การศึกษาที่สร้างความพร้อมสู่อาชีพ


 

หนังสือ Career Ready Education Through Experiential Learning   เสนอ หลักการและวิธีการของ CBE (Competency-Based Education) ที่สร้างความพร้อมสู่อาชีพ    เน้นอุดมศึกษา    แต่ผมคิดว่า โรงเรียนประถมขยายโอกาสควรเอาใจใส่เรื่องนี้เป็นพิเศษ   เพราะนักเรียนชั้นมัธยมในโรงเรียนเหล่านี้ส่วนใหญ่น่าจะไม่ได้เรียนต่อและเข้าสู่อาชีพ    หรือเข้าสู่อาชีพด้วยเรียนต่อด้วย    เราน่าจะหาวิธีให้วัยรุ่นที่เรียนจบ ม. ๓ เหล่านี้ได้มีโอกาสทั้งทำงานหารายได้ และเรียน   

โรงเรียนประถมขยายโอกาสควรมี working platform ที่จำเพาะ   ต่างจากโรงเรียนประถมทั่วๆ ไป   และต่างจากโรงเรียนมัธยมโดยทั่วไป    คือนักเรียนชั้นมัธยมควรมีรายวิชา และ learning platform ที่เอื้อให้เกิดความพร้อมสู่อาชีพ    นี่คือกลไกสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาอย่างหนึ่ง   

หนังสือ Career Ready Education Through Experiential Learning ราคาแพงอย่างไม่น่าเชื่อ    เพราะจัดทำโดยบริษัทธุรกิจ    ผมตัดสินใจไม่ซื้อ แต่เข้าไปอ่านตัวอย่างเท่าที่เขามีให้   

สำหรับคนมหาวิทยาลัย หรือทำงานในหน่วยกำกับดูแลระบบอุดมศึกษา   ผมขอแนะนำให้อ่านบทนำที่ (๑) ที่เขาให้อ่านฟรี  จะได้แนวความคิดในการเชื่อมโยงอุดมศึกษาเข้ากับความต้องการคนทำงาน    และเข้ากับความต้องการของผู้เรียน    เห็นกลไกทำให้อุดมศึกษาไทยว่องไวต่อการตอบสนองความต้องการของสังคม   

บทนำ (๑) (บริบทสหรัฐอเมริกา) เสนอข้อท้าทาย ๓ ด้าน (๑) อุดมศึกษาล้าหลังความต้องการของสังคม (๒) สภาพที่นายจ้างต้องการจ้างตามทักษะ มากกว่าตามปริญญา ได้เกิดขึ้นแล้ว  (๓) ภาคธุรกิจแล อุดมศึกษาต้องจับมือกัน พัฒนาสิ่งที่เขาเรียกว่า Credential-Based Learning – การเรียนรู้บนฐานสมรรถนะที่ต้องการในการทำงาน   

  “This book is organized into 16 chapters focusing on microcredentials, experiential learning, prior learning assessment and competency-based education.”

หัวใจสำคัญอยู่ที่การจัดระบบวิทยฐานะเฉพาะด้าน (การศึกษาที่สร้างความพร้อมสู่อาชีพ)    การจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์ (experiential learning)    การจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ   และสำหรับมหาวิทยาลัยที่จะออกประกาศนียบัตรเฉพาะด้าน ต้องมีความสามารถประเมินสมรรถนะเดิม (เพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาผู้นั้น)    รวมทั้งประเมินสมรรถนะที่ต้องการในการออกประกาศนียบัตรเฉพาะด้านให้    เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของประกาศนียบัตร 

วิจารณ์ พานิช

๔ มิ.ย. ๖๕

 

หมายเลขบันทึก: 703651เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2022 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2022 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท