จุดตายของนักบริหาร


นักบริหารหรือผู้บริหาร คือผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้นำในองค์กร เป็นผู้ที่จะนำพา พี่น้องในองค์การหรือหน่วยงานไปสู่การทำงานที่ดีกว่าเดิม โดยอาศัยศาสตร์ และศิลป์ หรือวิสัยทัศน์ภาวะผู้นำ การเป็นนักวิชาการ และนักตัดสินใจที่ดีของผู้นำหรือนักบริหาร และการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น สิ่งที่อาจจะเป็นจุดตาย หรือจุดจบของนักบริหาร ก็ย่อมมีเป็นธรรมดา หรือ ไม่เฉพาะนักบริหารเท่านั้น ใครก็ตามที่เป็นผู้นำมีชื่อเสียงโด่งดัง หรือบุคคลสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระสงฆ์ก็ตาม มักจะเป็นสายตาของประชาชนทั่วไป ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่พึงสังวร ระมัดระวัง หรือเจียมเนื้อเจียมตัวไว้ให้ดีอยู่เสมอ เพราะผู้บริหาร มักจะถูกตรวจสอบ ถูกจับตามองอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องความโปร่งใส ความสุจริต และความเป็นแบบอย่างที่ดีทางความประพฤติหรือจริยธรรม นักบริหาร ก่อนที่จะทำอะไร ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ก็ตามพึงระลึกอยู่เสมอว่า เราจะมีผู้คนติดตาม และตรวจสอบการกระทำของเราอยู่เสมอ จะต้องเจียมเนื้อเจียม สังวร ระมัดระวังอย่างรอบคอบ ไม่ให้เข้ากับคำพังเพยหรือสำนวนที่ว่า“ถี่รอดตาช้าง ห่างลอดตาเลน”

จุดตายของนักบริหาร

 

จุดตายของนักบริหาร

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

            นักบริหาร ไม่ว่าจะได้รับการยกย่องยอมรับว่ามีความดีเลิศ ประเสริฐศรี ดีเด่นดีเยี่ยมขนาดไหน เพียงใดก็ตาม  แต่ถ้าไม่ระมัดระวังในบางเรื่อง หรือสิ่งที่จะเป็นจุดตายแล้ว ก็อาจจะพบจุดอวสาน หรือจุดจบก็เป็นได้ อย่าทำเป็นถี่รอดตาช้าง ห่างรอดตาเลน

           นักบริหารหรือผู้บริหาร คือผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้นำในองค์กร เป็นผู้ที่จะนำพาพี่น้องในองค์การหรือหน่วยงานไปสู่การทำงานที่ดีกว่าเดิม โดยอาศัยศาสตร์ และศิลป์ หรือวิสัยทัศน์ภาวะผู้นำ การเป็นนักวิชาการ และนักตัดสินใจที่ดีของผู้นำหรือนักบริหารและการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น

          สิ่งที่อาจจะเป็นจุดตาย หรือจุดจบของนักบริหาร ก็ย่อมมีเป็นธรรมดา หรือไม่เฉพาะนักบริหารเท่านั้น ใครก็ตามที่เป็นผู้นำมีชื่อเสียงโด่งดัง หรือบุคคลสาธารณะไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระสงฆ์ก็ตาม มักจะเป็นสายตาของประชาชนทั่วไป

          ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่พึงสังวร ระมัดระวัง หรือเจียมเนื้อเจียมตัวไว้ให้ดีอยู่เสมอ เพราะผู้บริหาร มักจะถูกตรวจสอบ ถูกจับตามองอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องความโปร่งใส ความสุจริต และความเป็นแบบอย่างที่ดีทางความประพฤติหรือจริยธรรม

         ฉะนั้น นักบริหาร ก่อนที่จะทำอะไร ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ก็ตามพึงระลึกอยู่เสมอว่า เราจะมีผู้คนติดตาม และตรวจสอบการกระทำของเราอยู่เสมอ จะต้องเจียมเนื้อเจียม สังวร ระมัดระวังอย่างรอบคอบ ไม่ให้เข้ากับคำพังเพยหรือสำนวนที่ว่า

“ถี่รอดตาช้าง ห่างลอดตาเลน”

 

จุดตายของนักบริหาร

         จากการศึกษา และสังเคราะห์จากงานวิจัย และผลการการลงโทษวินัยข้าราชการโดยเฉพาะข้าราชการชาย คงจะหนีไม่พ้นสัญลักษณ์ สัตว์สามจำพวก คือ ช้าง  (ชู้สาว) เสือ (สุรา)  งู (การเงิน) หรืออาจจะมีมากกว่านี้ แล้วแต่จะข่มใจได้ไม่ให้อกุศลมูลรากเหง้าแห่งความชั่วร้าย คือ ราคะ โทสะ และโมหะเข้าครอบงำจิตใจได้

        ส่วนข้าราชการหญิงก็เช่นกัน แม้จะไม่มีข้อมูลมากนัก เพราะ ข้าราชการหญิงในตำแหน่งผู้บริหาร ยังไม่มากนัก แต่ในอนาคตคงจะมากกว่าผู้ชายเพราะสถิติการสอบเข้ารับราชการ ผู้หญิงจะสอบได้มากกว่าผู้ชายก็จะต้องระมัดระวังไว้เช่นเดียวกัน

        จุดตายของนักบริหาร  สรุปได้ดังนี้

1.  ไม่ยึดระเบียบกฎหมาย

    การไม่ยึดระเบียบกฎหมาย ถือว่าขาดหลักนิติธรรม อาจจะเป็นการกระทำที่รู้หรือไม่รู้กฎหมาย ไม่สามารถปฏิเสธได้ถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้ว โดยเฉพาะการกระทำที่สำเร็จผลแล้ว ก็จะไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้

    มีคำที่เขาพูดกันในหมู่กฎหมายว่า "แม้จะสุจริต  แต่ผิดระเบียบกฎหมาย ก็ถือว่ามีโทษเช่นกัน อย่างน้อยก็ตัดเงินเดือน"  เช่น ผู้บริหารโรงเรียนบางท่านอาจจะหวังดีต่อราชการจนเกินไป  นำเงินอาหารกลางวันไปใช้ในการทำรั้วกำแพงโรงเรียนอย่างนี้ ถือว่าเป็นการใช้เงินผิดประเภท แม้จะไม่มีเจตนาทุจริตแต่ก็ผิดระเบียบของการใช้เงินอุดหนุน ก็ถือว่าทำผิดวินัยเช่นกัน ย่อมมีโทษเช่นกัน

2. ขาดหิริ โอตตัปปะ

    มีคำกล่าวว่า ถ้าเพียงแต่เราขาดหิริความละอายแก่ใจในการทำความชั่ว และโอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาปกรรมแล้ว คนเราก็สามารถจะทำความชั่วได้ทุกอย่างไม่ว่าเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ก็ตาม ฉะนั้น ทางพุทธศาสนาจึงสอนเราให้มีหลักธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจไว้เสมอโดยท่องคาถาว่า “ฝืนใจ ได้กำไร ตามใจ ขาดทุน” อยู่เสมอ

 

2. กระทำการโดยมักง่าย

    การกระทำบางอย่างของผู้บริหาร ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่มักง่ายเชื่อใจใครไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง หรือการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างขายอะไรก็ตาม ไม่มักง่ายให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียทำแทนเด็ดขาด เพราะอาจจะถูกหมกเม็ดก็ได้ ต้องมีการตรวจตราให้เรียบร้อย ตรวจสอบความถูกต้องก่อนดำเนินการ

 

3. เบี่ยงบ่ายการเข้าชุมชน

   การไม่สร้างมนุษยสัมพันธ์กับชาวบ้าน ผู้ปกครองนักเรียน หรือไม่ใช้เวลาในการไปเยี่ยมเยียน รับรู้ปัญหาจากชุมชนนั้น อาจจะถูกโดดเดี่ยว เพราะการที่ผู้บริหารใช้เวลาไปเยี่ยมบ้าน ทักทายผู้ปกครอง หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ถือว่าเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริหารได้เป็นอย่างดี  เพราะมีบางแห่งมักจะมีข่าวอยู่เสมอว่า ครูผู้สอนจะเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นงานบวช งานสำคัญทางศาสนา งานแต่งงาน ฯลฯ ตรงข้ามกับผู้บริหารซึ่งจะห่างเหิน นั่งทำงานแต่ในห้อง เวลามีเรื่องมีราว หรือจะลงโทษครูคนนั้นซึ่งทำงานย่อหย่อน ผู้บริหารอาจจะถูกชาวบ้านประท้วง ทั้ง ๆ ที่ผู้บริหารก็ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย  แต่ด้วย ความไม่เข้าใจอาจจะถูกใส่ร้ายหาว่าผู้บริหารรังแกครูลูกน้องก็มี ข้อนี้ก็พึงระมัดระวังไว้เช่นกัน

 

4. หลงอำนาจ

    โบราณกล่าวไว้ว่า “โลกนี้ คือละคร ตำแหน่งเป็นเพียงหัวโขน” นักบริหารบางคนอาจจะใช้อำนาจบาตรใหญ่ หรือใช้พระเดชมากกว่าพระคุณ พูดจาข่มขู่ลูกน้องแทนที่จะใช้ภาวะผู้นำ แต่ไปใช้การคุกคาม ข่มขู่ก็มี เช่น ถ้าคุณไม่ทำผมเอาตายแน่  คุณต้องถูกออกจากราชการแน่  เป็นต้น จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับลูกน้องห่างเหินกัน มีอะไรแม้เพียงเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จะฟ้องร้องกันเอาเป็นเอาตายกันไปข้างหนึ่ง เพราะใจไม่ถึงกันoyhogv’

 

4. ฉ้อราษฎร์บังหลวง

    การฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นอันตรายหรือ มหันตภัยอย่างใหญ่หลวงของประเทศชาติ ทำให้ทรัพย์สินทางราชการต้องหายไป ไม่เกิดประโยชน์หรือได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่มูลเหตุของการที่ฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือทุจริตคอร์รัปชั่น (Corruption) มักเกิดจากความโลภ การที่ไม่รู้จักความพอเพียง ไม่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ การมีบ้านเล็กบ้านน้อยหรือมีกิ๊กก็ตาม การใช้จ่ายเงินไม่เจียมตัว การเล่นการพนัน การเที่ยวเตร็ดเตร่ การติดเหล้าติดบุหรี่ อาจจะทำให้เงินขาดมือ เป็นสาเหตุให้นำเงินหลวงไปใช้ หรือเป็นเหตุทุจริตคอร์รัปชั่นได้ง่าย พึงระวังในเรื่องนี้

 

5. หลอกลวงลูกน้อง 

   ผู้บริหารบางคน อาจจะให้สัญญากับเพื่อนร่วมงานว่าถ้างานเข้าเป้าปีนี้ ผมจะพาพวกคุณไปดูงานต่างประเทศหรือให้ทองคำคนละเส้นเป็นต้น แต่เวลางานเข้าเป้าจริง ๆ กลับไม่ทำตาม นี้ก็ควรระมัดระวัง ไม่ควรไปให้คำมั่นสัญญาในเรื่องที่เกินกำลัง หรือนำไปปฏิบัติได้ยาก เพราะจะทำให้ผู้บริหารต้องเสียคน บางอย่างถ้าทำแล้วเป็นการมัดตัวเองหรือรัดคอตนเอง ก็พึงระมัดระวัง คิดก่อนพูด ทำตามที่พูด ไม่ควรหาเรื่องอะไรก็ตามจะมารัดคอตนเอง

 

6. ยกย่องคนประสบสอพลอ

   การที่นักบริหารชอบคนที่ยกยอ ยกย่อง พูดเยินยอเป็น คนไหนพูดเยินยอไม่เป็น ก็คงได้เกิดยากผู้บริหารพึงละเว้นการมีแนวคิดเช่นนี้ เพราะเป็นผู้แลคนทุกคนในหน่วยงาน

7. ล่อไข่แดง

   ผู้บริหารบางคน ชนะอะไรก็ชนะหมด แต่เสียอย่างเดียวคือเป็นโรคภูมิแพ้ความสวยความงามของหญิง ยิ่งให้ท่า ก็ยิ่งจะนำความเสื่อมเสียมาสู่ตัวเรา ประดุจมัจจุราชมองไม่เห็นตัว พึงระวัง เพราะพึงระลึกเสมอว่า “ไม่มีใคร จะโชคดีตลอดไป  อาจจะมีเคราะห์ภัยตามมาก็ได้” ระมัดระวังคนให้ดี จะไม่เสียทีเขา

 

8. แสวงหาอามิสสินบน

    อามิสสินบน มีพลังอำนาจต่อระบบการบริหารงาน เพราะเป็นบุญคุณต่อกัน พึงระวัง ตัดใจเสียได้ก็ดี ยกเว้นเป็นธรรมเนียมประเพณี แต่ทางราชการก็ห้ามไว้ว่าไม่ควรรับสินบนที่มีค่าเกินสามพันบาท เพราะไม่เช่นนั้น จะเป็นเหมือนเรารับสินบนเพื่อต่างตอบแทน เป็นการผิดกฎหมาย ก่อให้เกิดประโยชน์ทับซ้อนได้

 

9. ไม่อดทนต่องานหนัก  

    การที่ผู้บริหาร ไม่สู้งาน หนักไม่เอา เบาไม่สู้  ถือว่าเป็นอันตรายมาก ผู้บริหารต้องหนักเอา  เบาสู้ เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกน้องเสมอ ไม่ใช่ทำอย่าง พูดอย่าง ต้องพูดได้ทำได้เสมอจะทำให้ลูกน้องได้ใจ และเกิดความสมัครสมานสามัคคี

 

10. ไม่รู้จักให้ขวัญกำลังใจ

      บทบาทของนักบริหารอีกประการหนึ่งคือการให้ขวัญกำลังใจ  ซึ่งอาจจะเป็นการให้ความดีความชอบตามผลการปฏิบัติงาน การมอบโล่ รางวัล  เกียรติบัตร  พูดจาให้คำยกย่องชมเชย เป็นต้น ผู้บริหารจะขาดเสียมิได้ เช่น การอวยพรวันเกิดจะทำโดยวิธีใดก็ได้ ยิ่งทุกวันนี้ สื่อสังคมออนไลน์มีประโยชน์มาก เพียงเราอวยพรวันเกิดทางสื่อออนไลน์ก็ได้ใจลูกน้องแล้ว การพูดคุยให้ความเป็นกันเอง ก่อให้เกิดคนสำราญงานสำเร็จได้อย่างไม่คาดฝัน

 

11. ตัดสินใจโดยอาศัยความข้างเดียว

     การตัดสินใจ เป็นบทบาทอันสำคัญยิ่งของผู้บริหาร ถือว่าเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ก็ว่าได้เพราะบ่อยครั้งที่ผู้บริหารบางคนอาจจะฟังความข้างเดียว โดยไม่ใส่ใจรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ทำให้ขาดข้อมูลที่ดีพอ และก่อให้เกิดการตัดสินใจผิดพลาด เพราะบางครั้งกว่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจกันดีได้ ความเสียหายก็เกิดขึ้นแล้ว เป็นต้น

 

12. เที่ยวอโคจรเนืองนิตย์

     การไปเที่ยวยังสถานที่ อโคจร หรือสถานที่ไม่ควรไป ถือว่าเป็นอบายมุข ผู้บริหารก็เป็นคนธรรมดา สถานการณ์บางอย่างหมิ่นเหม่ต่อการทำผิด และการไม่เป็นแบบอย่างได้โดยเฉพาะเวลาคนหลักคนใหญ่ทำอะไร มักจะมีคนคอยจับตา นำไปพูดวิพากษ์วิจารณ์ถึงการกระทำนั้นว่าเหมาะสมไหม ขาดจริยธรรมไหม จะก่อให้เกิดความเสียหายได้ง่าย

 

13. จิตไม่ยุติธรรม

     ความมีจิตยุติธรรม เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งของนักบริหาร เพราะนักบริหารหรือหัวหน้างาน เป็นที่กล่าวขานกันว่า คือผู้ดูแลทุกข์สุขของคนในหน่วยงาน  การที่ผู้บริหารมีอคติ  คือลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะเคยอาฆาตพยาบาทโกรธกัน ลำเอียง เพราะความลุ่มหลงใครสักคน และลำเอียงเพราะกลัวภัยมืดไม่ยึดมั่นในความยุติธรรม ก็มีแต่จะพบความหายนะหรือภยันตรายอย่างใหญ่หลวงจะตามมา พึงระมัดระวังไว้จะเป็นการดี เพราะความยุติธรรมเป็นความคาดหวังที่สำคัญของผู้เป็นลูกน้อง อีกอย่างถ้าเราขาดความยุติธรรมบางครั้งก็ก่อให้เกิดการละเว้นการปฏิบัติหรือเลือกปฏิบัติหรือก่อให้เกิดสองมาตรฐานได้

 

สรุป

         จุดตายของนักบริหาร ก็คือ การสิ้นสุดของความเป็นนักบริหาร เพราะอาจจะได้รับโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง (ปลดออก หรือไล่ออก) ก็คือการบริหารงานโดยไม่ยึดระเบียบกฎหมาย หรือละเว้นการปฏิบัติ เลือกปฏิบัติ ขาดหลักธรรมาภิบาล เช่นนิติธรรม คุณธรรม โปร่งใส มีส่วนร่วม รับผิดชอบ และความคุ้มค่า ขาดการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน มุ่งแต่งาน เวลามีเรื่องราวจะแพ้ภัยไม่มีเกราะกำบังหรือคุ้มกันให้ตนเองได้ ผู้บริหารที่เป็นสุภาพบุรุษ มักจะเสียทีกับสัญลักษณ์สัตว์ 3 ชนิด คือ ช้าง(ชู้สาว ผิดศีลข้อ 3) เสือ (ดื่มสุราจนครองสติไม่ได้ ผิดศีลข้อ 5) งู (ทำผิดเกี่ยวกับการเงิน ผิดศีลข้อ 2) เพราะฉะนั้น การที่ผู้บริหารจะแคล้วคลาดจากจุดตายดังกล่าวได้ ก็พึงหลีกเลี่ยงการกระทำดังกล่าว คำโบราณพูดไว้เสมอว่า “การรู้จักรักษาตัวรอดเป็นยอดดี” ดังนั้น การไม่ยุ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เสี่ยงหรือหมิ่นเหม่ผิดต่อระเบียบกฎหมาย จะทำให้พ้นจากจุดตายได้

 

 

 

-------------


 


 

 

 

หมายเลขบันทึก: 703072เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2022 03:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2022 03:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท