การทำผลงานเลื่อนระดับของพยาบาล..ให้ตรงใจกรรมการ


การทำผลงานเพื่อเลื่อนระดับให้เข้าตากรรมการ ทำอย่างไรดี?

17-18 พย 2565

มีโอกาสเดินทางไปกับสมาคมฯ วิทยากร การเลื่อนระดับที่สูงขึ้น ที่ รพ มหาราช โคราช

 จะเห็นความตั้งใจในการพัฒนาของพยาบาลทุกคน

เห็นตัวอย่างของการพัฒนา ทั้งระดับ ชนพ ชช 

ขอสรุปให้เลยค่ะว่า….

 

หัวใจของการทำผลงานให้ตรงใจกรรมการ

  • มีการวิเคราะห์สถานการณ์ในคลินิกให้ชัดเจน ทั้ง input process outcome
  • นำทฤษฎีทางการพยาบาลมาใช้ เป็นกรอบแนวคิด
  • นำผลวิจัย/หลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ ในการพัฒนางาน
  • การพัฒนาการดูแลผู้ป่วย เป็นไปตามระดับของตำแหน่งที่ขอ
  • มี nursing outcome และเป็นการยกระดับผลลัพธ์ทางการพยาบาล

     ทุกชิ้นงาน ทั้งการทำคู่มือฯ งานวิเคราะห์ วิจัย หากเรายึดในสิ่งนี้

       ผลงานสำเร็จแน่นอนค่ะ

 

แต่อย่างไรก็ตาม ผลงานเพียงสองชิ้น ไม่ใช่สิ่งที่บอกว่า เราจะผ่านการประเมิน เพราะ ประวัติส่วนตัวของเราในการทำงานที่ผ่านมาต้องแสดงให้เห็นว่า เรามีเส้นทางการพัฒนาอย่างไร เพราะจะเป็นผลงานติดตัวเรา ถึง 70%

 

แก้ว

บันทึก 25.11.2565

ขอยืมสไลด์ ดร เพ็ญศรี รักษ์วงค์ รุ่นน้อง NU15 ที่ส่งซี9 ผ่านฉลุยในรอบเดียว หัวหน้าพยาบาล พยาบาลเชี่ยวชาญของ รพ มหาราช โคราช

หมายเลขบันทึก: 710586เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2022 06:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2024 06:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การทำผลงานของวิทยากร ล้วนแต่ใช้เวลา 3-5 ปี

ดังนั้นคนที่จะส่งผลงาน ต้องวางแผน มีการออกแบบโครงการ แล้วดำเนินการตามแผนและประเมินผลลัพธ์

การทำผลงานจึงจะประสบผลสำเร็จ

ส่งกำลังใจให้ทุกคนนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท