ปัตตานีในประวัติศาสตร์สมัยใหม่: การปราบปรามและการเป็นกบฏ


ในปี 1948 ฮัจยีสุหลงต่อต้านการเลือกตั้งทั่วไป เขาถูกจับด้วยข้อหาการกบฏและปฏิวัติรัฐไทย ภายใต้สถานการณ์ที่ตึงเครียดในปาตานี ก็มีความรุนแรงเกิดขึ้นระหว่างตำรวจและกลุ่มของมาเลย์มุสลิมในดุซงยอ ที่นราธิวาส ซึ่งนำไปสู่การทำลายบางส่วนในหมู่บ้าน สองเหตุการณ์ในปี 1948 คือการปฏิวัติของฮัจยีสุหลง และการปฏิวัติของดุซงยอ ทั้งสองเหตุการณ์ไม่มีการวางแผนหรือการเตรียมการกันมาก่อน การปฏิวัติที่ดุซงยอเป็นอุบัติเหตุโดยแท้ กลุ่มของตำรวจสืบทราบว่ามีชาวบ้านมาเลย์มุสลิมที่กำลังทำการอาบน้ำมันในเชิงศาสนา ในการต้อนรับการกลับของฮัจยีที่ไปแสวงบุญที่เมกกะ ด้วยความไม่รู้ในเจตนา ตำรวจพยายามจะทำลายการรวมตัวกัน ซึ่งนำไปสู่การขว้างหินและการทำลายของกลุ่มทั้งสอง ถึงแม้ว่าจะมีความรุนแรงที่จำกัด แต่กรุงเทพฯประกาศว่าเกิดความไม่สงบทั่วทั้งจังหวัดชายแดน รวมทั้งการโจมตีและการยึดสถานีตำรวจ ต่อมากรุงเทพฯได้ส่งกองทหารและกองเรือเพื่อมาระงับเหตุการณ์ชาวบ้านเป็นหลายพันได้หนีไปสู่กลันตันเพราะเกรงว่าจะโดนลูกหลงในการใช้กำลัง เหตุการณ์นี้ทำให้องค์กรทางมุสลิมนาๆชาติ, องค์กรอาหรับ, และสหประชาชาติให้ความสนใจ ในขณะเดียวกันฮัจยีสุหลงถูกตัดสินให้จำคุก 4 ปี 8 เดือนเพราะปฏิวัติต่อรัฐไทย หลังจากได้รับอิสรภาพในปี 1952 เขากลับไปที่ปาตานีและดำเนินการสอน ในปี 19*54 หลังจากได้รายงานตัวที่ตำรวจพิเศษสงขลา เขาถูกทำให้หายไป พร้อมๆกับลูกชายและคนที่ติดตาม 2 คน ไม่มีใครเคยเห็นเขาอีกเลย

คำสำคัญ (Tags): #ฮัจยีสุหลง
หมายเลขบันทึก: 704507เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2022 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กรกฎาคม 2022 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท