ทำไมหารด้วย 100 หรือ 500 จึงเป็นปัญหา (Why either divided by 100 or 500 is a problem)


ประเด็นการเมืองที่ถกเถียงกันมากที่สุดอีกเรื่องหนึ่งในปัจจุบันคือ ‘สูตรหารด้วย 100 หรือ 500’ โดยมีนัยว่าแบบไหนใครได้เปรียนเสียเปรียบ ซึ่งจริง ๆ แล้วจะด้วยด้วยอะไรก็ไม่เป็นปัญหา เพราะต้นตอของปัญหาคือ ​​'มาตรา 91  ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560' ต่างหากครับ 

บทบัญญัติตามมาตรา 91 ความว่า "การคำนวณหาสามาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้"

            (๑) นำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหารด้วยห้าร้อย [หรือหนึ่งร้อย ตามที่กำลังถกเถียงกันอยู่] เป็นจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราชฎร 

            (๒) นำผลลัพธ์ตาม (๑) ไปหารจำนวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคการเมืองแต่ละพรรคที่ได้รับจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบแบ่งเขตเลือกตั้งทุกเขต จำนวนที่ได้รับให้ถือเป็นจำนวนสามาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมี 

           (๓) นำจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองจะพึงมีได้ตาม (๒) ลบด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้ง ผลลัพธ์คือ จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับ 

           (๔) ถ้าพรรคการเมืองใดมีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเท่ากับหรือสูงกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (๒) ให้พรรคการเมืองนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจำนวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และไม่มีสิทธิ์ได้รับการจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และให้นำจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่สมาชิกการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตำ่กว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (๒) ตามอัตราส่วน แต่ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกิดจำนวนที่พึงมีได้ตาม (๒) 

               ฯลฯ​ 

                แต่ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่จะนำมาวิเคราะห์ และเสนอในบทเขียนนี้มี ๔ ข้อดังกล่าวมาข้างต้นครับ 

บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 91 วรรคแรก และ 4 ข้อที่นำเสนอมาข้างต้นเป็นบทบัญญัติที่ทำให้คนในประเทศ ‘มีสิทธิไม่เท่ากัน และบิดเบือนสิทธิ์ขั้นต้นในการเลือกตั้ง’ 

การได้สิทธิไม่เท่ากัน เกิดขึ้นในกรณีที่บุคคลนั้น ๆ เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต (สส. เขต) ของพรรคการเมืองที่มี สส. เขต ได้รับการเลือกตั้งมากและเกินจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมีได้ 'รัฐธรรมนูญนี้ทำให้เขาเสียสิทธิ์ในการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (สส. บัญชีรายชื่อ) 

ถ้าจะบอกว่าเขาไม่เสียสิทธิ์ใด เพราะได้นำจำนวน สส. บัญชีรายชื่อไปให้กับพรรคอื่นที่ได้จำนวน สส. เขต น้อยกว่าจำนวน สส. ที่พึงมีตามรัฐธรรมนูญนี้แล้ว ซึ่งนี่คือ ‘การบิดเบือนสิทธิ์’  บิดเบือนสิทธิ์เพราะผู้มีสิทธิ์ไม่ได้เลือก สส. จากพรรคการเมืองอื่น 

โดยหลักสากลแล้ว รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายใด ๆ ต้องให้สิทธิ์ทุกคนเท่าเทียมกัน แต่ที่เป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันเกิดจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเองที่ทำประชาชนมีสิทธิไม่เท่าเทียมกันดังกล่าวมาแล้ว 

และจริง ๆ แล้วการแยกที่มาของ สส. เป็น 2 แบบ คือ ทั้งแบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อนั้นก็เพื่อให้องค์ประกอบของ สส. มี 2 แบบ ตามสัดส่วนความนิยมของประชาชน ดังนั้นถ้าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญทำให้พรรคการเมืองบางพรรคไม่มี สส.​บัญชีรายชื่อ แม้ว่าพรรคนั้นมีประชาชนสนับสนุนมากกว่าพรรคอื่นแล้วผมเห็นว่าเป็นความผิดปกติของกฎหมายสูงสุดของประเทศครับ 

เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน รัฐธรรมนูญต้องไม่กำหนด ​​'จำนวน สส. พึงมีได้' ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ถ้าองค์ประกอบของ สส. มีทั้งแบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ  หรือไม่ก็ควรกำหนดให้มี สส. เพียงประเภทเดียวคือ ‘สส. แบบแบ่งเขต​’ เท่านั้น 

จะะลือกแบบไหนก็ต้องไม่ทำให้ประชาชนเสียสิทธิ์ครับ 

สมาน อัศวภูมิ

14 สิงหาคม 2565

ปล มีผู้ถามว่า หาร 100  กับ หาร 500  ต่างกันตรงไหน คำตอบคือ ต่างกันที่ถ้าหารด้วย 100 จำนวน สส. ที่พึงมีของพรรคการเมืองแต่ละพรรคจะมีจำนวนมากกว่า หารด้วย 500 และกรณีที่พรรคการเมืองที่ประชาชนนิยมและได้ สส เขตจำนวนมาก แต่อาจจะยังมีจำนวนที่ได้ยังมีโอกาสตำ่กว่าจำนวน สส พึงมี ซึ่งแปลว่าอาจจะยังมีโอกาสได้ สส แบบบัญชีรายชื่อบ้างจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะหาร 100 หรือ 500 ประเด็นปัญหายังอยู่ที่วิธีการคำนวณตามข้อกำหนด 4 ข้อข้างต้น จะทำให้ประชนมีสิทธิไม่เท่าเทียมกัน ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น (เขียนเพิ่มวันที่ 23 สิงหาคม 2565)

หมายเลขบันทึก: 705338เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2022 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2022 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท