ทางรอดของอุดมศึกษาไทย (Survival Options for Thai Higher Education)


เป็นที่ทราบกันดีว่าสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลกกำลังเผชิญวิกฤติอย่างหนักมาหลายปีแล้ว ดังจะเห็นได้จากการปิดตัวของหลายมหาวิทยาลัย และความพยายามในการเอาตัวรอดของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่มหาวิทยาลัยชั้นนำหลายมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมา 

มหาวิทยาลัยของไทย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชนของไทยได้มีการตื่นตัวและปรับตัวเพื่อความอยู่รอดมากไม่เคยเป็นมาก่อน ส่วนมหาวิทยาลัยของรัฐของไทย แม้จะพออยู่ได้ด้วยรายได้หลักจากงบประมาณของรัฐบาล แต่จะนวนนักศึกษาก็ไม่เป็นไปตามเป้า และมีแน้วโน้มจะแย่ลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้นหลายสถาบันจึงพยามที่จะหาทางออกโดยการลงนามความร่วมมือระหว่างกันและกัน ทั้งในและต่างประเทศ แต่เชื่อเถอะการลงนามในโครงการความนร่วมมือเหล่านั้นก็คงไม่ช่วยอะไรมากนักตราบใดสถาบันอุดมศึกษาของไทยยังมีการบริหารแบบราชการ ด้วยกฎหมายและระเบียบราชการอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 

ที่น่าสงสารประเทศและสถาบ้นอุดมศึกษาไทยมากที่สุดคือ โดยกฎหมายและระเบียบราชการที่เป็นอยู่ในปัจจุบันสถานบันเอกชนของไทยถูกกำหนดและบังคับให้บริหารแบบหน่วยงานราชการไม่ต่างจากมหาวิทยาล้ยของรัฐ แม้ว่าสถาบ้นเอกชนเหล่านั้นจะลงทุนโดยเอกชนก็ตาม แทนที่เขาจะมีอิสระในการบริหารตนเอง เฉกเช่นเดียวกันกับบริษัทหรือธุรกิจอื่นๆ ภายใต้เงื่อนไขการจัดตั้งบริษัทตามกฎหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งผมเชื่อว่าเอกชนจะทำการศึกษาได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ และเป็นทางเลือกให้กับประชาชนมากกว่านี้ ดังนั้นทางรอดแรกของอุดมศึกษาไทยคือ การออกพระราชบัญญัติให้ความเป็นอิสระกับสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเพื่อให้เขาสามารถปรับตัวและสร้างทางเลือกทางการศึกษาให้กับคนไทยมากกว่าที่เป็นอยู่ครับ

ทางรอดต่อไปก็ออกพระราชบัญญัติการจัดและบริหารการอุดมศึกษาของไทยใหม่โดยกำหนดให้ความเป็นนิติบุคคลของสถาบันอุดมศึกษาของไทยมีความชัดเจนและเป็นอิสระมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัาจจุบัน โดยกำหนดให้หน่วยบริหารอุดมศึกษาส่วนกลางเป็นเพียงหน่วยนโยบาย กำกับมาตรฐานคุณภาพ (ผมหมายถึง monitoring ไม่ใช่ governing หรือ  controlling อย่างที่เป็นอยํ่ในปัจจุบัน) และจัดสรรทรัพยากรพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาเท่านั้น ไม่ใช่หน่วยบังคับบัญชาแบบราชการอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาออกแบบระบบบริหาร ออกระเบียบการดำเนินงาน และบริหารราชการในสถาบ้นของตนได้อย่างเป็นอิสระ ภายใต้กรอบของกฎหมาย ซึ่งจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาของไทยสามารถปรับตัวได้อย่างเต็มที่ 

         หลักคิดก็คือ ถ้าสถาบันอุดมศึกษาของไทยไม่สามารถที่จะออกแบบ และบริหารตนเองได้แบบมืออาชีพ และเอาตัวรอดไม่ได้ ก็ไม่สมควรเป็นสถาบันอุดมศึกษาต่อไป เพราะสถาบันอุดมศึกษาที่มีหน้าสร้างคนเพื่อสร้างงาน หรือ/และทำงานให้กับสังคม แต่ดูแลตัวเองไม่รอด ก็ไม่สมควรทำหน้าที่นี้ต่อป 

ตัวอย่างที่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐสามารถทำได้และนำใช้นำการปรับตัวในภาวะวิกฤตคิค้อ ‘การบริหารโดยใช้ทรัพยากรภายนอก (outsources) ตามวัตถุประสงค์ แทนที่จะจ้างคนมานั่งรองาน​’ กล่าวคือ ในปัจจุบันนี้มี การที่กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษามีคณาจารย์มีวุฒิ/ วิทยาฐานะ/ และจำนวนครบตามจำนวนฑ์ที่เกณกำหนดก่อนค่อยเปิดสอนหลักสูตรนั้น ๆ ได้นั้น ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการปรับตัว มีความเสี่ยงสูง และไม่คุ้มทุน แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าสถาบันสามารถใช้ทรัยากรภายนอกได้ตามภาระงาน สถาบันจะสามารถจ้างและเลิกจ้างบุคคลภายนอก ทั้งในและต่างประเทศ มีวุฒิ และความสามารถตามที่ต้องการได้  แทนที่จะมีสัญญาจ้างบุคลากรเหล่านั้นมาประจำไว้ แม้จะมีภาระงานไม่คุ้มที่จ่ายก็ต้องคงไว้ตามระเบียบที่กำหนดไว้ดังกล่าวมาข้างต้น 

นอกจากนี้ ผมเชื่อว่าหากสถาบันอุดมศึกษามีอิสระและมีอำนาจเต็มในการบริหารการจัดการศึกษาด้วยตนเองแล้ว สถาบันเหล่านั้นจะหาทางออกได้มากว่านี้ และสมารถปรับตัวได้มากกว่าที่เป็นอยู่ และรอดครับ 

สมาน อัศวภูมิ

29 กันยายน 2565

หมายเลขบันทึก: 708029เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2022 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2022 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท