การคล้องช้าง ของชาวกูย จังหวัดสุรินทร์


“การคล้องช้าง ของชาวกูย จังหวัดสุรินทร

 

ชาวกูย: กูย (ส่วย)และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

   “ชาวกูย”…เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ก่อตั้งจังหวัดสุรินทร์ภายใต้การนำของ"เชียงปุม"(พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์ จางวาง) ได้อพยพชาวกูยเข้ามาในจังหวัดสุรินทร์ จึงมีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์ขึ้นระหว่างชาวกูยกับชาวเขมร ทำให้มีเชื้อสายเขมรปะปนอยู่ด้วย

  -ในปัจจุบันนี้ชาวกูยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอต่างๆ ของจังหวัดสุรินทร์ เช่น อำเภอสำโรงทาบ อำเภอจอมพระ อำเภอศีขรภูมิและอำเภอท่าตูม มีจำนวนลดลงไปมากเนื่องจาก การผสมผสานวัฒนธรรมของชาวกูยกับชาวเขมร รวมไปถึงชาวไทยเชื้อสายลาวด้วย เมื่อชาวไทยเขมรมีจำนวน มากกว่าทำให้เกิดการกลืนวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตต่างๆ ของชาวกูยได้เปลี่ยนแปลงไปตาม ประเพณีวัฒนธรรมของชาวไทยภาคกลางและชาวเขมรมากขึ้น แต่ยังมีชาวกูยบางส่วนที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมที่ เป็นเอกลักษณ์ของตนไว้  โดยมีการเลี้ยงช้างไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ในการทำงานหาเลี้ยงชีพและ ใช้เป็นพาหนะนอกจากใช้ในหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ชาวกูยยังใช้ช้างเข้าร่วมในงานประเพณีของท้องถิ่น หมู่บ้านตา กลาง ตำบลกระโพอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นชุมชนชาว “กูย”หรือ “ส่วย” ที่นิยมเลี้ยงช้าง เพื่อใช้ในการ ลากซุงใช้ในการแสดงและร่วมในงานประเพณีต่างๆ ในชุมชน บ้านตากลางและหมู่บ้านข้างเคียง ในเขตตำบลกระ โพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ คือแหล่งกำเนิดตำนานคชศาสตร์แห่งเดียว

  การจับช้างโดยหมอช้าง ใช้บ่วงมาศที่เรียกว่า “เชือกปะกำ" ทำจากหนังควายถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ สิงสถิตของดวงวิญญาณบรรพบุรุษ         -ครูบาอาจารย์คล้องเท้า ช้างแล้วผูกกับต้นไม้ และนำมาฝึกใช้งานในการคล้อง ช้างกระทำปีละครั้ง ราวเดือน 11-12 ช้างที่ตายลงจะมีการฝังอย่างดีและจะขุด กระดูกขึ้นมาทำบุญอุทิศส่วนกุศล ไปให้

   -ชาวกูยจับช้าง(กูยตำเหร็ย)มีระบบระเบียบพิธีกรรม ก่อนออกไปจับช้างอย่างเคร่งครัดโดยมีการตกลง มอบหมายอำนาจให้แต่ละคนกระทำเหนือกลุ่มหรือคณะดังนี้

  -ครูบาใหญ่ เป็นหมอช้างใหญ่ หรือประกำหลวง หรือ หมอเฒ่า 

  -เป็นผู้ออกจับช้างแต่ ละครั้ง เป็นประธานในพิธีเซ่นผีประกำ และประกอบพิธีกรรมทั้งหลายทั้งปวง 

   -ในขณะเดินป่าก็จะเป็นผู้ชี้ขาดและตัดสินใจ ขณะกระทำการจับช้างป่ามีคาถาอาคมสูง สามารถป้องกันภัยทั้งจาก ภูตผี และสัตว์ป่าด้วยเวทมนต์ ในการออกจับช้างป่าแต่ละครั้ง ครูบาใหญ่จะต้องแสดงความรู้ ความสามารถอย่าง เต็มที

   นอกจากนั้นชาวกูยยังนับถือวิญญาณได้แก่ภูติผีปีศาจ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่า เจ้าเขา ผีปอบ และเรื่องขวัญ

    บ้านตากลางและหมู่บ้านข้างเคียง ในเขตตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ คือ แหล่งกำเนิด ตำนานคชศาสตร์แห่งเดียว ที่มีคติธรรมเป็นความคิดความเชื่อ มีข้อห้ามเป็นเนติธรรมที่ถือปฏิบัติกันมาแต่อดีต มี รูปแบบสหธรรมที่กำหนดเอาคุณวุฒิความเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะในการจับช้างป่าเป็นเครื่องจำแนกศักดิ์ของ สมาชิกในชุมชน มีช้างที่จับมาจากป่าได้รับการฝึกฝนจนเป็นช้างบ้าน และเครื่องมือเครื่องใช้ในการจับช้าง เป็นวัตถุ ธรรม ยืนยันความเก่าแก่เนิ่นนานของวิชาคชศาสตร์ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษหลายชั่วคน ชาวบ้านเหล่านี้สืบสกุล มาจากนักรบบนหลังช้างผู้ยิ่งใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์

*พิธีกรรมคล้องช้าง ของชาวกูย แบบโบราณ

คำสำคัญ (Tags): #“การคล้องช้าง"
หมายเลขบันทึก: 708267เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2022 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2022 06:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท