กลยุทธ์ในการจัดการศึกษา เพื่อให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม


ความคาดหวังของสังคมต่อผลผลิตผู้จบการศึกษา        น่าจะเป็นดังนี้ 1. ความรู้ทางวิชาการ    การอ่านออกเขียน ได้ คิดคำนวณได้ตาม ความเหมาะสมกับระดับชั้นเรียนนั้น ๆ  เช่น ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับอุดมศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี 2. ความรู้ทางวิชาชีพ     คือการปลูกฝัง ฝึกฝน ให้ผู้เรียนมีแนวทางใน การประกอบอาชีพ การทำมาหากิน ที่เหมาะสมกับระดับชั้นเรียน เพราะชีวิตของคนเรา จะดำรงอยู่ได้เพราะ มีปัจจัยในการดำรงชีพ เช่น อาหารการอยู่การกินที่ดี เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค แต่การที่จะมี สิ่งเหล่านั้นได้เพราะมีความรู้ทางอาชีพต่าง ๆ ทั้งอาชีพ อิสระ และอาชีพที่เราต้องไปสอบแข่งขันเข้าทำงานตาม โรงงาน หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน 3. ความรู้วิชาชีวิต     วิชาชีวิต คือคือการมีทักษะชีวิต สามารถแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างสันติ ที่มีคุณธรรม จริยธรรมกำกับ เช่น ทักษะชีวิตในปรับตัวให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขโดยไม่ทำใครต้องได้รับความเดือดร้อน เพราะตนเองเป็นต้นเหตุ เป็นต้น 4. ความรู้คู่คุณธรรมเสมอ     นั้น คือสังคมอยากเห็นบุตรหลานที่เข้าเรียนในสถานศึกษาแล้ว นอกจากจะมีความรู้ทางวิชาการ ความ่รู้ ทางวิชาชีพ ทักษะชีวิตแล้ว อยากเห็นบุตรหลานของตนเป็นคนดี มีความรู้คู่คุณธรรม ให้ความสำคัญกับคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะเก่งต้องไม่คิดคดโกงชาติบ้านเมือง

กลยุทธ์ในการจัดการศึกษา เพื่อให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม : ดร. ถวิล อรัญเวศ

 

กลยุทธ์ในการจัดการศึกษา

เพื่อให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม

ดร. ถวิล  อรัญเวศ

          การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้ อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

         การศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคม ซึ่งสังคมได้ส่งผ่านความรู้ ทักษะ จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง  สำหรับปัจจุบันนี้มีการแบ่งระดับชั้นทางการศึกษาออกเป็นขั้นๆ เช่น การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ทั้งนี้รวมไปถึงระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการฝึกงาน

           ในการจัดการศึกษานั้น ปัจจัยสำคัญ คือ ต้องจัดเพื่อให้มีความรู้และคู่คุณธรรมเสมอ เพราะมีคำที่ว่า “รากฐานของตึกคืออิฐ รากฐานชีวิตคือการศึกษา”

          การศึกษาถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้คนเราได้รู้ดี รู้ชั่ว หรือรู้ถูก รู้ผิด รู้แยกแยะและทำให้รู้ว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขและไม่ทำให้สังคมเดือดร้อนวุ่นวาย ถ้าเป็นการศึกษาที่ปลูกฝังให้เยาวชนได้มีความรู้คู่คุณธรรม

       การศึกษาถือว่าเป็นการสร้างคน สร้างงาน และสร้างชาติ ทำให้ชีวิตอยู่รอดปลอดภัยหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีสอดคล้องกับสภาพของสังคมเพราะได้เรียนทั้งวิชาการ วิชาชีพ และวิชาชีวิต การรู้จักทำตนให้อยู่รอดปลอดภัย สุนทรภู่ก็กล่าวไว้ว่า

     “รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอด เป็นยอดดี”

(หรือยอดคน)

         ความคาดหวังของสังคมต่อการจัดการศึกษานั้นสังคมไทย และสังคมโลกเริ่มจะให้ความสำคัญกับการศึกษาด้าน “ความรู้ คู่คุณธรรม” มากขึ้นแล้ว ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของไทย 2560 และทิศทางการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา จะพิจารณาความดีและความเก่ง ควบคู่ไปกับการสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อ และมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งจะมีโครงการเด็กดีมีที่เรียน เป็นต้น

 

ความคาดหวังของสังคมต่อผลผลิตผู้จบการศึกษา

        น่าจะเป็นดังนี้

1. ความรู้ทางวิชาการ

    การอ่านออกเขียน ได้ คิดคำนวณได้ตาม

ความเหมาะสมกับระดับชั้นเรียนนั้น ๆ  เช่น ระดับปฐมวัย

ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ระดับอุดมศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

2. ความรู้ทางวิชาชีพ

     คือการปลูกฝัง ฝึกฝน ให้ผู้เรียนมีแนวทางใน

การประกอบอาชีพ การทำมาหากิน ที่เหมาะสมกับระดับชั้นเรียน เพราะชีวิตของคนเรา จะดำรงอยู่ได้เพราะ

มีปัจจัยในการดำรงชีพ เช่น อาหารการอยู่การกินที่ดี

เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค แต่การที่จะมี

สิ่งเหล่านั้นได้เพราะมีความรู้ทางอาชีพต่าง ๆ ทั้งอาชีพ

อิสระ และอาชีพที่เราต้องไปสอบแข่งขันเข้าทำงานตาม

โรงงาน หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน

3. ความรู้วิชาชีวิต

     วิชาชีวิต คือคือการมีทักษะชีวิต สามารถแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างสันติ ที่มีคุณธรรม จริยธรรมกำกับ เช่น ทักษะชีวิตในปรับตัวให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขโดยไม่ทำใครต้องได้รับความเดือดร้อน เพราะตนเองเป็นต้นเหตุ

เป็นต้น

4. ความรู้คู่คุณธรรมเสมอ

     นั้น คือสังคมอยากเห็นบุตรหลานที่เข้าเรียนในสถานศึกษาแล้ว นอกจากจะมีความรู้ทางวิชาการ ความ่รู้

ทางวิชาชีพ ทักษะชีวิตแล้ว อยากเห็นบุตรหลานของตนเป็นคนดี มีความรู้คู่คุณธรรม ให้ความสำคัญกับคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะเก่งต้องไม่คิดคดโกงชาติบ้านเมือง

 

กลยุทธ์ในการจัดการศึกษา

เพื่อให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม

           ในการจัดการศึกษาว่าจะจัดอย่างไรจึงจะทำให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม คงไม่ต้องสงสัยแล้วว่า ความรู้กับคุณธรรมอะไรสำคัญกว่าเพราะสังคมได้พบสัจธรรมแล้วว่า คนมีความรู้เพียงอย่างเดียวก็จะเอาตัวไม่รอด ทำให้สังคมเดือดร้อน เพราะคนที่มีความรู้ดีจะคิดหาวิธีโกงได้พิสดารกว่าคนอื่นถ้าเขาเป็นคนที่ปราศจากคุณธรรม จริยธรรม การที่คนเราเกิดปัญหา และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ต้องพึ่งยาเสพติดให้โทษ และระบายความเครียดโดยไปทำความเดือดร้อนให้คนอื่น ต้องได้รับความบาดเจ็บและเสียชีวิต เพราะเขาไม่มีคุณธรรม จริยธรรม การขาดยับยั้งใจ ข่มใจตนเอง หรือความคุมตนเองไม่ได้ ไม่ใช้วิธีการที่ว่า “ฉลาดทางอารมณ์และเฉียบคมทางปัญญา” ดังนั้น การจัดการศึกษา ต้องจัดเพื่อให้เกิดความรู้และคู่คุณธรรมเสมอ

          สำหรับกลยุทธ์ในการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม นั้น มีดังนี้

1. สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียนหรือสถานศึกษา

   สร้างสโลแกนที่ว่า “แบบอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน”

     ผู้บริหาร ครู และคณาจารณ์ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรม ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่จะทำให้ผู้เรียนได้ตัวแบบที่ดีและประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่ดีตามด้วย โดยสถานศึกษาต้องสร้างตัวแบบและสิ่งแวดล้อมที่ดีในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนเสมอต้นเสมอปลาย เพราะแบบอย่างที่ดีย่อมมีค่ามากกว่าคำสอน นอกจากนี้แล้ว ต้องจัดสภาพแวดล้อมที่ให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมเสริมสร้างความเป็นคนดีอย่างสม่ำเสมอ โดยปลูกฝังทั้งระบบโรงเรียนตั้งแต่ปฐมวัยไปจนชั้นสูงสุดของโรงเรียนครูบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องร่วมด้วยช่วยกัน

2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงออกทางด้าน

     คุณธรรม จริยธรรมที่ดี     เช่น คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคีมีน้ำใจ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จากาการเล่นกีฬา  ให้เป็นผู้รู้แพ้ รู้ชนะ และให้อภัยกันได้ เป็นกีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ


3. มีกิจกรรมเสริมสร้างนิสัยที่ดีให้กับผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ

    โดยสถานศึกษาสามารถใช้กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ หรือการมีจิตอาสา ชุมนุมต่าง ๆ เพื่อเป็นการปลูกฝังระเบียบวินัยให้กับนักเรียน และจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้าวัดปฏิบัติธรรมในวันศุกร์ของสัปดาห์

4. จัดกิจกรรมคนดีของสัปดาห์

    จัดประกวดมรรยาทดี วินัยดีเด่นแก่นักเรียนแต่ละสัปดาห์ และมีคะแนนบันทึกความดีไว้เพื่อนำไปตัดสินผลการเรียนด้วย

 

5. ยกย่องเชิดชูเกียรติครูที่มีจิตวิญญาณ

       เมื่อพบว่าครูคนใด เป็นแบบอย่างที่ดี ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่ศิษย์จนมีชื่อเสียง ก็ควรได้

รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจใน

การปฏิบัติงาน ยกย่องครูที่ตั้งใจทำงาน และมีคุณธรรม

จริยธรรม ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและอบายมุข เป็นต้น

6. ให้ความสำคัญกับความประพฤติ/จรรยาบรรณวิชาชีพมากขึ้น

     โดยสถานศึกษาทุกระดับ ต้องเสริมสร้างผู้เรียนให้

มีความรู้คู่คุณธรรม รับช่วงต่อกัน ตั้งแต่ระดับปฐมวัย

หรืออนุบาล ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา

ระดับอุดมศึกษา ทั้งสามัญและอาชีวศึกษา นอกจากนี้

จะต้องมีมาตรการให้คุณให้โทษสำหรับนักเรียนเรียนดี

ประพฤติดี ต้องได้รับการส่งเสริม ไม่เพียงวัดความรู้อย่างเดียว ต้องสร้างคนดีให้มีที่เรียนมีความก้าวหน้า นอกจากนี้จะต้องมีการส่งเสริมคนที่ทำอาชีพแต่ละด้านถ้าใครมีหน้าที่ที่จะต้องปกปักรักษาสิ่งนั้น แต่ทำผิดเสียเอง จะได้รับโทษหนักเป็นทวีคูณ เช่น ตำรวจมีหน้าที่พิทักษ์

สันติราษฎร์ และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่ถ้าทำผิดเสียเองก็จะได้รับโทษเป็นทวีคูณสองเท่าสามเท่า หรือดารานักแสดง ซึ่งมีอิทธิผลต่อการเลียนแบบหรือการเป็นอย่างของเยาวชน ถ้าทำตนเป็นตัวอย่างไม่ดี ติดยาเสพติด ค้ายาเสพติด ทำตัวไม่เหมาะสม ก็จะได้รับการประจาน และมาตรการที่รุ่นแรงจนถึงกับตัดสิทธิ์อนาคตของคนนั้นๆ ทำให้หมดอนาคตไปได้ง่ายๆ หรือครู อาจารย์ ถ้าประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ ก็จะถูกสังคมเพ่งเล็ง และเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพ หรือถูกลงโทษทางวินัย และจรรยาบรรณวิชาชีพได้ง่ายและโอกาสที่จะไปสมัครงานที่อื่นก็ยากลำบากเพราะเหมือนมีชนักติดตัวแล้ว

7. ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ และพอเพียง

      การประกอบอาชีพอิสระ และพอเพียงจะมีความยั่งยืนเนื่องจากปัจจัยที่จะทำให้สามารถดำรงชีวิตได้ คือการมีอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพที่เป็นนายของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเกษตร หัตถกรรมอุตสาหกรรมครัวเรือน งานช่างฝีมือการทำอาหาร ตั้งร้านอาหาร การทำขนม การขายตรง เป็นต้น คนจะหันมาทำ ขอเพียงแต่สังคมให้การอุดหนุน และในขณะเดียวกันผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องรักษามาตรฐานสินค้า และไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ขายได้กำไรพออยู่ได้ พอเพียง ราคาไม่แพง แต่จะได้ลูกค้ามาก ถ้าราคาแพง ลูกค้าก็ขาดกำลังทรัพย์ จะต้องหาสินค้าหลายมาตรฐานและเหมาะกับลูกค้าแต่ละคน และข้อสำคัญไม่เอาเปรียบกัน ไม่มีกลโกงในการซื้อขายในการประกอบอาชีพ ถ้าภาครัฐให้การส่งเสริมสนับสนุนยกย่องเชิดชูเกียรติ ก็ยิ่งจะทำให้ผู้คนหันมาสนใจและประกอบอาชีพนั้นๆ มากขึ้น เช่น ให้สินเชื่อ ทุนตั้งตัวด้วยดอกเบี้ยไม่แพง ถือว่าเป็นการทำให้ประชาชนมีอาชีพตั้งตัวได้ มีความสุข สร้างคน สร้างงาน และสร้างชาติได้ด้วย

8. ปลูกฝังการรู้รักสามัคคี สมานฉันท์และปรองดองของคนในชาติ

          คนในสังคมจะต้องมีความสมัครสมานสามัคคีกันมีความปรองดองสมานฉันท์ นอกจากนี้จะให้ความสำคัญของการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการดำรงชีวิตและช่วยเหลือกันในยามคับขัน เช่น ประเพณีลงแขกของไทย เวลาเกิดภาวะวิกฤติน้ำท่วมข้าวในนาจนข้าวกล้าจมน้ำได้รับความเสียหาย ก็มาร่วมด้วยช่วยกัน ผลผลิตด้านการเกษตรราคาไม่ค่อยดี รัฐหรือภาคเอกชนจะมีการรับซื้อแทรกแซงตลาด ไม่ปล่อยให้พ่อค้าคนกลางแสวงหาประโยชน์หรือทำการขูดรีดชาวนาชาวไร่ มีกิจกรรมบ้าน วัด โรงเรียน ในการเสริมสร้างคนดี ให้ความสำคัญ ประเพณีชุมชนที่จะทำให้ผู้คนรู้รักสามัคคี ปรองดองและสมานฉันท์จะถูกนำมาใช้และปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวันมากขึ้น

 

สรุป :

       กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมนั้น สามารถจัดได้หลายวิธี เช่น สร้างสิ่งแวดล้อมและตัวแบบที่ดีให้แก่ผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงออกทางด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ดีอย่างสม่ำเสมอ  มีกิจกรรมเสริมสร้างนิสัยที่ดีให้กับผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติโดยสถานศึกษาสามารถใช้กิจกรรมลูกเสือเนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ หรือการมีจิตอาสา ชุมนุม ชมรม และสมาคมต่าง ๆ เพื่อเป็นการปลูกฝังระเบียบวินัยให้กับนักเรียน และจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เข้าวัดปฏิบัติธรรมตามเทศกาลวันสำคัญ จัดกิจกรรมคนดีของสัปดาห์ เช่น จัดประกวดนักเรียนประพฤติดี มีมรรยาทดี  วินัยดีเด่นแต่ละสัปดาห์ และมีคะแนนบันทึกความดีไว้เพื่อนำไปตัดสินผลการเรียนได้ด้วย ยกย่องเชิดชูเกียรติครูที่มีจิตวิญญาณ ส่งเสริมขวัญกำลังใจครู คณาจารย์ ที่เป็นแบบอย่างที่ดี ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่ศิษย์ หรือนิสิตนักศึกษาจนมีชื่อเสียง ก็ควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ  ให้ความสำคัญกับความประพฤติ/จรรยาบรรณวิชาชีพมากขึ้นนั้นคือจะมีมาตรการให้คุณให้โทษสำหรับคนที่ทำอาชีพแต่ละด้านถ้าใครมีหน้าที่ที่จะต้องปกปักรักษาสิ่งนั้น แต่มาทำผิดเสียเอง จะได้รับโทษหนักเป็นทวีคูณ  ตำรวจมีหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่ถ้าทำผิดเสียเองก็จะได้รับโทษเป็นทวีคูณสองเท่าสามเท่า หรือดารานักแสดง ซึ่งมีอิทธิผลต่อการเลียนแบบหรือการเป็นแบบอย่างของเด็กและเยาวชน แต่ถ้าทำตนเป็นตัวอย่างไม่ดี ติดยาเสพติด ค้ายาเสพติด ทำตัวไม่เหมาะสม ก็จะได้รับการประจาน และมาตรการที่รุ่นแรงจนถึงกับตัดสิทธิ์อนาคตของคนนั้นๆ ทำให้หมดอนาคตไปได้ง่ายๆ หรือครู อาจารย์ ถ้าประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ ก็จะถูกสังคมเพ่งเล็ง และเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพได้ง่ายและโอกาสที่จะไปสมัครงานที่อื่นก็ยากลำบากเพราะเหมือนมีชนักติดตัวแล้ว สร้างเด็กดีให้มีที่เรียนต่อ มีความก้าวหน้า มีทุนการศึกษาสนับสนุน ส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ และพอเพียง เพราะการประกอบอาชีพอิสระ และพอเพียงจะมีความยั่งยืนเนื่องจากปัจจัยที่จะทำให้สามารถดำรงชีวิตได้ คือการมีอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพที่เป็นนายของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเกษตร หัตถกรรม อุตสาหกรรมครัวเรือนงานช่างฝีมือ การทำอาหาร ตั้งร้านอาหาร การทำขนมการขายตรง ขายออนไลน์ เป็นต้น คนจะหันมาทำ ขอเพียงแต่สังคมให้การอุดหนุน และในขณะเดียวกันผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องรักษามาตรฐานสินค้า และไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ขายได้กำไรพออยู่ได้ พอเพียง ราคาไม่แพง แต่จะได้ใจลูกค้ามาก ถ้าราคาแพง ลูกค้าก็ขาดกำลังทรัพย์ จะต้องหาสินค้าหลายมาตรฐานและเหมาะกับลูกค้าแต่ละคน และข้อสำคัญไม่เอาเปรียบกัน ไม่มีกลโกงในการซื้อขายในการประกอบอาชีพ ต้องมีศีลธรรม จริยธรรมในการซื้อขาย ถ้าภาครัฐให้การส่งเสริมสนับสนุน ยิ่งจะทำให้ผู้คนหันมาสนใจและประกอบอาชีพนั้น ๆ มากขึ้น เช่น ให้สินเชื่อ ทุนตั้งตัวด้วยดอกเบี้ยไม่แพง ถือว่าเป็นการทำให้ประชาชนมีอาชีพตั้งตัวได้ มีความสุข สร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ ปลูกฝังการรู้รักสามัคคี สมานฉันท์และปรองดองของคนในชาติ สิ่งที่กล่าวมานี้ จะเป็นมาตรการเสริมการจัดกาคศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมนั้นเอง

 

--------------

แหล่งข้อมูลที่มา

https://play.google.com/books/uploads?type=ebooks

https://play.google.com/books/reader?id=geemLwAAAEAJ&pg=GBS.PA0

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 708536เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2022 02:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2022 02:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท