แนวทางการดำเนินการองค์การรวมคนที่ใช้ชื่อเรียกว่า "สหกรณ์" ให้เป็นสหกรณ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการสหกรณ์


แนวทางการดำเนินการองค์การรวมคนที่ใช้ชื่อเรียกว่า "สหกรณ์" ให้เป็นสหกรณ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการสหกรณ์
เรียงลำดับความสำคัญ 

ลำดับที่  ๑. ปรัชญาของการสหกรณ์
  
     “ช่วยตน ช่วยกัน”
     (“ self help mutual help”)


ลำดับที่  ๒. นิยามสหกรณ์  (Definition)

สหกรณ์เป็นองค์การอิสระของบุคคลซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจ
เพื่อสนองความต้องการ  อันจำเป็น และความมุ่งหมายร่วมกัน
 
ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกัน 
และควบคุม ตามแนวทางประชาธิปไตย

     (A co-operative is an autonomous association of persons united voluntarily to meet their common economic, social, and cultural needs and aspirations through a jointly-owned and democratically-controlled enterprise.)

ลำดับที่ ๓. ค่านิยมสหกรณ์ (Values)

คุณค่าของ
สหกรณ์เกิดจาก การพึ่งพาและรับผิดชอบตนเอง 
ประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม  และความสามัคคี  

สมาชิกสหกรณ์ตั้งมั่นอยู่ใน ความซื่อสัตย์ เปิดเผย รับผิดชอบต่อสังคมและเอื้ออาทรต่อผู้อื่น 
ตามแบบแผน ที่สืบทอดมาจากผู้ริเริ่มการสหกรณ์

(Co-operatives are based on the values of self-help, self-responsibility, democracy, equality,equity and solidarity. In the tradition of their founders, co-operative membersbelieve in the ethical values of honesty, openness, social responsibility andcaring for others.)

ลำดับที่ ๔. หลักการสหกรณ์  (Principles)

แนวทางที่สหกรณ์ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้คุณค่าของสหกรณ์เกิดผลเป็นรูปธรรม 
(The co-operative principles are guidelines by which co-operatives put their values into practice.)

หลักการที่ 1 : เปิดรับสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง

สหกรณ์เป็นองค์การแห่งความสมัครใจที่เปิดรับบุคคลทั้งหลาย
ที่สามารถใช้บริการของสหกรณ์ และเต็มใจรับผิดชอบในฐานะสมาชิกเข้าเป็นสมาชิก 
โดยปราศจากการกีดกันทางเพศ สังคม เชื่อชาติ การเมือง หรือศาสนา

(1st Principle: Voluntary and Open Membership
Co-operatives are voluntary organisations, open to all persons able to use their services and willing to accept the responsibilities of membership, without gender, social, racial, political or religious discrimination.)

หลักการที่ 2 : การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย

สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่ควบคุมโดยมวลสมาชิก 
ผู้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ 
บุรุษและสตรีผู้ที่ได้รับการเลือกเป็นผู้แทนสมาชิกต้องรับผิดชอบต่อมวลสมาชิก
 
ในสหกรณ์ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง)
สำหรับสหกรณ์ในระดับอื่นให้ดำเนินไปตามแนวทางประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน

(2nd Principle: Democratic Member Control
Co-operatives are democratic organisations controlled by their members, who actively participate in setting their policies and making decisions. Men and women serving as elected representatives are accountable to the membership. In primary co-operatives members have equal voting rights (one member, one vote) and co-operatives at other levels are also organised in a democratic manner.)
 

หลักการที่ 3 : การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก

สมาชิกสหกรณ์ พึงมีความเที่ยงธรรมในการให้ และควบคุมการใช้เงินทุนในสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย 
ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนร่วมของสหกรณ์ 

สมาชิกจะได้รับผลตอบแทนสำหรับเงินทุนตามเงื่อนไขแห่งสมาชิกภาพในอัตราที่จำกัด (ถ้ามี) 
มวลสมาชิกเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์ส่วนเกิน

เพื่อจุดมุ่งหมายประการใด ประการหนึ่งหรือทั้งหมดจากดังต่อไปนี้ คือ 
เพื่อการพัฒนาสหกรณ์ของตนโดยจัดให้เป็นทุนของสหกรณ์ 

ซึ่งส่วนหนึ่งของส่วนเกินนี้ต้องนำมาแบ่งปันกัน 
เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่สมาชิกตามส่วนของการใช้บริการของสหกรณ์ 

และเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่นใดที่มวลสมาชิกเห็นชอบ

(3rd Principle: Member Economic Participation
Members contribute equitably to, and democratically control, the capital of their co-operative. At least part of that capital is usually the common property of the co-operative. Members usually receive limited compensation, if any, on capital subscribed as a condition of membership. Members allocate surpluses for any or all of the following purposes: developing their co-operative, possibly by setting up reserves, part of which at least would be indivisible; benefiting members in proportion to their transactions with the co-operative; and supporting other activities approved by the membership.)

หลักการที่ 4 :การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ

สหกรณ์เป็นองค์การที่พึ่งพาและปกครองตนเอง โดยการควบคุมของสมาชิก 
ในกรณีที่สหกรณ์จำต้องมีข้อตกลงหรือผูกพันกับองค์การอื่นๆ 

รวมถึง องค์การของรัฐ หรือต้องแสวงหาทุนจากแหล่งภายนอก 
สหกรณ์ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขอันเป็นที่มั่นใจว่า 

มวลสมาชิกจะยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย 
และยังคงดำรงความเป็นอิสระของสหกรณ์

(4th Principle: Autonomy and Independence
Co-operatives are autonomous, self-help organisations controlled by their members. If they enter to agreements with other organisations, including governments, or raise capital from external sources, they do so on terms that ensure democratic control by their members and maintain their co-operative autonomy.)

หลักการที่ 5 :การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร

สหกรณ์พึงให้การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร แก่มวลสมาชิกผู้แทนจากการเลือกตั้ง ผู้จัดการ พนักงาน เพื่อบุคคลเหล่านั้น สามารถมีส่วนช่วยพัฒนาสหกรณ์ของตนได้อย่างมีประสิทธิผล และสามารถให้ข่าวสารแก่สาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่เยาวชนและบรรดาผู้นำทางความคิด ในเรื่องคุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสหกรณ์ได้

(5th Principle: Education, Training and Information
Co-operatives provide education and training for their members, elected representatives, managers, and employees so they can contribute effectively to the development of their co-operatives. They inform the general public - particularly young people and opinion leaders - about the nature and benefits of co-operation.)

หลักการที่ 6 :การร่วมมือระหว่างสหกรณ์

สหกรณ์สามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ขบวนการสหกรณ์ได้ โดยการประสานความร่วมมือกันในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

(6th Principle: Co-operation among Co-operatives
Co-operatives serve their members most effectively and strengthen the co-operative movement by working together through local, national, regional and international structures.)
 

หลักการที่ 7 :ความเอื้ออาทรต่อชุมชน
สหกรณ์พึงดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน ตามนโยบายที่มวลสมาชิกให้ความเห็นชอบ

(7th Principle: Concern for Community
Co-operatives work for the sustainable development of their communities through policies approved by their members.)

 ลำดับที่ ๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
 

หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 42 

สาระสำคัญกำหนดให้บุคคลมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชน หรือหมู่คณะอื่น 
การจํากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทํามิได้ 

ยกเว้นอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อการป้องกันหรือขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด

หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 75 วรรคสาม 

สาระสำคัญกำหนดให้รัฐพึงส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และสร้างเสถียรภาพให้แก่
ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และกิจการวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางของประชาชนและชุมชน

หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 

กำหนดให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล 
ทั้งนี้ ได้กำหนดบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ไว้ในส่วนหนึ่งของการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ 

โดยสร้างกลไกเพื่อส่งเสริมสหกรณ์และผู้ประกอบการแต่ละขนาด
ให้มีความสามารถในการแข่งขันอย่างเหมาะสม 

และส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคมและวิสาหกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
รวมทั้งสร้างกลไกเพิ่มโอกาสในการทํางานและการประกอบอาชีพของประชาชน

ลำดับที่ ๖  พระราชบัญญัติสหกรณ์ 
ปัจจุบัน เป็นพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542

ลำดับที่ ๗ กฏกระทรวง

ลำดับที่ ๘  ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำ นายทะเบียนสหกรณ์
มีการออก และยกเลิกเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป 

ลำดับที่ ๙ ข้อบังคับของสหกรณ์ = มติของที่ประชุมใหญ่สมาชิกสหกรณ์
ส่วนใหญ่สหกรณ์ตั้งใหม่จะใช้ตามร่างที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แนะนำ (ร่างแบบเสื้อโหล) 

และจะต้องแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะกับภูมิสังคมของสหกรณ์ของตนเองในภายหลัง (เป็นข้อบังคับแบบสั่งตัด) ซึ่งจะต้องเสียเวลาและงบประมาณ แนะนำให้สหกรณ์จัดทำข้อบังคับให้เหมาะสมกับภูมิสังคมของตนเองตอนจัดตั้งเลยจะดีที่สุด

ลำดับ ๑๐ ระเบียบของสหกรณ์ = มติของที่ประชุมคณะกรรมการสหกรณ์ 
ในลำดับที่ ๑๐ นี้จะต้องแยกให้ชัดว่าเป็นระเบียบที่ออกโดยนายทะเบียนสหกรณ์ ลำดับที่ ๘ หรือไม่
เพราะชื่อเรียกเหมือนกัน ว่า “ระเบียบ” 

ลำดับที่ ๑๑ ประกาศของสหกรณ์
ออกโดยสหกรณ์เอง แก้ไขได้โดยสหกรณ์เอง
---------------------------------------------
ทั้งหมดไล่ตามศักดิ์ ข้อท้ายจะไม่ขัดหรือแย้งกับข้อต้น
ทั้งนี้เพื่อสหกรณ์จะเป็นองค์การอิสระ ตามนิยามสหกรณ์สากล

ที่ใช้กันทั่วโลก และให้สมาชิกสหกรณ์ได้ควบคุมสหกรณ์ที่ตนเองเป็นเจ้าของ
ปฏิบัติไปทางตาม ปรัชญาของการสหกรณ์ คือ ช่วยตน ช่วยกัน (self help mutual help)

เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยวิธีการสหกรณ์
ที่ถูกต้อง ครบถ้วน รอบด้าน ทุกมิติ
---------------------------------------------

 
ขอเรียนย้ำว่า
สหกรณ์เป็นองค์การอิสระ ไม่ใช่ส่วนราชการ

พีระพงศ์ วาระเสน บ๊อบบี้
นักการสหกรณ์ไทย ด้วยหัวใจพอเพียง 
๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๕
 

หมายเลขบันทึก: 705333เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2022 06:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2022 07:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท