ชีวิตที่พอเพียง  4316. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา   ๑๖๔. กำหนดการเชิงกลยุทธด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการเรียนรู้และการศึกษาไทย


 

สกสว. ต้องการจัดกลไกตั้งโจทย์วิจัยเพื่อการขับเคลื่อน ววน. หนุนการเปลี่ยนแปลงของการเรียนรู้และการศึกษาของประเทศ    และมอบหมายให้ รศ. ดร. อนุชาติ พวงสำลี อดีตคณบดีผู้ก่อตั้งคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. จัดทีมดำเนินการ    และร่วมกันอุปโลกย์ให้ผมทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการ  steering   เรียกชื่อกิจกรรมนี้ว่า SAT EL (Strategic Agenda Team  in Education and Learning)   

เขาเริ่มโดย จัดกิจกรรม Education Journey 50 ปีการศึกษาไทย วันเสาร์ที่ 13 และ 20 สิงหาคม 2565 ระหว่างเวลา 8.30 – 15.30 น.   ณ ห้องประชุมอารีย์ ชั้น 22 โรงแรม The Quarter Ari (อาคาร Ari Hills) พญาไท กรุงเทพฯ   โดยจัดร่วมกับ ThaiPBS และ กสศ.  สื่อสารกับสังคมไทยได้อย่างกว้างขวาง และทรงพลัง   

พลังที่สำคัญยิ่ง คือ เครือข่ายสังคมที่กว้างขวาง ของ รศ. ดร. อนุชาติ    และของ สกสว.      

เว็บไซต์ ThePotential นำสาระในวันที่ ๑๓ สิงหาคม ไปลงไว้ที่ (๑)    สรุปเส้นทางสู่ปัญหาการศึกษาคุณภาพต่ำของไทย    และความพยายามแก้ โดย ๔ แนวทาง      

เว็บไซต์ The Active นำสาระในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ไปลงที่ (๒)     ชี้ให้เห็นความล้ำลึกซับซ้อนของปัญหาคุณภาพของระบบการศึกษาไทย ที่มีอยู่ลึกมาก อยู่ในระดับกระบวนทัศน์ของสังคมไทย 

โชคดีที่ผมมีโอกาสไปร่วมกิจกรรมที่โรงแรมในวันที่ ๒๐    และได้อ่านข้อสรุปจาก ThePotential (๑)    และจาก The Active (๒) ตอนเช้ามืดวันที่ ๒๑ สิงหาคม    ในสภาพจิตที่เปิดกว้าง    จึงมองว่ากลยุทธสำคัญคือ เคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมสู่มิติใหม่ของนักเคลื่อนไหวสังคม ๔ ท่านนี้ที่ระบุใน (๒)   และคนอื่นๆ ที่ ดร. อนุชาติรู้จักคุ้นเคยดี   สนับสนุนให้นักเคลื่อนไหวดำเนินการตามฝันของตน    แล้วให้ทีม ดร. อนุชาติหาทีมทำวิจัยคู่ไปด้วยกัน    เพื่อทำความเข้าใจว่าความเคลื่อนไหวแต่ละกิจกรรม เกิดผลกระทบอะไรต่อ (๑) ผลลัพธ์การเรียนรู้ V-A-S-K ของผู้เรียน และครู    (๒) ระบบบริหารการศึกษาไทยมีปฏิกิริยาอย่างไร   

ในขณะเดียวกัน ก็ทำงานกับนักเคลื่อนไหวระบบ หรือกลไกเคลื่อนไหวระบบ    ที่ผมพอจะมองเห็นคือ (๑) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา  (๒) กสศ.  (๓) สกศ. (๔) สำนักวิชาการ สพฐ.    เพื่อ ดร. อนุชาติ จัดทีมวิจัยเข้าไปทำความเข้าใจว่า แต่ละกิจกรรม เกิดผลกระทบอะไรต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน    และต่อระบบบริหารการศึกษาไทย   

พลังสำคัญที่ห้ามลืม คือพลังของธุรกิจเอกชน   ที่มีวิธีคิดและวิธีจัดการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์    ต้องหาวิธีเชิญชวนภาคธุรกิจเอกชนเข้ามาร่วม               

นี่คือข้อสะท้อนคิดจากข้อมูลจากกิจกรรม Education Journey 50 ปีการศึกษาไทย   สู่การตั้งโจทย์การทำงาน SAT EL ของผม    ที่จะต้องนำมาระดมความคิดกับฝ่าย สกสว.  และฝ่าย ดร. อนุชาติต่อไป    ที่ผมภูมิใจว่า เป็นการทำงานทางปัญญาเพื่อรับใช้สังคม       

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ส.ค. ๖๕

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 708270เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2022 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2022 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท