แบบไหนคือคุณธรรม (Which is called MORALITY)


มีผู้นิยามและชี้นำคนในสังคมเราอยูเนือง ๆ ว่า  ​'แบบนี้ อยางนี้ คือคุณธรรม' หรือ ‘ตัดสินว่าคนนี้มีคุณธรรม คนนั้นไม่มีคุณธรรม’ แต่ว่าเราเคยถกเถียงกันอย่างจริงจังไหมว่า จริงแล้วอะไรและแบบไหนคือคุณธรรม หรืออย่างน้อยก็ได้หลักเกณฑ์ที่เป็นแกนกลางในการพิจาณาว่า  'อะไรและแบบไหน' คือ 'คุณธรรม’ 

แต่ละคนและแต่ละสังคมอาจจะมีแนวทางในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้แตกต่างกัน แต่คำอธิยายและวิธีอธิบายที่ดีน่าจะช่วยให้เรามีความเข้าใจและนำใช้ ‘คุณธรรม’ ในแบบที่ควรจะเป็นและเป็นประโยชน์ต่อทุกคน ไม่ใช่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะดีไหม ซึ่งหนึ่งในแนวคิดดังกล่าวที่ผมอ่านเจอในหนังสือ The Elements of Moral Philosophy เขียนโดย​ James Rachels และปรับปรุงครั้งที่ 5 โดย Stuart Rachels (2007) ซึ่งนำเสนอเกี่ยวกับ ‘คุณธรรม’ ไว้อย่างน่าสนใจ จึงขออนุญาตนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันดังนี้ 

Rachels & Rachels บอกว่าการที่จะนิยามคำว่า ‘คุณธรรม หรือ morality’ แบบให้คอบคลุมและสมบูรณ์นั้นเป็นเรื่องไม่ง่าย แต่ถ้าอ่านกรณีศึกษาสองสามกรณีต่อไปนี้ น่าจะช่วยทำให้เข้าใจคำว่าคุณธรรมมากขึ้น ซึ่งผมขอนำสาระโดยสรุปของแต่ละกรณีศึกษามากเสนอไว้ดังต่อไปนี้ (และอีกบทหรือสองบทเขียนต่อจากนี้ไป) ครับ

กรณีแรกเรียกว่า ‘หนูน้อย​เทริชา​’

          หนูน้อยเทริชา หรือชื่อเต็มคือ Theresa An Campo Pearson ( Rachels & Rachels, 2007) เกิดในปี 1992 เป็นเด็กที่เกิดมาพิการด้วยโรคที่เรียกว่า ​Anencephaly คือมีสภาวะไม่มีสมองและกระโหลกศรีษะ ซึ่งโดยความรู้พื้นฐานทางการแพทย์แล้วเด็กที่เป็นโรคนี้จะเสียชีวิตภายในไม่กี่ชั่วโมง หรือไม่กี่วัน 

           ก่อนหน้านี้ก็มีทารกที่เกิดมาแบบนี้กันหลายคน แต่ไม่มีปัญหาอะไร จนกระทั่งเกิดกรณีของหนู่น้อยเทริซาขั้นมา  ซึ่งทำให้มีการถกเถียงกันเรื่อง ‘คุณธรรม’ กันอย่างกว้างขวาง 

           เรื่องนี้เกิดจากการที่พ่อ-แม่ของหนู่น้อยคนดังกล่าวเห็นว่าไหน ๆ ลูกก็ต้องเสียขีวิตอยู่แล้ว ถ้าอวัยวะของเธอจะเป็นประโยชน์ในการปลูกถ่ายอวัยวะให้กับเด็นคนอื่นที่ต้องการอวัยวะได้ และทีมหมอเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ปัญหาคือกฎหมายรัฐฟอริดากำหนดว่าจะนำอวัยวะของคนใดคนหนึ่งไปปลูกถ่ายกับคนอื่นได้ต่อเมื่อเจ้าของอวัยวะนั้น ‘เสียชีวิต’ แล้วเท่านั้น ซึ่งในกรณีของหนู่น้อยเทริซานี้ หากจะรอให้เธอเสียชีวิตก่อนอวัยวะก็จะเสียหายใช้การไม่ได้ จึงจำเป็นต้องแยกอวัยวะก่อนเธอเสียชีวิต 

            เท่านี้แหละครับ ‘คุณธรรมทัวร์ลงพ่อ-แม่และทีมหมอ​’ ท้นที 

มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้รู้หลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย จากโรงพยาบาล และจากสถาบันด้านกฎหมาย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งว่า  ‘ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยในการแยกอวัยวะของหนูน้อยก่อนเธอเสียชีวิต’ ซึ่งก็แปลว่าอวัยวะของเธอก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้ ดังหลักวิชาการแพทย์ที่กล่าวมาแล้ว 

หลักคุณธรรมที่นักวิชาการนำมาใช้ในการพิจารณกรณีของหนูน้อยเทริซาคือ

        1. หลักการใช้คนหนึ่งเพื่อประโยชน์ของอีกคนหนึ่ง  กล่าวคือเพื่อให้บุคคลหนึ่งได้ประโยชน์นั้น ๆ ต้องมีบุคคลอื่นที่ต้องเสียประโยชน์ของตนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่่ถูกต้อง 

         2. หลักการใช้ชีวิตแลกชีวิต กล่าวคือ การฆ่าชีวิตคนๆ หนึ่งเพื่อช่วยอีกชีวิตอีกหนึ่งไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นส่ิงที่น่าสพึงกล่าวอย่างยิ่ง 

          3. พ่อ-แม่แบบไหนที่ให้ฆ่าลูกตนเองเพื่อให้ผู้อื่นได้ประโยชน์  

ความคิดของมนุษย์เป็นไปได้หลากหลาย แล้วแต่ความเชื่อ ประสบการณ์ และตัวตน แต่การจะเข้าใจเรื่องคุณธรรมนั้นต้องถามกันว่า ‘ถูก หรือ ผิด’ คือการที่จะให้แยกอวัยวะของลูกที่โดยทางการแพทย์บอกชัดเจนแล้วว่าอยู่ได้ไม่กี่วันนั้นเพื่อประโยชน์ในการปลูกถ่ายอวัยวะให้เด็กคนอื่นที่ต้องการนัน ‘เป็นการกระทำที่ถูก หรือผิด’ ด้วยเหตุผลใด เรามาฟังเหตุผลของทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายเห็นด้วยกับฝ่ายไม่เห็นด้วยกับกรณีนี้ดูครับ

ฝ่ายเห็นด้วย 

     เหตุผลของพ่อ-แม่ของหนูน้อยเริซาก็คือไหน ๆ ลูกก็ต้องเสียชีวิตอยู่แล้วในไม่อีกกี่ชั่วโมง หรือกี่วันข้างหน้า ถ้าอวัยวะของเธอเป็นประโยชน์กับเด็กคนอื่นให้มีชีวิตต่อก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดีงาม 

      หลักการคือ ถ้าเราสามาระทำประโยชน์ให้กับคนอื่นได้ก็พึงทำถ้าการกระทำนั้นไม่ทำให้คนอื่นและตนเองเสียหาย ซึ่งในกรณีของหนูน้อยเทริซานั้น คนอื่นก็ไม่เสียหาย และตัวเธอ (ในสภาพเช่นนี้) ก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร 

       ข้อควรพิจาณาต่อไปก็คือ แล้วหลักการและเหตุผลดังกล่าวนี้ถูกต้องไหม ก็ต้องดูตามหลักตรรกะ ซึ่งมีอยู่ว่า ‘ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นถูกต้องไหม และข้อสรุปถูกต้องและสมเหตุสมผลไหม​’ 

       กรณีของหนูน้อยเทริซา ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นคือ ​​ ‘เธอไม่น่าจะถูกเบียดเบียนหรือเอกเปรียบอะไร’ เพราะอย่างไรเธอก็จะมีชีวิตอยู่อีกไม่นาน ดังนั้นการมีชีวิตอยู่ของเธออีกระยะหนึ่งไม่ได้ทำให้เธอดีขึ้น หรือได้ประโยชน์อะไร เพราะคำว่า ‘การมีชีวิตอยู่' จะมีประโยชน์ต่อผู้มีชีวิตอยู่นั้น ก็ต่อเมื่อเธอสามาระดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง มีความคิด ความรู้สึก และมีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้ โดยกล่าวโดยสรุปก็คือ ‘การใช้ชีวิตเป็นปกติ’ การไม่มีส่ิงเหล่านี้ ร่างกายที่มีชีวิตก็ไม่มีค่าใด ๆ ดังน้ันการที่หนูน้อยเทริซาจะมีชีวิต (ทางกายภาพ) อยู่ไปอีกสองสามชั่วโมง หรือวันก็ไม่มีอะไรดีสำหรับเธอ

          จึงตัดสินใจทำเช่นนั้น 

 

ฝ่ายไม่เห็นด้วย

       ตอนนี้มาฟังเหตุผลของฝ่ายไม่เห็นด้วยดูครับ 

       1. เราไม่ควรใช้คนใดคนหนึ่งเพื่อประโยชน์ของอีกคนหนึ่ง 

           นักจริยธรรมที่ไม่เห็นด้วยกับการบริจาคอวัยวะของหนูน้อยเทริซาเพราะผิดหลักการให้บุคคลใดบคคลหนึ่งเพื่อประโยชน์กับอีกบุคคลหนึ่ง ดังนั้นการใช้อวัยวะของเทริซาไปปลูกถ่ายให้กับคนอื่นเป็นการใช้ประโยชขน์จากเทริซาเพื่อคนอื่น จึงไม่ควรทำ 

           ประเด็นที่ควรพิจารณาเชิงคุณธรรมคือ ‘ตรรกะหรือคำอธิบายนี้สมเหตุสมผลไหม​’ 

             คำว่า ‘ใช้ประโยชน์จากบุคคลอื่น’ เป็นคำที่คลุ่มเครือ และต้องทำให้กระจ่างชัดกว่านี้ เพราะถ้าจะบอกว่าใช้ประโยชน์จากบุคคลอื่นน่าจะหมายถึง ‘การใช้ประโยชน์ดังกล่าวโดยการขีนใจของเจ้าตัว​’ คือความสามรถในการตัดสินใจด้วยตัวเขาเองว่าจะใช้ชีวิตเขาแบบไหน ตามใจที่ปราถนา หรือคุณค่า (value) ที่เขายึดถือ คำว่า ‘ตามใจปราถนา’ อาจจะบิดเบือนได้ด้วยการคอบงำหรือบังคับด้วยอิทธิพลอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือด้วยกลลวง หรือ เลห์อุบาย เช่น การทำดีกับพ่อแม่ฝ่ายหญิงก็เพื่อจึบลูกสาวเขา หรือการให้ข้อมูลเท็จเพื่อรับผลประโยขน์ตอบแทน เป็นต้น 

             ในกรณีหนูน้อยเทริซา ไม่น่าจะเข้าหลักการที่ทำให้เธอเสียประโยชน์ของตนเองโดยการกระทำแบบใดแบบหนึ่งที่กล่าวมาข้างต้น ไม่มีใครทำให้เธอขัดผลประโยชน์ของตนเอง เพราะเธอไม่มีความเป็นตัวตน และมีความสามารถตัดสินใจด้วยตัวเองได้ จึงไม่น่าเข้าข่ายการใช้ประโยขน์จากคนหนึ่งเพื่ออีกคนหนึ่ง 

             อีกประการหนึ่งคือการแจ้งความจำนงว่าให้ทำอะไรได้บ้าง ก็เป็นสิทธิ์ของเจ้าตัว แต่ในกรณีของหนูน้อยเทริซา เธอก็ไม่อาจจะแจ้งสิทธิ์ของเธอเองได้  เสกเช่นเดียวกันกับคนป่วยติดเตียงประเภทเป็นเจ้าชายหรือเจ้าหญิงนิททา กรณ๊หนูน้อยเ?ริซาก็เช่นกัน เราไม่มีทางรู้ว่าเธอปรารถนาอะไร ครับ 

          2. ประเด็นที่ 2 ของกล่มผู้คัดค้านคือ การฆ่า (คนอื่น) เป็นสิ่งผิด 

               นักจริยธรรมชี้อีกประเด็นว่า ‘การฆ่าคนอื่นเป็นสิ่งที่ผิด’ ซึ่งจริง ๆ ก็เป็นเช่นนั้น ​[ว่าจริง ๆ แล้ว ฆ่าอะไรก็ไม่น่าจะถูก]  และชี้ต่อไปว่าการที่จะแยกอวัยวะของหนูน้อยเทริซา ก็เป็นการฆ่าเธอ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ 

              คำถามเชิงคุณธรรมก็คือ ‘ข้อถกเถียงนี้สมเหตุสมผลไหม?’  ประการแรก ‘การห้ามฆ่าคนอื่น’ เป็นคุณธรรมสำคัญข้อหนึ่ง แต่ก็มีความคิดแตกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่ยืนกระต่าขาเดียวว่า การฆ่าเป็นสิ่งผิดแน่นอน กับอีกกลุ่มเห็นว่ามีข้อยกเว้น คือ มีข้อยกเว้นให้ฆ่าได้ ประเด็นคือ แล้วกรณีของหนู่น้อยเทริซาเป็นข้อยกเว้นได้ไหม ซึ่งมีเหตุผลสนับสนุนข้อยกเว้นนี้ เช่น ไหน ๆ เธอต้องเสียชีวิตอยู่แล้ว ไม่ว่าจะทำหรือไม่ทำอะไรกับเธอก็ตาม และอีกประการหนึ่งมีผู้ให้เหตุผลว่ากรณีของหนูน้อยเทริานั้นอาจจะพูดได้ว่าเธอนั้นตายแล้ว แม้ร่างกายจะยังมีชีวิตอยู่ เหมือนกรณีที่หมอประกาศการเสียชีวิตของบุคคลเมื่อสมองตายนั่นเอง แม้อวัยวะส่วนอื่นจะยังทำหน้าที่อยู่ แต่ก็ถือว่าบุคคลนั้นตายแล้ว ซึ่งในกรณีของหนูน้อยเทริชาก็เช่นกัน น่าจะถือว่าเป็นตายแล้วตั้งแต่กำเนิด แต่มีประเด็นทางการแพทย์อยู่ว่า ​'ไม่ได้​กำหนดว่า Anencephaly คือสมองตายแล้ว 

ท้ายสุดแล้วผู้เขียนกรณีนี้สรุปว่า  ‘เหตุผลเชิงคุณธรรมของฝ่ายที่เห็นควรมีการผ่าตัดและบริจาคอวัยวะของหนูน้อยเทริซาดูน่าจะสมเหตุสมผลมากกว่า’ แล้วท่านละครับคิดอย่างไร 

สำหรับเหตผลที่ผมนำเรื่องนี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนี้ก็อยากเห็นสังคมไทยมีการทบทวนและใช้คำว่า ‘คุณธรรม’ ในแบบที่ควรเป็น เพราะผมเชื่อว่าคุณธรรมเป็นเรื่องเฉพาะกรณี และการพิจารณากันด้วยเหตุและผลที่สมเหตุสมผล ถกเถียงกันได้ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม เพื่อประโยชน์สุดร่วมกัน คุณธรรมไม่ใช่เรื่องที่จะมีผู้รู้มากำหนดว่าอะไรคือ ‘คุณธรรม’ และไม่ใช่คุณธรรมครับ 

ฝากพิจารณาครับ 

สมาน อ้ศวภูมิ 

1 กันยายน 2565

ลืมแหล่งอ้างอิงครับ 

Rachels, J & Rachels, S. (2007). The Elements of Moral Philosophy, 5th ed.. Boston: McGraw-Hill. 

                      

หมายเลขบันทึก: 706341เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2022 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2022 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท