ไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้เป็นอันตรายอย่างยิ่ง (Don't know that we don't know is most dangerous)


นักบริหารรู้ดีและรู้มานานว่า ‘องค์การที่ไม่รู้ว่าตนเองมีปัญหานั่นแหละคือปัญหา' ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายในการดำเนินงานขององค์การ และในช่วงสองสามวันที่ผ่านมาผมได้หนังสือเล่มหนึ่งที่ลูกสาวซื้อมาและแนะนำให้อ่านคือ ‘Think Again’  เขียนโดย  Adam Grant (Grant, 2021; Think Again: The Power of Knowing What You Don't know, United of America -Viking) ซึ่งมีแนวคิดที่น่าสนใจหลายประเด็นโดยเฉพาะที่อ้างอิงนักทฤษฎีระดับรางวัลโนเบล Dunning & Kruger ที่ชี้ว่าสิ่งที่อันตรายที่สุดของคนเราคือการไม่รู้ว่าตนเองไม่รู้ เพราะการที่ไม่รู้ว่าตนเองไม่รู้มักจะไปบังคับหรือสอนคนอื่นให้เข้าใจว่าสิ่งที่สอนหรือทำนั้นถูกต้อง ก็ก็นำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่กว่า และมากกว่าไปเรื่อย ๆ แม้ว่า
แม้ว่าโดยปกติวิสัยแล้วผมค่อนข้างจะเป็นคนมีทัศนะเปิดและเคารพความเห็นของเพื่อนมนุษย์ แต่หลังที่ได้อ่านและศึกษาผลวิจัยของนักวิชาการระดับโนเบลทั้งสองท่านแล้วทำให้ผมต้องย้อนกลับมาสำรวจตัวเองมากขึ้นว่ามีอะไรบ้างที่ผมคิดว่าผมรู้ ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้แล้วไปสอนคนอื่นให้เป็นและเชื่อแบบที่ตนเองเข้าใจ แต่ก็มีข้อจำกัดว่าเราจะรู้ว่าสิ่งที่เราไม่รู้นั้นคืออะไร หรือแม้แต่สิ่งที่เราคิดว่าเรารู้นั้น จริง ๆ แล้วเป็นจริงแค่ไหน อย่างไร ดังนั้นคงต้องระมัดระหวังข้อค้นพบหรือข้อสรุปของตนเองให้มากขึ้น และพร้อมรับการตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์ และมีข้อพึงระมัดระวังมากขึ้นครับ 

หลังจากได้นำข้อคิดดังกล่าวมาพิจารณาตนเองมากขึ้นดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ก็มาคิดต่อไปว่าแล้วหลักคิดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และการเป็นอยู่ร่วมกันอย่างไร 

ประการแรกคือสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ในฐานปัจเจคบุคคล ก็คือการที่เราระมัดระวังระหว่างสิ่งที่ตนรู้กับไม่รู้นั้นน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและการอยู่ร่วมกันกับคนอื่นอย่างน้อยเราก็จะได้ระมัดระวังไม่เป็นที่มีความเชื่อมั่นในตนเองมากเกิดไป และคิดว่าส่ิงที่ตนเองรู้ และทำนั้นถูกต้องที่สุดแล้ว ทั้ง ๆ ที่มันอาจจะผิด  หรือยังมีสิ่งที่ดีกว่านี้ได้นั้นก็จะทำให้เราไม่ลงตนเองมากไป และที่สำคัญคือหลงทางชีวิตจนทำให้เสียเวลาในการใช้ชีวิตในโลกนี้อย่างมีคุณค่า และมีความสุขไปอย่างน่าเสียดายครับ 

และอีกประการหนึ่งถ้าเราได้เป็นผู้นำครอบครัว หรือผู้นำองค์การ หรือผู้บริหารบริษัท หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารประเทศก็ตาม ถ้าเราเข้าใจ และนำใช้แนวคิดนี้แล้วก็น่าจะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ตามอยู่และทำงานร่วมก้บผู้นำแบบนี้ได้อย่างมีความสุขมากขึ้น กล้าที่จะให้ความเห็น ให้ข้อเสนอแนะ และให้ความร่วมมือกันและกันมากขึ้น 

โดยเฉพาะโลกในปัจจุบันนั้นมีความไม่แน่นอนสูง มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว และไม่มีใครรู้ทุกอย่างที่เกิดขึ้น จึงเป็นโลกที่ต้องแชร์ความคิด แชร์การกระทำ และแชร์ความรับผิดรับชอบร่วมกัน มากกว่ที่จะมีใครสักคนหนึ่งที่คิดว่าตนเองรุ้ดีที่สุด ซึ่งถ้าถูกก็ดีไป แต่ถ้าผิดแล้วก็ผิดก้นทุกคน ทั้ง ๆ อาจจะมีทางเลือกที่ดีกว่านั้น 

ฝากถึงศิษย์ทุกคน และเพื่อนร่วมงานทุกท่าน จงได้ช่วยกันสงสัย วิพากษ์ และเจียรนัยทุกความคิดให้ดีที่สุดเพื่อประโยชน์ของทุกคนร่วมกัน ทั้งในแง่วิชาการ และชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเราทุกคนครับ 

ไม่รู้ ไม่ชี้นะน่าจะดีกว่า ‘ไม่รู้ แล้วชี้’ นะ

และถึงจะบอกว่า ‘รู้แล้วจึงชี้’ ก็ยังต้องช่วยกันดูอีกที ดีกว่าไหม 

ขอให้โชคดีครับ 

รักนะ

สมาน อัศวภูมิ

23 ตุลาคม 2565

หมายเลขบันทึก: 709030เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2022 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ตุลาคม 2022 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

The source of “silent majority” (non-action) is grounded on this doubt.

When we make up our mind (right or wrong) then we can act (lest we procrastinate).

There are ways we can make up our mind, the Tipitaka has Galama-sutta which tells us to consider facts for ourselves and to become confident of our decisions. However todays’ facts can be fakes – Sigh! So, we are getting nowhere. ;-0

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท