๙๗๕. คำสอนให้แก่ลูก-หลาน


คำสอนให้แก่ลูก-หลาน

“ข้อคิดเตือนใจ…ในวันรำลึกถึงวันสุนทรภู่”

สำหรับทุกปีที่เป็นวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๕…ผู้เขียนจะโพสต์ข้อความนี้ ไว้เตือนสติลูก-หลานของย่าบุษเสมอว่า

แล้วสอนว่า…อย่าไว้ใจมนุษย์

มันแสนสุด…ลึกล้ำเหลือกำหนด

ถึงเถาวัลย์…พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด

ก็ไม่คด…เหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

มนุษย์นี้…ที่รักอยู่สองสถาน

บิดา มารดา…รักมักเป็นผล

ที่พึ่งหนึ่ง…พึ่งได้แต่กายตน

เกิดเป็นคน…คิดเห็นจึงเจรจา

แม้นใครรัก…รักมั่ง ชังชังตอบ

ให้รอบคอบ…คิดอ่านนะหลานหนา

รู้อะไร…ไม่สู้รู้วิชา

รู้รักษา…ตัวรอดเป็นยอดดี

ประพันธ์โดย…สุนทรภู่

๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ ที่ย่าบุษให้ไว้กับลูก ๆ หลาน ๆ เป็นข้อคิดในการเตือนสติลูก-หลาน ให้ระมัดระวังในการดำเนินชีวิตที่อยู่บนโลกใบนี้…มีความระมัดระวัง แต่ก็อย่าถึงกับต้องเกิดการหวาดระแวงในใจ…ควรคิดให้รอบคอบในการเชื่อใจคน เพราะจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจในภายหลัง หากเราระมัดระวังแล้ว เราจะได้ทราบว่า สิ่งเลวร้ายจะได้ไม่เกิดกับตัวของเราเอง…และก็อย่าได้กระทำสิ่งเลวร้ายกับตนเองและต่อผู้อื่น หากเราไม่กระทำ สิ่ง ๆ นั้น ก็จะไม่ย้อนกลับมาหาตัวของเราเอง…เป็นสิ่งที่ผู้เขียนจะใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ด้วยการสื่อสารให้กับลูก-หลานได้ทราบถึงพิษภัยของสังคมเพราะมนุษย์แต่ละคน ต่างกันด้วยจิตใจ "อย่าคิดให้เราเหมือนคนอื่น…และอย่าคิดว่าคนอื่นจะเหมือนใจเราคิด" เมื่อสมัยย่าบุษเป็นเด็ก ๆ คุณครูจะสอนให้ย่าท่องจำทุกเย็น ก่อนที่จะเลิกจากโรงเรียนกลับบ้าน ย่ายังจำได้มาจนถึงวันนี้ แล้วนำมาปรับใช้กับการใช้ชีวิตประจำวันของย่าเอง เพราะเป็นคำสอนที่ดีต่อการใช้ชีวิตของเรามาก ๆ

************************

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาในบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๕



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท