ชีวิตที่พอเพียง  4302. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  ๑๖๑. สื่อสารพลังของโรงเรียนและครู สู่ education systems transformation


 

การประชุมคณะอนุกรรมการโครงการโรงเรียนพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ของ กสศ. เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕   มีวาระเรื่องแผนการสื่อสารสังคมเพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ ปี 2565 – 2566 โดย สำนักสื่อสารสาธารณะและระดมความร่วมมือ    ที่มีการเตรียมการณ์มาอย่างดี   และได้รับคำแนะนำหลักการสื่อสารที่มีความจำเพาะ    นำผมสู่การสะท้อนคิดออกมาเป็นสาระในบันทึกนี้ 

ผมคิดว่า การสื่อสารเรื่องนี้ควรมี ๒ เป้าหมายหลักคือ  (๑) สร้างความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อโรงเรียนและครู   ว่ามีโรงเรียนและครูจำนวนหนึ่งสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นโรงเรียนคุณภาพสูงได้   (๒) สร้างกระแสสังคมว่า ระบบการศึกษาไทยต้องเปลี่ยนใหญ่ (transform)   โดยเปลี่ยนจากการบริหารแบบ top-down  สั่งการสูตรสำเร็จจากส่วนกลางให้โรงเรียนปฏิบัติ  ไปเป็นบริหารแบบเอื้ออำนาจให้โรงเรียนมีความคล่องตัวในการตัดสินใจเพื่อพัฒนาตนเอง    บริหารการสนับสนุนโรงเรียน ไม่ใช่บริหารอำนาจส่วนกลาง

ทั้งสองเป้าหมายมีความเชื่อมโยงกัน  ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน    โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือ ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนไทยยกระดับขึ้น  เป็นการยกระดับครบทั้งสี่ด้านของ V-A-S-K (๑) 

เป้าหมายสร้างความเชื่อมั่นของสาธารณชนต่อโรงเรียนและครู   ว่ามีโรงเรียนและครูจำนวนหนึ่งสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นโรงเรียนคุณภาพสูงได้ นั้น   ต้องเสนออย่างมีข้อมูลหลักฐานน่าเชื่อถือ    ดังนั้น ก่อนเอาโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน หรือครูคนใดมาสื่อสารผลสำเร็จ   ต้องมีการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ หรือสูงกว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนของโรงเรียนคู่เทียบ ตามหลักการวิจัย   

ต้องระมัดระวัง ไม่ผลีผลาม นำโรงเรียน  ผู้อำนวยการ หรือครู ท่านใดท่านหนึ่งออกสื่อสารผลสำเร็จ  เนื่องจากเห็นผลสำเร็จแบบมองผิวเผิน    เพราะความสำเร็จนั้นอาจเป็นผลสำเร็จลวง    ไม่ไปสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนอย่างแท้จริง              

วิจารณ์ พานิช

๒๕ ก.ค. ๖๕

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 707488เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2022 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2022 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

I am confused by ‘these’ development projects (partly because of the use of acronyms for organization names and my ignorance of the relationships among [education] organizations). I noted a news headline about สธ. announced (commitment to) GPAS 5 Steps (กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น) in (all) schools next term (in November). Now this การประชุมคณะอนุกรรมการโครงการโรงเรียนพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ของ กสศ. (a non-government organization? about education systems transformation –for equality of access?). Does this mean one (government instrument) puts a program into use without consulting other (non-government groups) and vice versa?

So much so for preaching evil of ‘silo-ism’ and the boon of working together for the common good. Should we not put into practice ‘this working together’?

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท