จับชีพจรสิงคโปร์2565 (3) (Singapore2022 (3)


นี่คือบทเขียนจับชีพจรสิงคโปร์2565 (2) ที่ตั้งใจจะเขียน แต่บังเอิญมีเรื่องการศึกษาดูงานที่ NUS (มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์) ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจไม่แพ้เรื่องที่ตั้งใจที่จะเขียนไว้ก่อนนั้น และที่สำคัญสาระที่ได้รับจากการดูงานเป็นเรื่องที่นักศึกษาที่ไปดูงานควรได้รับข้อมูลเพิ่มเติม และจากผมที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย จึงตัดสินใจเขียนเรื่องดูงานก่อน และวันนี้จึงขอย้อนกลับไปเรื่องจับชีพจรสิงคโปร์ต่อจากภาคแรกที่เขียนไว้ในวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ดังนี้

ความเดิมคือผมเคยมาเรียนที่สิงคโปร์เมื่อ 42 ปีที่แล้ว และบังเอิญได้มาพักที่ RELC International Hotel ซึ่งเคยเป็น Language Center และเป็นสถาบันที่ผมเคยเรียน จึงระลึกถึงความหลัง และความเปลี่ยนแปลงของสิงคโปร์ในช่วง 40 กว่าปีที่ผ่านมา ดังสาระในจับชีพจรสิงคโปร์2565 (1) และวันนี้อยากเล่าถึงสิ่งที่สิงคโปรไม่เปลี่ยน และน่าจะเป็นบทเรียนได้คือ อะไรที่ดีอยู่แล้ว แม้โลกจะเปลี่ยนไป แต่ถ้าสิ่งนั้นยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประโยชน์ร่วมกันของคนในชาติก็ควรคงไว้

เรื่องแรกคือ การนำเข้ายาเสพติดมายังประเทศสิงคโปร์มีโทษถึงประหารชีวิตโดยการแขวนคอ ซึ่งแม้จะมีการทักท้วงจากหลายประเทศและองค์กรระหว่างปรเทศ แต่ประเทศสิงคโปร์ก็ยังยืนยันในหลักการและกฎหมายเรื่องนี้ ดังนั้นใครจะเดินทางมาสิงคโปร์ต้องระมัดระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ

เรื่องที่สองคือ กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน ซึ่งสาระโดยทั่วไปก็คล้ายกับกฎหมายกาาครอบครองปืนในประเทศต่างๆ แต่แต่แตกต่างและผมเห็นว่าเป็นจุดต่างที่สำคัญคือ ประเทศสิงคโปร์ที่บัญญัติว่าผู้ใดใช้หรือพยายามใช้อาวุธปืนในการกระทำหรือพยายามกระทำความผิด ไม่ว่าจะมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างหายหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นหรือไม่ก็ตาม มีโทษประหารชีวิต ยกเว้นพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อไม่ให้มีการใช้อาวุธปืนในการกระทำหรือพยายามกระทำความผิด ที่ผมเห็นด้วยกับบทบัญญัตินี้เพราะไม่มีใครบังคับให้คนอื่นใช้ปืนก่ออาชญากรรมได้ ถ้าเขาไม่เลือกจะทำเอง คือยัดเยียดความผิดไม่ได้ แต่การครอบครองปืนอาจจะมีการยัดเยียดกันได้ครับ กฎหมายนี้ยังมีผลบังคับใช้อยู่ 

เรื่องที่สามหรือการักษาความสะอาด คือ การจับปรับคนที่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ มีโทษปรับแพงเหมือนเดิม แต่มีขั้นตอนและลำดับชั้นในการลงโทษ เช่น ถ้าเป็นความผิดครังแรก หรือสองมีการตักเตือน ถ้ามากกว่านั้นมีการปรับและทำประโยชน์สาธารณะ เช่น ให้ไปเก็บขยะเป็นต้น แต่สมัยผมเรียนที่สิงคโปร์นั้นได้รับเตือนว่าแม้แต่ทำตั๋วรถเมล์หล่น และตำรวจเห็น ปรับ 2,000 เหรียญ เป็นต้น ไปไหนมาไหนต้องระมัดระวังมาก และมีเรื่องเล่าว่าถ้า ยากเห็นตำรวจสิงคโปร์ให้ทิวขยะลงถนน (ซึ่งโดยปกติจะไม่ค่อยเห็นตำรวจสิงคโปร์ แบะทุกวันนี้เป็นอย่างนี้อยู่) แต่เรื่องนี้ไม่รู้ว่าจริงเท็จแค่ไหนเพราะผมก็เคยทดลองครับ

นี่คือสามเรื่องที่ไม่เปลี่ยนแปลงในสิงคโปร์ แม้เวลาจะผ่านไปแล้ว 42 ปีก็ตาม และในช่วงมี่ผมเรียนอยู่ที่สิงคโปร์นั้นมีกรณีผู้รายใบ้ปืนปล้นธนาคาร พอผู้ร้ายทราบว่าตำรวจได้ล้อมบริเวณทั้งหมดแล้วและไม่มีทางหนีรอดผล ผู้ร้ายคนดังกล่าวตัดสินใจฆ่าตัวตายครับ

เรื่องสุดท้ายมีทั้งควสภาพและเปลี่ยนไป คือพอดีเมื่อเช้านี้ก่อนผมจะเดินทางไปดูงานกับคณะ ผมเดินผ่านห้องสมุด RELC เห็นห้องสมุดเปิดอยู่และมีเจ้าหน้าที่ประจำห้องสมุดอยู่ ผมก็เลยแวะเข้าไปทัก และแนะนำตัวในฐานะศิษย์เก่าเมื่อ 42 ปีที่แล้ว และเรียนถามถึงการเปลี่ยนแปลงของ RELC

และได้ทราบวิวัฒนาการของสถาบันที่ผมเคยเรียนคือ RECL ว่าช่วงหลังนี้ภาระหน้าที่ในการพัฒนาบุคลกรอาเซียนเกี่ยวกับภาษาลดลง RELC จึงปรับตัวโดยเปิดสอนระดับปริญญาโทสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองด้วยอีกหน้าที่หนึ่ง ปรับห้องพักนักศึกษาเป็นโรงแรมที่พักเพื่อรองรับทั้งนักศกษา และรับแขกหรือนักท่องเที่ยวทั่วไปด้วย นอกจากนี้ยังเปิดให้เช่าสำนักงานเพื่อจัดอบรม สัมมนา หรือเปิดหลักสูตรอื่นที่ไม่ใบ่หลักสูตรของ RELC ด้วย ซึ่งเป็นตัวอย่างในการปรับตัวและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่า ซึ่งทำให้ผมถึงถึงอาคารสถานที่ของสถาบันอุดมศึกษาไทยขึ้นมาทันทีว่าจะทำอะไรได้มากน้อยเพียงใดครับ

นี่คือชีพจรสิงคโปร์ 2565 ตามการรับรู้ของผมครับ

สมาน อัศวภูมิ

27 ตุลาคม 2565

หมายเลขบันทึก: 709218เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2022 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2022 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท