึง ความมีเพื่อนเป็นคนดี คือ คบบัณฑิต ไม่คบคนพาล

            ๔. สมชีวิตา หมายถึง เลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ แต่พอเหมาะพอควร ไม่ใช้ฟุ่มเฟือย

             สรุป  ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ เป็นหัวใจที่ทำให้เป็นเศรษฐี

มีบทย่อว่า อุ อา กะ สะ

 สัมปรายิกัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์ในภพชาติหน้า ๔ ประการ

            ๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือ มีความเชื่อใน สิ่งที่ควรเชื่อ เช่น ทำดีย่อมได้ผลดีจริง ทำชั่วย่อมได้ผลชั่วจริง

            ๒. สีลสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยศีล คือ การรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย ด้วยการรักษาศีล ๕  ศีล ๘ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์

            ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน คือ การบริจาคสิ่งของของตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

            ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ มีปัญญาสอนตนเองได้ว่า สิ่งนี้เป็นบาป ควรเว้น สิ่งนี้เป็นบุญควรทำ เป็นต้น

มิตรปฏิรูป  คือ  มิตรเทียมหรือคนเทียมมิตร  ไม่ควรคบ  มี ๔ จำพวก

๑. คนปอกลอก มี ๔ ลักษณะ คือ

             ๑. คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว คือ มุ่งหวังผลประโยชน์จากเพื่อน

             ๒. เสียให้น้อย คิดเอาให้ได้มาก คือ เอารัดเอาเปรียบเพื่อน

             ๓. เมื่อมีภัยมาถึงตัว จึงรับทำกิจของเพื่อน คือ ยามมีทุกข์   นึกถึงเพื่อน มีสุขลืมเพื่อน

             ๔. คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตน คือ เมื่อมีประโยชน์ต่อกันอยู่ก็คบเป็นเพื่อน พอหมดประโยชน์   แล้วก็ไม่สน

๒. คนดีแต่พูด มี ๔ ลักษณะ คือ

            ๑. เก็บเอาของที่ล่วงแล้วมาปราศรัย คือ ดีแต่พูดไม่มีผล ในปัจจุบัน

            ๒. อ้างเอาของที่ยังไม่มีมาปราศรัย คือ พูดแต่เรื่องที่ไม่มี

ความแน่นอน

            ๓. สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้ คือ ช่วยเหลือเพื่อน ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้

            ๔. ออกปากพึ่งมิได้ คือ ยามเพื่อนเดือดร้อนมักมีข้ออ้างเสมอ

๓. คนหัวประจบ มี ๔ ลักษณะ คือ

            ๑. จะทำชั่วก็คล้อยตาม คือทำความชั่วตามเพื่อนเมื่อมีภัยหนีเอาตัวรอด

            ๒. จะทำดีก็คล้อยตาม คือ ทำความดีตามเพื่อนอย่างเสียไม่ได้

            ๓. ต่อหน้าว่าสรรเสริญ คือ สรรเสริญเยินยอว่า ดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้

            ๔. ลับหลังนั่งนินทา คือ พอลับหลังก็นินทาว่าร้ายเพื่อนเก็บความลับไม่อยู่

 ๔. คนชักชวนในทางฉิบหาย มี ๔ ลักษณะ คือ

            ๑. ชักชวนดื่มน้ำเมา คือ ชวนดื่มน้ำเมาเสพติดให้โทษ

            ๒. ชักชวนเที่ยวกลางคืน คือ ชวนเที่ยวกลางคืนในสถานบันเทิงต่างๆ

            ๓. ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น คือ เล่นจนเพลินไม่ดูเวลา

            ๔. ชักชวนเล่นการพนัน คือ ชวนเล่นการพนัน ทำให้เสียทรัพย์

 มิตรแท้ คือ มิตรที่ดีหรือกัลยาณมิตร มี ๔ จำพวก

๑. มิตรมีอุปการะ มี ๔ ลักษณะ คือ

            ๑. ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว คือ มีสติช่วยเหลือเพื่อนเมื่อได้รับอันตราย

            ๒. ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว คือ ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติไม่ให้ใช้ในทางที่ผิด

            ๓. เมื่อมีภัย เอาเป็นที่พึ่งพำนักได้ คือไม่ทิ้งเพื่อน

            ๔. เมื่อมีธุระ ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก คือ ช่วยเหลือเพื่อนด้วยความจริงใจ

 ๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มี ๔ ลักษณะ คือ

            ๑. ขยายความลับของตนแก่เพื่อน คือ เป็นคนเปิดเผยจริงใจ

            ๒. ปิดความลับของเพื่อนไม่ให้แพร่งพราย คือ ไม่ขายเพื่อน

            ๓. ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ คือ เพื่อนเดือนร้อนก็รีบขวนขวายช่วยเหลือ

            ๔. แม้ชีวิตก็อาจสละแทนได้ คือ เมื่อเพื่อนตกอยู่ในอันตรายก็ช่วยเหลือไม่คำนึงถึงชีวิตตน

 

๓. มิตรแนะประโยชน์ มี ๔ ลักษณะ คือ

            ๑. ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว ชี้แจงให้เห็นโทษของการทำความชั่ว

            ๒. แนะนำให้ตั้งอยู่ความดี คือ ชี้แจงผลที่ได้จากการทำความดีอยู่เสมอ

            ๓. ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง คือ หมั่นเล่าเรื่องดีๆมีประโยชน์ให้เพื่อนฟัง

            ๔. บอกทางสวรรค์ให้ คือ ชักชวนในการบำเพ็ญกุศล เช่น ทำทาน เป็นต้น

๔. มิตรมีความรักใคร่ มี ๔ ลักษณะ คือ

       ๑. ทุกข์ ทุกข์ด้วย คือ ร่วมทุกข์

       ๒. สุข สุขด้วย คือ ร่วมสุข

       ๓. โต้เถียงคนที่พูดติเตียนเพื่อน คือปกป้องเพื่อนไม่ให้ใครว่าร้าย

       ๔. รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน คือ ยินดีที่ผู้อื่นสรรเสริญเพื่อน

 

สังคหวัตถุ คือ ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจผู้อื่น  ๔ อย่าง

             ๑. ทาน ให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน คือ เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลด้วยวัตถุบ้าง  ด้วยการแนะนำความรู้บ้าง เป็นต้น (โอบอ้อมอารี)

             ๒. ปิยวาจา เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน คือ พูดจาแต่คำที่มีประโยชน์ รู้จักกาลเทศะ บุคคล สถานที่ เป็นถ้อยคำที่น่ารัก ไพเราะ เป็นต้น (วจีไพเราะ)

             ๓. อัตถจริยา   ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ คือ เป็นการช่วยเหลือกิจการงานผู้อื่นไม่นิ่งดูดาย ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น (สงเคราะห์ชุมชน)

             ๔. สมานัตตตา ความเป็นคนวางตนเสมอต้นเสมอปลายไม่ถือตัว  คือ  รู้จักการวางตัวให้ถูกต้อง  วางตัวให้เสมอต้นเสมอปลายไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ทำตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้ดี (วางตนพอดี)

 

คิหิปฏิบัติ คือข้อควรปฏิบัติสำหรับคฤหัส

        มิจฉาวณิชชา คือ การค้าขายที่ไม่ชอบธรรม ๕ ประการ

๑.   ค้าขายเครื่องประหาร

ได้แก่ ปืน หอก ดาบ ลูกระเบิด เป็นต้น

๒.   ค้าขายมนุษย์

ได้แก่ การค้ามนุษย์เพื่อเป็นทาสหรือขาย ตัว เป็นต้น

๓.   ค้าขายสัตว์เป็นสำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร

ได้แก่ หมู เป็ด   ไก่ ปลา เป็นต้น

            ๔. ค้าขายน้ำเมา ได้แก่ สุราเมรัย ไวน์ สิ่งเสพติดทุกชนิด

            ๕. ค้าขายยาพิษ สำหรับฆ่ามนุษย์ และสัตว์ทั้งปวง

 

คุณสมบัติของอุบาสก มี ๕ ประการ

            ๑. ประกอบด้วยศรัทธา  คือ เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อในกฎแห่งกรรมทำดีได้ดีจริง ทำชั่วได้ชั่วจริง

            ๒. มีศีลบริสุทธิ์ คือ รักษาศีล ๘ หรืออุโบสถศีลให้สะอาดบริสุทธิ์

            ๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือ เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล ไม่เป็นคนหูเบาเชื่อง่าย

            ๔. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา คือ ไม่ปฏิบัติกิจหรือพิธีกรรมต่างๆ อันไม่ใช่หลักพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

            ๕. บำเพ็ญบุญแต่ในพระพุทธศาสนา คือ แสวงหาหรือเข้าร่วมกิจกรรมงานบุญในพระพุทธศาสนา เช่น ทำทาน  รักษาศีล เป็นต้น

 คิหิปฏิบัติ ข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัส

        ทิศ 6 แปลว่า ด้านหรือข้าง  ในที่นี้หมายถึง บุคคลที่ปรากฏเกี่ยวข้องอยู่รอบด้านเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับตัวเราทุกระดับชั้น มี

๖ ทิศ ๆ ละ ๕ บ้าง ๖ บ้าง ตามหน้าที่ดังนี้

       ๑. ปุรัตถิมทิส คือ ทิศเบื้องหน้า มารดาบิดา มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติต่อบุตร ๕ ประการ

            ๑. ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว

            ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี

            ๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา

            ๔. หาคู่ครองที่สมควรให้

            ๕. มอบทรัพย์ให้ในสมัย

บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดาด้วยสถาน ๕ ดังนี้

            ๑. ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ

            ๒. ช่วยทำกิจของท่าน

            ๓. ดำรงวงศ์สกุล

            ๔. ประพฤติตนให้เป็นคนควรรับทรัพย์มรดก

            ๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

  2.  ทักขิณทิส คือ ทิศเบื้องขวา ครูอาจารย์

มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติต่อศิษย์ ๕ ประการ

            ๑. แนะนำดี

            ๒. ให้เรียนดี

            ๓. บอกศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง ไม่ปิดบังอำพราง

            ๔. ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง

            ๕. ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย

ศิษย์พึงบำรุง ครูอาจารย์ด้วยสถาน ๕ ดังนี้

            ๑. ด้วยลุกขึ้นยืนรับ

            ๒. ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้

            ๓. ด้วยเชื่อฟัง

            ๔. ด้วยอุปัฏฐาก

            ๕. ด้วยเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ

      ๓. ปัจฉิมทิส คือ ทิศเบื้องหลัง บุตรภรรยา มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติต่อสามี ๕ ประการ

            ๑. จัดการงานดี

            ๒. สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามีดี

            ๓. ไม่ประพฤตินอกใจสามี

            ๔. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้

            ๕. ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง

สามีพึงบำรุงภรรยาด้วยสถาน ๕ ดังนี้

            ๑. ด้วยยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา

            ๒. ด้วยไม่ดูหมิ่น

            ๓. ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ

            ๔. ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้

            ๕. ด้วยให้เครื่องแต่งตัว

๔. อุตตรทิส คือ ทิศเบื้องซ้าย มิตรสหาย มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติต่อเพื่อน ๕ ประการ

            ๑. รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว

            ๒. รักษาทรัพย์ของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว

            ๓. เมื่อมีภัย เอาเป็นที่พึ่งพำนักได้

            ๔. ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ

            ๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร

กุลบุตรพึงบำรุงมิตรสหายด้วยสถาน ๕ ดังนี้

            ๑. ด้วยให้ปัน

            ๒. ด้วยเจรจาถ้อยคำไพเราะ

            ๓. ด้วยประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์

            ๔. ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ

            ๕. ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง

      ๕. เหฏฐิมทิส คือ ทิศเบื้องต่ำ บ่าวไพร่ มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติต่อนาย ๕ ประการ

            ๑. ลุกขึ้นทำการงานก่อนนาย

            ๒. เลิกทำการงานทีหลังนาย

            ๓. ถือเอาแต่สิ่งของที่นายให้

            ๔. ทำการงานให้ดีขึ้น

            ๕. นำคุณของนายไปสรรเสริญในที่นั้นๆ

 

นายพึงบำรุงบ่าวไพร่ด้วยสถาน ๕ ดังนี้

            ๑. ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง

            ๒. ด้วยให้อาหารและรางวัล

            ๓. ด้วยรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้

            ๔. ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน

            ๕. ด้วยปล่อยในสมัย

๖. อุปริมทิส คือ ทิศเบื้องบน สมณพราหมณ์ มีหน้าที่จะต้องอนุเคราะห์ต่อกุลบุตร ๖ ประการ

            ๑. ห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว

            ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี

            ๓. อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม

            ๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง

            ๕. ทำสิ่งที่เคยได้ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง

            ๖. บอกทางสวรรค์ให้

กุลบุตรพึงบำรุงสมณพราหมณ์ด้วยสถาน ๕ ดังนี้

            ๑. ด้วยกายกรรม คือ ทำอะไรๆ ประกอบด้วยเมตตา

            ๒. ด้วยวจีกรรม คือ พูดอะไรๆ ประกอบด้วยเมตตา

            ๓. ด้วยมโนกรรม คือ คิดอะไรๆ ประกอบด้วยเมตตา

            ๔. ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู คือ ไม่ได้ห้ามเข้าบ้านเรือน

            ๕. ด้วยให้อามิสทาน

  

อบายมุข คือ ปากทางแห่งความเสื่อมมี  ๖ อย่าง

     ๑. ดื่มน้ำเมา ย่อมได้รับความเสื่อม มีโทษ ๖ ประการ

            ๑. เสียทรัพย์                                      

            ๒. ก่อการทะเลาะวิวาท

            ๓. เกิดโรค                                         

            ๔. ถูกติเตียน

            ๕. ไม่รู้จักอาย                        

            ๖. ทอนกำลังปัญญา

  ๒. เที่ยวกลางคืน ย่อมได้รับความเสื่อม มีโทษ ๖ ประการ

            ๑. ชื่อว่าไม่รักษาตัว                           

            ๒. ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย

            ๓. ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ

            ๔. เป็นที่ระแวงของคนทั้งหลาย

            ๕. มักถูกใส่ความ                              

            ๖. ได้รับความลำบากมาก

 

     ๓. เที่ยวดูการเล่น ย่อมได้รับความเสื่อม มีโทษ ๖ ประการ

            ๑. รำที่ไหน ไปที่นั่น

            ๒. ขับร้องที่ไหน ไปที่นั่น

            ๓. ดีดสีตีเป่าที่ไหน ไปที่นั่น

            ๔. เสภาที่ไหน ไปที่นั่น

            ๕. เพลงที่ไหน ไปที่นั่น

            ๖. เถิดเทิงที่ไหน ไปที่นั่น

  

     ๔. เล่นการพนัน ย่อมได้รับความเสื่อม มีโทษ ๖ ประการ

            ๑. เมื่อชนะ ย่อมก่อเวร

            ๒. เมื่อแพ้ ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป

            ๓. ทรัพย์ย่อมฉิบหาย

            ๔. ไม่มีใครเชื่อถือถ้อยคำ

            ๕. เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน

            ๖. ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย

 

    ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ย่อมได้รับความเสื่อม มีโทษ ๖ ประการ

            ๑. นำให้เป็นนักเลงเล่นการพนัน

            ๒. นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้

            ๓. นำให้เป็นนักเลงเหล้า

            ๔. นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม

            ๕. นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า

            ๖. นำให้เป็นนักเลงหัวไม้

      ๖. เกียจคร้านทำการงาน มักอ้างเลศ ๖ สถานดังนี้

            ๑. มักอ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน

            ๒. มักอ้างว่าร้อนนัก แล้วไม่ทำการงาน

            ๓. มักอ้างว่าเวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน

            ๔. มักอ้างว่ายังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน

            ๕. มักอ้างว่าหิวนัก แล้วไม่ทำการงาน

            ๖. มักอ้างว่ากระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน

ข้อคิดสัจจธรรมแห่งรักจากบทเพลง

         ในบทเพลงต่าง ๆ ก็ได้สะท้อนสัจจธรรมแห่งรักไว้ในบทเพลง

หมอลำ ทั้งไทย และต่างประเทศ  ดังจะยกมาพอเป็นตัวอย่าง ดังนี้

 https://youtu.be/ZbzThD_7yjQ

 

 
https://youtu.be/JZCI9FGRmzA

 

 https://youtu.be/kb-qrexNsR0


https://youtu.be/QRAGoUbj2pA

 

 https://youtu.be/dVefSF-ZIPA


https://youtu.be/l4AFINV1GMg


https://youtu.be/UBfSh89Sl7k


https://youtu.be/b4GlV5M1I88

https://youtu.be/fver9eyKK9k

 https://youtu.be/kOG4w_rHS38

https://youtu.be/4mYRxo63KCA


https://youtu.be/PVXbS0D-dME

https://youtu.be/byoY4s2Kw0A


https://youtu.be/WC_-QAvtFdg

 

https://youtu.be/Kv9Cciszayk

https://youtu.be/89lkMjaENl8

 

https://youtu.be/IzqHzKJ2020

 

สรุป

     สัจจธรรมแห่งรัก  คือ รักที่เป็นจริง เป็นอมตะ เสมือนไม่ตาย

ถือไม้เท้ายอดทอง ไม้กระบองยอดเพชร  อยู่กันจนจนตายไปจากกัน

ตามแต่ชีวิตสังขาร หรือบุญทำ กรรมแต่ง เป็นรักที่เข้าใจในรัก

เป็นรักที่ไม่เศร้าโศก ที่จะเกิดเพราะความไม่เข้าใจกัน เพราะ

ความเข้าใจผิด เป็นยาพิษแห่งมิตรภาพ และแห่งรัก

  

       ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ท่าน และขอให้โชคดีมีสุข

หมดทุกข์โศกโรคภัย และสมหวังดั่งใจปองทุกประการ



 


 

หมายเลขบันทึก: 711117เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2023 03:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2023 00:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท