ภาวะผู้นำดิจิทัลหรือยุคดิจิทัล


   พบอีกครังใน GotoKnow อย่างน้อยก็เข้าถึงได้ จริง ๆ แล้วอยากนำเรื่องที่เขียนไว้ในแอฟที่แล้วมาลงก่อน แต่พอดีมีนักนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ที่ผมดูแลอยู่คนหนึ่งที่กำลังทำวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำในยุคปัจจุบันอยู่ แต่ยังไม่ตึกผลึกว่า "ผู้นำดิจิทัล (digital leadership) หรือ ผู้นำในยุคดิจิทัล (leadership in digital era) ซึ่งดูเหมือนยังไม่ชัดเจนในวิชาการของไทย จึงขอแขร์เรื่องนี้ก่อนครับ 

    หลังจากโลกได้เปลี่ยนผ่านจากยุคอนาลอกมาเป็นยุคดิจิทัลไม่นานก็เกิดแนวคิดภาวะผู้นำดิจิทัลขึ้นในวงการบริหาร และมีอิทธิพลต่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานมากขึ้น แต่ปัญหาปัญคือมีกานำใช้ศัพท์เทคนิคสองคำนัยว่ามีความหมายเดียวกัน คือคำว่า “ภาวะผู้นำดิจิทัลกับภาวะผู้นำในยุคดิจิทัล” ซึ่งผมเห็นว่าภาวะผู้นำสองแบบนี้แตกต่างกัน กล่าวคือภาวะผู้นำดิจิทัลนั้นหมายถึงผู้นำที่นำใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานในองค์การเพื่อนำองค์การสู่ความสำเร็จ ส่วนภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลนั้นหมายความว่าในยุคดิจิทัลนี้ภาวะผู้นำควรเป็นอย่างไรจึงจะทำให้การนำองค์การในยุคนี้สู่ความสำเร็จครับ 

      งานเขียนของ ​Jim Hamill (2019) อธิบายความแตกต่างของสองแนวคิดนี้ไว้ว่าปัญหาสำคัญในการนำการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ใช่การนำใช้เทคโนโลยีอย่างเดียว แต่อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงคนในองค์​การ วัฒนธรรมองค์การ และการจัดองค์การ ผู้นำในยุคดิจิทัลนั้นต้องมีความรู้และทักษะหลายด้าน เทคโนโลยีเป็นเพียงความรู้และทักษะส่วนหนึ่งในการนำเท่านั้น 

      คุณลักษณะสำคัญของผู้นำในยุคดิจิทัลนั้นประกอบด้วย (1) ตระหนักในความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัล (2) สามารถกำหนดวิสัยทัศน์ดิจิทัล (3) ระบุและลำดับสำคัญของดิจิทัลที่สำคัญได้ (4) สามารถทำให้คณะกรรมการบริหารสนับสนุน ยืนยัด และจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานองค์การสู่การเปลี่ยนแปลง (5) มีทักษะในการบริหารโครงการและแผนงาน (6) มีสมรรถนะการบริหารการเปลี่ยนแปลง (7) มีความทักษะลูกผสมการบริหารคนและเทคโนโลยี (8) ความสามารถในการตัดสินใจบนฐานการใช้สารสนเทศ (9) พร้อมที่จะจัดการกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัล 

          นอกจากนี้ Hamill ยังได้กล่าวถึงงานเขียนของ  ​Kane, Phillips, Copulsky, and Andrus  (2019) ซึ่งชี้ว่าคุณลักษณะผู้นำในยุคดิจิทัลมี 8 ลักษณะคือ (1) ความสามารถในการกำหนดทิศทาง (2) ความสามารถในการตัดสินใจ (3) ความสามารถในการบริหาร (4) ความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจ (5) ความสามารถในการจูงใจ (6) ความสามารถในการสร้างความสามารถพิเศษ (7) ความสามารถในการชี้นำให้คนทำตาม และ (8) ความสามารถในการประสานความร่วมมือ

             จากแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้นพอจะทำให้นักศึกษา หรือผู้ที่จะวิจัยเรื่องนี้ต้องระมัดระวังว่าเรื่องที่สนใจนั้นคือ ภาวะผู้นำดิจิทัล หรือภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลนะครับ 

 

     Analog Digital 

หมายเลขบันทึก: 703111เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2022 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2022 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณมากครับอาจารย์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท