คุณธรรม 3 (morality 3)


กรณีศึกษาคุณธรรมเรื่องที่ 3 ในหนังสือของ​ Rachels & Rachels (2007) มีชื่อว่า ‘กรณีเทรซี่ ลาไทเมอร์​’ ครับ ผมขอเรียกชื่อแรกเธอก็แล้วกันครับ 

เทรซี่ เป็นชาวแคนนาดา อายุ 12 ปี แต่นำ้หนักแค่ 40 ปอนด์ (ไม่ถึงยี่สิบกิโลกรัม) และมีอายุสมองเท่ากับเด็ก 3 ขวบ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเป็นป่วยเป็นอัมพาตถาวร มีความทุกข์ทรมารและต้องผ่าตัดนับครั้งไม่ถ้วน และมีคิวต้องผ่าตัดอีกหลายครั้งแต่จบชีวิตของเธอลงด้วยถูกรมควัญท่อไอเสียรถยนต์ที่คุณพ่อของเธอเป็นคนทำ ด้วยความสงสารลูกที่เห็นความทุกธ์ทรมารของลูก และจริง ๆ ลูกก็ไม่อยากมีชีวิตอยู่หรอก แต่ไม่กล้าหาญพอที่จะฆ่าตัวตาย เหตุเกิดในปี 1993 ครับ

ไม่ว่าจะเหตุผลใด การฆ่าคนอื่นก็ถือเป็นการฆาตกรรม และพ่อของเธอก็ถูกจับขึ้นศาล หลังจากฟังเหตุผลและการสืบพยาน โดยเฉพาะคุณหมอ 3 คนที่ให้การว่าเทรซี่เธอต้องรับการผ่านตัดอีกหลายครั้งถ้ามีขีวิตอยู่ และมีความยุงยากที่จะรักษาความเจ็บปวดของเธอเป็นอย่างยิ่ง 

คำให้การหลัก ๆ ของคุณพ่อของเธอก็คือ ลูกสาวของเขามีความทุกข์ทรมารเป็นอย่างมากจากการเจ็บป่วยของเขา และการดำรงอยู่ของเธอเป็นไปอย่างไร้ความหมาย และความตายจะช่วยให้เธอพ้นความทุกข์ทรมารที่เธอเป็นอยู่

ศาลชั้นต้นตัดสินให้เขาติดคุก 1 ปี และจำกัดพื้นที่อยู่ทึ่ไร่อีก 1 ปี แต่ศาลชั้นสูงของแคนนดาได้พิจารณาคดีนี้ไใม่ และให้พ่อของเธอติดคุก 25 ปี 

ประเด็นของเรื่องจึงเป็นความขัดแยังทางความเห็นเป็นอย่างมากโดยเฉพาะข้อถกเถียงกันว่า  ‘เป็นการเลือกปฏิบัติต่อผู้พิการ’ โดยเฉพาะเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินคุณพ่อของเธอให้ได้รับโทษสถานเบา กลุ่มผู้คนพิการบอกว่าเหมือนพวกเขาโดยตบหน้า และประธานกลุ่มผู้ไร้ความสามารถกล่าวว่า ไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ที่จะตัดสินใจชีวิตของคนอื่น’ คนพิการก็ควรได้รับสิทธิ์เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป 

การเลือกปฏิบัติต่อบุคคลที่แตกต่างเกิดขึ้นหลายรูปแบบ และเป็นปัญหาใหญ่ที่ถกเถียงกันอยู่แม้ในปัจจุบันก็ตาม การรับคนเข้าทำงาน หรือการปฏิบัติต่อบุคคลที่มีข้อจำกัดทางร่างกาย จะใช้เกณฑ์ความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับงาน มากว่าข้อจำกัดของบุคคล เช่น หน่วยงานจะปฏิเสธการรับบุคคลเข้าทำงานเพียงเพราะของตาบอดไม่ได้ แต่ต้องดูดงานที่จะทำ และความสามารถของเขาเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น การที่จะจ้างคนตาบอดเป็นกรรมการตัดสินฟุตบอลก็คงเป็นไปไม่ได้ และไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ เป็นต้น 

พ่อของเทรซี่ให้การว่า เทรซีถูกมาตรกรรมไม่ใช่เป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ เขาถูกทำเช่นนั้นไม่ใช่เพราะเธอเป็นอัมพาตถาวร  แต่เพราะเธอได้รับทุกข์ทรมารจากการเจ็บป่วยของเธอ  เทรซี่ต้องได้รับการผ่าตัดใหญ่หลายครั้งที่หลัง ที่สะโพก และที่ขา และยังมีอีกหลายอย่างที่จะต้องผ่าตัดอีกถ้าเธอยังมีชีวิตอยู่ และการดำรงอยู่ของเธอต้องใช้สายยางระโยงระยางหลายอย่างเพื่อให้เธอมีชีวิตอยู่ต่อ นอกจากนั้นยังมีแผลกดทับอ้นเกิดจากเป็นผู้ป่วยติดเตียง นี่คือที่มาของการที่เธอถูกฆ่า 

ข้อถกเถียงที่สำคัญอีกประการหนึ่งเรียกว่า ‘การเถไถ​’  หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า ‘slippery slope’ คือถ้าการประทำของคุณพ่อของเทรซี่เป็นเรื่องที่สังคมยอมรับว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย หรือทำได้ ต่อไปก็การกระทำเช่นนี้ก็จะมีมากขึ้น และเถไถไปเรื่องอื่นได้ เช่น ถ้าการฆ่าคนพิการเป็นเรื่องช่วยเหลือเขาและเป็นสิ่งทำได้ ต่อไปอาจจะมีการฆ่าคนไร้ประโยชน์ในสังคม หรือมีความแกกต่างกันในด้านอื่นได้ เช่น การกระทำของนาซีเป็นต้น 

ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการนำสิ่งที่คาดว่าจะเกิด ทั้ง ๆ ที่ยังไม่เกิดมาใช้เป็นเหตผลเชิงคุณธรรม เพราะจะทำให้เกิดอาการพื้ยนขึ้นได้ คือ ถ้าอยากให้คนในสังคมทำอะไร ก็อ้างว่าหากไม่ทำเช่นนั้นจะเกิดอะไรขึ้น โดยใช้คำทำนาย หรือคาดการณ์ของตนเป็นข้อสันนิษฐาน เป็นการเอาความรู้สึก หรือความเชื่อมาใข้เป็นข้อมูล หรือข้อเท็จจริงในอนาคตเป็นตัวพิจารณาคุณธรรม ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องนัก 

จากกรณีศึกษาทั้ง 3 กรณีที่เขียนต่อเนื่องกันมานี้คงพอจะทำให้เห็นแล้วว่า คุณธรรมเป็นเรื่องเฉพาะกรณี ไม่สามารถกำหนดได้ว่าอะไรคือสิ่งที่เรียกว่า ‘คุณธรรม’ แต่โดยภาพรวมแล้วคุณธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อกันแบบที่มนุษย์พึงกระทำ และสามารถอธิบายด้วยเหตุและผลที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับกันได้ และนิยามโดยสรุปของ​ Rachels ความว่า คุณธรรมเป็นแนวประพฤติหรือการปฏิบัติที่บุคคลพึงปฏิบัติต่อบุคคลอื่น อย่างมีเหตุผล และการชั่งนำหนักของผลดี หรือผลเสียที่มีต่อบุคคลอื่นอันเกิดจากการกระทำของตนนั้นเอง 

ฝากไว้พิจารณาครับ เพื่อประโยชน์สุขร่วมกันครับ 

สมาน อัศวภูมิ 

1 กันยายน 2565

แหล่งอ้างอิง ​Rachels, J. & Rachels, S. (2007). The Elementary of Moral Philosophy, 5th ed. Boston: McGraw-Hill. 

 

 

หมายเลขบันทึก: 706365เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2022 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2022 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Thank you for this thought provoking blog.

There are rough patches in our morality. The Tracy Latimer case shows deep complexity of our thinking and laws. Crime of compassion when viewed from common crime framework post more questions rather than answers.

We (the whole world) are moving into chaotic era with age-care (Alzheimers, Dementia, Infirmity,…), disability-care, drug-addict-care,.. even child-care issues still unclear. In Thailand, where the justice system seems slow and mysterious (against common/traditional beliefs), answers will not come easy either.

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท