การเลือกตั้ง ส.ส. ผู้แทนประชาชน ประชาธิปไตยแบบไทยไทยของไทย


การที่จะทำให้ประชาธิปไตยแบบไทยไทยเป็นประชาธิปไตยเต็มใบ ก็อยู่ที่ประชาชาชนทุกคน มีพลังเข้มแข็งเหนียวแน่น เลือกคนดีเช้าไปทำ หน้าที่ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร เช่น เป็นผู้มีการศึกษาดีพอที่จะไปออกกฎหมาย หรือเสนอกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือต่อชาติบ้านเมืองได้ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่เคยมีประวัติคดโกงมาก่อน หรือไม่เคยถูกลงโทษจำคุกในข้อหาทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือเคยถูกจำคุกหรือถูกไล่ออกจากงานไม่ว่างานเอกชน งานราชการในข้อหาผู้เสพ ผู้ค้ายาเสพติดให้โทษ เช่น ยาบ้า ยาอี เป็นต้น หรือถูก ป.ป.ช.ชี้มูลว่าเป็นบุคคที่ทุจริตต่อหน้าที่การงานอย่างชัดเจนเปีนรูปธรรม เป็นผู้ที่มีประวัติ การทำงานหรือผลงานที่ผ่านมาดีพอและเป็นที่ยอมรับของประชาชนได้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและรู้จักเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ เป็นผู้ที่เข้าถึงประชาชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ประชาชนเข้าหาได้ง่าย ติดดิน เข้าใจคนรากหญ้า เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาแก้ไข โดยเสนอเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เป็นแบบอย่างของการรู้จักรักษาประโยชน์ของส่วนรวมไม่มี พฤติกรรมฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง เช่น แจกเงินหรือสิ่งของเพื่อให้ผู้ใดลงคะแนนให้ตนเอง หรือไม่ลงคะแนนให้กับผู้สมัครอื่น หรือพรรคอื่นๆ เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการประชุม และเลือกเข้าไปแล้วสามารถ ทำหน้าที่ ส.ส. คือเข้าประชุมเพื่อพิจารณาข้อกฎหมายต่าง ๆ ได้เป็น อย่างดี ไม่ขาดประชุมโดยไม่มีสาเหตุ หรือเหตุสุดวิสัย เป็นผู้ที่เชื่อได้ว่า ไม่ยอมให้ใครมาซื้อตัวหรือตำแหน่ง ส.ส.เพื่อทำการที่ไม่ดี หรือไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง ส.ส. เป็นต้น ส่วนพรรคการเมืองที่ดี ควรมีลักษณะ เช่น 1. เป็นพรรคที่มีนโยบายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และมีแนวทางปฏิบัติให้สามารถเป็นจริงได้ 2. นโยบายของพรรค ต้องมุ่งแก้ปัญหาความกินดีอยู่ดี หรือปากท้องของประชาชนเป็นสำคัญ เช่น นโยบายด้านการเกษตร พืชผลของ ชาวไร่ชาวนา การส่งเสริมการทำนา การจำหน่ายผลผลิตของชาวนา การจำนำสินค้าด้านการเกษตร เป็นต้น 3. มีนโยบายด้านการศึกษาและด้านการสาธารณสุขที่ชัดเจน ทำอย่างไรจึงจะลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประชาชนได้ ทำอย่างไรจึงจะสามารถให้ประชาชนเข้าถึงการบริการด้าน สาธารณาสุข ได้อย่างถ้วนหน้า เป็นต้น 4. มีนโยบายด้านการทหารที่ชัดเชน เช่น ทำอย่างไรจึงจะทำให้ ทหาร เป็นทหารมืออาชีพ ทำอย่างไรจึงจะส่งเสริมกำลังทัพเพื่อป้องกัน อริราชศัตรู ทำอย่างไรจึงจะไม่ทำให้ทหารมีการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งที่ผ่านมายังเป็นวงจรยังไม่รู้จบ เป็นต้น พรรคหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งให้เงิน หรือสิ่งของ แต่เราไม่เลือก เป็นบาปไหม ? คำตอบ คือ ไม่บาป เพราะเราไม่ได้ไปขโมยของเขามา เขาให้เราเอง

การเลือกตั้ง ส.ส. ผู้แทนประชาชน ประชาธิปไตยแบบไทยไทยของไทย

 

การเลือกตั้ง ส.ส. ผู้แทนประชาชน
ประชาธิปไตยแบบไทยไทยของไทย

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

         การปกครองในระบอบประชาธิปไตย หัวใจสำคัญ คือเป็นการปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน และของประชาชน

         ประเทศไทยเราหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (เมื่อ พ.ศ. 2475 คณะราษฎรดำเนินการปฏิวัติยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว​ และเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็น
หัวหน้าคณะราษฎร)

       ในการปกครอง พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา

ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล

         ตั้งแต่ไทยเรามีการปกครองในระบอยบประชาธิปไตยอันมี

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประเทศไทยมีการเลือกตั้ง ส.ส.ซึ่ง

เป็นการทั่วไปมาแล้ว ทั้งหมด 28 ครั้งโดยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ครั้งล่าสุด คือการเลือกตั้งเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562

 

         สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 500 คน นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

         ประชาธิปไตยแบบไทยไทยมีกล่าวกันว่า ได้มีการนำเอาวัฒนธรรมและจารีตประเพณีที่มีอยู่ดั้งเดิมในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกฎหมาย ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดทั้งอิทธิพลของ

พุทธศาสนา เป็นต้น มาผสมผสานกับแนวความคิดแบบประชาธิปไตยของทางตะวันตก จนก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยไทย” ขึ้น และนักการเมืองหรือชนชั้นนำที่มีอยู่ในสังคมไทย ได้พยายามนำสิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบไทยไทย มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่มี

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือใช้อธิบายกระบวนการที่แตกต่างและผิดเพี้ยนออกไปจากประชาธิปไตยอันเป็นแนวทางสากลว่าลักษณะดังกล่าวคือประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ของไทยเรา

          ตั้งแต่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยไทยมานั้น

ประเทศไทยเราได้มีการปฏิวัติรัฐประหารมาแล้ว 13 ครั้ง

          ในการใช้ชื่อเรียก บางครั้งใช้คำว่าปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

บางครั้งใช้คำว่ารักษาความสงบแห่งชาติ แล้วแต่หัวหน้าคณะปฏิวัติจะใช้เรียก

          สำหรับเหตุผลของการก่อปฏิวัติรัฐประหารในประเทศไทยที่ได้แถลงให้ประชาชนทราบก็เกือบจะคล้ายๆ กันเกือบทุกครั้ง เช่น รัฐบาลไร้ประสิทธิภาพ มีการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือเพื่อเหตผลทาง

ความมั่นคงของประเทศ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของชาติ

เป็นต้น ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ ก็คล้าย ๆ กับเหตุผลการทำการปฏิวัติรัฐประหารในหลายประเทศที่มีประชาธิปไตยอ่อนแอ ไม่ค่อยมีเสถียรภาพ และมักถูกใช้อ้างเพื่อทำการปฏิวัติรัฐประหาร ซี่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เป็นวงจรยังไม่

รู้จบ

          สำหรับประเทศไทย นายกรัฐมนตรีที่ถูกทำการปฏิวัติรัฐประหารนั้น ไม่ใช่เฉพาะนายกรัฐมนตรีที่เป็นพลเรือนเท่านั้น แต่เป็นนายกรัฐมนตรีที่เป็นทหารด้วย โดยการปฏิวัติรัฐประหาร 13 ครั้งนั้น นายกรัฐมนตรีที่เป็นทหาร ถูกทำการปฏิวัติรัฐประหาร จำนวน 6 นาย และนายกรัฐมนตรีที่เป็นพลเรือน ถูกทำการปฏิวัติรัฐประหาร จำนวน 7  คน จะเรียกว่า ผลัดกันมาดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาล ระหว่างทหารกับพลเรือนก็ว่าได้ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

 

1. นายกรัฐมนตรีที่เป็นทหารที่ถูกทำการปฏิวัติรัฐประหาร มี 6 นาย คือ

      1.1 พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์  นายกรัฐมนตรี

ถูกทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

หัวหน้าคณะปฏิวัติ คือ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ

ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คือ นายควง อภัยวงศ์

       1.2 จอมพล ป. พิบูลสงคราม  นายกรัฐมนตรี

ถูกทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 

หัวหน้าคณะปฏิวัติ คือจอมพล ป. พิบูลสงคราม

(ปฏิวัติตนเอง) ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คือ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม 

      1.3 จอมพล ป. พิบูลสงคราม  นายกรัฐมนตรี

ถูกทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 

หัวหน้าคณะปฏิวัติ คือจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์

ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คือ จอมพลถนอม  กิตติขจร

     1.4 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี

ถูกทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม  พ.ศ. 2501

หัวหน้าคณะปฏิวัติ คือจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์

ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คือ จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์

     1.5 จอมพลถนอม กิตติขจร  นายกรัฐมนตรี

ถูกทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514

หัวหน้าคณะปฏิวัติ คือ  จอมพลถนอม กิตติขจร

ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คือ จอมพลถนอม กิตติขจร

     1.6 พล.อ.ชาติชาย ชณหะวัณ  นายกรัฐมนตรี

ถูกทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพนธ์ พ.ศ. 2534 


หัวหน้าคณะปฏิวัติ คือพล.อ.สนทร  คงสมพงษ์

ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คือ

พล.อ. สุจินดา คราประยูร

 

หมายเหตุ

            ในช่วงที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี 8 ปี ก็มีความพยายามยึดอำนาจชัดเจน 2 ครั้ง พยายามลอบสังหารอีกหลายครั้ง แต่ พล.อ.เปรม ก็ผ่านสถานการณ์คับขันมาได้ ความพยายามยึดอำนาจครั้งใหญ่ที่สุดคือ กบฏยังเติร์ก หรือที่เรียกกันว่า เมษาฮาวาย

           คืนวันที่ 31 มี.ค.2524 เวลา 20.00 น. กลุ่มทหารยังเติร์ก หรือกลุ่มทหารที่จบจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 7 นำโดย พ.อ.มนูญ รูปขจร กับ พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร นำกำลังทหารพร้อมอาวุธ ปิดล้อมบ้านสี่เสาเทเวศร์ ยื่นคำขาดกับ พล.อ.เปรม ว่าจะปฏิวัติ

            ในหนังสือรัฐบุรุษชื่อเปรม ที่คณะผู้จัดทำคือนายทหารคนสนิทของ พล.อ.เปรม บันทึกบทสนทนาระหว่างทหารกลุ่มยังเติร์กกับ พล.อ.เปรม ไว้ว่า

          “มนูญกับประจักษ์ มากันสองคน ก็ถามเขาว่าจะปฏิวัติทำไม เขาบอกว่าผมทำเพื่อป๋า และขอเชิญป๋าเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ผมก็บอกว่า ผมไม่ปฏิวัติหรอก

ผมปฏิวัติไม่ได้ และไม่ต้องการปฏิวัติด้วย ขอให้เลิกคิด เลิกทำเสียหรือไม่งั้นก็ยิงผมให้ตายแล้วก็ปฏิวัติไป” พล.อ.เปรม กล่าว  

 

2. นายกรัฐมนตรีที่เป็นพลเรือนที่ถูกทำการปฏิวัติรัฐประหาร มี 7 คน คือ

     2.1 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ถูกทำการปฏิวัติเมื่อ

วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 หัวหน้าคณะปฏิวัติ คือ

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

     2.2 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ถูกทำการปฏิวัติเมื่อ

วันที่ 20 มิถุนายน  พ.ศ. 2476 หัวหน้าคณะปฏิวัติ คือพลเอกพระยาพหล

พลพยุหเสนา ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คือ

พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา

     2.3 นายควง    อภัยวงศ์  นายกรัฐมนตรี ถูกทำการปฏิวัติเมื่อ

วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 หัวหน้าคณะปฏิวัติ คือ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คือ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

     2.4 ม.ร.ว. เสนีย์  ปราโมช  นายกรัฐมนตรี ถูกทำการปฏิรูปเมื่อ

วันที่ 6 ตุลาคม  พ.ศ. 2519  หัวหน้าคณะปฏิรูป คือ

พล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่

ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คือ

นายธานินทร์  กรัยวิเชียร

    2.5 นายธานินทร์   กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี ถูกทำการปฏิวัติเมื่อ

วันที่ 20 ตุลาคม  พ.ศ. 2520 หัวหน้าคณะปฏิรูป คือ

พล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่

ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คือ

พล.อ. เกรียงศักดิ์  ชมะนันท์

    2.6 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถูกทำการปฏิวัติเมื่อ

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 หัวหน้าคณะปฏิวัติ คือ

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน

ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คือ

พล.อ. สรยุทธ์ จุลานนท์

    2.7 น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี ถูกทำการปฏิวัติ

เมื่อ วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ใช้คำว่า (“รักษาความสงบแห่งชาติ”)

ผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น  หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ  

(ไม่ใช้คำว่า นายกรัฐมนตรี) คือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

         คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. (อังกฤษ: National Council for Peace and Order; ชื่อย่อ: NCPO) เป็นคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง โดยรัฐประหารยึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ 22

พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ตั้งแต่เวลา 16:30 น. หลังเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร พร้อมทั้งจัดตั้ง

กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ได้ 2 วัน และมี

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะ

         อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมี

การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

จนถึง 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

       คณะรัฐประหารคณะนี้ครองอำนาจเป็นระยะเวลายาวนานมากกว่า 5 ปี 1 เดือน 3 สัปดาห์ 3 วัน นับเป็นอันดับ 3 รองจากคณะรัฐประหารของจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

ประกาศ แต่งตั้งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ภิมิพลอดุลยเดช ป.ร.

            ด้วย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้นําความกราบบังคมทูลว่า เนื่องจากสถานการณ์ ความรุนแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มขยายตัว จนอาจนําไปสู่การเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงหรือเหตุจลาจล ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติและ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวม เพื่อให้สถานการณ์ดังกล่าวกลับเข้าสู่สภาวะ ปรกติโดยเร็ว ประชาชนในชาติเกิดความรัก ความสามัคคีตลอดจนเพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างทาง การเมืองและอื่น ๆ อันจะก่อให้เกิดความชอบธรรมกับทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย คณะทหาร และตํารวจ ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้า ได้เข้าควบคุมอํานาจการปกครองประเทศ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา เป็นต้นไป ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่ประเทศชาติและความสมานฉันท์ของประชาชน จึงมี พระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ บริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

         ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

 

           ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

           พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

                ผู้บัญชาการทหารบก

 

ข้อมูล  การปฏิวัติรัฐประหารของไทย จำนวน 13 ครั้ง

 

 

รั้งที่

 

วัน เดือน ปี

 

ผู้นำรัฐบาลขณะนั้น

ผู้ยึดอำนาจ/ผู้นำรัฐบาลใหม่
1 1 เมษายน พ.ศ. 2476

พระยามโนปกรณ์

นิติธาดา

พระยามโนปกรณ์

นิติธาดา/พระยา

มโนปกรณ์นิติธาดา

2 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476

พระยามโนปกรณ์

นิติธาดา

พลเอกพระยาพหลพลพยหเสนา/

พลเอกพระยาพหลพลฯ

3 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

พล.ร.ต.ถัวลย์   

ธำรงนาวาสวสดั

พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ/ นายควง  อภัยวงศ์
4 6 เมษายน พ.ศ. 2491 นายควง    อภัยวงศ์

จอมพล ป.

พิบูลสงคราม/ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

5 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494

จอมพล ป.

พิบูลสงคราม

จอมพล ป. พิบล

สงคราม/ จอมพล ป.

พิบูลสงคราม

 

 

รั้งที่

 

วัน เดือน ปี

 

ผู้นำรัฐบาลขณะนั้น

ผู้ยึดอำนาจ/ผู้นำรัฐบาลใหม่
6 16 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์/จอมพลถนอม กิตติขจร
7 20 ตุลาคม  พ.ศ. 2501

จอมพลถนอม

กิตติขจร

จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์/จอมพล

สฤษดิ์   ธนะรัชต์

8 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร

จอมพลถนอม

กิตติขจร/ จอมพล

ถนอม กิตติขจร

9 6 ตุลาคม  พ.ศ. 2519 ม.ร.ว. เสนีย์    ปราโมช

พล.ร.อ.สงัด ช

ะลออยู่/

นายธานินทร์  

กรัยวิเชียร

10 20 ตุลาคม  พ.ศ. 2520 นายธานินทร์   กรัยวิเชียร

พล.ร.อ.สงัด ชะลออย / พล.อ. เกรียงศกดิ์

ชมะนันทั

             

 

 

รั้งที่

 

วัน เดือน ปี

 

ผู้นำรัฐบาลขณะนั้น

ผู้ยึดอำนาจ/ผู้นำรัฐบาลใหม่
11 23 กุมภาพนธฺ พ.ศ. 2534 พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ

พล.อ.สนทร ุ คงสมพงษ์ / พล.อ.

สุจินดา  คราประยูร

12 19 กันยายน  พ.ศ. 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

พล.อ.สนธิ  

บุญยรตกลิน / พล.อ.

สรยุทธ์  จุลานนท์

13 22 พฤษภาคม 2557

น.ส.ยิ่งลักษณ์  

ชินวัตร

พลเอกประยุทธ์  

จันทร์โอชา/

พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา

(หัวหน้า คสช.)

             

 

             รัฐประหาร ครั้งที่ 13 ปี พ.ศ.2557 และรัฐบาลประยุทธ์ 1 ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในห้วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยุบสภาผู้แทนราษฎรและมีกำหนดจัดการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในเดือนมีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพราะการเลือกตั้งไม่เกิดในวันเดียวกันทั่วประเทศ หลังข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กับรัฐบาล

ยิ่งลักษณ์ มีการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 20 กรกฎาคม

       ต่อมา เกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ก่อน โดย

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เป็นหัวหน้าคณะ และมีประกาศจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปหลังดำเนินการปฏิรูปและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

        รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปลี่ยนแปลงวิธีการออกเสียงเลือก ส.ส. โดยเดิมจะมีบัตรเลือกตั้งสองบัตร แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้จะลดบัตรเลือกตั้งเหลือบัตรเดียว โดยเลือกทั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อพร้อมกัน เป็นการเลือกตั้งทั่วไปของไทยครั้งแรกที่การเลือกตั้ง ส.ส. สองแบบใช้บัตรเดียว พบว่าผู้ตอบแบบสำรวจกว่าสามในสี่ไม่ทราบว่าจะมีบัตรลงคะแนนใบเดียวและพรรคการเมืองจะไม่ได้ใช้เบอร์เดียวกันทั่วประเทศ   

         ในการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้ คสช. แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

จำนวน 250 คน ตามบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งได้บัญญัติให้มีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้ด้วยภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่

วันที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้บังคับ ดังนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงต้องการคะแนนเสียงของสมาชิกรัฐสภารวมกันตั้งแต่ 376 คนขึ้นไป

นักวิจารณ์กล่าวว่าวุฒิสภาชุดนี้ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่ประยุทธ์จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปแม้พรรคที่นิยมประยุทธ์จะได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรน้อยกว่า ทั้งนี้ หาก ส.ว. ทั้ง 250 คนสนับสนุนประยุทธ์

ทำให้พรรคการเมืองที่นิยมประยุทธ์ต้องการอีกเพียง 126 ที่นั่งก็สามารถเลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ นักวิจารณ์ทำนายว่าพรรคพลังประชารัฐและพรรคการเมืองอื่นที่นิยมทหารอาจได้ที่นั่งรวมกันไม่ถึง 126 ที่นั่ง และจะต้องการการสนับสนุนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งก็เป็นจริงตามที่คาดหมายเอาไว้

 การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง

        รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กำหนดเขตเลือกตั้ง ส.ส. ไว้ 350 เขต ลดลงจากการเลือกตั้งครั้งก่อนที่กำหนดไว้ 400 เขต ในปี 2561 กกต. มีหน้าที่กำหนดเขตเลือกตั้งใหม่ แต่ก่อนมีการประกาศ ประยุทธ์ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งเลื่อนการประกาศเขตเลือกตั้ง นอกจากนี้ กกต. ยังได้รับยกเว้นจากกฎหมายเขตเลือกตั้งเดิม ทำให้ กกต. สามารถกำหนดเขตเลือกตั้งใหม่อย่างไรก็ได้ ฝ่ายพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ตลอดจนมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตยแสดงการคัดค้านรุนแรง ซึ่งแย้งว่าการเลื่อนเวลาจะทำให้ กกต. กำหนดเขตเลือกตั้งใหม่ให้เอื้อต่อพรรคพลังประชารัฐ นักหนังสือพิมพ์และนักวิจารณ์เปรียบเทียบการณ์นี้ว่าเหมือนกับการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบในสหรัฐ บางคนออกความเห็นว่า คสช. ชนะการเลือกตั้งแล้ว

         วันที่ 29 พฤศจิกายน กกต. กำหนดเขตเลือกตั้งใหม่แล้วเสร็จและประกาศ ซึ่งพรรคการเมืองหลายพรรคและองค์การควบคุมดูแลพบว่ามีการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบซึ่งพรรคพลังประชารัฐจะได้ประโยชน์หลายกรณี เขตเลือกตั้งใหม่บางเขตมีรูปทรงประหลาดและไม่ได้ยึดแบบจำลองที่ กกต. แถลงว่าจะใช้ก่อนหน้านี้ กระบวนการกำหนด

เขตเลือกตั้งใหม่ยังเป็นความลับและมีการพิจารณาไตร่ตรองน้อยมาก

 เขตเลือกตั้ง 350 เขตในการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2562

         แบ่งจำนวนเขตเลือกตั้งตามจังหวัดดังต่อไปนี้

กรุงเทพมหานคร 30

นครราชสีมา      14

ขอนแก่น และอุบลราชธานี   10

เชียงใหม่   9

ชลบุรี, นครศรีธรรมราช, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ, สงขลา และอุดรธานี    

8  เชียงราย, ร้อยเอ็ด, สมุทรปราการ และสุรินทร์ 7 ชัยภูมิ, นครสวรรค์, นนทบุรี, ปทุมธานี, สกลนคร และสุราษฎร์ธานี    6 กาญจนบุรี, กาฬสินธุ์, นครปฐม, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, มหาสารคาม และราชบุรี      5

กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, นครพนม, นราธิวาส, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, ระยอง, ลพบุรี, ลำปาง และสุพรรณบุรี 4

จันทบุรี, ชุมพร, ตรัง, ตาก, น่าน, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, เพชรบุรี, ยโสธร, ยะลา, เลย, สมุทรสาคร, สระแก้ว, สระบุรี, สุโขทัย, หนองคาย และหนองบัวลำภู     3

กระบี่, ชัยนาท, บึงกาฬ, แพร่, ภูเก็ต, มุกดาหาร, ลำพูน, สตูล, อำนาจเจริญ, อุทัยธานี และอุตรดิตถ์ 2 ตราด, นครนายก, พังงา, แม่ฮ่องสอน, ระนอง, สิงห์บุรี, สมุทรสงคราม และอ่างทอง  1

        ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ คือระบอบการเมืองที่อนุญาตให้ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งบ้างเป็นครั้งเป็นคราว แต่จะไม่ยอมให้อำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของประชาชน อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งต้องถูกกดเอาไว้ให้อยู่ใต้อำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชน

        เมื่อประชาธิปไตยแบบไทยๆ เป็นแบบนี้ จึงไม่แปลกที่เราจะยังสามารถสอนกันในห้องเรียนอย่างไม่เคอะเขินได้ว่า ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดย

ประชาชน เพื่อประชาชน และของประชาชน ได้อย่างแท้จริง

        การรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญโดยกองทัพเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2490 การรัฐประหารครั้งนั้นถือเป็นการตอบโต้การเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร และวุฒิสภาอย่างที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ก็มาจากการรัฐประหาร พ.ศ. 2490

        สำหรับสังคมไทย วุฒิสภาจึงไม่ได้มีที่มาจากรากฐานทางประวัติศาสตร์อะไรเหมือนอังกฤษ หรือไม่ได้มีที่มาจากการความจำเป็นของรูปแบบรัฐเหมือนประเทศสหรัฐอเมริกา แต่วุฒิสภาของไทยเป็นสถาบันทางการเมืองที่คณะรัฐประหารกับกลุ่มชนชั้นนำจารีตออกแบบมาเพื่อกำกับควบคุมและกดทับอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรที่มาจาก

การเลือกตั้ง โดยหลอกเราในหนังสือเรียนว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีวุฒิสภาเพื่อช่วยกลั่นกรองกฎหมาย หรือเพื่อสร้างกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจ

        ดังนั้น วุฒิสภาจึงเป็นป้อมปราการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่ประชาชนและผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากประชาชนควรจะ

ถอดรื้อออกไป

      ความจริงแล้ว การมีวุฒิสภาก็เป็นสิ่งที่ดี ไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่

ประการใด เพราะเป็นฝ่ายกลั่นกรองกฎหมายให้กับสภาผู้แทนราษฎร

แต่ถ่วงดุลกันระหว่าง ส.ส. กับ ส.ว. เพราะประเทษมหาอำนาจอย่าง

สหรัฐอเมริกา เขาก็มีวุฒิสภา ขอเพียงแต่ว่า ที่มาของวุฒิสภานั้น มาโดย

วิธีการอันเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ใช่มาโดยอำนาจของคนใด

คนหนึ่งเพียงคนเดียวเป็นผู้ชี้ขาด

       พวกเราถูกฝังหัวมาโดยตลอดว่าปัญหาของการเมืองไทยเกิดขึ้นจาก “นักการเมือง” ที่มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น จึงไม่แปลกที่เวลาเราจะปฏิรูปการเมืองกัน จึงพุ่งเป้าโจมตีไปกับการจัดการกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาล ซึ่งได้อำนาจโดยตรงมาจากประชาชน

          คงไม่ปฏิเสธว่านักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งยังมีปัญหาต้องแก้ไขปรับปรุงอีกหลายอย่าง เพียงแต่อยากจะบอกว่า นักการเมืองที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนี่นั้นอันตรายยิ่งกว่า เครือข่ายนักการเมืองที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งสามารถใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ เป็นอภิสิทธิ์ชน ประชาชนตรวจสอบไม่ได้ แตะต้องไม่ได้ บางทีวิพากษ์วิจารณ์ก็ยังไม่ได้

          เครือข่ายอำนาจเหล่านี้ฝังตัวอยู่ในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ อันศักดิ์สิทธิ์ อยู่เหนืออำนาจของประชาชน ไม่ว่าจะในนาม

ความมั่นคงของชาติ ในนามตุลาการภิวัตน์ หรือในนามองค์กรอิสระ ที่อิสระอย่างสิ้นเชิงจากประชาชน

          ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่พวกเราควรต้องมาช่วยกันออกแบบระบบการเมืองกันใหม่ เพื่อให้ไทยเรามีประชาธิปไตยเต็มใบอย่างแท้จริงโดย

ให้อำนาจสูงสุดของประชาชนนั้นปรากฎเป็นจริงให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม มีระบบการแบ่งแยกอำนาจและการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจที่มีประสิทธิภาพและยึดโยงกับประชาชน ไม่เช่นนั้นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ร้าวลึก จะไม่สามารถคลี่คลายลงไปได้ เพราะ

1.    ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ นี้กำลังมองเห็นประชาชน

โดยเฉพาะเยาวชนคนหนุ่มสาว ว่าเป็นศัตรูของชาติซึ่งจะต้องกำจัดให้สิ้นซาก แทนที่จะมองเห็นพวกเขาเป็นอนาคตของชาติ แต่มองเขาว่าเป็น

พวกเห็นต่าง

                     2.    ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ นี้กำลังทำลายโอกาสและ

พื้นที่ที่จะสามารถแสวงหาฉันทามติร่วมกันได้อย่างสันติ แม้จะไม่ได้เห็นด้วยกันทั้งหมดทุกเรื่อง

3.    ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ กำลังผลักให้ความคิดและ

เสียงของประชาชนที่ชนชั้นนำจารีตไม่อยากเห็น ไม่อยากได้ยิน ให้ไปเป็นขบวนการล้มล้างการปกครอง ไปเป็นคู่ขัดแย้งกับสถาบันพระมหากษัตริย์และกลุ่มผู้จงรักภักดี

            จากประวัติศาสตร์การเลือกตั้ง พบว่าการจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ขึ้นใหม่ในแต่ละครั้ง เกิดจากสาเหตุ 3 ประการ ได้แก่สภาผู้แทนราษฎรครบวาระดำรงตำแหน่ง (3 ครั้ง) การยุบสภาผู้แทนราษฎร (13 ครั้ง) และ การยึดอำนาจหรือรัฐประหาร กรณีนี้จะประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมและทำการร่างฉบับใหม่ขึ้น เมื่อรัฐธรรมนูญใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว จึงกำหนดให้จัดการเลือกตั้งขึ้น(13 ครั้ง)

 

การเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมา

การเลือกตั้งทางอ้อม

            การเลือกตั้ง ส.ส. ของประเทศไทยมีทั้งการเลือกตั้งทางอ้อมและทางตรง การเลือกตั้งทางอ้อมมีขึ้นเพียงครั้งเดียว ได้แก่ การเลือกตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2475 กำหนดให้ระยะเริ่มแรก สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท มีจำนวนเท่ากัน คือ สมาชิกประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง และสมาชิกประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้ง

การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ 1 ใช้วิธีการเลือกตั้งแบบทางอ้อม คือ ประชาชนจะไปใช้สิทธิเลือกผู้แทนตำบลก่อน จากนั้นผู้แทนตำบลที่ได้รับเลือกนั้น จะไปทำการเลือกตั้ง ส.ส. แทนประชาชนอีกขั้นหนึ่ง

 การเลือกตั้งทางตรง

           การเลือกตั้งที่เหลือตั้งแต่ครั้งที่ 2-28 ครั้งล่าสุด เป็นการเลือกตั้งทางตรงทั้งสิ้น โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะไปใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือก ส.ส. โดยตรงด้วยตนเอง ไม่ต้องกระทำผ่านบุคคลใด

 

การเลือกตั้งที่ได้ชื่อว่า “สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์”

         ได้แก่ การเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 พบว่า การเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริตโปร่งใสหลายประการ อาทิ มีการใช้อำนาจแทรกแซงหรือบังคับให้ชาวบ้านเลือกผู้สมัครจากพรรครัฐบาล มีการทำร้ายฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองโดยแจกใบปลิวโจมตี ใช้กลวิธีแอบแฝงซ่อนเร้น โดยใช้คนเวียนเทียนกันลงคะแนน ที่เรียกว่า “พลร่ม” เมื่อปิดหีบแล้วมีการเอาบัตรลงคะแนนที่เตรียมไว้ใส่เข้าไป เรียกว่า “ไพ่ไฟ” มีการแอบเปลี่ยนหีบเลือกตั้งในที่ลับตาผู้คน อีกทั้งใช้เวลานับคะแนนเลือกตั้งนานถึง 7 วัน 7 คืนด้วยกัน ทำให้นิสิต นักศึกษาและประชาชนไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง จึงเดินขบวนประท้วง นำไปสู่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ก็ได้ออกมายอมรับว่า การเลือกตั้งนั้นไม่บริสุทธิ์ และจะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ผู้ชุมนุมจึงสลายตัวไป เหตุการณ์ชุมนุมจึงยุติลง อย่างไรก็ตาม

การเลือกตั้งครั้งใหม่ก็ยังมิได้จัดขึ้น เนื่องจากเกิดการรัฐประหารโดย

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500

 

การเลือกตั้งที่มีระยะห่างระหว่างกันนานที่สุด

        การเลือกตั้งที่มีระยะห่างระหว่างการเลือกตั้ง 2 ครั้งติดต่อกัน นานที่สุด ได้แก่ การเลือกตั้ง ครั้งที่ 8 วันที่ 15 ธันวาคม 2500 และครั้งที่ 9 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 มีระยะห่างกันนานประมาณ 12 ปี เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรชุดที่มาจากการเลือกตั้ง ครั้งที่ 8 วันที่ 15 ธันวาคม 2500 ต้องสิ้นสุดลง โดยการรัฐประหารภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2501 ซึ่งได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิม และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครอง 2502 ซึ่งบัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นใหม่ ซึ่งใช้เวลายกร่างนานประมาณ 9 ปี จึงแล้วเสร็จในปี 2511 และประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ 2511 จากนั้น จึงกำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ขึ้นใหม่ ในครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512

 

การเลือกตั้งที่มีระยะห่างระหว่างกันน้อยที่สุด

          การเลือกตั้งที่มีระยะห่างระหว่างการเลือกตั้ง 2 ครั้งติดต่อกัน น้อยที่สุด ได้แก่ การเลือกตั้ง ครั้งที่ 16 วันที่ 22 มีนาคม 2535 และครั้งที่ 17 วันที่ 13 กันยายน 2535 มีระยะห่างกันแค่ประมาณ 6 เดือน เนื่องจากภายหลังการเลือกตั้ง ครั้งที่ 16 วันที่ 22 มีนาคม 2535 ได้มีการเสนอชื่อพลเอก สุจินดา คราประยูร รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. ที่ทำการรัฐประหารเมื่อปี 2534 ซึ่งไม่ได้เป็น ส.ส. หรือไม่ได้มาจากการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงถูกมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจ จนนำไปสู่การชุมนุมทางการเมืองเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 หรือที่เรียกกันว่า “พฤษภาทมิฬ” ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ต่อมาพลเอก สุจินดา คราประยูร ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี และนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในหลายประเด็น ประเด็นหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการชุมนุมทางการเมืองในครั้งนั้น ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมให้ “นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.” จากนั้น นายอานันท์ ปันยารชุน ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ขึ้นใหม่ ในครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535

 การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

            ภายหลังการเลือกตั้ง ครั้งที่ 22 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549

ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ เนื่องจากเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย สาเหตุมาจากพรรคไทยรักไทยขณะนั้นได้ว่าจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กให้ส่งผู้สมัครลงแข่งขันกับผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทย เพื่อหลีกเลี่ยงการที่จะต้องมีคะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น จึงมีคำวินิจฉัยสั่งยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค จำนวน 111 คน เป็นระยะเวลา 5 ปี ด้วย

 

การเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

       ได้แก่ การเลือกตั้ง ครั้งที่ 25 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เนื่องจากเกิดการชุมนุมเคลื่อนไหวขัดขวางการสมัครรับเลือกตั้ง และขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยปิดคูหาลงคะแนนเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนบางพื้นที่ไม่สามารถใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนได้ จึงไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จทั่วประเทศได้ภายในวันเดียวตามที่กฎหมายกำหนด ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำวินิจฉัยว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะกำหนดให้มี

การเลือกตั้งทั่วไปขึ้นแล้ว แต่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จทั่วประเทศได้ภายในวันเดียว เมื่อพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งครั้งนี้จึงถือว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญด้วย

 ความสำคัญชองการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

            ความสำคัญของการเลือกตั้ง ส.ส.การเลือกตั้ง ส.ส. มีความสำคัญต่อคนไทยทุกคนที่ต้องไปทำหน้าที่เพื่อมอบอำนาจอธิปไตยของเราโดยการเลือกผู้แทนไปทำหน้าที่ในการปกป้องผลประโยชน์และดูแลทุกข์สุขของประชาชน รวมทั้งบริหารงบประมาณของประเทศชาติถึงปีละหนึ่งล้านล้านบาท ดังนั้น การเลือกผู้แทนที่เป็น “คนดี” มีความซื่อสัตย์ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนให้เข้าไปทำงานทางการเมืองเราจะทำให้สามารถใช้งบประมาณทุกบาททุกสตางค์ที่มาจากเงินภาษีของประชาชนไปพัฒนาประเทศชาติได้อย่างเต็มที่

ที่มาของ ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญปี 2560

             ส.ส. มีจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้ง 2 แบบ ได้แก่

ส.ส. แบบแบ่งเขต มีจำนวน 350 คน คือ ส.ส. ที่มาจากเขตเลือกตั้งโดยการแบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศออกเป็น 350 เขต ในแต่ละเขตเลือกตั้งมี ส.ส. ได้ 1 คน ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนสูงกว่าคะแนนเสียงไม่เลือกผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือกเป็น ส.ส.

           ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ มีจำนวน 150 คน โดยพรรคการเมืองจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อพรรคละหนึ่งบัญชี ซึ่งรายชื่อไม่ซ้ำกับรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ส่งให้กรรมการการเลือกตั้งก่อนปิด

การรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง  การลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวกันกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยการคำนวณจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคพึงจะได้รับ มาจากการจัดสรรคะแนนที่ประชาชนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จากพรรคต่าง ๆ ทั้งประเทศ มาคำนวณจำนวน ส.ส. ของพรรคการเมืองที่จะได้รับในการเลือกตั้ง โดยพรรคการเมืองจะมีจำนวน ส.ส. ทั้งสองประเภทได้ไม่เกินจำนวนโควต้าที่พรรคการเมืองได้รับ

 คุณสมบัติ ส.ส.

1.    มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

2.    มีอายุไม่น้อยกว่า 25 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง

   3. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดียวติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

   4. ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จะต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย

    4.1 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

    4.2 เกิดในจังหวัดที่สมัคร

    4.3 เคยเรียนในจังหวัดที่สมัครไม่น้อยกว่า 5 ปีการศึกษา

เคยรับราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานรัฐ / เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัคร ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี

และต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(1) ติดยาเสพติดให้โทษ

(2) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

(3) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ

(4) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง (ตามมาตรา 96 (1) (2) หรือ (4) แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560)

(5) อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวหรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

(6) ต้องคําพิพากษาให้จําคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล

(7) เคยได้รับโทษจําคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(8) เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ

(9) เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุกเพราะกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

(10) เคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญาความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นําเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสํานัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน

(11) เคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทําการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง

(12) เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํานอกจากข้าราชการการเมือง

(13) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

(14) เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงยังไม่เกินสองปี

(15) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือ เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

(16) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(17) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

(18) เคยพ้นจากตําแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา 144 หรือมาตรา 235 วรรคสาม แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560

 

หน้าที่ของ ส.ส.

ออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน

เป็นผู้เลือก ส.ส. หรือบุคคล ที่จะไปดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี

ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

จัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อพัฒนาประเทศ

นำปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนเสนอรัฐบาล

คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.

มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง

มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง (กรณีย้ายภูมิลำเนายังไม่ถึง 90 คน ต้องไปเลือกตั้งที่ภูมิลำเนาก่อนย้าย)

 ลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

อยู่ในระหว่างถูกเพิงถอนสิทธิการเลือกตั้ง

ต้องคุมขังโดยหมายของศาลหรือโดยตคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน หรือไม่สมประกอบ

การลงคะแนนเลือกต้ัง ส.ส. ล่วงหน้า

 

การลงคะแนนเลือกตั้งนอกเขตจังหวัด

        ผู้ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่คนละจังหวัดกับทะเบียนบ้านหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปัจจุบันไม่ถึง 90 วัน สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนวันเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งกลางของจังหวัดที่ท่านทำงานหรืออาศัยอยู่ได้ แต่ต้องยืนคำขอลงทะเบียนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 30 วัน จึงจะมีสิทธิ

           กรณีเขตเลือกตั้งใดมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. แทนตำแหน่งที่ว่าง หรือมีการเลือกตั้งใหม่ บุคคลผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิดังกล่าวก็สามารถเดินทางกลับไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ณ หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้

           การลงคะแนนเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านตามทะเบียนบ้าน แต่ในวันเลือกตั้งต้องเดินทางออกนอกเขตไม่สามารถไปใช้สิทธิได้ ก็สามารถไปแสดงตนเพื่อขอลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. ก่อนวันเลือกตั้งได้ ณ ที่เลือกตั้งกลางในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง โดยต้องยื่นคำขอลงทะเบียนขอใช้สิทธิดังกล่าวต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ภายในระยะเวลาที่ กกต. กำหนด

การเตรียมตัวก่อนไปเลือกตั้ง

การตรวจสอบรายชื่อ

      20 วันก่อนวันเลือกตั้ง ตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ที่ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการเขต ที่ทำการ อบต. สำนักงานเทศบาล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หรือเขตชุมชน

      15 วันก่อนวันเลือกตั้ง ตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและที่เลือกตั้งจากหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน (ส.ส.12)

 

การเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อ

      ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน หากเห็นว่าไม่มีชื่อตนเองหรือมีชื่อผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้แจ้งนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น โดยนำหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้มาแสดงด้วย

 การแจ้งเหตุที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้

       -ก่อนหรือหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน ขอรับแบบ ส.ส. 28 หรือทำหนังสือชี้แจงเหตุที่ทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ และให้ระบุเลขประจำตัวประชาชนและที่อยู่ตามทะเบียนบ้านยื่นหนังสือต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นด้วยตนเอง

      -มอบหมายผู้อื่นหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

ผู้ที่มีเหตุทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้ เช่น

     -ผู้มีธุรกิจจำเป็นเร่งด่วนต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล

ผู้ป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

     -ผู้พิการหรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้

     -ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร

     -ผู้มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร

     -ผู้ประสบเหตุสุดวิสัย เช่น อุทกภัย วาตภัย ฯลฯ

 หลักฐานที่ใช้ในการเลือกตั้ง

บัตรประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)

      บัตรประชาชนหรือหลักฐานที่ราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้มีรูปถ่ายและหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต)

 

การอำนวยความสะดวกผู้พิการที่มีสิทธิเลือกตั้ง

         คณะกรรมการเลือกตั้ง ได้จัดให้มีกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้พิการใช้สิทธิเลือกตั้งได้สะดวกขึ้น โดยคอยช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ซึ่งการช่วยเหลือนั้นต้องให้ผู้พิการได้ลงคะแนนด้วยตัวเองด้วย เช่น จัดให้มีบัตรทาบในการลงคะแนนสำหรับผู้พิการทางสายตา อำนวยความสะดวกในกานหย่อนบัตรในหีบบัตรเลือกตั้ง ฯลฯ

 

ขั้นตอนการลงคะแนนเลือกตั้ง

           -ตรวจสอบรายชื่อ ตรวจสอบรายชื่อและลำดับที่จากบัญชีรายชื่อผู้สิทธิเลือกตั้งที่ประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง

          -ยื่นบัตรประชาชน ยื่นบัตรประชาชนและลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

         -รับบัตรเลือกตั้งพร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาบนต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง

         -ทำเครื่องหมายกากบาท เข้าคูหาลงคะแนน ทำเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทำเครื่องหมายเลือกผู้สมัครเพียงหมายเลขเดียว

หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครรายใดเลย ให้ทำเครื่องหมายกากบาท X ในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน

        -หย่อนบัตรด้วยตนเอง เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วพับบัตรเลือกตั้งให้เรียบร้อยและหย่อนบัตรลงในหีบ บัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง

 

การเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อปี 2562

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 เชื่อกันว่าเป็น “แบบจัดสรรปันส่วนผสม” ตามแบบอย่างของประเทศเยอรมนี ซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้นำมาใช้เป็นหลักคิดในการวางระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ทั้งนี้สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์

ความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองที่ต้องการเอาชนะการเลือกตั้งจนเกิดปัญหา เกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศ ดังนั้น เพื่อลดความรุนแรงใน

การแข่งขันการเข้าสู่อำนาจจึงต้องใช้ระบบการเลือกตั้งที่ดีที่สามารถ

ทำให้มีการกระจายหรือมีตัวแทนครอบคลุมอย่างทั่วถึงในกลุ่มผลประโยชน์ ในทุกสาขาอาชีพ ได้เข้ามามีที่นั่งในสภา โดยเปรียบเทียบระบบการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่เป็นระบบ “วันแมนวันโหวต” คนชนะในเขตเลือกตั้งหนึ่งอาจชนะกันเพียงแค่คะแนนเดียว ซึ่งเป็นจุดอ่อนของระบบ เพราะนำคะแนนมาตัดสินผลชนะเพียงอย่างเดียวไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่หรือเสียงข้างมาก ตัวอย่าง เช่น ในเขตหนึ่งมีการแข่งกัน 4 คน ผู้ที่ชนะได้ร้อยละ 40 ของคะแนน ขณะที่อีก 3 คนรวมกันได้ร้อยละ 60 ลักษณะเช่นนี้จะกล่าวได้อย่างไรว่า คนชนะมาจากเสียงส่วนใหญ่ ที่สำคัญ คือ คะแนนร้อยละ 60 นั้นถูกทิ้งไป ไม่ได้นำมาคำนวณแต่อย่างใดเท่ากับว่าคะแนนเสียงของคนกลุ่มนี้ไม่มีความหมายใด ๆ ยิ่งไปกว่านั้นคะแนนนิยมของผู้สมัครบางคนบางพรรคมีลักษณะของการผูกขาด ตรึงฐานเสียงด้วยวิธีการต่าง ๆ ประชาชนที่คิดต่างจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตนั้นแทบจะไม่มีโอกาสมีผู้แทนของตนเองได้ เพราะระบบการเลือกตั้งชนะกันเพียงแค่คะแนนเดียว ระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นการกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรออกเป็น 2 แบบ คือ แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และแบบบัญชีรายชื่อเพราะเชื่อว่าที่มาของสมาชิกทั้ง 2 แบบนี้จะมาเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน โดยแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จะเลือกคนดีในเขตเลือกตั้งนั้น แต่อาจจะไม่รอบรู้ในทุก ๆ ด้าน ด้วยเหตุนี้ประเทศเยอรมนีจึงได้คิดวิธีหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อขึ้นมาเพื่อปิดจุดอ่อนดังกล่าว โดยเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองคัดเลือกผู้ที่มีความรอบรู้ มีความสามารถมาช่วยกันคิดนโยบายและบริหารงาน ได้เป็นอย่างดีในการเลือกตั้งซึ่ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เปิดกว้างขึ้นไม่จำกัดเฉพาะพื้นที่เขตใดเขตหนึ่งเท่านั้น แต่เมื่อนำกฎหมายเลือกตั้งมาใช้จริงก็ได้เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองสามารถส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อลงแข่งขันได้โดยไม่จำเป็นต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งผิดหลักการที่ต้องการให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นตัวยืน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเป็นเพียงตัวเติมเต็ม ตลอดทั้งมีการนับคะแนนที่ซ้ำซ้อน กล่าวคือ คะแนนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ได้รับมีการนับแล้วของคนที่ชนะในเขตเลือกตั้งนั้น ยังนำกลับมานับเพื่อให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่ออีกครั้ง ดังนั้น พรรคที่ชนะได้ที่นั่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหลายเขตอยู่แล้วยังได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมากตามไปด้วย

         ด้วยเหตุดังกล่าวคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจึงได้คิดนำระบบการเลือกตั้งรูปแบบใหม่มาบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

พุทธศักราช 2560 คือ “แบบจัดสรรปันส่วนผสม”แบบจัดสรรปันส่วนผสมหลักการคือ ทำอย่างไรที่จะให้ทุกคะแนนของผู้ที่มาลงคะแนนเลือกตั้งถูกนำไปนับเพื่อให้ได้ที่นั่งของการจัดสรรปันส่วนอย่างเป็นธรรม และเปลี่ยนสภาพการเมืองจากการแข่งดีแข่งเด่นให้หันมาปรึกษาหารือ

ร่วมพูดคุยกันเพื่อชาติบ้านเมือง  โดยกำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 500 คน แบ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ

แบ่งเขตเลือกตั้ง 350 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 150 คน

          ใช้บัตรเลือกตั้งเฉพาะแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 1 ใบ เมื่อประกาศ

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบ 350 เขตแล้วใน

การคำนวณหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ให้คำนวณตามวิธีการดังต่อไปนี้

       (1) นำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งมาหารด้วย

“ห้าร้อย” อันเป็นจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร

(การเลือกตั้งปี 2566 จะหารด้วย 100)

     (2) นำผลลัพธ์ตาม (1) ไปหารจำนวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคการเมืองแต่ละพรรคที่รับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทุกเขต

จำนวนที่ได้รับถือเป็นจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมือง

นั้นจะพึงมีได้เบื้องต้น

     (3) นำจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองจะพึงมีได้ตาม (2) ลบด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้ง ผลลัพธ์คือจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับเบื้องต้น

     (4) พรรคการเมืองที่ได้รับ ส.ส.จากเขตเลือกตั้งที่จะมีพึงมีหรือพรรค

ควรได้รับ (120 คน) อาจจะไม่ได้รับ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ เช่น พรรคเพื่อไทยได้รับ ส.ส.จากการแบ่งเขตเลือกตั้งเมื่อปี 2562 เท่ากับ 136 คน ก็ไม่ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อแม้แต่คนเดียว พรรคพลังประชารัฐ ได้ ส.ส. 97 คน จากการแบ่งเขตเลือกตั้งเมื่อปี 2562 จำนวน 97 คน ก็ได้รับปันส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 19 คน เป็นต้น

พรรค คะแนนเสียง % ที่นั่ง              
แบ่งเขต บัญชีรายชื่อ รวม              
  เพื่อไทย 7,881,006

22.16

 

136 0

136 / 500

 

             
  พลังประชารัฐ 8,441,274

23.74

 

97 19

116 / 500

 

             
  อนาคตใหม่ 6,330,617

17.80

 

31 50

81 / 500

 

             
  ประชาธิปัตย์ 3,959,358

11.13

 

33 20

53 / 500

 

             
  ภูมิใจไทย 3,734,459

10.50

 

39 12

51 / 500

 

             
  เสรีรวมไทย 824,284

2.32

 

0 10

10 / 500

 

             
  ชาติไทยพัฒนา 783,689

2.20

 

6 4

10 / 500

 

             
  ประชาชาติ 481,490

1.35

 

6 1

7 / 500

 

             
  เศรษฐกิจใหม่ 486,273

1.37

 

0 6

6 / 500

 

             
  เพื่อชาติ 421,412

1.19

 

0 5

5 / 500

 

             
  รวมพลังประชาชาติไทย 415,585

1.17

 

1 4

5 / 500

 

             
  ชาติพัฒนา 244,770

0.69

 

1 2

3 / 500

 

             
  พลังท้องถิ่นไท 214,189

0.60

 

0 3

3 / 500

 

             
  รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 134,816

0.38

 

0 2

2 / 500

 

             
  พลังปวงชนไทย 80,186

0.23

 

0 1

1 / 500

 

             
  พลังชาติไทย 73,421

0.21

 

0 1

1 / 500

 

             
  ประชาภิวัฒน์ 69,431

0.20

 

0 1

1 / 500

 

             
  พลังไทยรักไทย 60,434

0.17

 

0 1

1 / 500

 

             
  ไทยศรีวิไลย์ 60,354

0.17

 

0 1

1 / 500

 

             
  ครูไทยเพื่อประชาชน 56,633

0.16

 

0 1

1 / 500

 

             
  ประชานิยม 56,264

0.16

 

0 1

1 / 500

 

             
  ประชาธรรมไทย 48,037

0.14

 

0 1

1 / 500

 

             
  ประชาชนปฏิรูป 45,420

0.13

 

0 1

1 / 500

 

             
  พลเมืองไทย 44,961

0.13

 

0 1

1 / 500

 

             
  ประชาธิปไตยใหม่ 39,260

0.11

 

0 1

1 / 500

 

             
  พลังธรรมใหม่ 35,099

0.10

 

0 1

1 / 500

 

             
อื่น ๆ 57,344

0.16

 

0 0

0 / 500

 

 
คะแนนสมบูรณ์ 35,561,556 100 350 150 500              
               
คะแนนเสีย 2,130,327 5.57                
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 605,392 1.58              
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 38,268,366 74.69              
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 51,239,638                
               
ที่มา: คณะกรรมการการเลือกตั้ง คะแนนเสียง ส.ส. แบบแบ่งเขตผล ส.ส. แบบแบ่งเขตส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ

 
             

 

เทียบสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบหาร 100 และ 500

      สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบหาร 100 และ 500 ต่างกันตรงไหน ใครได้ ใครเสียประโยชน์

            สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบหาร 100 และ 500 นั้น

นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่...) พ.ศ... รัฐสภา เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนโดยได้อธิบายเกี่ยวกับสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือ ปาร์ตี้ลิสต์ แบบหาร 100 เอาไว้ดังนี้

 สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบหาร 100

            คือ จำนวนส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ไปหารด้วยคะแนนรวมในบัตรเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองทั่วประเทศ จนได้ตัวเลขเป็นฐานคะแนนต่อ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 1 คน แล้วนำคะแนนของแต่ละพรรคการเมืองมาดูว่า ได้คะแนนเท่าใด แล้วจึงคิดออกมาเป็นสัดส่วนของ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ที่แต่ละพรรคจะคว้าได้ในสภาฯ จนครบ 150 คน


 

ตัวอย่างการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบหาร 100

        หากบัตรคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ทั่วประเทศ รวมกันแล้วมีทั้งสิ้น 37,000,000 คะแนน ก็นำ 37,000,000 ไปหารด้วย 100 ก็จะเท่ากับได้ 370,000 คะแนนต่อส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 1 คน

            หากย่อยลงมาให้เห็นชัด ๆ คือ พรรค ก. ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ 1,000,000 คะแนน เมื่อนำ 370,000 คะแนน ไปหาร พรรค ก. ก็จะได้ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 2.7 คน หรือ 2 คน

          หมายเหตุ ข้อดีทุกคะแนนเสียงนำมาหาคะแนนได้อีก แม้จะเป็น ส.ส.สอบตก เพียงแต่หารด้วย 100 สัดส่วน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คนจะมาก หารด้วย 500  สัดส่วน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คนจะน้อยลง

 

การเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2566

         ในการเลือกตั้ง ส.ส.ปี 2566 นั้น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ครั้งล่าสุด คือการเลือกตั้งเมื่อ วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2562 ก็จะครบ 4 ปี ในวันที่ 24 มีนาคม 2566 เพราะ ส.ส.นั้น

มีวาระ 4 ปี และมีผลตั้งแต่วันเลือกตั้ง

         การเลือกตั้งครั้งที่ 29 ทีจะมาถึงปี 2566 ประมาณเมษายน หรือ

ประมาณ พฤษภาคม (ยกเว้น มีการยุบสภาฯก่อน) ก็จะมีการเลือกตั้ง

ส.ส. เป็นการทั่วไป และในการเลือกตั้ง คราวนี้ ได้มีการเสนอแก้ไข

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบคือบัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบ

แบ่งเชตเลิอกตั้ง และบัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และใน

การคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายขื่อเดิมให้หารด้วย 500 คะแนนอาจจะไม่มากก็ได้เป็น ส.ส. ได้ การเลือกตั้งปี 2566 จะหารด้วย 100 พรรคต้องได้คะแนนมากพอ จึงจะได้รับการแบ่งสันปันส่วน ส.ส. ต้องรอให้

กกต.ประกาศกำหนดเขตเลิอกตั้ง และวันเลือกตั้งก่อน

        อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาชนต้องเตรียมไว้ คือ

1.    ให้ศึกษาพรรคการเมืองที่ผ่านมาว่า ผลงานเป็นอย่างไร สมกับ

ได้หาเสียงไว้ก่อนการเลือกตั้ง ปี 2562 ไหม นโยบายพรรค เป็นไปได้

มากน้อยเพียงใด นโยบายบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด

2.    ศึกษาผลงานของ ส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งไปแล้วเมื่อ ปี 2562 ว่า

ได้เข้าไปทำบทบาทหน้าที่ของ ส.ส.ได้มากน้อยเพียงใด มีการขาดประชุม

ส.ส. บ่อยครั้งเพียงใด โดยไม่มีสาเหตุหรือเหตุสุดวิสัย เช่น เจ็บป่วย

เป็นต้น

3.    ศึกษาว่า ส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งไปแล้วเมื่อปี 2562 มีพฤติกรรม

มัวหมอง หรือมลทินมัวหมองในตำแหน่งหน้าที่ ส.ส.ไหม เช่น การขายตัว

ในการลงคะแนนเสียงในการลงมติไม่ไว้ว่างใจ การทำผิดจริยธรรม ของ ส.ส. หรือนักการเมือง เป็นต้น

 คนดีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ควรเลือกเป็น ส.ส.

        ในการเลือกตั้ง ส.ส. นั้น ต้องยอมรับว่า พรรคเลือกคน ประชาชน อาจจะเลือกพรรค หรือคน หรือเลือกทั้งพรรคและคนก็ได้ ดังคำที่ว่า

“เลือกคนที่เรารัก เลือกพรรคที่เราชอบ แต่ถ้าจะให้รอบคอบ ควรชอบ

ทั้งพรรคและคน” เว้นแต่ไม่มีในใจจริง ๆ คอยกาในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน

         ในการเลือกพรรค หรือคน นั้น ถ้าคิดว่า นโยบายพรรค ไม่ดี หรือเฟ้อฝันจนเกินไป ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างแท้จริง หรือคนที่พรรคส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง มีประวัติด่างพร้อย หรือมีมลทินมัวหมองด้านการทุริตหรือประพฤติมอชอบตามกฎหมายบ้านเมืองมาก่อน ผลงานไม่มี ประชาชนไม่รู้จักชื่อเสียงเรียงนาม เป็นต้น ประชาชนอาจจะไม่เลือกก็ได้เพราะมีช่องที่ไม่ประสงค์ลงคะแนนให้กา ก็มีระบุไว้ในบัติเลือกตั้ง

        บุคคลที่ประชาชนควรเลือกตั้งเป็น ส.ส. เช่น

1.    เป็นผู้มีการศึกษาดีพอที่จะไปออกกฎหมาย หรือเสนอกฎหมาย

ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือต่อชาติบ้านเมืองได้

2.    เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่เคยมีประวัติคดโกงมาก่อน หรือไม่เคย

ถูกลงโทษจำคุกในข้อหาทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือถูกจำคุกหรือถูก

ไล่ออกจากงานไม่ว่างานเอกชน งานราชการในข้อหาผู้เสพ ผู้ค้ายาเสพติดให้โทษ เช่น ยาบ้า ยาอี เป็นต้น หรือถูก ป.ป.ช.ชี้มูลว่าเป็นบุคคที่ทุจริตต่อหน้าที่การงานอย่างชัดเจนเปีนรูปธรรม

3.    เป็นผู้ที่มีประวัติการทำงานหรือผลงานที่ผ่านมาดีพอและเป็นที่ยอมรับของประชาชนได้

4.    เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและรู้จักเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ

5.    เป็นผู้ที่เข้าถึงประชาชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ประชาชนเข้าหาได้ง่าย ติดดิน เข้าใจคน
รากหญ้า เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาแก้ไข โดยเสนอเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน

6.    เป็นแบบอย่างของการรู้จักรักษาประโยชน์ของส่วนรวมไม่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง เช่น แจกเงินหรือสิ่งของเพื่อให้ผู้ใดลงคะแนนให้ตนเอง หรือไม่ลงคะแนนให้กับผู้สมัครอื่น หรือพรรคอื่นๆ

7.    เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการประชุม และเลือกเข้าไปแล้วสามารถ

ทำหน้าที่ ส.ส. คือเข้าประชุมเพื่อพิจารณาข้อกฎหมายต่าง ๆ ได้เป็น

อย่างดี ไม่ขาดประชุมโดยไม่มีสาเหตุ หรือเหตุสุดวิสัย

8.    เป็นผู้ที่เชื่อได้ว่า ไม่ยอมให้ใครมาซื้อตัวหรือตำแหน่ง ส.ส.เพื่อ

ทำการที่ไม่ดี หรือไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง ส.ส.

9.    อื่น ๆ ที่คิดว่า เป็นสิ่งที่ดีต่อชาติบ้านเมือง

พรรคการเมืองที่ดี ควรมีลักษณะ เช่น

        1. มีนโยบายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และมีแนวทางปฏิบัติให้สามารถเป็นจริงได้

        2. ในการกำหนดนโยบายของพรรค ต้องมุ่งแก้ปัญหาความกินดี

อยู่ดี หรือปากท้องของประชาชน นโยบายด้านการเกษตร พืชผลของ

ชาวไร่ชาวนา การส่งเสริมการทำนา การจำหน่ายผลผลิตของชาวนา

4.    มีนโยบายด้านการศึกษาและด้านการสาธารณสุขที่ชัดเจน

ทำอย่างไรจึงจะลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประชาชนได้

ทำอย่างไรจึงจะสามารถให้ประชาชนเข้าถึงการบริการด้านสาธารณาสุข ได้อย่างถ้วนหน้า เป็นต้น

5.    มีนโยบายด้านการทหารที่ชัดเชน เช่น ทำอย่างไรจึงจะทำให้

ทหาร เป็นทหารมืออาชีพ ทำอย่างไรจึงจะส่งเสริมกำลังทัพเพื่อป้องกัน

อริราชศัตรู ทำอย่างไรจึงจะไม่ทำให้ทหารมีการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งที่ผ่านมายังเป็นวงจรยังไม่รู้จบ

6.    อื่น ๆ ที่เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีต่อชาติบ้านเมือง

 

หมายเหตุ

        พรรคหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งให้เงิน หรือสิ่งของ แต่เราไม่เลือก เป็นบาปไหม ?

        คำตอบ คือ ไม่บาป เพราะเราไม่ได้ไปขโมยของเขามา เขาให้เราเอง

 

สรุป

          ประชาธิปไตยแบบไทยไทยที่ผ่านมา หลายคนเชื่อว่า คือ

ประชาธิปไตยยังไม่เต็มใบ เพราะความรู้สึกนึกคิดของคนไทยเราจะมอง

ที่ตัวบุคคลมากกว่า นั้นคือเป็นคนที่เข้าหา พึ่งพาได้ในยามยาก เสมอต้น

เสมอปลาย ไม่ใช่เลือกตั้งไปแล้ว หายต๋อม ไม่เคยมาเยี่ยมมาเยียนถาม

ปัญหาความทุกข์ยากเลย เวลามีชาวบ้านไปเยี่ยมไปหาเพื่อขอ

ความช่วยเหลือ หรือแก้ปัญหาชาวบ้าน แต่กลับบอกให้คนบอกว่า

“ไม่อยู่” ไปธุระ แม้ไม่อยู่ก็สามารถฝากเรื่องราวไว้ และก็มาติดตาม

ปัญหาที่ชาวบ้านมาเยี่ยมเยียน ไม่วางเฉย หรือทำไม่เป็นธุระ ดังตำว่า

“ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์” เพราะจะทำให้ไม่ได้ใจชาวบ้านหรือประชาชนได้

อย่างแท้จริง

         การที่จะทำให้ประชาธิปไตยแบบไทยไทยเป็นประชาธิปไตยเต็มใบก็อยู่ที่ประชาชาชนทุกคน มีพลังเข้มแข็งเหนียวแน่น เลือกคนดีเช้าไปทำหน้าที่ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร เช่น เป็นผู้มีการศึกษาดีพอที่จะไปออกกฎหมาย หรือเสนอกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือต่อชาติบ้านเมืองได้ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่เคยมีประวัติคดโกงมาก่อน หรือไม่เคยถูกลงโทษจำคุกในข้อหาทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือเคยถูกจำคุกหรือถูกไล่ออกจากงานไม่ว่างานเอกชน งานราชการในข้อหาผู้เสพ ผู้ค้ายาเสพติดให้โทษ เช่น ยาบ้า ยาอี เป็นต้น หรือถูก ป.ป.ช.ชี้มูลว่าเป็นบุคคที่ทุจริตต่อหน้าที่การงานอย่างชัดเจนเปีนรูปธรรม เป็นผู้ที่มีประวัติการทำงานหรือผลงานที่ผ่านมาดีพอและเป็นที่ยอมรับของประชาชนได้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและรู้จักเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ เป็นผู้ที่เข้าถึงประชาชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ประชาชนเข้าหาได้ง่าย ติดดิน เข้าใจคนรากหญ้า เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและนำมาแก้ไข โดยเสนอเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เป็นแบบอย่างของการรู้จักรักษาประโยชน์ของส่วนรวมไม่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง เช่น แจกเงินหรือสิ่งของเพื่อให้ผู้ใดลงคะแนนให้ตนเอง หรือไม่ลงคะแนนให้กับผู้สมัครอื่น หรือพรรคอื่นๆ เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการประชุม และเลือกเข้าไปแล้วสามารถทำหน้าที่ ส.ส. คือเข้าประชุมเพื่อพิจารณาข้อกฎหมายต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ขาดประชุมโดยไม่มีสาเหตุ หรือเหตุสุดวิสัย เป็นผู้ที่เชื่อได้ว่า ไม่ยอมให้ใครมาซื้อตัวหรือตำแหน่ง ส.ส.เพื่อทำการที่ไม่ดี หรือไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง ส.ส. เป็นต้น  ส่วนพรรคการเมืองที่ดี ควรมีลักษณะ เช่น

            1. เป็นพรรคที่มีนโยบายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และมีแนวทางปฏิบัติให้สามารถเป็นจริงได้

             2. นโยบายของพรรค ต้องมุ่งแก้ปัญหาความกินดีอยู่ดี หรือปากท้องของประชาชนเป็นสำคัญ เช่น นโยบายด้านการเกษตร พืชผลของชาวไร่ชาวนา การส่งเสริมการทำนา การจำหน่ายผลผลิตของชาวนา

การจำนำสินค้าด้านการเกษตร เป็นต้น

3. มีนโยบายด้านการศึกษาและด้านการสาธารณสุขที่ชัดเจน

ทำอย่างไรจึงจะลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประชาชนได้

ทำอย่างไรจึงจะสามารถให้ประชาชนเข้าถึงการบริการด้าน

สาธารณาสุข ได้อย่างถ้วนหน้า เป็นต้น

           4. มีนโยบายด้านการทหารที่ชัดเชน เช่น ทำอย่างไรจึงจะทำให้ทหาร เป็นทหารมืออาชีพ ทำอย่างไรจึงจะส่งเสริมกำลังทัพเพื่อป้องกันอริราชศัตรู ทำอย่างไรจึงจะไม่ทำให้ทหารมีการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งที่ผ่านมายังเป็นวงจรยังไม่รู้จบ  เป็นต้น

        พรรคหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งให้เงิน หรือสิ่งของ แต่เราไม่เลือก เป็นบาปไหม ? คำตอบ คือ ไม่บาป เพราะเราไม่ได้ไปขโมยของเขามา เขาให้เราเอง

 

****************

 

 

แหล่งข้อมูล

https://ilaw.or.th/node/6291

https://bit.ly/2Sk055O

https://play.google.com/books/reader?id=p5ZFMAAAAEAJ&pg=GBS.PA43

https://play.google.com/books/reader?id=ZidHMAAAAEAJ&pg=GBS.PA31

https://bit.ly/2Sk055O

 

 

หมายเลขบันทึก: 710915เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2022 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2022 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท